คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจแก้ไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วินิจฉัยเรื่องริบของกลาง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์
ฟ้องของโจทก์มีคำขอให้ริบของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยให้ริบของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2532/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลไม่ต้องผูกพันข้อเท็จจริงจากคดีอาญา และมีอำนาจแก้ไขค่าทนายความ
ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ปัญหาว่าคดีแพ่งต้องถือตามข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
การที่โจทก์ที่ 3 ยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับในข้อหาขับรถยนต์ด้วยความประมาททำให้คดีอาญาระงับ แต่ผลของการเปรียบเทียบปรับดังกล่าวไม่ใช่คำพิพากษาในคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 การพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตาม
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งหกใช้แทนโจทก์เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. แม้จำเลยทั้งหกจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษที่ไม่ถูกต้องตามฟ้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
พระราชบัญญัติญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่4)พ.ศ.2535มาตรา30เป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา160ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43(1)(2)(5)หรือ(8)และมาตรา78เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43(1)(2)(5)หรือ(8)และมาตรา78มาด้วยจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่4)พ.ศ.2535มาตรา30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์แทนวิ่งราวทรัพย์ แม้โจทก์มิได้ขอโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการใช้มือบีบและกดคอของผู้เสียหาย แล้วกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายโดยแรงจนสร้อยคอขาดแล้วพาวิ่งหลบหนีไปซึ่งหน้าโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายพาหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์คงลงโทษจำเลยได้ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคท้าย เท่านั้น แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ข้อนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพาอาวุธและการพิพากษาโดยไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยด้วย แม้ความผิดในข้อหาพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจะยุติโดยต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องในข้อหาความผิดนี้ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215และมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำฟ้องมิได้บรรยายถึงองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 376 แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุให้ลงโทษมาด้วย ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดข้อหาดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษายกฟ้องข้อหาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4270/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นผิดพลาดในคดีครอบครองที่ดิน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิม จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นที่โต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นไม่ถูกต้องตามคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และมาตรา 183 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2900/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกที่ศาลล่างคำนวณผิดพลาด แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้เพื่อความเป็นธรรม
ศาลล่างทั้งสองลดโทษให้จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 53 หนึ่งในสาม จากจำคุกตลอดชีวิตเหลือจำคุก 34 ปี 8 เดือนคลาดเคลื่อนไป ที่ถูกต้องเหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน การลดโทษคลาดเคลื่อนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโทษมากขึ้น เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็พิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือน: อำนาจแก้ไขค่ารายปีและข้อยกเว้นโรงเรือนปิดทำการ
ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะแก้ไขค่ารายปีเสียใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้ ถ้าเห็นว่าค่ารายปีที่กำหนดตามค่าเช่าเดิมมิใช่จำนวนอันสมควรจะให้เช่าได้ในปีที่จะเรียกเก็บภาษีนั้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินค่ารายปีแล้วแต่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีที่ประเมินใหม่ไม่ชอบ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าค่ารายปีที่ประเมินใหม่สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปีนั้นถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นก็ต้องถือว่าค่ารายปีที่เจ้าพนักงานประเมินใหม่ ชอบแล้ว โรงเรือนที่จะได้รับยกเว้นมิต้องเสียภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 9(5) ต้องเป็นโรงเรือนที่ปิดไว้ตลอดปี การที่โรงเรือนพิพาทมิได้ให้เช่าตลอดปีนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนปิดไว้ตลอดปี กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะได้รับการยกเว้นภาษี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย: คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานได้
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท อ. โจทก์นำมาถือเป็นรายจ่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าการจ่ายเงินจำนวนนี้ โจทก์ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้พิจารณาลดเงินเพิ่มให้เหลือเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะงดเงินเพิ่ม
เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน196,719.80 บาท มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงถือเป็นเงินได้ของโจทก์และคำนวณภาษีและเงินเพิ่มให้โจทก์เสียรวม 70,818.88 บาท แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นว่าเงินจำนวน 196,719.80 บาทนี้ เจ้าพนักงานประเมินนำไปคำนวณภาษีโดยถือเป็นเงินได้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาษีที่โจทก์ถูกหักณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเอาไปเครดิตภาษีได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้ เมื่อปรากฏว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินภาษีที่โจทก์ถูกหัก ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงวินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้เป็นเงิน 196,719.80 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 196,719.80 บาท ดังกล่าวนั้นได้มีการโต้แย้งกันมาแต่ชั้นเจ้าพนักงานประเมินตลอดมาจนถึงชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก้ไขโดยคิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีแต่อย่างใด คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีและอำนาจแก้ไขบทลงโทษของศาลฎีกา
จำเลยให้การรับสารภาพในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยโดยมิได้ลดโทษให้ จำเลยมิได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องในความผิดฐานนี้ คงเพียงแต่อุทธรณ์ขอให้ลดโทษให้จำเลยเมื่อศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 และพิพากษายืน จำเลยจะฎีกาขอให้ยกฟ้องในความผิดฐานนี้อีกไม่ได้ เพราะความผิดฐานนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 245 แล้วทั้งยังขัดต่อคำรับสารภาพของจำเลย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้เฮโรอีนของกลางมีปริมาณมาก แต่จำเลยให้การรับสารภาพตลอดมาตั้งแต่ชั้นจับกุมทำให้การพิจารณาวินิจฉัยคดีเป็นไปโดยสะดวกนับเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ถือได้ว่ามีเหตุบรรเทาโทษตามกฎหมาย
ความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาตนั้น ศาลชั้นต้นมิได้ระบุวรรคในตัวบทมาตราที่ใช้ปรับบทลงโทษและศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
of 5