พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ใช้ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีการฎีกาในประเด็นนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,8,15,66,67,97,102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,83,32,33 และมีคำขอให้ ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่า จะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการ ล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐาน จำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษ สถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (ยาเสพติด) ที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ริบกัญชาของกลาง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับกัญชาของกลางดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 186(9) เมื่อกัญชาของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงต้องริบกัญชาของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและสั่งให้ริบได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4510/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ และการกำหนดค่าทดแทน
ฎีกาโจทก์มิได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่แรก แต่โจทก์ได้บรรยายมาในฎีกาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาว่าอย่างไร คู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าอย่างไร นอกจากนี้ฎีกาโจทก์ยังได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้แย้งคำพิพากษา ว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ชอบหรือผิดพลาดในข้อใดอย่างไร และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ส่วนคำขอท้ายฎีกาโจทก์ก็ขอให้ศาลฎีกา แก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์ฎีกาจะไม่ได้บรรยายถึงคำฟ้องและคำให้การอันมีมาแต่ศาลชั้นต้นว่าเป็นอย่างไร ฎีกาโจทก์ก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ฟ้องตั้งรูปว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและทางจำเป็น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นทางภารจำยอมโดยมิได้วินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ แต่หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ทางพิพาท ไม่ใช่ทางภารจำยอมและข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยในเรื่องทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นทางจำเป็นได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและมีบ้านปลูกอยู่ในที่ดินทางด้านทิศใต้ติดต่อกับที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือที่ดินของโจทก์ถูกล้อมโดยที่ดินแปลงอื่นไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ได้ โดยที่ดินของจำเลยเป็นที่ดินแปลงหนึ่งที่ล้อมที่ดินของโจทก์ และติดทางสาธารณประโยชน์ หากโจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินจำเลยออกสู่ทางสาธารณประโยชน์ก็จะเป็นทางตรง มีระยะสั้น และสะดวกกว่า ไปใช้ทางอื่น ถือได้ว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 เมื่อโจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำว่า 'CONCERT' ไม่ขัดต่อกฎหมาย, อำนาจการวินิจฉัยของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตามบทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้โต้แย้งว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่นายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งและวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้
คำว่า "CONCERT" ซึ่งมีความหมายว่าการแสดงดนตรีสากลโดยใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่และอาจมีนักร้องประสานเสียงด้วย หรือมโหรี สังคีตและการประสานเสียงเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์เครื่องเล่นวิดีโอ และเครื่องขยายเสียง คำว่า "CONCERT" หาใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรงไม่ เพราะสินค้าวิทยุและตู้ลำโพงมิใช่สินค้าที่ใช้รับฟังได้เฉพาะเสียงการแสดงดนตรี มโหรี สังคีต หรือการประสานเสียงเท่านั้น หากแต่ใช้รับฟังเสียงอื่นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงคนหรือสัตว์เดินหรือวิ่ง เสียงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่นทะเลฟ้าร้อง เสียงการทำและปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม และเสียงอื่น ๆ อีกมากมายเสียงดนตรีจึงเป็นเพียงเสียงอย่างหนึ่งในบรรดาเสียงอื่นอีกมากมายที่รับฟังได้จากวิทยุและตู้ลำโพง ส่วนโทรทัศน์และเครื่องเล่นวิดีโอก็ใช้ได้ทั้งชมภาพและฟังเสียงทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรี เครื่องขยายเสียงก็สามารถขยายเสียงได้ทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรีเช่นกัน ความหมายของคำว่า "CONCERT" เน้นไปที่การแสดงดนตรีวงใหญ่ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรีขึ้นมา แต่เสียงอื่นที่มิได้เกิดจากการแสดงมีได้มากมายหลายกรณี คำว่า "CONCERT" จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ และเครื่องขยายเสียงโดยตรงย่อมมีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์จึงมีลักษณะพึงรับการจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
