คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เคหะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการออกจากเคหะหลังหมดสัญญาเช่า: การต่ออายุสัญญาและการตกลงยินยอมออกไป ถือเป็นความยินยอมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะ
การที่ผู้เช่าทำสัญญาเช่าเคหะไว้โดยมีกำหนดระยะเวลาหนึ่ง เมื่อครบกำหนดแล้วผู้ให้เช่ากับผู้เช่าได้มีการต่ออายุสัญญาออกไปอีกโดยตกลงกันว่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ต่อออกไปนี้แล้ว ผู้เช่ายินยอมจะออกไปจากที่เช่านั้น ถือได้ว่าได้รับความยินยอมจากผู้เช่าตามความหมายของมาตรา 17(5) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 แล้ว ผู้ให้เช่าจึงฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผงลอยชั่วคราวไม่เป็นเคหะ แม้มีการดัดแปลง ไม่มีสิทธิอ้างการเช่าคุ้มครองตาม พรบ.ควบคุมค่าเช่า
แผงลอยที่ปลูกสร้างขึ้นเพื่อให้คนเข้าประกอบการค้าชั่วคราวนั้น แม้ภายหลังผู้เช่าแผงลอยจะมุงหลังคาสังกะสี ตีเพดาน-ขึ้น ก็ไม่มีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัยที่ถาวร การที่ผู้เช่าเข้าอยู่อาศัยและเทศบาลออกทะเบียนสำมะโนครัวให้ ก็ไม่ได้หมายความรับรองว่าแผงลอยเป็นอาคาร จึงไม่เป็นเคหะตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน ฯ
จำเลยที่ 1 ปลูกแผงลอยในที่ดินของโจทก์แล้วให้จำลยที่ 2 เช่า หากต่อมาจำเลยท 1 ไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จะยกสิทธิการเช่าที่โจทก์มิได้รู้เห็นด้วยขึ้นยันโจทก์ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 อยู่ในแผงลอยได้ก็เนื่องจากอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผงลอยชั่วคราวไม่ใช่เคหะ ไม่อยู่ในข่ายกฎหมายควบคุมค่าเช่า แม้มีการปรับปรุง
แผงลอยที่ปลูกสร้างขึ้นเพื่อให้คนเข้าประกอบการค้าชั่วคราวนั้น แม้ภายหลังผู้เช่าแผงลอยจะมุงหลังคาสังกะสี ตีเพดานขึ้น ก็ไม่มีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัยที่ถาวร การที่ผู้เช่าเข้าอยู่อาศัยและเทศบาลออกทะเบียนสำมะโนครัวให้ ก็ไม่ได้หมายความรับรองว่าแผงลอยเป็นอาคาร จึงไม่เป็นเคหะตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ
จำเลยที่ 1 ปลูกแผงลอยในที่ดินของโจทก์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่า หากต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 จะยกสิทธิการเช่าที่โจทก์มิได้รู้เห็นด้วยขึ้นยันโจทก์ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 อยู่ในแผงลอยได้ก็เนื่องจากอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำสัญญาเช่าเพื่อค้าขาย แม้จะมีการอยู่อาศัยควบคู่ ก็ไม่ถือเป็นเคหะตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
จำเลยเช่าห้องโจทก์ซึ่งเป็นตึกแถวสองชั้น ตามสัญญาระบุว่าเช่าเพื่อค้าขายห้องพิพาทตั้งอยู่ในทำเลการค้าและจำเลยก็ได้เปิดร้านซักรีดเป็นอาชีพอย่างเดียวถึง 2 ปี เพิ่งจะมาเลิกร้านค้าเมื่อหมดอายุการเช่าเท่านั้น เช่นนี้ ห้องพิพาทนั้นก็ยังหาเป็นเคหะไม่ และย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าตึกเพื่ออยู่อาศัยหรือค้าขาย: พฤติการณ์จริงสำคัญกว่าข้อตกลงในสัญญาเช่า
