พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายทะเบียนเพิกถอนสูติบัตร: กรุงเทพมหานครไม่ใช่ผู้มีอำนาจเพิกถอน
กรุงเทพมหานครไม่ใช่นายทะเบียนผู้มีอำนาจเพิกถอนสูติบัตรตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจฟ้องบังคับกรุงเทพมหานครให้เพิกถอนสูติบัตรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8847/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกคำสั่งระงับการก่อสร้าง และการพิจารณาคำสั่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ดังนั้น การที่ ส. ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ในฐานะผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคาร จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ มิใช่คำสั่งของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 40 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 คือสั่งโดยกำหนดเวลาให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตให้ถูกต้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) นั้น เป็นบทบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องพิจารณามีคำสั่งตามมาตรา 41 ภายในเวลาอันสมควร มิใช่บังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องมีคำสั่งตามมาตรา 40 (1) เสียก่อนหรือบังคับให้คำสั่งตามมาตรา 40 (1) ต้องมีผลบังคับไปชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณามีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 40 (3) ได้ ดังนั้นคำสั่งที่ให้โจทก์ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งที่ให้โจทก์แก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตฉบับใดจะออกก่อนหลังกันอย่างไรและลงวันที่ในคำสั่งหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งสองฉบับและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่มีเหตุจะเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการพิเศษถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง: การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์
แม้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา 27บัญญัติให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)ที่จะเสนอก.อ.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน ก.อ.รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อก.อ. ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 การจัดทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอที่ประชุมก.อ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7590/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดูแลที่สาธารณประโยชน์: ป.ที่ดินไม่ตัดอำนาจหน้าที่นายอำเภอตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่
ความในมาตรา 8 แห่ง ป.ที่ดิน หมายถึง ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น จึงให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมที่ดินที่จะดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นได้ แต่ในเรื่องที่สาธารณประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น ได้มี พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122บัญญัติไว้ให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62วรรคสาม เห็นได้ว่า ป.ที่ดินมิได้ยกเลิกเพิกถอนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ดังนั้น การสอบสวนและแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของนายอำเภอจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่การยึดของกลางในคดีอาญา: อำนาจอยู่ที่พนักงานสอบสวน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 64 บัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไว้ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาย่อมมีความหมายว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวน ตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ก่อนมี การสอบสวนเท่านั้นไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ด้วย จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนแต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้นและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม มิได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดด้วยไม่ โดยขั้นตอนต่อไปในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมต้องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือ ตรวจค้นยึดได้นั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ ก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป กรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้ ส่วนข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจในขณะนั้นกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้ เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับ ของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลาง ที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและ ดำเนินการ ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการ ปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและ สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แม้กฎหมายและระเบียบกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการ มีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาล มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดี ไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวน จึงเป็น การกระทำการแทนพนักงานสอบสวน กรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล ไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ ขอมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก vs. สิทธิควบคุมของทายาท: ผู้จัดการมรดกจัดการเอง ทายาทสั่งการไม่ได้
ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมิใช่ตัวแทนของทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายผู้จัดการมรดกจึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทในอันที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง, 1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง, 1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดก: ทายาทควบคุมดูแลได้ แต่สั่งการโดยตรงไม่ได้
ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมิใช่ตัวแทนของทายาท เพราะอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายผู้จัดการมรดกจึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทในอันที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง,1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
ทายาทไม่มีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1727
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726, 1727 วรรคสอง,1729,1731 และ 1732 นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย
การที่ผู้ร้องที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทที่ตั้งตามพินัยกรรมเข้าบริหารทรัพย์สินของกองมรดกแทนผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย เป็นวิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1723 ดังนี้ ทายาทย่อมไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำการดังกล่าวได้ และมิใช่อำนาจของศาลที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกกระทำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง: ทายาทสั่งการไม่ได้, ศาลบังคับไม่ได้, ผู้จัดการมรดกจัดการเอง
ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมและเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก และเป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการโดยตนเอง จะให้ผู้ใดทำแทนไม่ได้ เว้นแต่กรณีเข้าข้อยกเว้นให้ผู้จัดการมรดกมอบให้ตัวแทนทำการได้ตามอำนาจที่ให้ไว้โดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายในพินัยกรรม หรือโดยคำสั่งศาล หรือในพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำสั่งตั้งมิใช่ตัวแทนของทายาท อำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมาย จึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและทายาท ทายาทหามีอำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระทำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้นำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ และทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอำนาจที่พินัยกรรมและกฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งมีอำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1729,1731,1726,1732 และ 1727 วรรคสอง เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การจัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย ดังนั้น วิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะกระทำเองทายาทและศาลไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติตามมติที่ประชุมทายาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจากการใช้อำนาจหน้าที่ผิดหน้าที่และแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งในการหารายได้ให้แก่จำเลย การที่โจทก์มีคำสั่งโดยพลการเพื่อประโยชน์ของโจทก์เอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยแล้วยังเห็นได้อย่างชัดแจ้งอีกว่าจำเลยจะต้องได้รับความเสียหาย เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยโจทก์มีคำสั่งให้พนักงานขับรถซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของโจทก์ขับรถนำพนักงานขายของจำเลยไปชมการสาธิตเครื่องดูดฝุ่นของบริษัท ฮ. อันเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าที่จำเลยจำหน่าย โดยฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่มีคำสั่งให้พนักงานขับรถดังกล่าวขับรถนำพนักงานขายสินค้าของจำเลยไปขายที่อื่น โดยโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วหรือเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่จำเลยและหลังจากที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ก็ได้ไปทำงานที่บริษัท ฮ. โดยมีพนักงานขายของจำเลยที่เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ลาออกจากจำเลยไปทำงานกับโจทก์อีกด้วยการกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายเดิม แม้มีการปิดคดีชั่วคราว เนื่องจากยังมีอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 มาตรา 34 บัญญัติว่า บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2538 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่19 มิถุนายน 2539 จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด คดีจึงมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย อนึ่งแม้ตามหนังสือของผู้ปฏิบัติราชการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง รายงานศาลปิดคดี ได้ความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไป กับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 หากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 117เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆไว้เป็นการชั่วคราว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 134 และ 160 กรณียังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จึงร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35ไม่ได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2