พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายร่วมหุ้นกับการรื้อถอนกำแพงวัด: สิทธิอำนาจเจ้าอาวาสและผลของการผิดสัญญา
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยจะทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตของวัดที่อยู่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของที่ดินแปลงตามสัญญาตกลงร่วมหุ้นออกไปภายใน 40 วัน นับแต่วันทำหนังสือนั้น เมื่อตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2535 บัญญัติว่า วัดมีสองอย่าง (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา(2) สำนักสงฆ์ ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวัดเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา กำแพงวัดเป็นเพียงศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการก่อสร้างหรือรื้อถอนเพื่อประโยชน์ของวัดได้ หากจำเลยสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสเพื่อขอรื้อถอนกำแพงวัดและทางวัดยินยอม จำเลยย่อมสามารถรื้อถอนกำแพงวัดได้ การที่จำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลยเห็นว่าตนสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่เป็นโมฆะ
ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "...เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2 (จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป 6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุบออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "...เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2 (จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป 6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุบออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจไวยาวัจกรในการจัดการทรัพย์สินมรดกของวัด: การมอบอำนาจและการแต่งตั้งทนายความ
กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่18ลงวันที่30มีนาคม2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505ระบุว่า"ไวยาวัจกร"หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งและจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป.ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่1มีนาคม2536โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่8จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ แม้ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่านาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนามและในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้านจึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งนาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6048/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าพื้นที่ค้าเป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่เป็นมรดก ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจจัดการ
ป. ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ป. เข้าทำการค้าในสถานที่หรือแผงขายสินค้าด้วยตนเองจะนำไปให้บุคคลอื่นทำการค้าหรือโอนสิทธิให้บุคคลอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยที่ 1ก่อน สิทธิอันเกิดจากสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิเฉพาะตัวของป. ไม่เป็นทรัพย์ในกองมรดกของ ป. ที่ผู้จัดการมรดกจะจัดการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรส: ที่ดินรับมรดกเป็นสินสมรส สามีมีอำนาจจำหน่ายได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา
โจทก์เป็นภริยา ผ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2510ผ.จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทเมื่อปี 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ. และเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466,1462 วรรคสอง เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสระหว่างโจทก์กับ ผ.ตกลงกันเป็นอย่างอื่นผ.จึงเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินพิพาทซึ่งรวมถึงการจำหน่ายที่ดินพิพาทด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1468,1473 วรรคหนึ่ง เดิมแม้ภายหลังจะได้มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วบรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ในปี 2519 พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ก็บัญญัติรับรองอำนาจจัดการสินสมรสของ ผ.ดังนั้นผ. เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7518/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย และความครบถ้วนของคำฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่า
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์โดยมิได้เรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลยแม้จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในระหว่างพิจารณาก็ไม่จำต้องเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาในคดี โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินของโจทก์แล้วได้นำที่ดินไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์อันเป็นการทำผิดสัญญาส่วนการกระทำของจำเลยที่ว่านำที่ดินให้ผู้ใดเช่าและเป็นการผิดสัญญาข้อใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้องคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกต้องใช้เสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก สัญญาเช่าที่ทำโดยผู้จัดการมรดกคนเดียวไม่ผูกพันกองมรดก
ผู้จัดการมรดกของ พ.มีสามคน คือ อ. ช. และจำเลย ขณะจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ในคดีนี้ อ.และ ช.ผู้จัดการมรดกอีกสองคนถึงแก่กรรมแล้ว ดังนี้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวย่อมไม่มีอำนาจจัดการมรดกต่อไปตามลำพัง เพราะในกรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคนจะต้องจัดการโดยถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกร่วมกัน สัญญาเช่าที่พิพาทจึงไม่ผูกพันกองมรดก การที่ศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการ-มรดกแต่เพียงผู้เดียวในภายหลังไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าที่พิพาทผูกพันกองมรดก
โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่า ทายาทของ พ.ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่า ทายาทของ พ.ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียว โดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด: การฟ้องแทนห้างเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น
การที่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายทรัพย์สินของห้าง และขอให้ระงับข้อตกลงการโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของห้างกับขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ห้าง เป็นการฟ้องคดีแทนห้างซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่เพราะการฟ้องคดีแทนห้างเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่ และการแบ่งสินสมรสหลังการขาย
ที่พิพาทเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ของโจทก์ และจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 อำนาจจัดการนั้นตามมาตรา 1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้รวมถึงกรณีจำหน่ายด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่พิพาทในวันที่ 24 เมษายน 2533 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ไม่อาจเพิกถอน การโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้เท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งของโจทก์ในสินสมรส ซึ่งการแบ่งสินสมรสจะมีได้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่พิพาทแก่โจทก์ กฎหมายก็ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากัน และศาลมิได้มีคำสั่งให้แยกสินสมรส จึงยังไม่มีการแบ่งสินสมรสกัน โจทก์จึงยังไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกตามพินัยกรรมและการตัดสิทธิทายาท: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมด แม้ไม่ได้ระบุในพินัยกรรม
ตามพินัยกรรมมีข้อความให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ไม่มีข้อความใดจำกัดห้ามมิให้ผู้ร้องจัดการมิให้ผู้ร้องจัดการมรดกของผู้ตายที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม เมื่อพินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นจัดการมรดกโดยมิได้จำกัดอำนาจที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดจึงชอบแล้ว ตามคำร้องขอได้แสดงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก คำคัดค้านก็มิได้โต้เถียงว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และยังขอตั้งเองเป็นผู้จัดการมรดก แสดงว่ายอมรับว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ประเด็นเรื่องเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกจึงไม่มี ผู้ร้องไม่ต้องนำสืบถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกอีก พินัยกรรมระบุให้ตัดญาติพี่น้องออกจากกองมรดกทั้งหมดซึ่งหมายถึงตัวผู้คัดค้านด้วย ผู้คัดค้านจึงไม่อยู่ในฐานะทายาทที่จะยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการอยู่อาศัยในทรัพย์มรดกของทายาท vs. อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
จำเลยทั้งสองเป็นบุตรและเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและพักอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้ตาย ย่อมมีสิทธิอยู่ในบ้านของผู้ตายซึ่งเป็นทรัพย์มรดกได้โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารออกไปจากบ้านดังกล่าวแต่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมีอำนาจจัดการมรดกของผู้ตายได้ตามกฎหมาย รวมทั้งมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทส่งมอบโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพื่อจัดการต่อไปตามหน้าที่ได้