คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เครื่องจักร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัยกรณีระเบิดจากเครื่องจักร: ประกันภัยไม่คุ้มครอง
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยจะต้องรับผิดในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยในกรณีที่ทรัพย์สินต้องสูญเสียหรือเสียหายเนื่องจากเพลิงไหม้ (ไม่ว่าจะเกิดจากการระเบิดหรือไม่ก็ตาม) หรือ ฟ้าผ่าหรือการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่สำหรับกรณีวินาศภัยที่เกิดจากการระเบิดมีข้อยกเว้น เหตุแห่งการสูญเสียและการเสียหายซึ่งไม่รวมอยู่ในการประกันภัย คือ การระเบิดทุกชนิด (ไม่ว่าการระเบิดจะเกิดจากเพลิงไหม้หรือไม่ก็ตาม) เว้นแต่ส่วนที่ระบุในสัญญาว่าให้คุ้มครองเงื่อนไขที่เป็นที่ยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องรับผิดในเหตุแห่งการสูญเสียและการเสียหายจากการระเบิดจึงมีความหมายถึงการระเบิดที่เกิดจากเพลิงไหม้ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเครื่องจักรตีแป้งที่เอาประกันภัยไว้กำลังทำงาน ชิ้นส่วนโลหะภายในเครื่องเกิดหลุดหรือหักออกทำให้ชิ้นส่วนโลหะดังกล่าวกระทบกันเกิดเป็นประกายไฟลุกติดกับผงละอองแป้งภายในเครื่องตีแป้งแล้วลุกเป็นไฟลามไปตามท่อจนถึงถังรองรับไซโคลน ทำให้มีการเผาไหม้ภายในถังรองรับไซโคลน เกิดแรงอัดสูงสุดจนระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้สินค้าแป้งข้าวจ้าวและเครื่องจักรที่โจทก์เอาประกันภัยไว้สูญเสียหรือเสียหาย ความสูญเสียหรือเสียหายจึงมีสาเหตุโดยตรงมาจากการระเบิดในถังรองรับไซโคลน การสูญเสียหรือเสียหายของทรัพย์สินโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย เพราะได้รับการยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เครื่องจักรโอนแล้ว สัญญาประกันภัยจึงสิ้นผล
เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงเลื่อยจักร โดยสภาพแล้วเป็นสังหาริมทรัพย์มิใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นโรงเลื่อย อันจะเป็นส่วนควบของโรงเลื่อยและเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องจักรที่เอาประกันภัยไว้ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514 การซื้อขายเครื่องจักรจึงสมบูรณ์เมื่อโจทก์กับ น.ได้ตกลงซื้อขายกัน กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ขายย่อมโอนไปยัง น.ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ.มาตรา458 แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายจะกำหนดให้การซื้อขายจะต้องไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้ออีก ก็หาทำให้การซื้อขายเครื่องจักรซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไม่
เมื่อกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้ตกไปเป็นของ น.แล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 863

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรโอนแล้ว ผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสีย สัญญาประกันภัยเป็นโมฆะ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงเลื่อยจักรโดยสภาพแล้วเป็นสังหาริมทรัพย์มิใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นโรงเลื่อย อันจะเป็นส่วนควบของโรงเลื่อยและเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องจักรที่เอาประกันภัยไว้ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 การซื้อขายเครื่องจักรจึงสมบูรณ์เมื่อโจทก์กับ น. ได้ตกลงซื้อขายกันกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ขายย่อมโอนไปยัง น. ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 458 แม้ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายจะกำหนดให้การซื้อขายจะต้องไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้ออีก ก็หาทำให้การซื้อขายเครื่องจักรซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับกลายเป็นไม่สมบูรณ์ไม่ เมื่อกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้ตกไปเป็นของ น.แล้วตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะเอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เอาประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกวดราคาซื้อเครื่องจักร: ความล่าช้าในการทำสัญญาและการแก้ไขข้อตกลง ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