แม้ในสัญญาเช่าลงว่าเช่าตึกพิพาทเพื่อค้าขายยาก็ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะนำสืบถึงพฤติการณ์ตามความจริงว่าเช่าเพื่อทำการค้าหรือเพื่ออยู่อาศัยอันจะนำไปสู่ประเด็นข้อวินิจฉัยว่าเป็น "เคหะ"หรือไม่
จำเลยเช่าตึกพิพาทของโจทก์และใช้ตึกพิพาทอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าขายยาในตึกของพระคลังฯซึ่งอยู่ติดต่อกันเช่นนี้ จะถือว่าจำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อทำการค้าเพราะเหตุว่าอยู่อาศัยเพื่อทำการค้าหาได้ไม่มิฉะนั้นแล้วการที่ผู้ใดเช่าตึกอยู่แห่งหนึ่ง แล้วไปทำการค้าอีกแห่งหนึ่ง ก็จะเป็นการเช่าเพื่อทำการค้าไปหมด
การที่ต่อมาภายหลังจำเลยได้เปิดร้านดัดผมในห้องพิพาทชั้นล่างเฉพาะซีกคูหาเดียวและไม่สุดตลอดคูหาด้วยคือใช้เนื้อที่เพียง 1 ใน4 ของตึกชั้นล่าง และในการนี้จำเลยก็ได้ขออนุญาตจากโจทก์แล้วว่าเพื่อช่วยค่าครองชีพทางหนึ่ง กับได้ขอให้โจทก์แยกใบเสร็จค่าเช่าห้องพิพาทเดือนละ 100 บาทเป็น 40 บาทฉบับหนึ่งคือสำหรับค่าเช่าตรงที่เป็นร้านดัดผม และ 60 บาทอีกฉบับหนึ่งเหตุที่แยกดังนี้เนื่องจากการตั้งร้านดัดผมจำเลยเข้าหุ้นกับคนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การคิดเงินระหว่างหุ้นส่วน ตามพฤติการณ์ดังกล่าวนี้ จะฟังว่าจำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อการค้ายังไม่ได้ ต้องถือว่าตึกพิพาทเป็น "เคหะ" อันได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าห้องเพื่ออยู่อาศัยแล้วค้าขายเล็กน้อยยังคงเป็นเคหะตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
การที่จำเลยเช่าห้องอยู่อาศัยโดยเสียค่าเซ้งจากผู้เช่าคนเดิม ต่อมา 2 - 3 ปี จึงค้าขายบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ได้ 5 - 6 ปี ก็จดทะเบียนพาณิชย์เสียภาษีโรงค้า ภาษีป้าย มิได้ค้าเป็นล่ำเป็นสันไม่ใหญ่โตและคงใช้เป็นที่อยู่อาศัยเช่นเดิมทั้งหามีที่อยู่อาศัยแห่งอื่นไม่, ดังนี้ย่อมถือว่าห้องรายนี้เป็นเคหะตามนัยแห่งพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าห้องเพื่ออยู่อาศัยและค้าขายเล็กน้อย ยังคงเป็นเคหะตามกฎหมายควบคุมค่าเช่า แม้จะจดทะเบียนพาณิชย์
การที่จำเลยเช่าห้องอยู่อาศัยโดยเสียค่าเซ้งจากผู้เช่าคนเดิมต่อมา 2-3 ปี จึงค้าขายบ้างเล็กๆ น้อยๆ อยู่ได้ 5-6 ปี ก็จดทะเบียนพาณิชย์เสียภาษีโรงค้าภาษีป้าย มิได้ค้าเป็นล่ำเป็นสันไม่ใหญ่โตและคงใช้เป็นที่อยู่อาศัยเช่นเดิมทั้งหามีที่อยู่อาศัยแห่งอื่นอีกไม่ดังนี้ย่อมถือว่าห้องรายนี้เป็นเคหะตามนัยแห่งพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าเพื่ออยู่อาศัยย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า แม้มีการประกอบกิจการค้าเล็กน้อยเป็นครั้งคราว
ในคดีที่ฎีกาได้เฉพาะแต่ปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาจากพยานหลักฐานในท้องสำนวน
