คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เข้าครอบครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่กรณีผู้เช่ายังไม่เข้าครอบครอง และการฟ้องซ้ำเมื่อสัญญาเช่าต่างฉบับ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์กับวัดบางขวาง ฉบับลงวันที่ 25 กันยายน 2525 เป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยเหตุจากสัญญาเช่าอาคารระหว่างโจทก์กับวัดบางขวางฉบับลงวันที่ 29 สิงหาคม 2522 จึงเป็นคนละเหตุแม้จะเป็นประเด็นอย่างเดียวกันก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน แม้โจทก์เป็นผู้เช่าไม่เคยเข้าครอบครองตึกแถวพิพาท แต่โจทก์มีคำขอให้ศาลเรียกวัดบางขวางเข้าเป็นโจทก์ร่วมมาพร้อมกับคำฟ้องของโจทก์และวัดบางขวางซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในภายหลัง โดยถือเอาคำฟ้องเดิมของโจทก์ทั้งหมดเป็นคำฟ้องของตนหรือเป็นคำฟ้องส่วนหนึ่งของโจทก์ร่วมเมื่อศาลอนุญาตแล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องดำเนินคดีกับจำเลยได้ จำเลยเข้าอยู่อาศัยในตึกแถวพิพาทโดยเช่าช่วงจาก ล.เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่า สิทธิการเช่าระงับไป สิทธิการเช่าช่วงย่อมระงับตามไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331-332/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนสิทธิเช่าที่ยังมิได้เข้าครอบครองทรัพย์สิน ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ และการพ้นวิสัยของสัญญาเช่า
ผู้รับโอนสิทธิการเช่าโดยที่ยังไม่เคยเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่านั้น ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในทรัพย์สินที่เช่า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 916/2503)
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นเองได้
จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เช่าช่วงตึกแถวพิพาทโดยมีข้อสัญญาระหว่างกันว่า ถ้าจำเลยจะขายตัวทรัพย์ที่เช่าจะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่หมายความถึงการโอนสิทธิการเช่าด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่เช่าและสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็เป็นสัญญาเช่าตึกแถวมิใช่เช่าสิทธิ จึงเป็นการพ้นวิสัยไม่มีผลบังคับได้ การที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่นจึงกระทำได้โดยชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเข้าครอบครองยึดถือ จึงจะสมบูรณ์
การโอนสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)นั้น อาจทำได้โดยสมบูรณ์ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิ ซึ่งเป็นการทำตามแบบของกฎหมายประการหนึ่ง กับกระทำการโอนโดยข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377,1378 ซึ่งไม่ต้องมีแบบอีกประการหนึ่ง แม้โจทก์จะมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่พิพาท และผู้ขายทำหนังสือมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนโอนกับมอบหลักฐานเกี่ยวกับภาษีบำรุงท้องที่ทุกฉบับให้โจทก์ไว้ก็ตามเมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และยังมิได้เข้าครอบครองยึดถือที่พิพาท โจทก์จึงยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่พิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นละเมิด เจ้าของที่ดินมีสิทธิขับไล่
การที่จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์นั้นเท่ากับจำเลยเข้าอยู่ในที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไป จำเลยยังคงอยู่ต่อมาจึงเป็นละเมิด โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบทรัพย์สินเช่าต้องปราศจากการรบกวน หากผู้เช่าเข้าครอบครองไม่ได้ ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
การส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่านั้น เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าจะต้องจัดการให้ผู้เช่าเข้าครอบครองโดยปราศจากการรบกวนใด ๆเมื่อปรากฏว่าผู้เช่าไม่สามารถเข้าไปทำนาในที่พิพาทได้ เพราะมีจำเลยมาขัดขวาง ก็ไม่เรียกว่าผู้ให้เช่าได้ส่งมอบนาพิพาทให้แก่ผู้เช่าแล้ว
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าไม่ได้โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิจะฟ้องขับไล่จำเลยผู้ขัดขวางโดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316-1319/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: กำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาซื้อขายรายสุดท้าย และสิทธิในการเข้าครอบครองที่ดิน