พ.ร.บ.โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือของเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 กำหนดให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น และมาตรา 5 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2 กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า กองทะเบียนและหนังสือสำคัญ กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จัดเก็บเอกสารทางทะเบียนรวมทั้งออกหนังสือรับรองและต่ออายุทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และกองบริการและเผยแพร่มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจัดทำสารบบและกำกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเห็นได้ว่าการดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ที่เป็นปัญหาข้อพิพาทกันในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวทั้งหมดจำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวข้องการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและอธิบดีกรมจำเลยมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ แม้โจทก์มิได้ฟ้องข้าราชการในกรมจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าผู้อื่นเป็นจำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีนี้เพื่อให้รับผิดได้ เมื่อศาลคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์ต่อไปเท่านั้น ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทันทีได้ เพราะจำเลยต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนของโจทก์ตามขั้นตอนตามกฎหมายคือ พ.ร.บ.พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันได้แก่การที่นายทะเบียนต้องมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบและให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาต่อไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และการที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้โต้แย้งว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่นายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งและวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้
คำว่า "CONCERT" ซึ่งมีความหมายว่าการแสดงดนตรีสากลโดยใช้เครื่องดนตรีวงใหญ่และอาจมีนักร้องประสานเสียงด้วย หรือมโหรี สังคีตและการประสานเสียงเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์เครื่องเล่นวิดีโอ และเครื่องขยายเสียง คำว่า "CONCERT" หาใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรงไม่ เพราะสินค้าวิทยุและตู้ลำโพงมิใช่สินค้าที่ใช้รับฟังได้เฉพาะเสียงการแสดงดนตรี มโหรี สังคีต หรือการประสานเสียงเท่านั้น หากแต่ใช้รับฟังเสียงอื่นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงคนหรือสัตว์เดินหรือวิ่ง เสียงที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่นทะเลฟ้าร้อง เสียงการทำและปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม และเสียงอื่น ๆ อีกมากมายเสียงดนตรีจึงเป็นเพียงเสียงอย่างหนึ่งในบรรดาเสียงอื่นอีกมากมายที่รับฟังได้จากวิทยุและตู้ลำโพง ส่วนโทรทัศน์และเครื่องเล่นวิดีโอก็ใช้ได้ทั้งชมภาพและฟังเสียงทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรี เครื่องขยายเสียงก็สามารถขยายเสียงได้ทุกชนิดไม่จำกัดเฉพาะเสียงดนตรีเช่นกัน ความหมายของคำว่า "CONCERT" เน้นไปที่การแสดงดนตรีวงใหญ่ที่ทำให้เกิดเสียงดนตรีขึ้นมา แต่เสียงอื่นที่มิได้เกิดจากการแสดงมีได้มากมายหลายกรณี คำว่า "CONCERT" จึงเป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าวิทยุ ตู้ลำโพง โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ และเครื่องขยายเสียงโดยตรงย่อมมีลักษณะบ่งเฉพาะเมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าดังกล่าว ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์จึงมีลักษณะพึงรับการจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
พ.ร.บ.โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือของเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 กำหนดให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น และมาตรา 5 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2 กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า กองทะเบียนและหนังสือสำคัญ กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จัดเก็บเอกสารทางทะเบียนรวมทั้งออกหนังสือรับรองและต่ออายุทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และกองบริการและเผยแพร่มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และจัดทำสารบบและกำกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเห็นได้ว่าการดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ที่เป็นปัญหาข้อพิพาทกันในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวทั้งหมดจำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวข้องการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและอธิบดีกรมจำเลยมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ แม้โจทก์มิได้ฟ้องข้าราชการในกรมจำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าผู้อื่นเป็นจำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยในคดีนี้เพื่อให้รับผิดได้ เมื่อศาลคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CONCERT" ของโจทก์ต่อไปเท่านั้น ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทันทีได้ เพราะจำเลยต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนของโจทก์ตามขั้นตอนตามกฎหมายคือ พ.ร.บ.พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 อันได้แก่การที่นายทะเบียนต้องมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบและให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาต่อไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และการที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าทุนนำเข้า: อำนาจวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรเป็นเพียงชั้นแรก ไม่ตัดสิทธิการอุทธรณ์
มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 เป็นเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้ประกอบการที่มีสินค้าทุนอยู่ก่อนวันที่ 1มกราคม 2535 ที่วรรคท้ายของมาตรา 17 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติและในการวินิจฉัยตามมาตรานี้ อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัยและคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" หมายความว่า มาตรา 17 วรรคท้าย ได้กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อขัดข้องในชั้นที่ผู้ประกอบการขอเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มว่ากรณีเข้าหลักเกณฑ์และถูกวิธีการที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ดังนั้น ที่กฎหมายบัญญัติว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาการปฏิบัติงานนี้เป็นที่สุด จึงย่อมต้องหมายความว่าเป็นที่สุดในขั้นตอนของการปฏิบัติงานในชั้นนี้เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไปหาได้ทำให้ขั้นตอนอื่นที่กฎหมายกำหนดเป็นอันยุติไปด้วยไม่ หากจะแปลความมาตรา 17 วรรคท้ายว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรกรณีนี้เป็นที่สุดไม่สามารถยกขึ้นพิจารณาทบทวนได้อีก จะเป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่อธิบดีกรมสรรพากรแต่เพียงผู้เดียว และเป็นการทำลายระบบการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของมาตรา 17 วรรคท้าย คดีนี้โจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ แสดงว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เองก็เห็นว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรมิได้เป็นที่สุด เพราะมิฉะนั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยเหตุผลว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
ตามมาตรา 17 (4) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติว่า กรณีที่จะได้รับเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าทุนนั้น ต้องเป็นสินค้าทุนที่ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามหมวด 4ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้ และไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามกฎหมายใด ๆ หาได้บัญญัติว่า เป็นสินค้าทุนที่ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในขณะที่ขาย ทั้งไม่ได้บัญญัติว่าราคาสินค้าทุนจะต้องไม่รวมดอกเบี้ย กำไร และค่าใช้จ่ายอื่นไว้ด้วย และไม่ได้บัญญัติว่าไม่รวมถึงสินค้าทุนที่ผู้ขายเป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อสินค้าทุนที่พิพาทคดีนี้เป็นเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องกล และยานพาหนะที่ผู้ขายเป็นผู้นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วขายให้โจทก์ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 345,831,890 บาทโดยผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ได้เสียภาษีการค้าไว้แล้วในวันนำเข้า แต่ขณะขายสินค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ ผู้นำเข้าไม่ได้เสียภาษีการค้า เพราะมาตรา 79 ทวิ (1) แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ถือว่า การนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2517 ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร อันเป็นบทบัญญัติเลื่อนกำหนดเวลาเกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีการค้าให้เร็วขึ้น ผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทจึงเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามหมวด 4ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ซึ่งผู้นำเข้าต้องเสียภาษีการค้าในอัตราเดียวกันกับการขายโดยผู้ผลิตในประเทศจึงเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลที่มีขึ้นเพื่อบรรเทาภาระภาษีการค้าที่แฝงอยู่ในสินค้าทุนก่อนใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(วรรคหนึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2539)
ตามมาตรา 17 (4) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติว่า กรณีที่จะได้รับเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าทุนนั้น ต้องเป็นสินค้าทุนที่ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามหมวด 4ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้ และไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามกฎหมายใด ๆ หาได้บัญญัติว่า เป็นสินค้าทุนที่ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในขณะที่ขาย ทั้งไม่ได้บัญญัติว่าราคาสินค้าทุนจะต้องไม่รวมดอกเบี้ย กำไร และค่าใช้จ่ายอื่นไว้ด้วย และไม่ได้บัญญัติว่าไม่รวมถึงสินค้าทุนที่ผู้ขายเป็นผู้นำเข้าแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อสินค้าทุนที่พิพาทคดีนี้เป็นเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องกล และยานพาหนะที่ผู้ขายเป็นผู้นำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วขายให้โจทก์ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 345,831,890 บาทโดยผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ได้เสียภาษีการค้าไว้แล้วในวันนำเข้า แต่ขณะขายสินค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ ผู้นำเข้าไม่ได้เสียภาษีการค้า เพราะมาตรา 79 ทวิ (1) แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ถือว่า การนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าพิพาทเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2517 ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร อันเป็นบทบัญญัติเลื่อนกำหนดเวลาเกี่ยวกับความรับผิดในการเสียภาษีการค้าให้เร็วขึ้น ผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าพิพาทจึงเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามหมวด 4ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ซึ่งผู้นำเข้าต้องเสียภาษีการค้าในอัตราเดียวกันกับการขายโดยผู้ผลิตในประเทศจึงเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลที่มีขึ้นเพื่อบรรเทาภาระภาษีการค้าที่แฝงอยู่ในสินค้าทุนก่อนใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(วรรคหนึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2539)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิทางปกครองต้องเกิดจากผู้มีอำนาจวินิจฉัยในชั้นปกครอง และต้องผ่านกระบวนการจนถึงที่สุด
