พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะนายจ้างของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท และการไม่เป็นฟ้องซ้ำเมื่อฐานะต่างกัน
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคุ้มครองแรงงาน (ข้อ 2)ได้ ให้ความหมายคำว่า "นายจ้าง" ว่า "...หมายความรวมถึงผู้ซึ่ง ได้ รับ มอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างในกรณีที่ นายจ้างเป็น นิติบุคคล" ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะ เป็นนายจ้างตาม ความหมายดังกล่าวแล้ว คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะ ผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ธ. ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะ เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2ซึ่ง เป็นบริษัทจำกัด ดังนี้ จึงถือ ว่าจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและคดีนี้เป็นคนละคนกัน มิใช่กรณีที่คู่ความเดียว กันไม่เป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจเพียงพอต่อการทำสัญญาเช่าซื้อแทน, สัญญาเช่าซื้อมีผลเมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ว.ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์แทนโจทก์ ว.ย่อมมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้โดยไม่ต้องระบุในสัญญาเช่าซื้ออีกว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ว.กระทำการแทนโจทก์
การนำสืบว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ว.เป็นตัวแทนมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร โจทก์มีสิทธินำสืบได้
เมื่อผู้เช่าซื้อได้ใช้เงินค่าซื้อครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อย่อมตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อโดยผลของกฎหมายแม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ระบุข้อความดังกล่าวไว้ก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ไม่
การนำสืบว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ว.เป็นตัวแทนมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร โจทก์มีสิทธินำสืบได้
เมื่อผู้เช่าซื้อได้ใช้เงินค่าซื้อครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อย่อมตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อโดยผลของกฎหมายแม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ระบุข้อความดังกล่าวไว้ก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องกรณีเช็ค: ศาลอนุญาตได้หากเป็นการขยายข้อเท็จจริงเดิมและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามเช็คสองฉบับโดยเช็คฉบับแรกห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะส่วนตัวลงชื่อสั่งจ่ายและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ส่วนเช็คฉบับที่สองจำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย คำฟ้องดังกล่าวโจทก์นำสืบได้อยู่แล้วว่า จำเลยที่ 1 ได้เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการใด ๆ แทนห้างจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวตลอดมา เป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีอำนาจเช่นนั้น ดังนั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า แม้ห้างจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการไว้มิให้หุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการโดยลำพังได้ก็ตามแต่ในทางปฏิบัติห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2เป็นผู้ทำการแทนห้างแต่ผู้เดียวตลอดมา เป็นเหตุให้โจทก์และบุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวมีอำนาจกระทำการแทนห้างจำเลยที่ 1 ได้ จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน และเป็นการเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง: การเชิดอำนาจตัวแทนทำให้เชื่อว่ามีอำนาจกระทำการแทน และไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามเช็คสองฉบับโดยเช็คฉบับแรกห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและในฐานะส่วนตัวลงชื่อสั่งจ่ายและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ส่วนเช็คฉบับที่สองจำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย คำฟ้องดังกล่าวโจทก์นำสืบได้อยู่แล้วว่า จำเลยที่ 1 ได้เชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการใด ๆ แทนห้างจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวตลอดมา เป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยที่ 2มีอำนาจเช่นนั้น ดังนั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า แม้ห้างจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการไว้มิให้หุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการโดยลำพังได้ก็ตามแต่ในทางปฏิบัติห้างจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทนห้างแต่ผู้เดียวตลอดมา เป็นเหตุให้โจทก์และบุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวมีอำนาจกระทำการแทนห้างจำเลยที่ 1 ได้ จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน และเป็นการเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134-3135/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายจ้าง: ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลก็เป็นนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
นายจ้างตามคำนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 นอกจากหมายความถึงผู้ที่รับเอาลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งในคดีนี้ได้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของโรงงานกระดาษกาญจนบุรีแล้ว ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลยังหมายความถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นด้วย เมื่อผู้อำนวยการโรงงานกระดาษจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ แม้จะมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18011/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเช่าซื้อ: การมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และการโต้แย้งสัญญา