ที่ดินของผู้ร้องคัดค้านถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรีและตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ.2509เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลตามความประสงค์ของรัฐบาล และตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนให้ถือเอาราคาในวันที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองรายสุดท้ายในบริเวณพุทธมณฑลได้มอบอสังหาริมทรัพย์ให้กระทรวงมหาดไทยเข้าครอบครองเป็นเกณฑ์คำนวณทุกรายการจัดสร้างพุทธมณฑลนั้นเป็นโครงการของรัฐบาลกำหนดขึ้นโดยมีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบไป ถือว่าเป็นประโยชน์ของรัฐอย่างหนึ่ง รัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการจัดสร้างพุทธมณฑล มีหน้าที่จัดสร้างพุทธมณฑลให้เป็นผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล คณะกรรมการได้ดำเนินการวางโครงการแผนผัง หารายได้ และจัดซื้อที่ดินเข้าปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามโครงการตลอดจนเสนอรัฐบาลในการแต่งตั้งกรรมการสาขาเพื่อปฏิบัติงานแยกเป็นสัดส่วนไป โดยมีข้าราชการสังกัดต่างกระทรวงกันเป็นประธานคณะกรรมการเหล่านั้นทุกคณะ กิจการที่ดำเนินไปเป็นการกระทำในนามของรัฐบาลที่จัดให้ข้าราชการกระทรวงต่างๆเข้าดำเนินงานรับผิดชอบคณะกรรมการได้แต่งตั้งกรรมการสาขาขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการดำเนินการและประสานงานจัดสร้างพุทธมณฑล มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและคณะกรรมการสาขานี้ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นคณะหนึ่ง มีรองอธิบดีกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะ ให้มีหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อที่ดินโดยรับช่วงหน้าที่จากคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑลชุดก่อนมา และมีหน้าที่จัดสร้างถนน ขุดคูปลูกต้นไม้ในบริเวณพุทธมณฑล เจ้าหน้าที่คณะนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามหน้าที่ตลอดมา อันแสดงว่าการซื้อและเข้าครอบครองที่ดินบริเวณจัดสร้างพุทธมณฑลในส่วนที่ซื้อไว้แล้วเป็นหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยดำเนินการจึงถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในการรับมอบและเข้าครอบครองที่ดินในบริเวณพุทธมณฑลตามความหมายของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว โดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่ากรมใดจะมีหน้าที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐแห่งนี้และเงินที่ใช้จ่ายจะได้มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือไม่
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมาและราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาก่อสร้าง, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิผู้ก่อสร้าง, การเข้าครอบครอง, การฟ้องแย้ง
เจ้าของที่ดินทำสัญญากับผู้ก่อสร้างให้สร้างอาคารในที่ดินของตนโดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องสร้างให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด เมื่อก่อสร้างไปได้ประมาณ 1 ปี ผู้ก่อสร้างก็งดการก่อสร้าง เจ้าของที่ดินให้ทนายความมีหนังสือถึงผู้ก่อสร้าง ว่าให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาภายใน 15 วันมิฉะนั้นจะถือว่าผู้ก่อสร้างไม่ประสงค์จะดำเนินงานตามข้อสัญญา จะทำความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจะได้ฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อสร้าง ข้อความดังนี้เป็นแต่เพียงหนังสือเตือนให้ก่อสร้างต่อไปให้เสร็จตามสัญญา ถ้าไม่เริ่มดำเนินงานก่อสร้างต่อไปเจ้าของที่ดินจะฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายเท่านั้นหนังสือดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญากับ ม. ให้ ม. ก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ล. ด้วยเงินของ ม. มีข้อสัญญาว่าอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ม.มีสิทธิกำหนดตัวผู้เช่า เมื่อ ล. ได้ทำสัญญากับผู้เช่าแล้วจึงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น ๆ ตกเป็นของ ล. ในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาก่อสร้าง และ ล. ตายไปแล้ว ม. มีหนังสือถึงทายาทของ ล.แจ้งว่าได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่ได้สร้างขึ้น ให้ทายาทของ ล.ไปทำสัญญาเช่าให้จำเลยตามสัญญาก่อสร้าง แต่ทายาทของ ล.ก็ไม่ไปทำ จำเลยได้เข้าไปอยู่ในตึกแถวนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปอยู่โดยละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาก่อสร้าง, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิผู้ก่อสร้าง, การเข้าครอบครองโดยชอบ, การปฏิบัติตามสัญญา
