คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973-974/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจำกัดของผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ภาษี: ห้ามวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือการประเมินของเจ้าพนักงาน
ประมวลรัษฎากรมาตรา 31 บัญญัติแต่เพียงว่า การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษี ซึ่งหมายความว่าโจทก์ต้องชำระค่าภาษีทั้ง ๆ ที่อุทธรณ์แล้วเท่านั้น แต่ไม่มีข้อความใดแสดงว่าถ้าไม่เสียภาษีแล้วจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยตามมาตรานี้ไม่ได้
การทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 34 นั้น ผู้ทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีในประเด็นอื่นนอกไปจากรายการที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36-39/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการสำรวจที่ดินจำกัด คดีที่ศาลตัดสินแล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้
เมื่อศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใด เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินใดแล้ว คณะกรรมการสำรวจตาม พระราชบัญญัติการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน ไม่มีอำนาจสั่งยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ เจ้าพนักงานที่ดินในท้องที่นั้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งตามคำพิพากษาของศาล พระราชบัญญัติสำรวจการออกโฉนดที่ดินไม่กินความถึงคดีที่ศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการสำรวจออกโฉนดที่ดินจำกัดเฉพาะการแก้ไขข้อผิดพลาด ไม่สามารถยกเลิกโฉนดที่ออกตามคำพิพากษาศาลได้
คณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ยกเลิกโฉนดที่เจ้าพนักงานได้ออกให้เนื่องจากคำพิพากษาของศาล เพราะความใน พ.ร.บ.ไม่กินถึงว่าให้อำนาจ เช่นนั้น.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจ ก.ท.ส.จำกัดเฉพาะการจัดการทรัพย์สิน ไม่รวมถึงการงดจ่ายหนี้หรือจำกัดสิทธิเจ้าหนี้
การห้ามจ่ายเงินตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 2 ออกตาม พ.ร.บ.กักคุมตัวและจัดกิจการหรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นสัตรูต่อสหประชาชาติ 2488 นั้น มิใช่เรื่องในหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมและจัดทรัพย์สินเป็นการฝ่าฝืนหลักกฎหมายทั่วไปของบ้านเมืองโดยไม่มีพระราชบัญญัติให้อำนาจทำเช่นนั้น หรือให้อำนาจออกกฤษฎีกาเช่นนั้น ถ้าจะตีความว่า ก.ท.ส.มีอำนาจงดการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่อาจถูกยึดหรืออายัติทรัพย์ตามคำสั่งศาลแล้ว ก็จะเป็นการผิดพลาดตามนัยฎีกาที่ 1255/2493

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องหาหลังศาลปล่อยชั่วคราว: อำนาจจำกัดเฉพาะการส่งตัวไปฟ้อง
พนักงานสอบสวนหรืออัยการ ไปขอให้ศาลขังจำเลยระหว่างสอบสวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 จนครบกำหนดและศาลปล่อยตัวจำเลยไปแล้วเช่นนี้ จะมาขอให้ศาลสั่งขังอีกย่อมไม่ได้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อเจ้าพนักงานจับจำเลยใหม่เพื่อฟ้องเป็นคดีจะควบคุมผู้ต้องหาไม่ได้เสียเลย เจ้าพนักงานยังคงควบคุมผู้ต้องหาได้ตามที่จำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีตามตอนต้นแห่งมาตรา 87 คือเพียงเท่าที่จะนำตัวจำเลยมาส่งศาลโดยแท้เท่านั้น จะควบคุมเพื่อเหตุอื่น เช่นสอบสวนต่อไป หรือรออัยการสั่งฟ้องไม่ได้
อัยการฟ้องขอให้ศาลออกหมายจับจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยถูกศาลสั่งขังระหว่างสอบสวนครบกำหนดจนศาลสั่งปล่อยตัวไปแล้วเช่นนี้ไม่ชอบที่ศาลจะรับประทับฟ้องและออกหมายจับให้ เพราะเจ้าพนักงานยังมีอำนาจที่จะดำเนินการเพื่อเอาตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องได้ มิฉะนั้นจะเป็นการยืดอายุความอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย
(อ้างฎีกาที่ 126/2489)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20031/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์จำกัดในคดีที่ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงโทษจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่ เมื่อนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละตลอดชีวิต จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 25 ปี ดังนั้น เมื่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้อุทธรณ์ในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน อีกทั้งไม่ปรากฏว่าความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน กับความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันอันศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจหยิบยกคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานขึ้นพิจารณาได้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 จึงเป็นการไม่ชอบ และฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ ขอให้ยกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานและความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานเช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 นั้น จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในส่วนความผิดดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10399/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาวางเงินซื้อทรัพย์ทอดตลาด: สัญญาผูกพัน, เหตุสุดวิสัย, เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจำกัด
ตามสัญญาซื้อขายระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับผู้ร้อง ข้อ 2.3 กำหนดว่า ผู้ร้องจะนำเงินค่าซื้อทรัพย์ที่ค้างชำระมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันซื้อเป็นต้นไป ในกรณีที่ผู้ร้องไม่สามารถชำระเงินส่วนที่ค้างชำระได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยระบุเหตุผลและความจำเป็น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขยายให้อีกตามที่เห็นสมควรทั้งนี้ไม่เกิน 3 เดือน และไม่ว่ากรณีใดๆ จะไม่มีการขยายระยะเวลาวางเงินให้อีก แสดงว่าหากผู้ร้องไม่สามารถชำระเงินค่าซื้อทรัพย์ที่เหลือภายในกำหนด 15 วัน ผู้ร้องสามารถขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขยายให้ได้ไม่เกิน 3 เดือน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินไป 3 เดือน แล้วตามสัญญา เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีอำนาจจะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปได้อีก จึงเป็นคำสั่งที่เป็นไปตามสัญญาซื้อขายและไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์โดยยื่นคำร้องเมื่อเลยกำหนดเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องได้ต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัย ที่ผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์มีราคาสูง ผู้ร้องอยู่ระหว่างขอสินเชื่อธนาคาร จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7486/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงโทษทางวินัยย้อนหลังของเจ้าหน้าที่รัฐที่ลาออกแล้ว: ป.ป.ช.มีอำนาจจำกัดเฉพาะความผิดทุจริต
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 19 มาตรา 88 มาตรา 91 และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้ในขณะเกิดเหตุ ให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและพิจารณาความผิดทางวินัย เฉพาะข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 เท่านั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยในข้อที่มีการกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่การงานอย่างร้ายแรง การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยโจทก์ว่า การกระทำของโจทก์มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่การงานอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย ตามข้อบังคับของจำเลย ส่วนข้อกล่าวหาทางอาญาไม่มีมูลให้ตกไป จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ ไม่เข้ากรณีตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จะถือเอารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของจำเลย จำเลยต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นทำการสอบสวนโจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยเพื่อดำเนินการทางวินัยเสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ตามข้อบังคับของจำเลย จึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์
of 2