คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจตัวแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4342/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนเกินขอบเขต จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบหนี้ที่เกิดจากการซื้อขาย หากโจทก์เชื่อว่าตัวแทนมีอำนาจ
จำเลยที่ 2 ผู้จัดการเหมืองแร่ของจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสินค้าพิพาทจากโจทก์นำไปใช้ในกิจการเหมืองแร่ของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2จะทำเกินอำนาจตัวแทน แต่การซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ก็ไม่เคยมีหนี้สินติดค้างกันมาก่อน การซื้อขายสินค้าพิพาทนี้มีมูลเหตุทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีอำนาจสั่งซื้อสินค้าพิพาทได้ภายในขอบอำนาจ จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชำระราคาสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดระเบียบของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องภายในที่จะต้องไปว่ากล่าวกันเอง หาเกี่ยวข้องกับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วน, อำนาจตัวแทน, ภาระจำยอม, การฉ้อฉล, สิทธิฟ้อง
สัญญาเข้าหุ้นส่วนได้ทำที่บริษัท ต. มีข้อความว่าบริษัท ต. โจทก์และ ส. ตกลงเข้าหุ้นกันทำการค้าเกี่ยวกับที่ดินเพื่อหากำไรโดยได้มอบให้โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินหนึ่งแปลง และให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในสัญญานั้นโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญบริษัท ต. แต่ใต้ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 มีข้อความอยู่ภายในวงเล็บว่าบริษัท ต. โดยจำเลยที่ 1 กำกับไว้ด้วย เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บริษัท ต. ได้ให้ใส่ชื่อ จ. กรรมการคนหนึ่งของบริษัท ต. เป็นผู้ซื้อและเป็นเจ้าของในโฉนดร่วมกับโจทก์ด้วย ครั้นเมื่อขายที่ดินดังกล่าวแล้วโจทก์และบริษัท ต. ต่างได้รับส่วนแบ่งกำไรไป มิใช่จำเลยที่ 1 รับส่วนแบ่งกำไรไปเป็นส่วนตัว แสดงว่าบริษัท ต. ยอมรับเอาสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. แม้ในสัญญาแบ่งขายที่ดินจะระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายจากสัญญาเข้าหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตยังไม่เกิดผล หากผู้รับประกันยังไม่ได้สนองรับคำเสนอและออกกรมธรรม์
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจ เป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทน: การมอบอำนาจเฉพาะการเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ถือเป็นการมอบอำนาจติดตามทวงถามหนี้
โจทก์เพียงแต่มอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการเก็บรักษาซ่อมแซม แจ้งความ กล่าวโทษ แจ้งราคาค่าเสียหายของทรัพย์และรับชำระหนี้ที่ผู้ละเมิดยอมชดใช้ให้ในชั้นแจ้งความที่สถานีตำรวจ ส่วนการติดตามทวงถามเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดซึ่งไม่ยอมชดใช้ โจทก์จะเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยขอให้การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมกับรวบรวมหลักฐานส่งไปให้โจทก์ ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้การไฟฟ้านครหลวงเป็นตัวแทนโจทก์ในการติดตามทวงถามเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เหตุละเมิดเกิดขึ้นวันที่ 22 สิงหาคม 2524 ครั้นวันที่16 กุมภาพันธ์ 2525 การไฟฟ้านครหลวงแจ้งเรื่องการละเมิดและผู้ทำละเมิดให้โจทก์ทราบโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 คดีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งอุบัติเหตุผ่านตัวแทนประกันภัย: ถือเป็นการแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว หากจำเลยไม่ได้ปฏิเสธอำนาจตัวแทน
โจทก์ทำสัญญาประกันชีวิตกับเพิ่มเติมสัญญาประกันอุบัติเหตุและทุพพลภาพไว้กับจำเลยโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์ จะต้องแจ้งรายละเอียดการเกิดเหตุและยื่นคำเรียกร้องค่าทดแทนเป็นหนังสือต่อจำเลย ในระหว่างอายุสัญญา โจทก์ประสบอุบัติเหตุและได้แจ้งขอรับเงินค่าทดแทนต่อ ศ. ตัวแทนหาประกันของจำเลยซึ่งได้โทรศัพท์แจ้งให้จำเลยทราบ ต่อมาโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยโดยผ่านทาง ศ.อีก เช่นนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีแสดงว่านอกจาก ศ.จะเป็นตัวแทนหาประกันให้จำเลยแล้ว ยังได้ทำการเป็นตัวแทนของจำเลยภายในขอบอำนาจเกี่ยวกับการรับแจ้งอุบัติเหตุด้วย หาก ศ.