เมื่อปรากฏว่าจำเลยเช่าห้องโดยเจตนาเป็นที่อยู่อาศัยตั้งแต่แรกซึ่งต่อมาได้ประกอบกิจการค้าบ้างเล็กๆ น้อยๆ เป็นการชั่วคราวและต่อมาก็ได้เลิกกิจการค้าไปแล้ว ดังนี้ห้องเช่ารายพิพาทก็ยังคงถือว่าเป็น 'เคหะ' อันพึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯเจ้าของห้องหามีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'เคหะ' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ พิจารณาจากเจตนา,สภาพ,ทำเลที่ตั้ง และการใช้ประโยชน์
ความหมายของคำว่า "เคหะ" ตามมาตรา 3 ก็คือ "สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย" ส่วนบทบัญญัติต่อไปที่ว่า"โดยไม่คำนึงว่าจะใช้เป็นที่ประกอบธุระกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วยเป็นส่วนประธานหรืออุปกรณ์" นั้น เป็นแต่ขยายความแห่งบทบัญญัติตอนต้นเท่านั้น แต่ส่วนสำคัญอยู่ที่ว่า "สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย" และโดยที่พระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับเรื่องการเช่า ฉะนั้นการที่จะวินิจฉัยสิ่งปลูกสร้างใดที่มีการเช่าจะเข้าอยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติหรือไม่ จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาด้วย ว่าจะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอยู่อาศัยหรือเพื่อการอื่นใดจึงวางหลักไว้ว่า การที่จะวินิจฉัยว่าสิ่งปลูกสร้างใดเป็น "เคหะ" ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำต้องคำนึงถึงเจตนาในเวลาเช่า สภาพและทำเลที่ตั้งของสถานที่เช่า และเหตุผลแวดล้อมอย่างอื่นเป็นข้อประกอบด้วย
ม.13 นั้น เป็นเรื่องกฎหมายกำหนด เกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'เคหะ' ใน พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: พิจารณาเจตนา,สภาพ,ทำเลที่ตั้ง และการใช้ประโยชน์
ความหมายของคำว่า 'เคหะ'ตามมาตรา 3 ก็คือ'สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย' ส่วนบทบัญญัติต่อไปที่ว่า 'โดยไม่คำนึงว่าจะใช้เป็นที่ที่ประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วยเป็นส่วนประธานหรืออุปกรณ์' นั้นเป็นแต่ขยายความแห่งบทบัญญัติตอนต้นเท่านั้นแต่ส่วนสำคัญอยู่ที่ว่า 'สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย' และโดยที่พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องการเช่าฉะนั้นการที่จะวินิจฉัยสิ่งปลูกสร้างใดที่มีการเช่าจะเข้าอยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติหรือไม่จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาด้วยว่าจะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอยู่อาศัยหรือเพื่อการอื่นใดจึงวางหลักไว้ว่าการที่จะวินิจฉัยว่าสิ่งปลูกสร้างใดเป็น 'เคหะ'ตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำต้องคำนึงถึงเจตนาในเวลาเช่า สภาพและทำเลที่ตั้งของสถานที่เช่าและเหตุผลแวดล้อมอย่างที่เป็นข้อประกอบด้วย
มาตรา13นั้นเป็นเรื่องกฎหมายกำหนดเกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
เช่าห้องไว้เป็นที่เก็บสัมภาระและเป็นห้องนอนของเด็กที่คอยเติมน้ำมันในร้านขายน้ำมันของผู้เช่า ซึ่งอยู่หน้าห้องเช่าและเปิดเข้าออกถึงกันได้ ดังนี้ถือได้ว่าเช่าห้องไว้ก็เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการค้าของผู้เช่าจึงไม่เป็นเคหะ
of 9