พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290-5293/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานลูกจ้างเก่าเมื่อโอนมาทำงานการไฟฟ้านครหลวงตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 53 ที่บัญญัติว่า"นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้ข้าราชการและลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล ซึ่งต้องออกจากราชการเพราะการยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวง กรมโยธาเทศบาลและลูกจ้างของการไฟฟ้ากรุงเทพ กระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นพนักงาน โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มเท่าที่ได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน และให้คณะกรรมการกำหนดอัตราเงินเดือนพนักงานดังกล่าว ซึ่งจำเป็นจะต้องบรรจุโดยให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่รับอยู่เดิม ทั้งนี้ให้เสร็จภายในหกสิบวัน"นั้น เป็นการกำหนดให้ลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล โอนมาเป็นพนักงานของการไฟฟ้านครหลวงตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้และมิได้ระบุถึงลูกจ้างประเภทใด จึงต้องหมายถึงลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงทุกประเภทแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของกองไฟฟ้าหลวง ก็มีฐานะเป็นลูกจ้างตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 โจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย ส่วนการที่จำเลยจะดำเนินการเกี่ยวกับวิธีบรรจุโจทก์อย่างไรและเมื่อใดนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีการของจำเลยเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทกฎหมายดังกล่าวเสียไป
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่องและการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยโดยการทำสัญญาใหม่ซ้ำๆ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ฉบับแรกไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อมาได้ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 2 และที่ 3 โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเช่นเดียวกัน และสัญญาจ้างฉบับหลังไม่มีข้อความให้ยกเลิกสัญญาจ้าง ฉบับแรก เมื่อโจทก์ได้ทำงานกับจำเลยติดต่อกันตลอดมา ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์รวมสามฉบับเพื่อประสงค์ที่จะให้อายุการทำงานของโจทก์น้อยลงโดยไม่นับอายุงานติดต่อกัน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือจ่ายให้น้อยลง อันเป็นการหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน กรณีของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 46 แล้ว
จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่องและการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย: ศาลพิจารณาอายุงานต่อเนื่องจากสัญญาจ้างหลายฉบับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ฉบับแรกไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อมาได้ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 2 และที่ 3 โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเช่นเดียวกัน และสัญญาจ้างฉบับหลังไม่มีข้อความให้ยกเลิกสัญญาจ้าง ฉบับแรก เมื่อโจทก์ได้ทำงานกับจำเลยติดต่อกันตลอดมา ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์รวมสามฉบับเพื่อประสงค์ที่จะให้อายุการทำงานของโจทก์น้อยลงโดยไม่นับอายุงานติดต่อกัน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือจ่ายให้น้อยลง อันเป็นการหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน กรณีของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 46 แล้ว จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุงานลูกจ้าง: การนับต่อเนื่องหลังเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เริ่มนับจากวันก่อนเลิกจ้าง
คดีที่ฟ้องว่า นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปนั้น ลูกจ้างมีสิทธิขอให้นับอายุงานใหม่ติดต่อกับอายุงานเดิม ที่คำนวณถึง วันก่อนวันเลิกจ้างเท่านั้น จะขอให้นับอายุงานระหว่างวันถูก เลิกจ้าง จนถึง วันที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานรวมเข้าไปด้วย หาได้ไม่
ตาม มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เฉพาะกรณีที่ศาลแรงงานมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปเพียงประการเดียว เท่านั้น กฎหมายหาได้ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือค่าจ้างตั้งแต่ วันที่ลูกจ้างยื่นฟ้องคดีจนถึง วันที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานด้วยไม่
ตาม มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เฉพาะกรณีที่ศาลแรงงานมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปเพียงประการเดียว เท่านั้น กฎหมายหาได้ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือค่าจ้างตั้งแต่ วันที่ลูกจ้างยื่นฟ้องคดีจนถึง วันที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุงานและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: นับเฉพาะช่วงก่อนเลิกจ้างเท่านั้น
