พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรัฐในการวางระเบียบการรับนักเรียน ไม่ละเมิดสิทธิผู้สมัคร
หัวหน้ากองโรงเรียนรัฐบาลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจที่จะออกคำสั่งวางระเบียบการรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลโดยกำหนดคุณสมบัติและการสอบคัดเลือกไว้ได้ ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ที่จะเข้าศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแต่อย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรัฐในการวางระเบียบการรับสมัครนักเรียนและการไม่ละเมิดสิทธิผู้สมัคร
หัวหน้ากองโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจที่จะออกคำสั่งวางระเบียบการรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลโดยกำหนดคุณสมบัติและการสอบคัดเลือกไว้ได้ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ที่จะเข้าศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแต่อย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งองค์การเพื่อลดค่าครองชีพ และการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
การที่คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งองค์การสรรพาหารขึ้น เพื่อดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชนนั้นย่อมเป็นการดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชน ให้ประชาชนได้มีอาหารครองชีพถูก จึงอยู่ภายในวัตถุที่ประสงค์ของการบริหารแผ่นดินคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจจัดตั้งองค์การนี้ขึ้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484-2495มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้วเพราะวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ตั้งขึ้นเป็นการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการงานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
อนึ่งแม้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มีกล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงจึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พ.ศ.2477มาตรา 4
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484-2495มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้วเพราะวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ตั้งขึ้นเป็นการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการงานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
อนึ่งแม้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มีกล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงจึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พ.ศ.2477มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การห้ามจ่ายหนี้ตาม พรฎ. กักคุมทรัพย์สินศัตรูขัดกฎหมายทั่วไป
การห้ามจ่ายเงินตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 2 ออกตามพระราชบัญญัติกักคุมตัวและจัดกิจการหรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นศัตรูต่อสหประชาชาติ 2488 นั้นมิใช่เรื่องในหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมและจัดทรัพย์สินเป็นการฝ่าฝืนหลักกฎหมายทั่วไปของบ้านเมืองโดยไม่มีพระราชบัญญัติให้อำนาจทำเช่นนั้นหรือให้อำนาจออกกฤษฎีกาเช่นนั้นถ้าจะตีความว่าก.ท.ส.มีอำนาจงดการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่อาจถูกยึดหรืออายัดทรัพย์ตามคำสั่งศาลแล้ว ก็จะเป็นการผิดพลาดตามนัยฎีกาที่1255/2493
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องอาญาเนื่องจากกฎหมายที่ใช้ลงโทษถูกยกเลิกภายหลัง
แต่เดิม พ.ร.บ.ให้อำนาจในการเตรียมป้องกันประเทศ, ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดมีอำนาจออกคำสั่งในเรื่องห้ามนำฝ้ายออกนอกประเทศ จำเลยละเมิดคำสั่งนั้น ต่อมามี พ.ร.บ.ฉบับหลังให้เลิกอำนาจข้าหลวงประจำจังหวัดในเรื่องนั้น ดังนี้จะลงโทษจำเลยไม่ได้ โดยคดีต้องด้วย ก.ม.อาญา ม.8
อ้างฎีกาที่ 300/2488
อ้างฎีกาที่ 300/2488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรัฐในการเรียกร้องค่าสินบนนำจับจากผู้กระทำผิดตาม พรบ.ฝิ่น
ค่าสินบนนำจับที่เจ้าพนักงานร้องขอให้ศาลกำหนดให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรัฐสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หลังปิดงานกระทบเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อย
ก่อนที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งที่ 94/2550 สั่งให้โจทก์รับลูกจ้างในส่วนที่โจทก์ปิดงานกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างให้ตามอัตราที่เคยจ่าย จำเลยทั้งสองให้โอกาสโจทก์และสหภาพแรงงานอัลมอนด์ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาโดยตลอดจนถึงขั้นตอนที่โจทก์ใช้สิทธิปิดงานสำหรับลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานประมาณ 150 คน และหลังจากนั้นจำเลยทั้งสองยังคงควบคุมดูแลข้อพิพาทแรงงานอย่างใกล้ชิดตลอดมาโดยให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าไกล่เกลี่ยอีกหลายครั้ง แต่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ และมีทีท่าจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ฝ่ายลูกจ้างจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนจากการปิดงานพากันไปชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล สถานทูตสหรัฐอเมริกา และไปพบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติที่กองทัพบก ปรากฏว่าแต่ละหน่วยงานไม่สามารถแก้ปัญหาข้อพิพาทแรงงานนี้ได้ ทั้งพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าหากปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไปอีกเหตุการณ์อันเนื่องมาจากข้อพิพาทแรงงานอาจเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้กิจการของโจทก์เป็นการผลิตและส่งออกสินค้าประเภทเครื่องประดับ และโจทก์ปิดงานโดยถูกขั้นตอนตามกฎหมายก็ตาม ก็ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 35 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งให้นายจ้างซึ่งปิดงานรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิมโดยจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เคยจ่ายเพื่อรอการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ คำสั่งที่ 94/2550 ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุเพิกถอน
