คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจบริหาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารบริษัทต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมายในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คนคือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้านและ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้วก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งบรรจุ/ไล่ออกข้าราชการเป็นอำนาจบริหาร ศาลไม่สามารถแทรกแซงได้
คำสั่งของกระทรวงการคลังจำเลย ที่ตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาว่า ปฏิบัติการไม่ชอบในการจ่ายเงินของทางราชการ โดยให้โจทก์พักราชการระหว่างสอบสวนก็ดี คำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการไว้ก่อนและให้ยับยั้งการขอบำเหน็จบำนาญไว้จนกว่าเรื่องจะถึงที่สุดก็ดี และคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการฐานมีมลทินมัวหมองก็ดี ล้วนเป็นคำสั่งของกระทรวงการคลังที่ออกโดยอาศัยอานาจแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน อันเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ชอบที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วยกฎกระทรวง และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจอให้ศาลพิพากษาว่า คำสั่งดังกล่าวของกระทรวงการคลังเป็นโมฆะ และสั่งบังคับกระทรวงการคลังให้สั่งโจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหาได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหาร และมิใช่หน้าที่ของศาลที่จะสั่งได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499 และคำพิพากษาฎีกาที่ 568/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งบรรจุ/สั่งออกจากราชการเป็นอำนาจบริหาร ศาลไม่สามารถแทรกแซงได้
คำสั่งของกระทรวงการคลังจำเลย ที่ตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาว่า ปฏิบัติการไม่ชอบในการจ่ายเงินของทางราชการโดยให้โจทก์พักราชการระหว่างสอบสวนก็ดีคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการไว้ก่อนและให้ยับยั้งการขอบำเหน็จบำนาญไว้จนกว่าเรื่องจะถึงที่สุดก็ดี และคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการฐานมีมลทินมัวหมองก็ดี ล้วนเป็นคำสั่งของกระทรวงการคลังที่ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน อันเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ชอบที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนประกอบด้วยกฎกระทรวง และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น โจทก์จะนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า คำสั่งดังกล่าวของกระทรวงการคลังเป็นโมฆะ และสั่งบังคับกระทรวงการคลังให้สั่งโจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหาได้ไม่เพราะเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหาร และมิใช่หน้าที่ของศาลที่จะสั่งได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499 และคำพิพากษาฎีกาที่ 568/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งบรรจุ/ไล่ออกข้าราชการเป็นอำนาจบริหาร มติคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ไม่ผูกพันนายกฯ สิทธิฟ้องไม่มี
การขอเข้ารับหรือออกจากราชการตลอดจนการขอเข้าใหม่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือนอันอยู่ในอำนาจหน้าที่องฝ่ายบริหารโดยเฉพาะจะมาฟ้องขอให้ศาลบังคับหาได้ไม่
พระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ไม่มีบัญญัติไว้เด็ดขาดว่านายกรัฐมนตรีจำต้องปฏิบัติตามมติคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์แม้ใน มาตรา 20 ก็ไม่มีผลบังคับเด็ดขาดอยู่เพียงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ๆ พึงเสนอความเห็นอีกทางหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งการของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
คำในวรรคสองซึ่งว่า 'เมื่อนายกรัฐมนตรีได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแล้วจัดการไปเป็นการใด ฯลฯ' ย่อมแสดงว่าอยู่ในความวินิจฉัยของนายกรัฐมนตรีที่จะจัดการไปประการใดก็ได้แล้วแจ้งคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ทราบเพื่อแจ้งแก่ผู้ร้องต่อไป เรื่องระยะเวลา 60 วันก็เพื่อเร่งให้ดำเนินการพิจารณาและสั่งการไปโดยเร็วนั่นเองจึงไม่ทำให้เกิดสิทธิฟ้องคดีเช่นนี้ได้
ศาลไทยยังไม่มีศาลปกครองจึงต้องพิจารณาตามกฎหมายและอำนาจของศาลไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16023-16031/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการประเมินผลการทำงานที่ไม่ขัดต่อข้อตกลงสภาพการจ้าง นายจ้างมีอำนาจบริหารจัดการ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 10 กับพนักงานของจำเลยอีกส่วนหนึ่งตกลงกับจำเลยว่าหากมีการหยุดงานตั้งแต่ 15 วันขึ้นไป ถ้าป่วยแต่ละครั้งหากไม่ไปพบแพทย์เพื่อรักษา ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงจะทำการตัดคะแนนประเมินผลครั้งละ 10,000 คะแนน ข้อตกลงของโจทก์ดังกล่าวกับจำเลยในลักษณะเช่นนี้มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่เป็นเพียงวิธีการเปลี่ยนแปลงแบบวิธีการประเมินตามที่ตกลงกันใหม่เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องของอำนาจการบริหารจัดการของนายจ้างที่สามารถกระทำได้ ทั้งเป็นการตกลงก่อนที่จำเลยกับสหภาพแรงงาน ส. และสหภาพแรงงานพนักงาน ส. จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับที่ 23 พฤศจิกายน 2549 เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 10 ยอมรับข้อตกลงแล้วก็ต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้นและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057-3061/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้ายพนักงานในระดับชั้นเดิมโดยไม่กระทบค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงร่วมระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชากำหนดให้จำเลยมีอำนาจบริหารที่จะแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานทุกระดับชั้นได้ตามเหตุผลและความจำเป็นเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของจำเลยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การแต่งตั้งโยกย้ายนั้นต้องไม่เป็นการลดสภาพการจ้างและค่าจ้างของพนักงานนั้น จำเลยในฐานะนายจ้างจึงมีอำนาจบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลด้วยการจัดให้ลูกจ้างเข้าทำงานรับผิดชอบตามตำแหน่งหน้าที่ในแต่ระดับชั้นที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของลูกจ้าง ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่กิจการของนายจ้าง
ก่อนย้ายโจทก์ทั้งห้าปฏิบัติงานอยู่ในระดับชั้นเจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษซึ่งมิใช่ระดับชั้นเจ้าหน้าที่บริหาร เมื่อย้ายแล้วโจทก์ทั้งห้าก็ยังคงปฏิบัติงานอยู่ในระดับชั้นพิเศษเช่นเดิม โดยไม่ปรากฏว่ามีตำแหน่งใดในระดับชั้นเจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษที่มีลักษณะงานด้อยกว่ากันอย่างชัดเจนแต่กลับปรากฏว่าแต่ละตำแหน่งมีความสำคัญพอ ๆ กัน ทั้งอัตราค่าจ้างที่โจทก์ทั้งห้าได้รับจากจำเลยก็ไม่ได้ลดลง คำสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งในระดับชั้นเจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษด้วยกันจึงไม่อาจถือว่าเป็นการเพิ่มหรือลดตำแหน่งที่มีผลให้สภาพการจ้างเดิมด้อยลง ประกอบกับคำสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งโจทก์ทั้งห้าของจำเลยเป็นการใช้อำนาจบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรที่จะแต่งตั้งโยกย้ายเพื่อให้การบริหารงานบุคคลของจำเลยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการที่จำเลยย้ายโจทก์ทั้งห้ายังอยู่ในระดับชั้นเจ้าหน้าที่ชั้นพิเศษเช่นเดิมและอัตราค่าจ้างไม่ได้ลดลง จำเลยจึงไม่ได้ผิดสัญญาจ้างหรือผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คำสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งโจทก์ทั้งห้าของจำเลยจึงชอบแล้ว
of 2