ไม่มีอำนาจรับแจ้งเหตุตามสัญญาประกันภัยก็ชอบที่จะชี้แจงหรือแนะนำให้โจทก์แจ้งเหตุต่อจำเลยโดยตรง ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของสัญญาประกันอุบัติเหตุและทุพพลภาพแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนและการรับผิดของตัวแทนและตัวการ กรณีทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ชนรถยนต์ชนรถยนต์ของโจทก์ และจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนมาติดต่อตกลงเรื่องค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนได้ทำบันทึกชดใช้ค่าซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์ อันเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ โดยโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการไปโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทน ดังนี้ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง และตามคำฟ้องก็ไม่มีทางที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดได้ที่ศาลไม่รับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว
โจทก์ฎีกาขอให้รับฟ้องจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณา โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ไม่ใช่เสียตามจำนวนทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนช่วงนอกศาล การรับชำระหนี้ และความรับผิดจากละเมิด
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 1 คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงยุติไปแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.ว.พ. ม.142 และ ม.240 ศาลฎีกาต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3
จำเลยที่ 2 ผู้จัดการธนาคารสาขา ได้รับมอบอำนาจจากธนาคารจำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นทนายความฟ้องโจทก์ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง ตามหนังสือมอบอำนาจจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจรับเงินในคดีแทนจำเลยที่ 2นอกศาล การที่โจทก์มอบเช็คให้จำเลยที่ 1 ไปจัดการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 เพื่อมิให้ที่ดินของโจทก์ต้องถูกขายทอดตลาดจำเลยที่ 1 ยอมรับเช็คไปดำเนินการตามความประสงค์ของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์แล้วตาม ป.พ.พ ม.797 วรรคสอง หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิด เมื่อที่ดินของโจทก์ต้องถูกขายทอดตลาดไปเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนในการจัดการมรดก: การฟ้องคดีถอนผู้จัดการมรดก
หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า ขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจทั้งปวงจัดการเกี่ยวกับการขอรับมรดก และมีอำนาจเต็มที่ในการรับและจัดการมรดกดังกล่าวดังนี้ เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจในการขอรับมรดกและมีลักษณะเป็นการตั้งให้เป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะจัดการเกี่ยวกับมรดกที่ได้รับมาได้ตามสมควร ผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแทนหรือร่วมกับจำเลย เพราะเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนในการจัดการมรดก: การฟ้องคดีขัดแย้งผู้จัดการมรดกเกินขอบเขต
หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า ขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจทั้งปวงจัดการเกี่ยวกับการขอรับมรดก และมีอำนาจเต็มที่ในการรับและจัดการมรดกดังกล่าวดังนี้ เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจในการขอรับมรดกและมีลักษณะเป็นการตั้งให้เป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะจัดการเกี่ยวกับมรดกที่ได้รับมาได้ตามสมควรผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแทนหรือร่วมกับจำเลยเพราะเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3482/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนเกินขอบเขต หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดส่วนตัวเมื่อทำสัญญาค้ำประกันเกินวัตถุประสงค์ของห้าง
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้เข้าทำสัญญาค้ำประกันบุคคลภายนอกแทนห้างอันเป็นกิจการนอกวัตถุประสงค์ของห้าง การกระทำของจำเลยจึงเป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 จำเลยจะพ้นจากความรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยพิสูจน์ได้ว่า บุคคลภายนอกได้รู้อยู่ว่าจำเลยทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1348/2523)
of 4