พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับการโอนคดีระหว่างพิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ หากไม่ใช่คำสั่งคุ้มครองประโยชน์คู่ความ
ศาลชั้นต้นได้สั่งรับคำฟ้องแล้ว เป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีฉบับที่สองของจำเลย จึงเป็นคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 และคำร้องขอโอนคดีไปศาลอื่นนั้นเป็นวิธีการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาคดี มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์อย่างใดของคู่ความในระหว่างการพิจารณาดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 288 (2) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7185/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ เพราะไม่ได้ยกเหตุผลเดิมในศาลชั้นต้น ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการค้าใช้ชื่อ "ร้านมะลิทองเภสัช" โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้จดทะเบียนพาณิชย์ระบุว่าเป็นผู้ประกอบกิจการพาณิชยกิจชนิดยาแผนปัจจุบัน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อซื้อสินค้าและชำระราคาให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์หลายครั้งและโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสองครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ชำระราคาให้แก่โจทก์บางส่วน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าสินค้าที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าตามฟ้องจากโจทก์และไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าสินค้า พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ยกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในการดำเนินกิจการแทนตน โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตามข้ออ้างและคำขอบังคับในคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมหลังคดีถึงที่สุด และการดำเนินการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีจึงที่สุดแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ต่อมาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลเพิกถอนคำพิพากษาตามยอม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นอีกว่า โจทก์ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจะให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมอย่างไรจึงจะเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาข้อขัดข้องในการบังคับคดี การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบังคับคดีให้แก่โจทก์จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบ ซึ่งตามคำร้องดังกล่าวของโจทก์เป็นคำร้องที่ยื่นในชั้นบังคับคดี คู่ความย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ ไม่อยู่บังคับของมาตรา 138
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) โจทก์กลับเลือกที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความของโจทก์ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งการที่โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ต้องเป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 138 วรรคสอง และต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง ตามมาตรา 229 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในกำหนดเวลาดังกล่าว กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม โดยไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์กระทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้วินิจฉัยเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) โจทก์กลับเลือกที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความของโจทก์ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งการที่โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ต้องเป็นกรณีที่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 138 วรรคสอง และต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง ตามมาตรา 229 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในกำหนดเวลาดังกล่าว กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม โดยไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์กระทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้วินิจฉัยเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงและการอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมาฟังได้แล้วว่าคดีมีมูลนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แต่ปรากฏว่าในการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องดังกล่าวว่า กรณีศาลมีคำสั่งว่าคดีไม่มีมูล โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ให้ยกคำร้อง และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์นั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงและการอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 โจทก์ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องว่า กรณีศาลมีคำสั่งว่าคดีไม่มีมูล โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ให้ยกคำร้อง และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่ชอบ และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพียงแต่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้สั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และคำสั่งตามคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ชั้นสั่งรับอุทธรณ์เสียใหม่ให้ถูกต้อง เป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6817/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรที่ยุติและการไม่มีสิทธิคัดค้านเมื่อผู้นำเข้าไม่ยื่นอุทธรณ์
ตามมาตรา 112 ฉ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 17)ฯ ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจประเมิน การประเมินนั้นก็เป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นการประเมินผิดพิกัดและอัตราอากร จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง แม้คดีนี้จะมิใช่คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ เนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกหนี้ค่าภาษีอากรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ถือว่าการประเมินนี้เป็นที่ยุติดังวินิจฉัยมาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระค่าอากรตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6817/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์การประเมินอากรทำให้การประเมินเป็นที่ยุติ จำเลยต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
ตามมาตรา 112 ฉ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2543 ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์การประเมินนั้นก็เป็นยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ เมื่อคดีนี้จำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการประเมินผิดพิกัดและอัตราอากร จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แต่ถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7 (1) เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกหนี้ค่าภาษีอากร แต่เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ถือว่าการประเมินเป็นที่ยุติแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระค่าอากรตามฟ้อง
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 แต่ถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7 (1) เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกหนี้ค่าภาษีอากร แต่เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ถือว่าการประเมินเป็นที่ยุติแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระค่าอากรตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษที่ขัดขวางการจัดทำอุทธรณ์ การเจรจาประนอมหนี้ไม่ใช่เหตุขยายเวลา
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ว่า โจทก์และจำเลยได้เจรจาทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กันเฉพาะในส่วนสาระสำคัญได้ผ่านการอนุมัติแล้วเหลือเพียงขั้นตอนการประเมินหลักทรัพย์ที่จำเลยตีใช้หนี้คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน ก็จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์หลักทรัพย์ตีใช้หนี้ได้ ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการประเมินราคาหลักทรัพย์ตีใช้หนี้โจทก์นั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะดำเนินการเพื่อชำระหนี้โจทก์ด้วยความสมัครใจของจำเลยเองมิได้เกี่ยวข้องกับการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และมิใช่เหตุอันเป็นอุปสรรคขัดขวางในการจัดทำอุทธรณ์หรือนำอุทธรณ์มาเสนอต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งหาใช่เหตุที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไม่ ข้ออ้างดังกล่าวจึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน และการจ่ายค่าจ้างในนามมารดาเพื่อลดหย่อนภาษี
อุทธรณ์โจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ได้บิดเบือนเพื่อให้เห็นเป็นข้อกฎหมายและเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ต่างไปจากศาลแรงงานกลางว่าจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงจ่ายเงินค่าบำเหน็จจากการขายหรือค่าคอมมิชชั่นให้แก่โจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการของจำเลยทั้งสองเพื่อจัดตั้งกองทุนเกษียณอายุ ไม่มีการลงมติรับรองรายงานการประชุม จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้องได้ โจทก์อุทธรณ์โดยอ้างว่ารายงานการประชุมเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207 จึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามรายงานการประชุม เป็นอุทธรณ์ที่บิดเบือนว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุขึ้นโดยชอบแล้วตามรายงานการประชุมเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าเมื่อรายงานการประชุมเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยชอบและรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ดินได้จดทะเบียนของจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นประธานแห่งการประชุมลงลายมือชื่อไว้แล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึกไว้จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์นั้น แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินค่าจ้างอันมีผลทำให้รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากโจทก์ได้ลดน้อยลง ถือได้ว่าเป็นการไม่สุจริต แต่ข้อตกลงการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ของจำเลยที่ 1 ก็หาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับค่าจ้างในส่วนนี้ได้
จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการของจำเลยทั้งสองเพื่อจัดตั้งกองทุนเกษียณอายุ ไม่มีการลงมติรับรองรายงานการประชุม จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้องได้ โจทก์อุทธรณ์โดยอ้างว่ารายงานการประชุมเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207 จึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามรายงานการประชุม เป็นอุทธรณ์ที่บิดเบือนว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุขึ้นโดยชอบแล้วตามรายงานการประชุมเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าเมื่อรายงานการประชุมเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยชอบและรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ดินได้จดทะเบียนของจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นประธานแห่งการประชุมลงลายมือชื่อไว้แล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึกไว้จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์นั้น แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินค่าจ้างอันมีผลทำให้รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากโจทก์ได้ลดน้อยลง ถือได้ว่าเป็นการไม่สุจริต แต่ข้อตกลงการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ของจำเลยที่ 1 ก็หาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับค่าจ้างในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอนาคตในคดีอุทธรณ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติม หากคำขอต่อเนื่องจากคำขอหลัก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารพิพาท และให้จำเลยชำระเงิน 630,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารพิพาท จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกฟ้องของโจทก์ แม้อุทธรณ์ของจำเลยจะมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยกับค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้าย ป.วิ.พ. ที่ให้คิดค่าขึ้นศาลหนึ่งร้อยบาทเป็นอีกส่วนหนึ่ง เพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอที่ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาทอันเป็นคำขอประธานเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตเป็นอีกส่วนหนึ่ง