คดีที่ฟ้องว่า นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปนั้น ลูกจ้างมีสิทธิขอให้นับอายุงานใหม่ติดต่อกับอายุงานเดิม ที่คำนวณถึง วันก่อนวันเลิกจ้างเท่านั้น จะขอให้นับอายุงานระหว่างวันถูก เลิกจ้าง จนถึง วันที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานรวมเข้าไปด้วย หาได้ไม่ ตาม มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เฉพาะกรณีที่ศาลแรงงานมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปเพียงประการเดียว เท่านั้น กฎหมายหาได้ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือค่าจ้างตั้งแต่ วันที่ลูกจ้างยื่นฟ้องคดีจนถึง วันที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานด้วยไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษา: การกลับเข้าทำงานตามคำพิพากษา ไม่รวมถึงการนับอายุงานต่อเนื่อง หากมิได้ขอโดยชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ได้บรรยายสภาพแห่งคำขอบังคับว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 7,159,417.58 บาท หรือให้จำเลยยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม และให้จำเลยแต่งตั้งโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่น้อยกว่าตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่โจทก์ได้รับขณะเลิกจ้าง โจทก์หาได้มีคำขอบังคับให้จำเลยนับอายุการทำงานของโจทก์ติดต่อกันไม่ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในสภาพการจ้างเดิมย่อมหมายความว่าไม่นับอายุการทำงานของโจทก์ในระหว่างที่ถูกเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับคดีให้จำเลยนับอายุการทำงานของโจทก์ติดต่อกันได้ เพราะจะเป็นการเกินไปกว่าคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างและบำเหน็จ, การเลิกจ้างเพราะขาดคุณสมบัติ, การนับอายุงาน
การโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหม สังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60 ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิมเพราะเหตุยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อกัน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลย ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 11 (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลย ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 11 (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ-คุณสมบัติสัญชาติ-การคำนวณอายุงานและสิทธิประโยชน์
การโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหมสังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60 ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิมเพราะเหตุยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อกัน จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลย ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518มาตรา 9(1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 9 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา11(3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การคืนสิทธิประโยชน์ และการนับอายุงานต่อเนื่องหลังกลับเข้าทำงาน
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ระหว่างสอบสวน เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าโจทก์ทำผิด จึงมีคำสั่งให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนี้ การที่โจทก์ไม่มีผลงานให้แก่จำเลยในชั่วระยะเวลานั้นมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ การยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างย่อมต้องถือเสมือนว่าคำสั่งเลิกจ้างไม่เคยมีมาก่อนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่สะดุดหยุดลงจึงต้องคืนเข้าสู่ภาวะเดิมโดยไม่ถือว่าขาดช่วงจำเลยตัดระยะเวลาการทำงานของโจทก์ในช่วงที่ถูกเลิกจ้างออกไม่ชอบด้วยความเป็นธรรมและหามีกฎหมายหรือข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสนับสนุนหรือให้อำนาจไม่ ประกาศเรื่องเงินโบนัสของจำเลยมีว่า พนักงานที่ถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน... ฯลฯ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานในปีงบประมาณ เดิมโจทก์ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างถูกสั่งพักงาน ต่อมาจำเลยได้ยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยจ่ายเงินเดือนให้ร้อยละสิบห้า เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีมลทินมัวหมอง โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนในช่วงถูกพักงาน ดังนี้ กรณีของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว จะให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสแต่เพียงตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาการทำงานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการนับอายุงานต่อเนื่อง: การเว้นช่วงอายุงานตามข้อบังคับบริษัท
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างร้องทุกข์ต่อผู้อำนวยการของนายจ้างผู้อำนวยการเห็นว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีคำสั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่องโดยเว้นช่วงระหว่างเลิกจ้างถึงวันกลับเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้าง ดังนี้ เมื่อเหตุที่ไม่นับอายุการเข้าทำงานต่อเนื่องนั้นนายจ้างอาศัยเทียบเคียงระเบียบว่าด้วยวินัยฯ ซึ่งหากลูกจ้างอุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างตามระเบียบดังกล่าว นายจ้างก็สามารถเว้นช่วงการนับอายุงานระหว่างเลิกจ้างถึงวันเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นได้ ทั้งช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้างลูกจ้างก็มิได้ทำงานให้แก่นายจ้างเลยการที่นายจ้างไม่นับอายุงานต่อเนื่องและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้างถึงวันที่ลูกจ้างกลับเข้าทำงานจึงหาเป็นการไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างไม่ นายจ้างออกคำสั่งเช่นนั้นได้