พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำในที่ดินพิพาทโดยเข้าใจผิดเรื่องสิทธิ ownership ไม่ถือว่ารบกวนการครอบครอง
โจทก์และจำเลยนำสืบพยานโต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทโดยโจทก์และจำเลยต่างฟ้องเป็นคดีแพ่งกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอีกฝ่ายรุกล้ำขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหายในระหว่างที่โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทกันอยู่การที่จำเลยเข้าไปปักเสาขึงลวดหนามและจำเลยปลูกต้นผลไม้ในที่ดินพิพาทโดยเข้าใจว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยจำเลยจึงไม่มีเจตนาเข้าไปกระทำการใดๆในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัสจากการเข้าใจผิด ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีเจตนาฆ่า
จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายโดยสำคัญผิดว่า ผู้เสียหายเป็นค. ซึ่งมีเหตุวิวาทกันมาก่อน จำเลยจึงถือเอาความสำคัญผิดขึ้นมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดหาได้ไม่ ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนากระทำต่อ ค. เช่นใดก็ต้องรับผิดในผลของการกระทำที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสียหายเช่นนั้น จำเลยมึนเมาสุราและโมโหจากเหตุการณ์ที่ถูก ค. ทำร้ายจึงหาไม้ดักทำร้าย ค. แต่พบมีดโต้เสียก่อน จึงหยิบฉวยเอาตามอารมณ์โกรธในขณะนั้นโดยมิได้ตระเตรียมไว้ล่วงหน้า เมื่อพบผู้เสียหาย และ ค. ก็เงื้อมีดขึ้นฟันผู้เสียหายลงไปตรง ๆ มิได้เจาะจงตำแหน่งที่จะฟัน เป็นการฟันเพียงครั้งเดียว พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยมีเจตนาทำร้ายเท่านั้น หามีเจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนไม่ ที่ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บง่ามมือซ้ายฉีกเกือบขาด อาจเป็นเพราะร่างกายส่วนนั้นไม่มีส่วนแข็งหรือกระดูกป้องกันคมมีดได้ จำเลยต้องรับผิดเพียงฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการฟ้องเท็จ: จำเลยต้องรู้ว่าข้อความที่ฟ้องเป็นเท็จ การเข้าใจผิดเรื่องกรรมสิทธิ์ทำให้ขาดเจตนา
ความผิดฐานฟ้องเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175นั้น นอกจากผู้กระทำจะต้องเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่าได้กระทำความผิดอาญาแล้วผู้กระทำจะต้องรู้ว่าความที่นำมาฟ้องนั้นเป็นเท็จ จำเลยทั้งสองร่วมกันฟ้องโจทก์ว่า โจทก์กระทำความผิดอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้ชายหลายคนให้ทุบทำลายผนังตึกกำแพงด้านหลัง อาคาร ของจำเลยทั้งสองเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองเข้าใจว่ากำแพงพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่รู้ว่าความที่นำมาฟ้องโจทก์นั้นเป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงขาดเจตนาที่จะทำให้เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและละเมิด: จำเลยต้องรื้อถอนรั้วคอนกรีตที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แม้เคยเข้าใจผิดร่วมกัน
ในขณะที่จำเลยก่อสร้างรั้วคอนกรีต จำเลยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการก่อสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำที่ดินของโจทก์ เพราะทั้งโจทก์และจำเลยต่างเข้าใจโดยสุจริตด้วยเหตุสำคัญผิดว่าที่ดินส่วนที่จำเลยสร้างรั้วคอนกรีตเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำเลย แต่เมื่อจำเลยรู้ในภายหลังว่าที่ดินส่วนนั้นมิใช่ที่ดินของจำเลยแล้ว นับแต่วันที่จำเลยรู้เช่นนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะคงไว้ซึ่งรั้วคอนกรีตนั้นอีกต่อไป จำเลยจะต้องรื้อถอนรั้วดังกล่าวออกจากที่ดินของโจทก์ หากจำเลยไม่รื้อถอนจำเลยก็ได้ชื่อว่าจงใจกระทำละเมิด ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีต และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'MITA' บนผงหมึก: ไม่เข้าข่ายละเมิด