มาตรา 24 เป็นบทบัญญัติให้นำมาใช้แก่ข้อพิพาทแรงงานที่อยู่ในขั้นตอนที่เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งที่ 94/2550 ข้อพิพาทแรงงานรายนี้ได้ล่วงเลยขั้นตอนข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้จนถึงขั้นตอนการปิดงานแล้ว จึงนำมาตรา 24 มาใช้บังคับไม่ได้
มาตรา 24 เป็นบทบัญญัติให้นำมาใช้แก่ข้อพิพาทแรงงานที่อยู่ในขั้นตอนที่เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งที่ 94/2550 ข้อพิพาทแรงงานรายนี้ได้ล่วงเลยขั้นตอนข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้จนถึงขั้นตอนการปิดงานแล้ว จึงนำมาตรา 24 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญชั่วคราวหลังรัฐประหาร และผลกระทบต่อความรับผิดทางอาญา
สภาพความเป็นรัฐของรัฐใดรัฐหนึ่งนั้นจะต้องประกอบไปด้วยดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน และมีประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนนั้นโดยมีรัฐบาลปกครอง และมีอธิปไตยเป็นของตนเอง ประการสำคัญการตีความกฎหมายต้องตีความในเชิงให้เกิดผลบังคับได้ และต้องเป็นการตีความในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อเจตนารมณ์แห่งความธำรงอยู่ของความเป็นรัฐหรือชาติบ้านเมืองด้วย มิฉะนั้นสถานะความเป็นรัฐหรือความเป็นชาติบ้านเมืองจะถูกกระทบให้เสียหายไปเพราะไม่มีอธิปไตยอยู่ครบถ้วน เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลรักษาการได้อย่างเบ็ดเสร็จ และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยพุทธศักราช 2550 คณะรัฐมนตรี และวุฒิสภาสิ้นสุดลง ประเทศไทยในขณะนั้นจึงไม่มีหน่วยงานใดที่จะทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ แต่มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ามาใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์แทน ซึ่งแม้การได้มาซึ่งอำนาจนั้นจะเป็นวิธีการที่ไม่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และจะมีความชอบธรรมในการได้มาซึ่งอำนาจหรือไม่ก็เป็นกรณีที่ต้องไปว่ากล่าวกันในด้านอื่น แต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ยังมีอำนาจในเชิงข้อเท็จจริงว่าเป็นคณะบุคคลที่ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติโดยควบคุมกลไกและหน่วยงานของรัฐได้ ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ที่บัญญัติโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีสภาพเป็นกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9993-9994/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงิน: อำนาจรัฐในการยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และอายุความที่ไม่ผูกพันกับกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในกรณีที่ศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวเนื่องจากเห็นสมควรกำหนดมาตรการต่างๆ ให้สามารถดำเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการกำหนดมาตรการทางอาญาที่ดำเนินคดีต่อบุคคลที่กระทำผิดฐานฟอกเงิน โดยกำหนดโทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดด้วยการจำคุก ปรับ หรือริบทรัพย์ทางอาญา และกำหนดมาตรการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 6 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 ไว้และให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน การดำเนินการต่อทรัพย์สินดังกล่าวเป็นมาตรการของรัฐที่บังคับเอากับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดซึ่งมุ่งต่อเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน หรือจากการสนับสนุน หรือการช่วยเหลือการกระทำความผิด หรือที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่ายโอนซึ่งเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว ตลอดทั้งดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อให้ตกเป็นของแผ่นดิน ทั้งนี้ไม่ว่าจะจับกุมตัวผู้กระทำความผิดได้หรือไม่ หรือผู้กระทำความผิดถูกลงโทษหรือไม่ ก็สามารถดำเนินการต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าวได้ จึงเป็นการดำเนินคนละส่วนกับการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคล การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินจึงมิใช่เป็นเรื่องโทษทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นการใช้อำนาจรัฐในการติดตามหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจากผู้ที่ครอบครองเงินหรือทรัพย์สินที่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานมาก่อนโดยมิชอบให้ตกเป็นของแผ่นดิน เพื่อตัดวงจรการประกอบอาชญากรรมและทำลายแรงจูงใจสำคัญในการประกอบอาชญากรรมที่ให้ผลตอบแทนสูงซึ่งเป็นมาตรการพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะในการคุ้มครองประโยชน์ของสังคมและประโยชน์สาธารณะกรณีมิใช่เป็นการบังคับใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่ง และไม่อยู่ในบังคับว่าด้วยกำหนดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ผู้ร้องย่อมมีอำนาจขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินได้โดยไม่มีขอบเขตเรื่องระยะเวลาในการติดตามยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น