พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,218 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการบังคับคดี: ต้องฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีเท่านั้น
ตามคำฟ้องโจทก์มุ่งประสงค์ให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่ขายที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ราคาสูงสุดและเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาประมูลครั้งก่อนซึ่งโจทก์เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง เป็นสาระสำคัญ กับมีคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นคำขอต่อเนื่อง ฟ้องของโจทก์จึงเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวในคดีของศาลแพ่งซึ่งออกหมายบังคับคดีส่งไปให้ศาลจังหวัดเพชรบุรีบังคับคดีแทน และจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 7 (2) ประกอบมาตรา 15 วรรคท้าย และมาตรา 302 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย เช่นกัน โจทก์จะต้องเสนอคำฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี คือศาลแพ่งหรืออาจยื่นต่อศาลจังหวัดเพชรบุรีซึ่งเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีและบังคับคดีแทนเท่านั้น โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลแพ่งธนบุรีที่จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตามมาตรา 4 (1) หาได้ไม่เพราะบทบัญญัติมาตรา 4 อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7712/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาความผิดฐานแจ้งความเท็จและปลอมเอกสารราชการ โดยจำกัดอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่มีความผิด และให้ยกคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว จึงเท่ากับยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ ความผิดฐานนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดฐานนี้อีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดตามฟ้อง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7711/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดในความผิดที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และการฎีกาขัดกับคำรับสารภาพ
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ด้วย แต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ จึงเท่ากับยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ความผิดฐานนี้จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดฐานนี้อีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด จึงเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด จึงเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย แม้จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7282/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: การปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยนั้น ได้ความตามฟ้องว่านับแต่จำเลยกู้และรับเงินไปจากโจทก์ จำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์เป็นประจำทุกๆ เดือนตามสัญญา ค้างชำระติดต่อกันหลายงวดซึ่งโจทก์ถือว่าจำเลยผิดสัญญา และจากเอกสารบัญชีเงินกู้ก็ได้ความว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่งวดเดือนเมษายน 2545 เป็นต้นมา และโจทก์ได้ปรับดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ 8.11 เป็น 13.5 นับแต่เดือนกรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเกิดขึ้นหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว เห็นได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดอกเบี้ยจำนวนนี้เป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ การเพิกถอนกระบวนการอนุญาโตตุลาการต้องมีเหตุสมควร
ผู้ร้องและบริษัท จ. ตกลงให้ระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นจากสัญญาโดยวิธีอนุญาโตตุลาการภายใต้การจัดการของสถาบันอนุญาโตตุลาการของหอการค้าระหว่างประเทศ ต่อมามีข้อพิพาทเกิดขึ้น บริษัท จ. เสนอข้อพิพาทให้สถาบันอนุญาโตตุลาการดังกล่าวและต่อมามีการแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการจำนวนสามคนผู้ร้องได้ร้องคัดค้านการแต่งตั้งดังกล่าวต่อศาล กรณีไม่ปรากฏเหตุว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา กระบวนการชั้นอนุญาโตตุลาการจึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันดังกล่าว วิธีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ผู้ร้องอ้างว่าสูงเกินสมควร ก็ล้วนอยู่ในข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการดังกล่าวทั้งสิ้น ส่วนการคัดค้านอนุญาโตตุลาการ กฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้คู่กรณีสามารถร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ หรือให้คณะอนุญาโตตุลาการกระทำการหรืองดเว้นกระทำการในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการแต่อย่างใด ส่วนการขอให้ศาลมีคำสั่งให้คณะอนุญาโตตุลาการหยุดการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการนั้น กรณีตามคำร้องยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้หยุดการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7180/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การไม่สอบถามก่อนสั่งไม่รับฟ้องคดีปกครองที่ยังไม่เคยฟ้องศาลปกครอง ถือไม่ชอบ
