พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์แม้ชื่อกรรมการไม่ตรงตามที่ระบุไว้ หากมีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองบริษัท
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า บริษัทโจทก์โดย ว. และ ณ.กรรมการเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้อง แต่ ตอนท้ายของหนังสือมอบอำนาจกลับปรากฏว่า ว. ร่วมกับ อ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ฟ้อง เมื่อตาม หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์คือ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ ก.หรือคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งและต้อง ประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้นการที่ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ อ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์และประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงถือได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์สมบูรณ์แล้วแม้ ณ. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงนามในสัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลงนามโดยกรรมการคนเดียวไม่ผูกพันบริษัท
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยส.กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลผูกพันจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับส. และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้นจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามป.วิ.พ.มาตรา138วรรคสอง(2)ไม่มีผลบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงนามในสัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท หากไม่เป็นไปตามข้อบังคับ สัญญาเป็นโมฆะ
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยส.กรรมการบริษัทจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ต้องมีกรรมการของจำเลยตามที่ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับจำนวนสองคนร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลผูกพันจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับส.และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาตามยอมนั้นจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรค2(2)ไม่มีผลบังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงนามสัญญา, สัญญาค้ำประกัน, และการลดเบี้ยปรับจากสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ขณะทำสัญญากับจำเลย ภ. ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ คือโจทก์ ซึ่งมีฐานะเป็นกรมในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี การลงนามในสัญญาดังกล่าวเป็นการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนและตามที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการของโจทก์ ดังนี้ถือได้ว่า ภ. ได้กระทำการไปในฐานะเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์มีอำนาจลงนามในสัญญาแทนโจทก์ได้โดยชอบ โดยไม่จำต้องมีการมอบอำนาจเพื่อการนี้อีก
เงินทุนมูลนิธิฟอร์ดมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อเป็นการช่วยเหลือในการจัดส่งข้าราชการไปศึกษาอบรมและฝึกงาน ณ ต่างประเทศเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการไทยเมื่อโจทก์ติดต่อจนได้รับทุนมาแล้วได้จัดส่งจำเลยที่ 1 ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ โดยโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า เมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการในสังกัดโจทก์ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของสัญญาที่ทำกันไว้หาได้ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามข้อสัญญาที่ทำไว้
จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินเดือนที่ได้รับไปจากโจทก์พร้อมด้วยเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินเดือนคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นการบรรเทาความเสียหายให้แก่โจทก์ส่วนหนึ่งแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของจำเลยที่ 1 และประโยชน์อันจะพึงมีแก่โจทก์โดยส่วนรวมแต่ถ่ายเดียว จึงมีเหตุผลที่ควรได้รับความเห็นใจ เห็นได้ว่าในกรณีเช่นนี้การคิดเอาเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 2 อีกเท่าหนึ่งของจำนวนเงินทุนที่ต้องชดใช้คืนน่าจะสูงเกินส่วน สมควรลดเบี้ยปรับเฉพาะส่วนนี้ลงกึ่งหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันฎีกาขอให้ลดจำนวนเบี้ยปรับแต่เพียงผู้เดียวเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดเบี้ยปรับและกรณีเป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกมิได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ได้
เงินทุนมูลนิธิฟอร์ดมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อเป็นการช่วยเหลือในการจัดส่งข้าราชการไปศึกษาอบรมและฝึกงาน ณ ต่างประเทศเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการไทยเมื่อโจทก์ติดต่อจนได้รับทุนมาแล้วได้จัดส่งจำเลยที่ 1 ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ โดยโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า เมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการในสังกัดโจทก์ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของสัญญาที่ทำกันไว้หาได้ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามข้อสัญญาที่ทำไว้
จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินเดือนที่ได้รับไปจากโจทก์พร้อมด้วยเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินเดือนคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นการบรรเทาความเสียหายให้แก่โจทก์ส่วนหนึ่งแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของจำเลยที่ 1 และประโยชน์อันจะพึงมีแก่โจทก์โดยส่วนรวมแต่ถ่ายเดียว จึงมีเหตุผลที่ควรได้รับความเห็นใจ เห็นได้ว่าในกรณีเช่นนี้การคิดเอาเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 2 อีกเท่าหนึ่งของจำนวนเงินทุนที่ต้องชดใช้คืนน่าจะสูงเกินส่วน สมควรลดเบี้ยปรับเฉพาะส่วนนี้ลงกึ่งหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันฎีกาขอให้ลดจำนวนเบี้ยปรับแต่เพียงผู้เดียวเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดเบี้ยปรับและกรณีเป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกมิได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลงนามไม่ครบถ้วน ทำให้สัญญาแปลงหนี้ไม่ผูกพันเจ้าหนี้
