คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ฟ้องรวมทุนทรัพย์เกิน 5,000 บาท คดีมรดก
โจทก์ 4 คน ร่วมกันฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์โดยตั้งทุนทรัพย์รวมกันเป็นเงิน 6,514 บาท ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 9 ส่วนให้โจทก์ได้คนละ 1 ส่วน ดังนี้ เมื่อโจทก์ทั้ง 4 ฟ้องรวมกันเป็นเงินเกินกว่า 5,000 บาทแล้ว จำเลยย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฎีกาเกิดขึ้นเมื่ออ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังแล้ว
เมื่อยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง โจทก์ยังไม่มีอำนาจฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฎีกา: การฎีกาเพื่อยืนยันคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์โดยไม่คัดค้าน ย่อมไม่มีอำนาจฎีกา
เมื่อโจทก์เห็นชอบด้วยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้คัดค้านแต่อย่างใดแล้ว โจทก์จะยื่นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกายืนยันข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นแบบอย่างนั้น ย่อมไม่มีอำนาจฎีกาได้ตาม ป.ม.วิ.อาญา ม. 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาโดยไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่มีอำนาจฎีกาตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์เห็นชอบด้วยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้คัดค้านแต่อย่างใดแล้วโจทก์จะยื่นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกายืนยันข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นแบบอย่างนั้น ย่อมไม่มีอำนาจฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฎีกา, เจ้าของทรัพย์สิน, การฟอกเงิน, สิทธิในการคัดค้าน, สันนิษฐานว่าเป็นทรัพย์สินผิดกฎหมาย
แม้ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นพี่ชาย บิดา และสามีของผู้คัดค้านที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แทนผู้คัดค้านที่ 7 ถึงที่ 9 ได้
เจ้าของที่แท้จริงในทรัพย์สินเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำคัดค้านเพื่อขอคืนทรัพย์สิน ผู้ครอบครองทรัพย์สินแม้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของทรัพย์สินก็ไม่อาจยื่นคำคัดค้านได้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 5 เป็นเพียงผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก ส่วนเงินในบัญชีเงินฝากเป็นของผู้คัดค้านที่ 6 ผู้คัดค้านที่ 5 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ในส่วนมาตรการดำเนินคดีต่อทรัพย์สินที่ให้ยึดหรืออายัดและให้ตกเป็นของแผ่นดิน เป็นคนละส่วนกับการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคล แต่เป็นมาตรการพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะให้ดำเนินการทางแพ่งต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด โดยมีเหตุผลมาจากหลักการคุ้มครองประโยชน์ของสังคมหรือประโยชน์สาธารณะ และหลักการติดตามและเรียกคืนทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดของรัฐ ทำให้สามารถดำเนินคดีทางแพ่งต่อทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดได้ โดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาหรือเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงใช้บังคับย้อนหลังได้ตามนัยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 40 - 41/2546
ทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้มาระหว่างกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51 วรรคสอง ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านที่ 3 จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
ผู้คัดค้านที่ 4 และที่ 6 ไม่เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) ผู้คัดค้านที่ 4 และที่ 6 ต้องแสดงให้เห็นว่าได้รับโอนเงินจากผู้คัดค้านที่ 3 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
of 2