เจ้าของที่ดินทำสัญญากับผู้ก่อสร้างให้สร้างอาคารในที่ดินของตนโดยไม่ได้ระบุว่า จะต้องสร้างให้เสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด เมื่อก่อสร้างไปได้ประมาณ 1 ปี ผู้ก่อสร้างก็งดการก่อสร้าง เจ้าของที่ดินให้ทนายความมีหนังสือถึงผู้ก่อสร้าง ว่าให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตามสัญญาภายใน 15 วันมิฉะนั้นจะถือว่าผู้ก่อสร้างไม่ประสงค์จะดำเนินงานตามข้อสัญญาจะทำความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจะได้ฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากผู้ก่อสร้าง ข้อความดังนี้เป็นแต่เพียงหนังสือเตือนให้ก่อสร้างต่อไปให้เสร็จตามสัญญา ถ้าไม่เริ่มดำเนินงานก่อสร้างต่อไปเจ้าของที่ดินจะฟ้องขอเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายเท่านั้นหนังสือดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญา
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญากับ ม. ให้ ม. ก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ล. ด้วยเงินของ ม. มีข้อสัญญาว่าอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ม.มีสิทธิกำหนดตัวผู้เช่า เมื่อ ล. ได้ทำสัญญากับผู้เช่าแล้วจึงให้กรรมสิทธิ์ในอาคารนั้น ๆ ตกเป็นของ ล. ในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาก่อสร้าง และ ล. ตายไปแล้ว ม. มีหนังสือถึงทายาทของ ล.แจ้งว่าได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่ได้สร้างขึ้น ให้ทายาทของ ล. ไปทำสัญญาเช่าให้จำเลยตามสัญญาก่อสร้าง แต่ทายาทของ ล. ก็ไม่ไปทำ จำเลยได้เข้าไปอยู่ในตึกแถวนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปอยู่โดยละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการมีอำนาจฟ้องคดี เมื่อผู้เช่าไม่สามารถเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าได้
ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องพิพาท จำเลยเป็นบริวารของผู้อื่นซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ร่วม จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่โจทก์เช่าห้องรายพิพาทจากผู้ให้เช่าแล้วเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าไม่ได้โดยมีผู้ขัดขวางโจทก์หามีสิทธิจะฟ้องขับไล่โดยลำพังตนเองไม่ แต่ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 และเมื่อโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้โดยได้ขอให้เจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยแล้วโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
(อ้างฎีกาที่ 676 ถึง 689/2498)
ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวแต่ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
ในชั้นแรก โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยไม่ได้อ้างเหตุความจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) ขึ้นมาศาลชั้นต้นจึงสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างเหตุว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าห้องรายพิพาทมาจากผู้ให้เช่า แต่โจทก์เข้าครอบครองห้องรายพิพาทไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หากศาลไม่เรียกเจ้าของห้องเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย หากโจทก์แพ้คดีโจทก์จะไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากใครได้ ดังนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งใหม่และสั่งอนุญาตให้หมายเรียกเจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายและผลของการเข้าครอบครองที่ดินเฉพาะส่วน ศาลมีอำนาจพิพากษาให้โอนกรรมสิทธิ์ได้
สัญญามีข้อความว่า ผู้ขาย (จำเลย) สัญญาว่าจะส่งมอบทรัพย์ที่ขายนี้ให้แก่ผู้ซื้อ(โจทก์)ซึ่งผู้ขายได้รับราคาทรัพย์ที่ขายไปครบถ้วนแล้วซึ่งหมายความว่า ขณะทำสัญญายังหาได้มอบทรัพย์ที่ขายกันไม่เพราะต้องทำการโอนให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยและตามฟ้องของโจทก์ก็ว่าการซื้อขายนี้ได้ทำสัญญากันว่าเมื่อโจทก์(ผู้ซื้อ)ประสงค์จะให้จำเลย(ผู้ขาย)โอนกรรมสิทธิ์เมื่อใด จำเลย(ผู้ขาย)จะทำการโอนทันทีจำเลยไม่ได้ปฏิเสธหรือกล่าวแก้อย่างใดถือว่าจำเลยรับตามฟ้องดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นสัญญาจะซื้อขาย
ฟ้องกล่าวว่า โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินที่จำเลยขายให้เป็นส่วนสัดแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยให้โจทก์ได้เพราะผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยไม่ได้เข้ามาโต้แย้งอย่างใด
of 3