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทโจทก์ว่า ส. หรือ ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ จ. หรือ อ. รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์แม้เอกสารสัญญาที่ทำขึ้นจะมีข้อความเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ แต่ในช่อง 'ผู้รับสัญญา' ในเอกสารดังกล่าวมีก.กรรมการของโจทก์ลงชื่อเพียงผู้เดียวไม่ครบจำนวนตามที่จดทะเบียนไว้เอกสารดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทในการลงนามสัญญาเช่าซื้อ, ความถูกต้องของสัญญา, และการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และมาตรา 1144 กรรมการบริษัทจำกัดเป็นผู้แทนของบริษัท มีอำนาจดำเนินกิจการทุกอย่างภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทได้ หาได้มีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจทั่วไปมีอยู่ไม่ มาตรา 1167 เป็นเรื่องความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอก เป็นต้นว่า กรรมการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวหรือไม่ ดังนี้ จึงจะบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน หาได้หมายความว่ากรรมการบริษัทเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัทไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574 ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติดๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใดๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญา ข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574 ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติดๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใดๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญา ข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่รับรองโดยโนตารีมีน้ำหนักเบื้องต้น, การพิสูจน์อำนาจลงนาม, ความรับผิดของนิติบุคคล
โนตารี่ปับลิคเป็นพนักงานของรัฐต่างประเทศ มีอำนาจตามกฎหมายในการรับรองการกระทำ คือหนังสือมอบอำนาจ ไม่เพียงแต่รับรองการมีอยู่และลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจต่อหน้าตนเท่านั้น จึงฟังได้ในเบื้องต้นว่าเอกสารที่โนตารี่ปับลิครับรองเป็นเอกสารที่ทำขึ้นถูกต้องตามกฎหมายของรัฐนั้น ส่วนใครบ้างจะลงลายมือชื่อแทนบริษัทได้เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องนำสืบ เมื่อจำเลยโต้แย้งหนังสือมอบอำนาจ แต่ไม่นำสืบ จึงฟังตามหนังสือมอบอำนาจได้
ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดนิติบุคคลทำผิด และลงโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274,275 ได้
ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดนิติบุคคลทำผิด และลงโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274,275 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำโดยไม่มีอำนาจลงนาม อายุความไม่สะดุดหยุด
บริษัทจำกัดฟ้องความโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจโดยถูกต้องลงชื่อในคำฟ้องนั้น ถือเสมือนว่าฟ้องไม่มีการลงชื่อและไม่ถือว่าบริษัทจำกัดได้เคยฟ้องคดีนั้นใหม่เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุความที่จะฟ้องร้องแล้วก็ย่อมขาดอายุความ ไม่มีเหตุจะอ้างได้ว่าอายุความได้สะดุดหยุดลง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารราชการ: ผู้ทำเอกสารไม่ใช่ผู้มีอำนาจลงนาม
สัสดีอำเภอผู้มีหน้าที่ทำและรักษาทะเบียนทหารทำใบกองเกินเท็จ ไปให้ปลัดอำเภอลงนามออกให้ผู้ที่มิใช่ตัวจริงไป ดังนี้ เมื่อสัสดีไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ลงนามในใบกองเกินนั้นสัสดีอำเภอก็ย่อมมีผิดเพียงฐานปลอมหนังสือราชการตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 224หามีผิดตามมาตรา 229,230 ไม่ (อ้างฎีกาที่962/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจลงนามที่ไม่ชัดเจน และขอบเขตความรับผิดของตัวแทนและผู้ค้ำประกัน
คำให้การของจำเลยที่ตัดฟ้องว่า โจทก์ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะลงนามแทนสำนักนายกรัฐมนตรีได้ นั้น ย่อมไม่ทำให้เกิดประเด็นที่ศาลจะต้องยกขึ้นวินิจฉัยเพราะจำเลยหาได้ยกข้อเท็จจริงอย่างใดขึ้นกล่าวอ้างให้เป็นประเด็นเพื่อให้ศาลได้วินิจฉัยไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือเนื่องด้วยพฤติการณ์อย่างใดโจทก์จึงไม่มีอำนาจ และการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นคือบทกฎหมายบทใดข้อใด แม้ข้อเท็จจริงบางอย่างศาลรังรู้ได้เอง แต่คู่ความจะต้องกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนั้นให้เป็นประเด็นขึ้นมาในคดี แม้แต่ข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นต่อสู้ ก็จะต้องกล่าวอ้างเช่าเดียวกัน
ภรรยากระทำการไปในฐานะเป็นตัวแทนของสามี ภรรบาจึงไม่ต้องรับผิดในหนี้สินอันเกิดจากการที่กระทำไปตามหน้าที่ตัวแทนหรือร่วมกับสามีเป็นตัวการ
ทำสัญญาค้ำประกันให้ผู้ขายหากผู้ซื้อละเมิดสัญญาหรือมีหนี้สินประกันยอมรับผิด และชดใช้ค่าเสียหายแทน ไม่เกินวงเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อผู้ซื้อไปทำหนี้สินเกินกว่าจำนวนเงินที่คำประกันไว้ ผู้ค้ำประกันก็คงรับผิด ไม่เกินกว่าเงินที่ค้ำประกันไว้
ภรรยากระทำการไปในฐานะเป็นตัวแทนของสามี ภรรบาจึงไม่ต้องรับผิดในหนี้สินอันเกิดจากการที่กระทำไปตามหน้าที่ตัวแทนหรือร่วมกับสามีเป็นตัวการ
ทำสัญญาค้ำประกันให้ผู้ขายหากผู้ซื้อละเมิดสัญญาหรือมีหนี้สินประกันยอมรับผิด และชดใช้ค่าเสียหายแทน ไม่เกินวงเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อผู้ซื้อไปทำหนี้สินเกินกว่าจำนวนเงินที่คำประกันไว้ ผู้ค้ำประกันก็คงรับผิด ไม่เกินกว่าเงินที่ค้ำประกันไว้