พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งคำร้องขอถอนทนายความ และสิทธิในการถอนทนายความของผู้ชำระบัญชี
ขณะที่จำเลยที่1และที่2ยื่นคำร้องขอถอนทนายความนั้นศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์แล้วคดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้มีอำนาจสั่งคำร้องคือศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งคำร้อง จำเลยที่1และที่2แต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนเป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ15ว่าด้วยตัวแทนมาตรา797และย่อมมีสิทธิขอถอนทนายความซึ่งเป็นแทนเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827วรรคหนึ่งหากทนายความเสียหายอย่างไรชอบที่จะว่ากล่าวเอาแก่คู่ความที่ตั้งตนเป็นทนายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827วรรคสอง ขณะที่จำเลยที่1ยื่นคำร้องขอถอนทนายความเป็นเวลาที่จำเลยที่1ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางถอนชื่อออกจากทะเบียนอันถือได้ว่าบริษัทได้เลิกแล้วแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249ก็บัญญัติว่าให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีจำเลยที่2และที่6เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1251,1252กับมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1259ตราบใดที่ยังไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีจำเลยที่1ขึ้นมาใหม่จำเลยที่1และที่6ในฐานะผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนทนายความแทนจำเลยที่1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์และการพิจารณาเจตนาชำระหนี้ค่าฤชาธรรมเนียม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยว่าอุทธรณ์ภายในกำหนดรับอุทธรณ์นั้นไม่ชอบ กรณีดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์สั่งและการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้โดยไม่ได้กำหนดให้จำเลยวางเงินหรือหาประกันมาวางศาลใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและหนี้คำพิพากษาถือไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาฝ่าฝืนไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางศาล หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5630/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะคู่ความของหน่วยงานราชการ และอำนาจสั่งพักราชการ/ออกจากราชการเนื่องจากมลทิน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหรือนิติบุคคลตามกฎหมายพิเศษ แม้กรมกำลังพลทหารบก จำเลยที่ 3กรมการแพทย์ทหารบก จำเลยที่ 4 และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำเลยที่ 5จะเป็นหน่วยงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพบก กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2512 มาตรา 4 ซึ่งออกตามความในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 ก็มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความที่จะถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยได้ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการสั่งให้ทหารประจำการพักราชการ พ.ศ. 2500 ข้อ 6(2) กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการออกจากราชการได้ แม้ไม่ได้กระทำความผิด แต่หากมีมลทินหรือมัวหมอง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ผู้บังคับบัญชาของโจทก์มีคำสั่งให้โจทก์ซึ่งถูกสั่งให้พักราชการออกจากราชการประจำการเป็นนายทหารกองหนุน มีเบี้ยหวัด เพราะเหตุมลทินหรือมัวหมอง จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งทำงานล่วงเวลาของผู้ช่วยผู้จัดการสาขาเมื่อผู้จัดการสาขาไม่อยู่ ถือว่ามีอำนาจสั่งได้ตามข้อบังคับธนาคาร
ตาม ข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้อำนาจผู้จัดการสาขาเป็นผู้อนุมัติให้พนักงานทำงานล่วงเวลาได้ การที่ผู้ช่วยผู้จัดการสาขามีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานล่วงเวลา ในวันที่ผู้จัดการสาขาไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่นั้น ถือ ว่าผู้ช่วยผู้จัดการสาขาสั่งในฐานะ ผู้จัดการสาขา เมื่อข้อบังคับของจำเลยมิได้กำหนดอำนาจผู้ช่วยผู้จัดการสาขาว่าผู้ช่วยผู้จัดการสาขาทำการแทนผู้จัดการสาขาจะสั่งการเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาไม่ได้หรือจะต้อง ได้ รับมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนจึงจะสั่งได้ ดังนี้ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาทำการแทนผู้จัดการสาขาจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์ไปทำงานล่วงเวลาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927-2929/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารผิดแบบ แม้ผู้ซื้อเป็นผู้สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 40,42 ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะสั่งให้ผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงานรวมทั้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองระงับการก่อสร้างที่ผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และหากการกระทำนั้นไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนภายในเวลาที่กำหนด