ตามหนังสือรับรองโจทก์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุว่า พ. เป็นกรรมการคนที่ 5 มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญบริษัทผูกพันโจทก์ เมื่อพิจารณาประกอบหนังสือมอบอำนาจซึ่งระบุให้ ท. และ อ. ฟ้องคดีและมีอำนาจมอบอำนาจช่วง และมีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 5 มกราคม 2547 จนกว่าจะได้แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งจำเลยทั้งสองไม่นำสืบให้ได้ความว่าหนังสือมอบอำนาจได้ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเป็นอย่างอื่น เช่นนี้ย่อมฟังได้ว่า พ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และทำหนังสือมอบอำนาจให้ ท. และ อ. ฟ้องคดีต่อมา ท. และ อ. ทำหนังสือมอบอำนาจช่วงให้ อ1. หรือ ศ. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยไม่จำต้องนำสืบหนังสือรับรองโจทก์ที่นายทะเบียนออกให้ ณ วันฟ้องว่า พ. ยังคงเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์อีก โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อ และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ คงให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องและค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเท่านั้น ทั้งจำเลยที่ 1 เบิกความยอมรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ไม่มีการโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ โดยไม่จำต้องอาศัยสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ที่จำเลยทั้งสองเพิ่งมายกขึ้นอ้างในฎีกาว่าโจทก์มิได้ส่งสำเนาแบบคำขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินของสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันให้ก่อนสืบพยานและเอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับจึงต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังนั้น เป็นฎีกาที่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติดังกล่าวแล้ว จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อ และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ คงให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องและค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเท่านั้น ทั้งจำเลยที่ 1 เบิกความยอมรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ไม่มีการโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ โดยไม่จำต้องอาศัยสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ที่จำเลยทั้งสองเพิ่งมายกขึ้นอ้างในฎีกาว่าโจทก์มิได้ส่งสำเนาแบบคำขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินของสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันให้ก่อนสืบพยานและเอกสารดังกล่าวมิใช่ต้นฉบับจึงต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังนั้น เป็นฎีกาที่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติดังกล่าวแล้ว จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้พิทักษ์มีอำนาจกระทำการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องมีเหตุการณ์เฉพาะเกิดขึ้นแล้วจึงจะพิจารณาได้
คำร้องขอที่ให้ศาลมีคำสั่งว่า จ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องจะมีคำขอมาด้วยกันเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ได้ด้วยตนเองไม่ได้ เนื่องจากคำร้องขอของผู้ร้องเป็นแต่เพียงการขอล่วงหน้าโดยยังไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ตามที่ขอเกิดขึ้นจริง จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะให้ศาลนำมาพิจารณาวินิจฉัยเพื่อใช้ดุลพินิจได้ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำขอส่วนนี้ของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3694/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการเข้าร่วมเป็นโจทก์: กรรมการบริษัทต้องกระทำการในนามบริษัท ไม่ใช่ส่วนตัว
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยออกเช็คให้แก่บริษัท ส. โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้นและในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ผู้เสียหายในคดีนี้คือบริษัท ส. ไม่ใช่นาย ส. แม้นาย ส. จะเป็นกรรมการของบริษัท ส. แต่การกระทำการแทนบริษัทจะต้องลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท จึงจะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ เมื่อปรากฏตามคำร้องของนาย ส. ว่าเป็นการยื่นคำร้องในฐานะส่วนตัว ดังนั้นนาย ส. จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้นาย ส. เข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาต่อมา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดในการกระทำการแทน และความผูกพันของบันทึกข้อตกลงการใช้สถานที่
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 36 (1) (4) กำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคลเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลอาคารชุดและต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบังคับหรือตามมติของที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมหรือคณะกรรมการของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลย ตามข้อบังคับของจำเลย ข้อ 12 ซึ่งกำหนดว่า หากตำแหน่งผู้จัดการว่างลงก่อนครบวาระให้ประธานคณะกรรมการหรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการ ทำหน้าที่บริหารอาคารชุดเหมือนผู้จัดการเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้จัดการใหม่ ซึ่งขณะทำบันทึกข้อตกลงให้ใช้สถานที่ ที่ประชุมเจ้าของร่วมยังไม่ได้แต่งตั้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยคนใหม่ แต่มี ธ. ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยทำหน้าที่บริหารอาคารชุดเหมือนเป็นผู้จัดการเป็นการชั่วคราว การที่ ธ. ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงให้ใช้สถานที่จึงถือว่ามีอำนาจกระทำการแทนจำเลยและมีผลผูกพันจำเลย ในการประชุมใหญ่สมัยวิสามัญเจ้าของร่วมครั้งที่ 1/2551 วันที่ 16 มีนาคม 2551 ก็ปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง ธ. เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยต่อจาก ส. พยานจำเลยปาก อ. ซึ่งเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน ก็ยอมรับว่า เคยชำระค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ และจำเลยไม่เคยมีการบอกเลิกบันทึกข้อตกลงให้ใช้สถานที่ดังกล่าว ยิ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยยอมรับตามบันทึกข้อตกลงให้ใช้สถานที่ที่ ธ. ลงลายมือชื่อในนามของจำเลย จำเลยจึงต้องชำระค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามฟ้อง