พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: การฟ้องคดีอาญาต่อศาลพลเรือนเมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการ
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรคสอง หมายความว่าขณะที่ศาลพลเรือนสั่งรับประทับฟ้องของโจทก์ ความยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ ต่อมาเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วความจึงปรากฏในภายหลังว่าจำเลยเป็นทหารประจำการ ดังนี้ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปได้เท่านั้น หาได้หมายความว่าคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หากยื่นฟ้องต่อศาลพลเรือนแล้วศาลพลเรือนจะรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ก็ได้
การที่โจทก์นำคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมายื่นฟ้องยังศาลพลเรือน ศาลพลเรือนไม่จำต้องสั่งไม่รับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง (อาจสั่งหลังจากไต่สวนมูลฟ้องแล้วก็ได้)
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 เป็นความผิดในทางอาญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
การที่โจทก์นำคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมายื่นฟ้องยังศาลพลเรือน ศาลพลเรือนไม่จำต้องสั่งไม่รับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง (อาจสั่งหลังจากไต่สวนมูลฟ้องแล้วก็ได้)
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 เป็นความผิดในทางอาญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการ จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดหลายกระทงภายใต้คำสั่ง คปท. และผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลพลเรือน
ความผิดฐานกรรโชกนั้นได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 1 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ระหว่างเกิดเหตุว่าอยู่ใน อำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาส่วนความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบซึ่งไม่อยู่ใน อำนาจศาลทหารนั้น ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 30 ว่าบรรดาคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาถ้าคดีใดประกอบด้วยการกระทำหลายอย่าง แม้แต่ละอย่างจะเป็นความผิดได้ในตัวเองและไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ดังนั้นข้อหาฐานนี้จึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วยศาลพลเรือนรับไว้พิจารณาพิพากษาไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหารคดีความมั่นคงและผลของประกาศคณะปฏิวัติ แม้มีรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลได้รับคำฟ้องไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานหรือต้องวินิจฉัยว่าฟ้องมีมูลหรือไม่เสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ชอบที่จะงดการไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโฆษณาหรือประกาศให้บุคคลอื่นประทุษร้ายต่อชีวิตโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85และมีคำขอท้ายฟ้องโดยอ้างมาตรา 288 มาด้วย ต้องถือว่า โจทก์มีความประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 288 เพราะตามมาตรา 85 นั้น เมื่อจะใช้ก็ต้องโยงไปประกอบมาตรา 288 ด้วย ดังนั้น เมื่อเหตุในคดีนี้เกิดขึ้นระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก และความผิดตามมาตรา 288 อยู่ในอำนาจของศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา
เมื่อคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมมีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งอันถือว่าเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวประกาศหรือคำสั่งนั้นก็ยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโฆษณาหรือประกาศให้บุคคลอื่นประทุษร้ายต่อชีวิตโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85และมีคำขอท้ายฟ้องโดยอ้างมาตรา 288 มาด้วย ต้องถือว่า โจทก์มีความประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 288 เพราะตามมาตรา 85 นั้น เมื่อจะใช้ก็ต้องโยงไปประกอบมาตรา 288 ด้วย ดังนั้น เมื่อเหตุในคดีนี้เกิดขึ้นระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก และความผิดตามมาตรา 288 อยู่ในอำนาจของศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา
เมื่อคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมมีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งอันถือว่าเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวประกาศหรือคำสั่งนั้นก็ยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหารในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งฝากขัง และผลของการสิ้นสุดการควบคุมตัวก่อนการพิจารณาคดี
พนักงานสอบสวนขอฝากขังผู้ร้องต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 3(ศาลจังหวัดชัยภูมิ) ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านว่าพนักงานสอบสวนควบคุมผู้ร้องเกินอำนาจ เป็นการขังโดยผิดกฎหมายศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (ศาลจังหวัดชัยภูมิ) ไต่สวนแล้วมีคำสั่งว่าการควบคุมของพนักงานสอบสวนชอบแล้ว จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ร้องได้ ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวศาลมณฑลทหารบกที่ 3 (ศาลจังหวัดชัยภูมิ) สั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่ได้ถูกควบคุมหรือขังในระหว่างสอบสวนแล้วจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปว่าพนักงานสอบสวนควบคุมผู้ร้องไว้ชอบหรือไม่ ดังนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมไม่ชอบ เพราะคดีนี้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลทหารในเวลาไม่ปกติ จึงอยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร และเมื่อผู้ร้องฎีกาต่อมาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหารยังคงมีผลแม้เลิกใช้กฎอัยการศึก คดีชิงทรัพย์ที่เกิดก่อนหน้านี้ยังอยู่ในอำนาจพิจารณา
