คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจสั่งการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งการของเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค และความต่อเนื่องของความผิดแม้มีประกาศยกเลิก
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯลฯ ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใบออกคำสั่งเพื่อให้การเป็นไปตาม พ.ร.บ. เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนประกาศที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สั่งการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นก็ย่อมมีผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานอันมีโทษตาม พ.ร.บ.นี้
ประกาศของคณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคฯ นั้นหาใช่กฎหมายไม่ ประกาศที่ออกมาภายหลังยกเลิกการควบคุมสิ่งของบางอย่าง จึงไม่ใช่กฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือไม่เอาโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดฐานฝ่าฝืนประกาศฉะบับแรก กรณีไม่ต้องด้วย ป.ม.วิ.อาญา ม. 39(5) หรือ ก.ม.อาญา ม. 8 ผู้ฝ่าฝืนจึงยังคงมีความผิดและมีโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งการข้ามเขตของผู้กำกับการตำรวจและการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้กำกับการตำรวจมีอำนาจสั่งให้นายร้อยตำรวจไปช่วยราชการและทำการสอบสวนคดีภายในเขตต์จังหวัดของตนได้
การสอบสวนที่นายร้องตำรวจผู้นั้นกระทำไประหว่างช่วยราชการ เป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งการข้ามเขตของผู้กำกับการตำรวจและการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้กำกับการตำรวจมีอำนาจสั่งให้นายร้อยตำรวจ ไปช่วยราชการและทำการสอบสวนคดีภายในเขตจังหวัดของตนได้
การสอบสวนที่นายร้อยตำรวจผู้นั้นกระทำไประหว่างช่วยราชการเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การจ่ายเงินผ่านโจทก์ไม่ใช่ค่าจ้าง หากไม่มีอำนาจสั่งการ ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ประกันสังคม
ลักษณะงานของโจทก์ที่เกี่ยวกับแพทย์และพยาบาลที่โจทก์จัดหาเข้าไปดูแลยังสถานประกอบกิจการนั้น โจทก์ไม่มีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับการทำงานของแพทย์และพยาบาล แพทย์และพยาบาลจะไปหรือไม่ก็ได้ ไม่มีระเบียบเกี่ยวกับการลา เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์และพยาบาลนั้นสถานประกอบการเป็นผู้จ่ายโดยจ่ายผ่านโจทก์ซึ่งจะหักเป็นค่าติดต่อแล้วจึงจ่ายส่วนที่เหลือให้แก่แพทย์และพยาบาล เงินดังกล่าวไม่ใช่ค่าจ้างที่โจทก์จ่ายให้ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์และพยาบาลจึงไม่มีลักษณะเป็นนายจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการข้าราชการส่วนภูมิภาค และการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ และจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้" เห็นได้ว่า สำหรับกรณีที่ส่วนราชการเป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้บังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารของส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดย่อมมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการฝ่ายบริหารของส่วนราชการดังกล่าวไปปฏิบัติราชการยังส่วนราชการต่าง ๆ ในเขตจังหวัดนั้นได้ เพราะเป็นการใช้อำนาจในทางบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้การบริหารราชการในส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายบริหารของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาคไปปฏิบัติราชการยังโรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่งในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีในเขตจังหวัดปทุมธานีได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยทั้งสองได้ส่งเรื่องที่คณะกรรมการและประเมินผลมีมติให้โจทก์ซึ่งปฏิบัติราชการที่โรงพยาบาลลาดหลุมแก้วกลับไปปฏิบัติราชการเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำลูกกาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2542 ไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีเพื่อพิจารณาสั่ง จึงเป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
of 2