คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจปกครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากเด็กเพื่ออนาจาร – การกระทำของจำเลยล่วงละเมิดอำนาจปกครองบิดาและเข้าข่ายความผิดฐานพรากเด็ก
ผู้เสียหายหลบหนีออกจากบ้านมาอยู่กับจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบิดา แต่ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุเพียง 13 ปีเศษ อยู่ในอำนาจปกครองของบิดา จำเลยได้พาผู้เสียหายไปตามห้องอาหารต่าง ๆ โดยบิดาผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยเป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดาผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากบิดาการกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาแล้ว ทั้งการเดินโชว์ชุดว่ายน้ำของเด็กหรือการต้องยอมให้แขกผู้ชายที่มาเที่ยวจับหน้าอกในห้องอาหารต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กไปโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร
คำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ริบกาวสังเคราะห์ของกลาง แต่ศาลล่างทั้งสองยังมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้โจทก์จะไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรเมื่อมิได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิในการส่งมอบบุตรคืนแก่ผู้มีอำนาจปกครอง
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: อำนาจปกครองยังคงมีอยู่แม้ผู้เยาว์หนีออกจากบ้าน
นางสาว ส.ผู้เสียหายอายุ 15 ปีเศษ เป็นบุตรและอยู่ในความปกครองของ ล. มารดา แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายได้หนีออกจากบ้านเพราะทะเลาะกับ ล.ผู้เป็นมารดาก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองของ ล.ที่มีอยู่หมดไป การที่จำเลยได้กอดจูบและกระทำชำเราผู้เสียหายขณะที่จำเลยพาผู้เสียหายไปพักที่โรงแรมและที่บ้านญาติจำเลย อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหาย เป็นการล่วงล้ำและกระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย จึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเสียจากมารดาผู้เสียหายเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.มาตรา 319 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เยาว์หนีออกจากบ้าน ก็ยังไม่อาจล้มล้างอำนาจปกครองของมารดาได้
นางสาว ส. ผู้เสียหายอายุ 15 ปีเศษ เป็นบุตรและอยู่ในความปกครองของ ล. มารดา แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายได้หนีออกจากบ้านเพราะทะเลาะกับ ล. ผู้เป็นมารดาก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองของ ล. ที่มีอยู่หมดไปการที่จำเลยได้กอดจูบและกระทำชำเราผู้เสียหายขณะที่จำเลยพาผู้เสียหายไปพักที่โรงแรมและที่บ้านญาติจำเลย อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหาย เป็นการล่วงล้ำและกระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย จึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเสียจากมารดาผู้เสียหายเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้ปกครองต้องเกิดจากไม่มีบิดามารดา หรือถูกถอนอำนาจปกครองเท่านั้น
การตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ ป.พ.พ.มาตรา 1585 วรรคหนึ่งให้ตั้งได้เฉพาะกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์มีมารดาซึ่งยังไม่ถูกถอนอำนาจปกครอง กรณีจึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้
การจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ต้องเป็นที่แน่ชัดว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคนแม้บิดาผู้เยาว์ได้ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่ผู้เยาว์ยังมีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่นยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เหตุนี้จึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้
กรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา กฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องตั้งผู้ปกครองให้กับผู้เยาว์เสมอไป การตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์เป็นคนละกรณีกับการจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ หาใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งการตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้ปกครองต้องมีเหตุที่บิดามารดาไม่มีความสามารถในการดูแล หรือถูกถอนอำนาจปกครอง
การที่จะตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ให้ตั้งได้เฉพาะกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดา ถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว เมื่อผู้เยาว์มีมารดา ซึ่งยังไม่ถูกถอนอำนาจปกครองอยู่ จึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้ หากเป็นการขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองอีกคนหนึ่งนั้น ต้องเป็นที่แน่ชัดว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดา ถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคน คดีนี้แม้บิดาผู้เยาว์ ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วจะไม่ปรากฏชัดว่าจดทะเบียนสมรส กับมารดาผู้เยาว์หรือไม่ แต่ผู้ร้องก็ยอมรับว่าผู้เยาว์มีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่น ยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ กรณีจึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้ นอกจากนี้กฎหมายมิได้บังคับว่าผู้เยาว์ที่ไม่มีบิดามารดานั้นจะต้องตั้งผู้ปกครองให้กับผู้เยาว์เสมอไป การตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์ เป็นคนละกรณีกับการ จัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์หาใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งการ ตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้ปกครองต้องเกิดจากกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือถูกถอนอำนาจปกครองเท่านั้น
การตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 วรรคหนึ่งให้ตั้งได้เฉพาะกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์มีมารดาซึ่งยังไม่ถูกถอนอำนาจปกครอง กรณีจึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้ การจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ต้องเป็นที่แน่ชัดว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคนแม้บิดาผู้เยาว์ได้ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่ผู้เยาว์ยังมีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่นยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เหตุนี้จึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้ กรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา กฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องตั้งผู้ปกครองให้กับผู้เยาว์เสมอไป การตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์เป็นคนละกรณีกับการจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ หาใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งการตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังการตายของบิดา: มารดาเป็นผู้มีอำนาจปกครอง เว้นแต่มีพฤติการณ์มิชอบ
ตามมาตรา 1566 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ในกรณีมารดาหรือบิดาตาย อำนาจปกครองจึงอยู่ กับบิดาหรือมารดา และมีสิทธิเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่ง กักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1567(4) อย่างไรก็ตาม มาตรา 1582 กำหนดไว้ว่า ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองใช้อำนาจปกครอง เกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี ประพฤติชั่วร้ายก็ดี ศาลอาจถอน อำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ ดังนั้น เมื่อ ส. ซึ่งเป็นบิดาของเด็กหญิง ร. ผู้เยาว์ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองจึงตกอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดา เว้นแต่โจทก์ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ หรือประพฤติชั่วร้าย และถูกศาลถอนอำนาจปกครอง การที่จำเลยซึ่งเป็นย่าของเด็กหญิง ร.ฎีกาโต้แย้งว่าโจทก์ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวเด็กหญิง ร.โดยมิชอบและประพฤติชั่วร้าย แต่ที่มิได้นำเด็กหญิง ร.มาเบิกความยืนยัน ก็เพราะเด็กหญิง ร. มีความกลัวมารดานั้น จะเห็นได้ว่า โดยปกติธรรมชาติของมารดา ย่อมมีความรักบุตรและปรารถนาดีต่อบุตร หากจำเลยประสงค์ที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นมารดาที่ ประพฤติผิดธรรมชาติ ปราศจากความรักความเมตตา ต่อบุตร และประพฤติตนชั่วร้าย พยานหลักฐานของจำเลยก็ต้องมีน้ำหนักให้เชื่อได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงเมื่อจำเลยไม่มี ผู้เยาว์มาเบิกความยืนยันต่อศาลถึงสภาพจิตใจที่เป็นอยู่ จึงไม่อาจอนุมานตามที่จำเลยกล่าวอ้างว่าที่ผู้เยาว์มีอาการ ผิดปกติก็เพราะโจทก์ใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบหรือประพฤติชั่วร้าย อันจะเป็นสาเหตุให้ศาลถอนอำนาจปกครองของโจทก์ ดังนั้น แม้จำเลยจะมีฐานะดีมีความเมตตาต่อผู้เยาว์ และสามารถเลี้ยงดู ผู้เยาว์ได้เป็นอย่างดีสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจที่จะปกครองเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ตราบใดที่อำนาจปกครองของโจทก์ซึ่งเป็น มารดายังมิได้ถูกเพิกถอน จำเลยจึงต้องคืนตัวเด็กหญิง ร. ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: เปลี่ยนแปลงได้ตามเจตนาบุตรและสถานการณ์ปัจจุบัน
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากัน ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีบุตร 1 คน คือ ส. อายุ 15 ปี 2 เดือน ต่อมาโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนหย่ากันและตกลงให้ ส.อยู่ในความปกครองของโจทก์ แม้หลังจากโจทก์จำเลยหย่ากันแล้ว ส.อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ส. อันเป็นเหตุให้ศาลล่างทั้งสองเพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์เสีย แต่เมื่อ ส.ได้ยื่นคำร้องแนบท้ายฎีกาโจทก์ว่า ขณะที่โจทก์จำเลยพิพาทกัน ส.ไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ไม่ได้อยู่กับโจทก์จำเลย ต่อมา ส.ได้กลับมาทำงานที่จังหวัดหนองคายรับทราบว่าโจทก์จำเลยฟ้องร้องกัน และ ส.ประสงค์จะอยู่ความปกครองของโจทก์ เนื่องจากจำเลยมีสามีใหม่ ศาลชั้นต้นได้สอบ ส.แล้วยืนยันว่าเป็นบุตรของโจทก์จำเลยและประสงค์จะอยู่ในความปกครองของโจทก์ ทั้งปัจจุบันได้อาศัยอยู่กับโจทก์ ปัจจุบัน ส.อาศัยอยู่กับโจทก์และไม่ประสงค์จะอยู่กับจำเลย แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะปรากฏขึ้นในภายหลังโดยที่โจทก์มิได้นำสืบในชั้นพิจารณา แต่กรณีนี้ถือได้ว่าเหตุที่จะให้ถอนอำนาจปกครองของโจทก์ได้สิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาย่อมที่จะสั่งให้โจทก์มีอำนาจปกครองดังเดิมได้ เมื่อส.อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ส.ได้หมดสิ้นไปแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจะถอนอำนาจปกครองของโจทก์อีก สมควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของ ส.ต่อไป ตลอดจนโจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่จำเลยตามที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกบุตรคืน – ผู้ใช้อำนาจปกครอง – การเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาพ้นกำหนด
บุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (4) หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร
จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย ย่อมไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 13