บทกฎหมายนี้ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรวมไปถึงเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่ก่อสร้างผิดแบบแปลนดังกล่าวด้วย ดังนั้นแม้จำเลยซื้ออาคารจาก อ. มาโดยสุจริตโดยไม่ได้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทในส่วนที่ผิดแบบแปลนก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ หากจำเลยต้องเสียหายอย่างใดก็เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวเอากับผู้ที่ทำให้จำเลยต้องรับผิดรื้อถอนอาคารต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งทำงานล่วงเวลา และผลผูกพันตามข้อบังคับเพิ่มเติมของนายจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุไม่มีข้อความกล่าวถึงสิทธิของนายจ้างในการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติ และโทษของลูกจ้างซึ่งฝ่าฝืนไว้ ต่อมานายจ้างได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติได้ นายจ้างจึงกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับคำสั่งลงลายมือชื่อในบัญชีพนักงานทำงานล่วงเวลา และได้กำหนดโทษลูกจ้างที่ฝ่าฝืนคำสั่งเป็นขั้น ๆ ไว้ในเอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นกรณีที่ นายจ้าง กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพิ่มเติมนายจ้างจึงต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับที่เพิ่มเติมนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ต้องมีเหตุอาคารผิดกฎหมาย หรือแก้ไขไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้เฉพาะกรณีการก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้างนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าการก่อสร้างอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น คงปรากฏเพียงว่าจำเลยก่อสร้างอาคารใหญ่โตเกินไป ซึ่งเจ้าของที่ดินถือว่าเป็นการผิดข้อตกลง และยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับการออกใบอนุญาตจึงหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือผิดสุขลักษณะอนามัยหรือไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โจทก์จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร และการพิพากษาเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจที่จะพิจารณาสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นระยะเวลาเพียงใด เป็นอำนาจโดยเฉพาะของกรมตำรวจตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 35 โจทก์อ้างว่าคำสั่งของกรมตำรวจจำเลยที่ 2 ที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว อยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ศาลเพิกถอน แต่คำฟ้องโจทก์ไม่ได้ความว่าคำสั่งดังกล่าวฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายใด ศาลไม่อาจพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ต้องเป็นไปตามกฎหมายและมีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ
จำเลยก่อสร้างต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ในระหว่าง เวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ใช้บังคับ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ออกมาใช้บังคับแทนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 แล้ว อำนาจของโจทก์ที่สั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคาร จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ ก็เฉพาะแต่กรณีตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 9 เท่านั้น ฯ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบังคับท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วย มาตรา 43 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารและไม่ได้รับอนุญาต เพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่า ความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้ก็ตาม แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ ก็เฉพาะแต่กรณีตาม มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 9 เท่านั้น ฯ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบังคับท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วย มาตรา 43 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯ ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารและไม่ได้รับอนุญาต เพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่า ความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้ก็ตาม แต่ต่อมาปรากฏว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งถอดถอนเจ้าอาวาสของเจ้าคณะจังหวัด: อำนาจทางศาสนจักรที่ไม่สามารถก้าวก่ายได้หากเป็นการใช้อำนาจโดยชอบ
โจทก์เป็นเจ้าอาวาส จำเลยเป็นเจ้าคณะจังหวัด จำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ตามกฎมหาเถรสมาคม คำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม อันเป็นอำนาจของทางฝ่ายศาสนจักรที่จะมีคำสั่งโดยเฉพาะ เมื่อฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่าจำเลยปฏิบัติมิชอบอย่างไรหรือมีการกลั่นแกล้งโจทก์ในการออกคำสั่งนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะไปก้าวก่ายในคำสั่งดังกล่าวได้