การประกวดราคาซื้อเครื่องจักรพิพาทมีการเปิดซองประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2528 แต่คณะกรรมการโจทก์เพิ่งประชุมและมีมติให้จัดซื้อจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2528ก่อนสิ้นกำหนดการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 แจ้งไว้ในการประกวดราคาเพียง 2 วัน และข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวก็ไม่ได้มีอยู่ในเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิขอให้แก้ไขข้อสัญญาเหล่านั้นได้ เมื่อโจทก์แก้ไขสัญญาล่าช้า จนกระทั่งเลยกำหนดเวลาในการยื่นราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ขยายให้และผู้ขายต่างประเทศบอกเลิกการขายแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็ยังแก้ไขสัญญาไม่เสร็จความล่าช้าในการทำสัญญาจึงไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์ แล้วไม่ยอมทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ เป็นการผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงเองซึ่งตรงประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์หรือไม่ โดยไม่ได้นำคำให้การของที่ 1 ที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ยื่นซองประกวดราคามากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพราะเห็นว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ไม่เป็นสาระ โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการชี้สองสถานไว้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 นำสืบตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวและรับฟังพยานของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว หาใช่กรณีที่คำให้การจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยที่ 1จะนำสืบตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4962/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากการกระทำโดยประมาท ทำให้เครื่องจักรเสียหายและต้องซื้อใหม่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบอธิบายได้ว่า โจทก์ตั้งตัวแทนไปทำสัญญากับจำเลยที่ 1ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง จำเลยที่ 1 รับจ้างยกเครื่องเปาลมเย็นให้โจทก์ แต่ได้ทำเครื่องเป่าลมเย็นบุบสลายสิ้นเชิง โจทก์จำเป็นต้องสั่งซื้อเครื่องใหม่จากต่างประเทศเพื่อทดแทนเครื่องเดิม ค่าระวางเรือในการขนส่ง ค่าประกันภัย ตลอดจนค่าภาษีในการนำเครื่องเป่าลมเย็นเข้าประเทศ ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งโจทก์ต้องเสียไปเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเพื่อให้ได้เครื่องเป่าลมเย็นเครื่องใหม่มาแทนเครื่องที่บุบสลายไป จำเลยต้องรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเปรียบเทียบค่ารายปีและเครื่องจักรในโรงงาน
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของโจทก์โดยเทียบกับค่ารายปีของโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ. และของบริษัท ป. มาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีในปีพิพาทนี้ด้วยนั้น เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนและที่ดินของบริษัท บ.และบริษัท ป. อยู่ติดถนนใหญ่ทำเลและการคมนาคมสะดวกกว่าโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ แม้ค่ารายปีของโจทก์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดจะต่ำกว่าค่ารายปีของบริษัท บ. ก็ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบว่าค่ารายปีของโจทก์เป็นค่ารายปีที่สมควรหรือไม่
แม้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณนี้ จะมิใช่เป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้น ดังที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475มาตรา 18 กำหนดให้นำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้เพิ่มค่ารายปีตามภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากปีดังกล่าวมาถึงปีพิพาทนี้ และเป็นค่ารายปีที่ยุติแล้ว ส่วนค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณภาษีนั้นเป็นค่ารายปีที่โจทก์ยังไม่พอใจ โดยโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่อยู่จึงเป็นค่ารายปีที่ยังไม่ยุติ ไม่อาจนำมาเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีพิพาทนี้ได้ ดังนี้ค่ารายปีที่โจทก์นำมาเป็นหลักในการคำนวณจึงเป็นค่ารายปีที่สมควรกว่า
แม้เครื่องจักรจะมีไว้เพื่อซ่อมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้ามิใช่มีไว้เพื่อผลิตสินค้า แต่ก็เป็นเครื่องจักรที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือนยากที่จะขนย้ายได้ ต้องถอดออกเป็นชิ้นจึงจะขนย้ายได้ เป็นการติดตั้งไว้ในลักษณะถาวรมีลักษณะเป็นส่วนควบที่สำคัญของโรงเรือน จึงเป็นเครื่องจักรที่มีไว้เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ต้องลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3 ตามพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 13
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเพียงผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำตามหน้าที่เท่านั้น มิได้ร่วมรับชำระเงินค่าภาษีด้วย จึงไม่ต้องร่วมคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าสำเร็จรูปจากผ้าใช้กับเครื่องจักร ไม่เข้าพิกัดผ้าโดยตรง