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2516 เวลากลางคืน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 แม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2517 มาตรา 3 ยกเลิกความผิดบางประเภทรวมทั้งความผิดนี้ แต่มาตรา 4 ให้คดีที่เกิดขึ้นหรือหลังวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 นาฬิกา จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้คงอยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษา และแม้จะมีประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัด ลงวันที่ 18 มีนาคม 2517 ให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดรวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2517 เวลา 6.00 นาฬิกา เป็นต้นไปก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 มาตรา 4 ก็บัญญัติว่า เมื่อเลิกใช้กฎอัยการศึกศาลทหารยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ในศาลหรือที่ยังมิได้ฟ้องเช่นคดีนี้ได้ ฉะนั้น ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ที่ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและศาลอุทธรณ์รับคำฟ้องและดำเนินการพิจารณาพิพากษามา จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวดับอำนาจศาล คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีชิงทรัพย์ที่เกิดก่อนประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก ยังคงอยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ฟ้องต่อศาลพลเรือน
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2516 เวลากลางคืน ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พ.ศ.2514 แม้ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 พ.ศ.2517 มาตรา 3 ยกเลิกความผิดบางประเภทรวมทั้งความผิดนี้ แต่มาตรา 4 ให้คดีที่เกิดขึ้นในหรือหลังวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 นาฬิกา จนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2517 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คงอยู่ในอำนาจศาลทหาร พิจารณาพิพากษา และแม้จะมีประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดลงวันที่ 18 มีนาคม 2517 ให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางจังหวัดรวมทั้งจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2517 เวลา 6.00 นาฬิกา เป็นต้นไปก็ตามแต่พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503มาตรา 4 ก็บัญญัติว่า เมื่อเลิกใช้กฎอัยการศึกศาลทหารยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ในศาล หรือที่ยังมิได้ฟ้องเช่นคดีนี้ได้ฉะนั้น ศาลพลเรือนจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและศาลอุทธรณ์รับคำฟ้องและดำเนินการพิจารณาพิพากษามา จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจศาล คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธของนายทหารประทวนอยู่ในอำนาจศาลทหาร
จำเลยรับราชการเป็นนายทหารประทวนประจำการ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16(3) ศาลจังหวัดไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกัน แม้มิได้ร่วมกระทำความผิดโดยตรง
ความผิดเป็นคดีที่ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 4 ประการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อันมีผลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
คำว่า "ด้วยกัน" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 (1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำว่า "ด้วยกัน" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 (1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คดีทหารกับพลเรือนประมาทชนกัน
ความผิดเป็นคดีที่ตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 4 ประการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498ต้องถือว่าเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อันมีผลตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน
คำว่า 'ด้วยกัน' ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำว่า 'ด้วยกัน' ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498มาตรา 14(1) ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทหารกับพลเรือนได้ร่วมกระทำความผิดตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเสมอไป
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทหารประจำการ โดยบรรยายคำฟ้องว่า จำเลยกับนายเดช (พลเรือน) ซึ่งยังหลบหนีอยู่ ต่างขับรถคนละคันด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเฉี่ยวชนกัน เป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ เป็นเรื่องที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน เป็นคดีที่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 14(1) แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498เป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีต่อศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: คำสั่งประกันและปรับนายประกันเป็นคำสั่งของศาลทหาร ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณา
คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร และเมื่อได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอประกัน และสั่งปรับตามสัญญาประกันไปแล้ว จะอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นศาลพลเรือนไม่ได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 732/2504)