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีลักษณะเป็นคดีปกครอง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่าโจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ศาลต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับคำฟ้องดังกล่าวด้วยว่าให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงและการอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมาฟังได้แล้วว่าคดีมีมูลนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แต่ปรากฏว่าในการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องดังกล่าวว่า กรณีศาลมีคำสั่งว่าคดีไม่มีมูล โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ให้ยกคำร้อง และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์นั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงและการอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 โจทก์ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องว่า กรณีศาลมีคำสั่งว่าคดีไม่มีมูล โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ให้ยกคำร้อง และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่ชอบ และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพียงแต่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้สั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และคำสั่งตามคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ชั้นสั่งรับอุทธรณ์เสียใหม่ให้ถูกต้อง เป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยในการพิจารณาคดีหย่าสำหรับคนต่างชาติ และเหตุหย่าตามกฎหมายไทย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ ซึ่งหมายความว่ากฎหมายของประเทศตามสัญชาติคู่สมรสทั้งสองฝ่ายต่างต้องมีบทบัญญัติกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหย่าหรือเหตุหย่าไว้ ศาลไทยจึงจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาให้หย่าขาดจากกันได้ มิใช่ต้องเป็นการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสเท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นคนสัญชาติอเมริกัน ตามกฎหมายของรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดเงื่อนไขการหย่าไว้และบทบัญญัติของกฎหมายของประเทศไทยก็ระบุเงื่อนไขการฟ้องหย่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่าได้
สำหรับเหตุหย่า ตามมาตรา 27 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้อง ดังนั้น ในการวินิจฉัยเรื่องเหตุหย่าตามฟ้องจึงต้องใช้กฎหมายของประเทยไทยบังคับ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2531 หลังสมรสได้ประมาณ 6 เดือน เกิดการขัดแย้งกันเนื่องจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมไม่เข้าใจกัน จำเลยไม่สนใจที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากันได้ เกียจคร้าน ชอบแต่ความสบายไม่ยอมทำงานบ้าน ไม่คบหาสมาคมกับผู้ใดและไม่ชอบออกงานสังคมยกเว้นงานที่จำเป็น แต่ชอบงานเลี้ยงไม่เป็นทางการที่มีความสนุกสนาน ทำให้เกิดการทะเลาะกันเป็นประจำ ด่าว่าโจทก์ซึ่งโจทก์เองก็ด่าจำเลยกลับไปด้วย แต่ไม่เคยทะเลาะกันเสียงดัง เพียงแต่ไม่พูดกันขณะโมโห แม้ในช่วงแรกจำเลยไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับโจทก์ แต่ต่อมาภายหลังโจทก์จำเลยต่างไม่สมัครใจที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกันอีก โจทก์จำเลยคงมีฐานะเป็นสามีภริยาอยู่กินกันมานานถึง 13 ปีเศษ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงถึงขนาดที่อีกฝ่ายเดือดร้อนเกินสมควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) โจทก์จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้
สำหรับเหตุหย่า ตามมาตรา 27 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้อง ดังนั้น ในการวินิจฉัยเรื่องเหตุหย่าตามฟ้องจึงต้องใช้กฎหมายของประเทยไทยบังคับ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2531 หลังสมรสได้ประมาณ 6 เดือน เกิดการขัดแย้งกันเนื่องจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมไม่เข้าใจกัน จำเลยไม่สนใจที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากันได้ เกียจคร้าน ชอบแต่ความสบายไม่ยอมทำงานบ้าน ไม่คบหาสมาคมกับผู้ใดและไม่ชอบออกงานสังคมยกเว้นงานที่จำเป็น แต่ชอบงานเลี้ยงไม่เป็นทางการที่มีความสนุกสนาน ทำให้เกิดการทะเลาะกันเป็นประจำ ด่าว่าโจทก์ซึ่งโจทก์เองก็ด่าจำเลยกลับไปด้วย แต่ไม่เคยทะเลาะกันเสียงดัง เพียงแต่ไม่พูดกันขณะโมโห แม้ในช่วงแรกจำเลยไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับโจทก์ แต่ต่อมาภายหลังโจทก์จำเลยต่างไม่สมัครใจที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกันอีก โจทก์จำเลยคงมีฐานะเป็นสามีภริยาอยู่กินกันมานานถึง 13 ปีเศษ พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงถึงขนาดที่อีกฝ่ายเดือดร้อนเกินสมควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) โจทก์จึงไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สิน การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่าโจทก์ต้องใช้สิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินระหว่าง ธ. กับผู้คัดค้านตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสียก่อน โจทก์จึงจะยึดที่ดินแปลงดังกล่าวบังคับคดีต่อไปได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีไปทีเดียว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านด้วยเหตุที่ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามเพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามี แต่ได้โอนให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง โจทก์หาจำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อนไม่
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะยึดหรืออายัดหรือขายบรรดาทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าทรัพย์สินที่โจทก์ขอนำยึดเป็นของจำเลยโดยเป็นสินสมรสของจำเลยกับสามี แต่ได้โอนให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยสมยอมเพื่อยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินให้พ้นจากการบังคับคดีและยืนยันให้ยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องยึดทรัพย์สินดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการยึด โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ โดยขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 283 วรรคสอง โจทก์หาจำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เสียก่อนไม่