เครื่องล้างหัวเทปวีดีโอเป็นสินค้าสำเร็จรูปอย่างหนึ่งประกอบด้วยตัวกล่องที่ทำด้วยพลาสติก คงมีเฉพาะส่วนที่สำหรับขัดถูหัวเทปที่มีลักษณะเป็นผ้าและเครื่องดังกล่าวใช้สำหรับเครื่องวีดีโอเท่านั้น จึงมิใช่สินค้าตามพิกัดประเภทที่ 59.17 เพราะมิใช่เป็นผ้าหรือของที่ทำด้วยวัตถุทอและมิใช่ชนิดที่ตามธรรมดาใช้กับเครื่องกลจักรหรือใช้ในโรงงาน อีกทั้งมิใช่สินค้าตามพิกัดประเภทที่ 62.05 ซึ่งได้แก่วัตถุทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรข้อที่ 5ถือได้ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใกล้เคียงกับประเภทพิกัดที่ 62.13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาล่าช้าและไม่เป็นไปตามสัญญา ผู้รับจ้างผิดสัญญา แม้โจทก์ยินยอมให้จัดหาเครื่องจักรจากต่างประเทศก็ไม่ถือเป็นการผ่อนผันเวลา
ตามสัญญาการจ้างเหมามีข้อความว่า จำเลยผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องสร้างระบบน้ำประปาให้โจทก์ผู้ว่าจ้างซึ่งรวมถึงการสร้างหอส่งน้ำสายล่อฟ้าการวางท่อเมนส่งน้ำ ท่อต่อส่งไปยังอาคารต่าง ๆ และการจัดหาการติดตั้งเครื่องสูบน้ำบาดาลตามชนิด คุณภาพและขนาดที่กำหนดให้โจทก์โดยครบถ้วนถูกต้องตามสัญญา และส่งมอบการงานให้โจทก์ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับมอบสถานที่ ถ้าจำเลยทำการงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดในสัญญาจะเป็นด้วยอุปสรรคใด ๆ ก็ตาม จำเลยจะต้องทำงานต่อไปให้แล้วเสร็จ โดยยอมให้โจทก์ผู้ว่าจ้างริบเงินประกันที่วางไว้ หรือเสียค่าปรับวันละ 1,001 บาท นอกจากจะได้รับแจ้งจากโจทก์ให้งดทำการต่อไป โจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำและเรียกร้องค่าเสียหาย เว้นไว้แต่โจทก์ได้ยอมผ่อนผันเลื่อนเวลาต่อออกไปให้โดยแสดงเป็นลายลักษณ์อักษรว่าได้ตกลงเลื่อนกำหนดเวลาการทำงานต่อไปให้อีกเท่าใด และยอมสละสิทธิในการริบเงินประกันหรือการปรับให้ด้วย เมื่อจำเลยส่งมอบงานงวดที่ 7 ช้ากว่ากำหนด 81 วันแล้ว จำเลยมีหนังสือขอต่ออายุสัญญาแต่โจทก์ไม่ได้อนุมัติให้ต่ออายุสัญญา ต่อมาจำเลยส่งมอบเครื่องสูบน้ำให้โจทก์ คุณภาพและระบบไฟไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์ไม่ยอมรับ และจำเลยมีหนังสือขอให้โจทก์งดการปรับโจทก์ไม่ตอบทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทักท้วงแต่อย่างใด จำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องตระเตรียม จัดหา ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ แต่ไม่จัดหาและติดตั้งให้โจทก์ให้ทันตามสัญญาโดยไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาตราบใดที่โจทก์ไม่ได้มีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรว่าได้ตกลงเลื่อนกำหนดเวลาการทำงานและยอมสละสิทธิในการริบเงินประกันในการปรับแล้วเพียงเหตุที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยจัดหาเครื่องสูบน้ำมาจากต่างประเทศจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ยินยอมให้ต่ออายุสัญญาหรือยอมสละสิทธิในการริบเงินประกันในการปรับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การใช้เครื่องจักรในที่ดินเพื่อผลิตแร่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมาย
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, 360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็นตัวการในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืนตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำว่า อาคารสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักรเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 สั่งจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่อง มีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่เกลือหินขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์อันเป็นการแปรสภาพหรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้าขึ้นไป ถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5, 8, 12, 43 วรรคหนึ่ง, 44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ กว้างถึงสถานที่ติดตั้งเครื่องจักร แม้ไม่มีอาคารถาวร
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็น ตัวการ ในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืน ตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 คำว่า อาการสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร เพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดย ไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9สั่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่องมีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่ เกลือ หิน ขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์ อันเป็นการแปรสภาพ หรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้า ขึ้น ไปถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อ ไม่ได้ รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5,8,12,43 วรรคหนึ่ง,44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.
of 6