หากไม่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 พนักงานบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งมีจำเลยที่ 3เป็นกรรมการผู้จัดการได้นำสินค้าผงหมึกพิพาทไปเสนอจำหน่ายต่อทางราชการ โดยระบุในใบเสนอราคาว่า เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITAรุ่น DC - 313 Z เป็นการเสนอราคาสินค้าตรงตามความประสงค์ของทางราชการซึ่งมิได้ระบุว่าต้องการผงหมึกเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้า MITA เท่านั้น กล่องสินค้าของจำเลยทั้งสามมีข้อความระบุชัดว่าเป็นสินค้าผงหมึก (TONER)ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร MITA (FOR USE IN MITA) รุ่น DC - 211 RE313 Z และ 313 ZD แม้ที่กล่องสินค้าดังกล่าวจะมีคำว่า "MITA" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับใช้กับสินค้าเครื่องถ่าย-เอกสาร แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้นำคำดังกล่าวมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า กล่าวคือมิได้ระบุว่าผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมผงหมึกของจำเลยทั้งสามเป็นผงหมึกที่ไม่มีเครื่องหมายการค้าระบุไว้ และจำเลย-ทั้งสามมิได้เขียนคำว่า "MITA" ให้มีลักษณะบ่งเฉพาะว่า "mita" เช่นเดียวกับของโจทก์ร่วม แต่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า "MITA" และคำว่า "TONER" ซึ่งหมายถึงผงหมึก ที่กล่องสินค้าของจำเลยที่สามก็เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกันรวมทั้งคำว่า "FOR USE IN" ก็เขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เห็นได้ชัดเจนประกอบกับที่กล่องสินค้าดังกล่าวปรากฎป้ายชื่อบริษัทและที่อยู่ของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย มิได้ระบุชื่อบริษัทโจทก์ร่วมที่กล่องสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนกล่องสินค้าของโจทก์ร่วมปรากฎว่า คำว่า "TONER" เขียนตัวอักษร "T" ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เพียงตัวเดียวตัวอักษรนอกนั้นเป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยเขียนว่า "Toner" มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"mita" เขียนเรียงกันตามแนวนอน 6 แถว แถวละ 8 คำ และมีชื่อบริษัทโจทก์ร่วมอยู่ด้วย แต่ไม่มีคำว่า"FOR USE IN" กล่องสินค้าผงหมึกของจำเลยทั้งสามกับของโจทก์ร่วมจึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง การที่จำเลยทั้งสามนำคำว่า "MITA"ซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้ระบุที่หีบห่อบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสามในลักษณะดังกล่าว ประกอบกับราคาสินค้าที่จำเลยทั้งสามเสนอจำหน่ายแก่ทางราชการ กับราคาสินค้าของโจทก์ร่วมก็แตกต่างกันมาก จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้เสนอจำหน่ายสินค้าซึ่งมีชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหรือทางราชการหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 275 ประกอบด้วย มาตรา 272 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสถานการณ์คับขัน: การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจากการเข้าใจผิดว่าเป็นคนร้าย
เหตุเกิดเวลากลางคืน บริเวณที่เกิดเหตุมีต้นไม้ขึ้นอยู่ข้างทางมืดครึ้ม บ้านจำเลยเคยถูกคนร้ายปล้นทรัพย์และลักทรัพย์หลายครั้งการที่ผู้เสียหายมาเดินอยู่ข้างบ้านจำเลยในยามวิกาลเวลาเกือบเที่ยงคืนโดยปราศจากผู้คนสัญจรไปมา เมื่อจำเลยร้องถามว่าใครก็ไม่ตอบย่อมทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย ครั้นจำเลยวิ่งออกมาจากบ้านเห็นเพียงตัวคนดำ ๆ เคลื่อนไหวไปมา ไม่อาจรู้ได้ว่าจะมีอาวุธหรือไม่ จึงยิงผู้เสียหายไปเพียง 1 นัด แต่เมื่อผู้เสียหายลุกขึ้นวิ่งหนีก็มิได้ยิงซ้ำนั้น เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายเป็นคนร้ายจึงใช้ปืนยิง จึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขานราคาประมูลที่ไม่ชัดเจนทำให้ผู้เสนอราคาเข้าใจผิด การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบ
การที่ผู้แทนผู้ร้องที่ 2 ลงชื่อค้านราคาขาย 3,050,000 บาทในรายงานการขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นเหตุผลสนับสนุนให้ฟังได้ว่าผู้แทนผู้ร้องที่ 2 เข้าใจผิดว่าในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ขานราคาประมูลว่า "สามล้านห้า หนึ่ง สามล้านห้า สอง สามล้านห้า สาม"นั้น หมายถึงราคา 3,500,000 บาท นอกจากนี้ปรากฏว่าการให้ราคาประมูลก่อนครั้งสุดท้ายถือราคา 3,000,000 บาท เพิ่มจากราคาครั้งก่อนหน้านั้นถึง 950,000 บาท ย่อมทำให้ผู้แทนผู้ร้องที่ 2เข้าใจได้ว่าผู้ซื้อทรัพย์ประมูลราคา 3,500,000 บาท จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขานราคาไม่ชัดเจน การดำเนินการขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยมิชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดไต่สวนมูลฟ้องทำให้ศาลยกฟ้อง แม้โจทก์อ้างเข้าใจผิดเรื่องวันนัด
ข้ออ้างของโจทก์ว่าทั้งตัวโจทก์และทนายโจทก์เข้าใจว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องไปตามวันเวลาที่ทนายจำเลยแถลง ซึ่งเป็นวันหลังจากที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนมูลฟ้องต่อ 1 วัน แม้จะเป็นความจริงก็เป็นความผิดของโจทก์เอง กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้ยกคดีขึ้นไต่สวนต่อไป การที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไปแล้วในการไต่สวนมูลฟ้องจะพอฟังว่าคดีมีมูลหรือไม่ต้องเป็นกรณีที่โจทก์มาศาลตามนัดแล้ว และไม่ติดใจนำพยานเข้าไต่สวนต่อไป เมื่อโจทก์ไม่มาศาลเสียแล้ว แม้จะมิใช่วันนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งแรก ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์เสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินชำระหนี้ตามหมายอายัดศาลโดยเข้าใจผิด และสิทธิในการติดตามเอาเงินคืน
ช. เจ้าหนี้โจทก์ได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้ ก. และโจทก์ยอมรับว่าจะจ่ายให้ ก. แล้ว สิทธิการรับเงินของ ช. ย่อมหมดไป การที่โจทก์ส่งเงินดังกล่าวให้ศาลตามหมายอายัดเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้
โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ศาลในคดีที่ ช. เจ้าหนี้เดิมถูกจำเลยฟ้องเพราะมีหมายอายัดมา โจทก์จึงเข้าใจว่าต้องส่งไปให้ศาลและศาลคงอายัดไม่ได้ส่งไปชำระหนี้ผู้ใด การที่จำเลยกับ ช. ประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์ส่งศาล จะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้เป็นการใช้สิทธิติดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้
โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ศาลในคดีที่ ช. เจ้าหนี้เดิมถูกจำเลยฟ้องเพราะมีหมายอายัดมา โจทก์จึงเข้าใจว่าต้องส่งไปให้ศาลและศาลคงอายัดไม่ได้ส่งไปชำระหนี้ผู้ใด การที่จำเลยกับ ช. ประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์ส่งศาล จะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้เป็นการใช้สิทธิติดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินตามหมายอายัดโดยเข้าใจผิด และสิทธิในการติดตามเอาคืนจากผู้รับเงินไปโดยมิชอบ
ช. เจ้าหนี้โจทก์ได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้ ก.และโจทก์ยอมรับว่าจะจ่ายให้ ก. แล้ว สิทธิการรับเงินของ ช.ย่อมหมดไป การที่โจทก์ส่งเงินดังกล่าวให้ศาลตามหมายอายัดเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระ ช. ให้แก่ศาลตามหมายอายัดในคดีที่ ช. เจ้าหนี้โจทก์ถูกจำเลยฟ้อง โดยโจทก์เข้าใจว่ามีหน้าที่ต้องส่งและศาลคงอายัดไม่ส่งไปชำระหนี้แก่ผู้ใดจะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 ไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินที่โจทก์ส่งศาลตามหมายอายัด ซึ่งจำเลยกับ ช. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยรับเงินดังกล่าวไปคืนจากจำเลยได้ เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 จึงไม่มีอายุความ