ความเห็นของ ว.เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าไม่สามารถจดทะเบียนให้แก่โจทก์และสมาชิกได้นั้น เมื่อ ว.เป็นเพียงข้าราชการในสังกัดกรมจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยในชั้นปกครอง ทั้งโจทก์ยังมิได้ยื่นคำขอเพื่อดำเนินการตามกระบวนการทางฝ่ายปกครองจนถึงที่สุด ดังนี้ ยังถือไม่ได้ว่าฝ่ายปกครองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะและการสละที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยแม้จำเลยสละข้อต่อสู้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางภาระ-จำยอมหรือไม่ แล้ววินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ได้เป็นทางภาระจำยอม ห้ามจำเลยและบริวารใช้ทางพิพาท แต่เมื่อทางสาธารณะนั้นประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้ได้ บุคคลใดก็ไม่มีอำนาจห้ามบุคคลอื่นใช้ทางสาธารณะ ดังนั้นแม้จำเลยจะสละข้อต่อสู้ที่ว่าถนนพิพาทเป็นทางสาธารณะไปแล้ว คงต่อสู้ว่าถนนพิพาทเป็นทางภาระจำยอมเพียงประเด็นเดียวก็ตาม หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าถนนพิพาทเป็นทางสาธารณะ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าถนนพิพาทเป็นทางสาธารณะได้ หาเป็นการนอกประเด็นไม่
นอกจากอาจารย์โรงเรียนประมาณ 200 คน และนักเรียนประมาณ 3,000 คนแล้ว ยังมีราษฎรซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ในละแวกถนนพิพาทกว่า20 ครัวเรือน ได้ใช้ถนนพิพาทเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ โดยบางคนใช้ถนนพิพาทมาตั้งแต่เริ่มสร้างเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ไม่มีผู้ใดห้ามปราม ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมได้ยกที่ดินส่วนที่ถนนพิพาทตัดผ่านให้เป็นทางสาธารณะ อันเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1304 โดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณะต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
นอกจากอาจารย์โรงเรียนประมาณ 200 คน และนักเรียนประมาณ 3,000 คนแล้ว ยังมีราษฎรซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ในละแวกถนนพิพาทกว่า20 ครัวเรือน ได้ใช้ถนนพิพาทเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ โดยบางคนใช้ถนนพิพาทมาตั้งแต่เริ่มสร้างเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ไม่มีผู้ใดห้ามปราม ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมได้ยกที่ดินส่วนที่ถนนพิพาทตัดผ่านให้เป็นทางสาธารณะ อันเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1304 โดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณะต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9060/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีซ้ำประเด็นครอบครองที่ดิน แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องผู้ร้องสอดเป็นจำเลยขอไถ่ถอนจำนองที่ดิน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ามีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปีโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องสอดและได้มอบสิทธิครอบครองให้แก่ผู้ร้องสอดโดยสัญญาว่าจะไปจดทะเบียนการโอนให้เมื่อพ้นระยะเวลาห้ามโอน และเพื่อเป็นหลักประกันโจทก์ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่ผู้ร้องสอดสัญญาจะซื้อขายจึงขัดต่อกฎหมายเป็นโมฆะ ส่วนสัญญาจำนองมีผลบังคับได้ ผู้ร้องสอดครอบครองในฐานะผู้รับจำนองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน โจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองได้ สำหรับคดีนี้ผู้ร้องสอดอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องสอดแต่เนื่องจากมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี โจทก์จึงจดทะเบียนจำนองไว้แก่ผู้ร้องสอด โจทก์ได้สละสิทธิและส่งมอบการครอบครองให้แก่ผู้ร้องสอดแล้วผู้ร้องสอดจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินคดีทั้งสองโจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นที่จะวินิจฉัยในคดีนี้มีว่า ผู้ร้องสอดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินหรือไม่ ส่วนคดีก่อนแม้ประเด็นจะมีว่า โจทก์มีสิทธิไถ่ถอนจำนองที่ดินหรือไม่ แต่การที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ก็จะต้องวินิจฉัยในประเด็นที่ว่าผู้ร้องสอดมีสิทธิครอบครองที่ดินหรือไม่เสียก่อนการดำเนินกระบวนพิจารณาของผู้ร้องสอดในคดีนี้จึงซ้ำกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้แล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ปัญหาที่ว่าผู้ร้องสอดดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174-8176/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์
คดีสำนวนที่สองสำหรับโจทก์ที่4นั้นศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่4โดยฟังข้อเท็จจริงว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นเพราะความประมาทของจำเลยที่2ฝ่ายเดียวจำเลยที่1หาได้มีส่วนประมาทด้วยไม่จำเลยที่1และโจทก์ที่2ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่4ดังนั้นการที่โจทก์ที่4ฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่1และศาลอุทธรณ์ที่2ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่4เพียง2,500บาทเป็นการไม่ถูกต้องเพราะโจทก์ที่4มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเต็มจำนวน5,000บาทเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ที่4ฎีกาขอให้วินิจฉัยว่าจำเลยที่1เป็นฝ่ายประมาทกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่4ด้วยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่4นั่นเองอันเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค3ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับคดีสำนวนที่สองไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับฎีกาของโจทก์ที่3และจำเลยที่2ในสำนวนแรกนั้นโจทก์ที่3และจำเลยที่2ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ที่พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่3และจำเลยที่2ร่วมกันใช้ค่าเสียหายจำนวน172,881.25บาทแก่โจทก์ที่1คดีจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งเช่นกันที่โจทก์ที่3และจำเลยที่2ฎีกาว่าจำเลยที่1มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่2ค่าเสียหายของโจทก์ที่1มีเพียงใดและโจทก์ที่3ควรมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือไม่โจทก์ที่3กับจำเลยที่2จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่1และโจทก์ที่2หรือไม่ล้วนแต่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนฎีกาข้อกฎหมายของโจทก์ที่3และจำเลยที่2ในข้อที่ว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าเหตุละเมิดมิได้เป็นเพราะความผิดของจำเลยที่1แต่เป็นเพราะความผิดของจำเลยที่2แต่ผู้เดียวจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและมิใช่เป็นประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค3เพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์นั้นในข้อนี้โจทก์ที่1ได้กล่าวในอุทธรณ์ว่าเหตุที่รถยนต์เกิดชนกันจำเลยที่2เป็นผู้ก่อเพียงฝ่ายเดียวจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทเลินเล่อจึงเป็นข้อที่โจทก์ที่1กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ภาค3ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ คชก.ตำบล วินิจฉัยสิทธิเช่าที่ดินเกษตรกรรม และผลกระทบต่อการฟ้องขับไล่
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมาและจะเข้าทำประโยชน์ แต่จำเลยขัดขวางอ้างว่าเช่าที่พิพาทเพื่อทำนาจาก ช.คชก.ตำบลได้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไป แต่จำเลยเพิกเฉยเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย ฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสอง และคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่เคลือบคลุม
ตามรายงานการประชุมของ คชก.ตำบล ปรากฏว่ามีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 9 คน ครบองค์ประชุม โดยจำเลยเข้าร่วมประชุมด้วย จึงมีกรรมการของ คชก.ตำบลเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งครบองค์ประชุมตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ประชุมมีมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำเลยไม่เห็นด้วย แต่มิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวต่อ คชก.จังหวัดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบล แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา56 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะทำนาในที่ดินพิพาทต่อไป โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องจำเลยได้
จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในปัญหาที่ว่า มติของ คชก.ตำบล ชอบด้วยกฎหมายเพราะมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ เป็นการไม่ชอบในปัญหานี้เป็นประเด็นเดียวกับเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและยังคงโต้แย้งตลอดมาจนถึงชั้นฎีกา แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองพิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยยังมีสิทธิทำนาในที่ดินพิพาทและ คชก.ตำบลไม่มีอำนาจวินิจฉัยและลงมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง ดังนี้ ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยการเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนา คชก.ตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทอันเกิดแต่การเช่าตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองได้ ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 13 (2) สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ตามรายงานการประชุมของ คชก.ตำบล ปรากฏว่ามีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 9 คน ครบองค์ประชุม โดยจำเลยเข้าร่วมประชุมด้วย จึงมีกรรมการของ คชก.ตำบลเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งครบองค์ประชุมตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ประชุมมีมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำเลยไม่เห็นด้วย แต่มิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวต่อ คชก.จังหวัดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบล แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา56 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะทำนาในที่ดินพิพาทต่อไป โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องจำเลยได้
จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในปัญหาที่ว่า มติของ คชก.ตำบล ชอบด้วยกฎหมายเพราะมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ เป็นการไม่ชอบในปัญหานี้เป็นประเด็นเดียวกับเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและยังคงโต้แย้งตลอดมาจนถึงชั้นฎีกา แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองพิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยยังมีสิทธิทำนาในที่ดินพิพาทและ คชก.ตำบลไม่มีอำนาจวินิจฉัยและลงมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง ดังนี้ ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยการเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนา คชก.ตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทอันเกิดแต่การเช่าตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองได้ ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 13 (2) สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย