พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ แม้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และจำกัดสิทธิการโอน/ใช้ประโยชน์
การสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ว่า จะเป็นการแสดงเจตนายกให้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม ช. เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้วแม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช. เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะต้องมีเจตนาและเปิดให้ใช้จริง สิทธิในการแก้ไขโฉนด
เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) โดย ป.บิดาโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ต่อมาทางราชการออกเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดิน บิดาโจทก์นำเจ้าพนักงานรังวัดชี้แนวเขตออกโฉนดโดยกันที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 28ตารางวา และออกโฉนดเป็นโฉนดเลขที่ 643 และแม้จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่าง ป. ด.และ ล.เจ้าของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินแปลงพิพาทเพื่อให้มีการอุทิศที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างคนทั้งสามดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติได้ โดย ล.ไม่สามารถแบ่งที่ดินทางด้านทิศตะวันตกให้ ป.ได้ตามข้อตกลง และป.ก็ไม่ยกที่ดินพิพาทที่อยู่ทางด้านทิศเหนือให้เป็นทางเช่นกัน จึงไม่มีการเปิดใช้ที่ดินพิพาทเป็นทาง คงครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ตามเดิม เพียงแต่ที่ ป.ได้แจ้งต่อช่างรังวัดไว้โดยมิได้ไปแจ้งยกเลิกการแลกเปลี่ยนที่ดินกัน กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพราะมิได้มีเจตนาอุทิศมาตั้งแต่ต้น และมิได้เปิดที่ดินพิพาทให้ใช้เป็นทางสาธารณะให้ผู้คนสัญจรไปมา ฉะนั้น ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป.อยู่ตามเดิม
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนตาม ป.ที่ดินมาตรา 61ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โดยไม่มีกำหนดอายุความ
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนตาม ป.ที่ดินมาตรา 61ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โดยไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย ทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดไม่มีกรรมสิทธิ์
การที่ ว. ได้จัดสรรที่ดินในซอยรัฐขจรออกขายให้แก่บุคคลทั่วไปโดยกันพื้นที่ส่วนที่เป็นซอยรัฐขจรไว้ให้เป็นทางสาธารณะ แม้จะเป็นซอยตัน แต่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในซอยรัฐขจรได้ใช้ทางดังกล่าวสัญจรผ่านซอยหัสดินเสวีออกสู่ถนนสุทธิสารวินิจฉัยถือได้ว่าว.ได้อุทิศทั้งซอยรัฐขจรซึ่งรวมถึงที่พิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายมาตั้งแต่ปี 2507เมื่อที่พิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลโจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติโดยปริยาย แม้ไม่ได้ทำหนังสืออุทิศโดยชัดแจ้ง ก็ถือเป็นอันสมบูรณ์ได้
คันคลองห้วยถ่านรวมทั้งทางพิพาทกว้างประมาณ 4 เมตรยาวตลอดแนวลำคลองดังกล่าว เป็นคันคลองที่เจ้าของที่ดินตามแนวคันคลองแห่งนั้นได้อุทิศที่ดินดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะ สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะไม่ได้ทำหนังสืออุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณะโดยตรงดังเช่นเจ้าของที่ดินรายอี่น ๆแต่การที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ทางราชการนำดินที่ได้จากการขุดลอกคลองห้วยถ่านมาไว้ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และไม่คัดค้านการที่จำเลยที่ 2 ผู้เช่าที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ได้ทำหนังสืออุทิศที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้แก่ทางราชการเพื่อใช้ทำสาธารณประโยชน์ขุดลอกคลอง รวมตลอดถึงการที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ทั้งสามและประชาชนทั่วไปใช้ทางพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของคันคลองห้วยถ่านตลอดมาจนกระทั่งมีการปิดกั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 อุทิศที่ดินของตนส่วนที่เป็นคันคลองห้วยถ่านและทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย
การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นหาจำต้องกระทำด้วยการอุทิศให้โดยชัดแจ้งแต่เพียงประการเดียวไม่
การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นหาจำต้องกระทำด้วยการอุทิศให้โดยชัดแจ้งแต่เพียงประการเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย แม้ไม่มีเอกสารชัดเจน การปิดกั้นทางสาธารณะถือเป็นการละเมิด
คันคลองห้วยถ่านรวมทั้งทางพิพาทกว้างประมาณ 4 เมตรยาวตลอดแนวลำคลองดังกล่าว เป็นคันคลองที่เจ้าของที่ดินตามแนวคันคลองแห่งนั้นได้อุทิศที่ดินดังกล่าวให้เป็นทางสาธารณะสำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะไม่ได้ทำหนังสืออุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณะโดยตรงดังเช่นเจ้าของที่ดินรายอื่น ๆ แต่การที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้ทางราชการนำดินที่ได้จากการขุดคลองห้วยถ่านมาไว้ในที่ดินของจำเลยที่ 1 และไม่คัดค้านการที่จำเลยที่ 2 ผู้เช่าที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ได้ทำหนังสืออุทิศที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้แก่ทางราชการเพื่อใช้ทำสาธารณประโยชน์ขุดลอกคลอง รวมตลอดถึงการที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ทั้งสามและประชาชนทั่วไปใช้ทางพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของคันคลองห้วยถ่านตลอดมาจนกระทั่งมีการปิดกั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 อุทิศที่ดินของตนส่วนที่เป็นคันคลองห้วยถ่านและทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นหาจำต้องกระทำด้วยการอุทิศให้โดยชัดแจ้งแต่เพียงประการเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630-6631/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ: การอุทิศที่ดินให้เป็นทางเดินสาธารณะโดยปริยาย และขอบเขตการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
ได้มีการทำถนนซอยพิพาทมาแล้วถึงประมาณ30ถึง40ปีและอนุญาตให้ประชาชนใช้เดินเข้าออกมาโดยตลอดแม้เคยมีการห้ามมิให้ฮ. และบุตรของฮ. เดินเพราะบุตรของฮ. ทำเสียงดังและได้เคยห้ามบุคคลที่นำรถไถนาไปวิ่งในทางพิพาทดังกล่าวนั้นก็เป็นเรื่องที่ผู้นั้นทำเสียงดังก่อกวนความสงบสุขและเป็นเรื่องที่จะมาทำให้ถนนเสียหายเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องมีเจตนาที่จะหวงห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเดินในทางพิพาทและการที่เจ้าของที่ดินเดิมช่วยออกเงินกันเองและเรี่ยไรเงินกับผู้ใช้ถนนในซอยมาทำการซ่อมแซมทางพิพาทซื้อเสาไฟฟ้ามาปักก็เป็นเรื่องการปรับปรุงทางพิพาทให้ดีขึ้นและให้ทางพิพาทมีแสงสว่างสะดวกในการใช้ทางพิพาทในเวลากลางคืนมิใช่เป็นเรื่องที่แสดงถึงการสงวนสิทธิไว้ในฐานะเป็นถนนส่วนบุคคลแต่อย่างใดอีกทั้งขณะที่ส.เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินให้สิบเอกบ.สามีของจำเลยที่1ในแผนที่ของหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ยังได้ระบุไว้ว่าถนนพิพาทเป็นถนนสาธารณประโยชน์อยู่แล้วและร้อยตรีช.ก็ได้ซื้อที่ดินจากส.ในวันเดือนปีเดียวกันกับสามีจำเลยที่1เช่นกันก็แสดงอยู่ว่าขณะที่ซื้อมีทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้วดังนั้นแม้ร้อยตรีช.จะได้ทำป้ายแสดงว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนส่วนบุคคลก็ตามก็ไม่ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวกลับไม่เป็นทางสาธารณะไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกเจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ที่ดินที่นำมาทำเป็นทางพิพาทเป็นทางเดินของบุคคลทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรไปมาเป็นเวลาหลายสิบปีดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกได้อุทิศที่ดินถนนซอยพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้วทางพิพาทจึงเป็นทางสาธารณะ จำเลยปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจใช้รถบรรทุกดินผ่านทางพิพาทโจทก์ต้องเพิ่มค่าแรงให้แก่ผู้รับเหมานั้นโจทก์เรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้แต่ดอกเบี้ยจากค่าแรงที่โจทก์อ้างว่าต้องเสียให้แก่ธนาคารวันละ100บาทนั้นเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคสองโจทก์จะต้องนำสืบให้เชื่อได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายดังกล่าวเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้ล่วงหน้ามาก่อนค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ คดีทั้งสองสำนวนนี้จำเลยที่1และโจทก์ที่2ต่างฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทเดียวกันซึ่งก่อนที่จะพิจารณากำหนดว่าฝ่ายใดจะต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กันจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในประเด็นอย่างเดียวกันทั้งสองสำนวนว่าทางพิพาทที่จำเลยที่1อ้างว่าเป็นของตนนั้นตกเป็นทางสาธารณะแล้วหรือไม่ก่อนมูลคดีนี้จึงเกี่ยวกับการชำระหนี้มาจากเหตุการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเดียวกันคดีจึงมีลักษณะเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกันจึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่าคือคำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนแรกนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคหนึ่งจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามสำนวนหลังใหม่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะฉะนั้นในสำนวนหลังโจทก์ที่2จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่1และไม่ต้องชำระค่าเสียหายแก่จำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นส่วนราชการ, การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ, และความรับผิดของกรมที่ดินต่อการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68 (เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนคร จำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 4
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่ 1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121มาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใด อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่ 1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121มาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใด อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องนิติบุคคล, การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ, และความรับผิดชอบของกรมที่ดินในการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3 ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่ไม่เป็นนิติบุคคล, การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติ, และความรับผิดชอบของกรมที่ดินในการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 638(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3 ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นส่วนราชการ, การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติ, และความรับผิดชอบการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา68เดิมที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่านิติบุคคลนั้นจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่2และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่4มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใดจำเลยที่2และที่4จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานครจำเลยที่1และกรมที่ดินจำเลยที่3ตามลำดับเท่านั้นไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2และที่4 แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดินในคดีนี้แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่3หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61ดังนั้นจำเลยที่3ในฐานะที่เป็นกรมย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่3 การที่วัดโจทก์ยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพในขณะนั้นขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)การอุทิศเช่นว่านี้ย่อมมีได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121มาตรา7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2477มาตรา3อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