พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องเงินกู้: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยยืนยันจำนวนเงินกู้ที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 130,000 บาท ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 130,000 บาท จริง แต่จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วนแล้ว คงเหลือต้นเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดจำนวน 96,911.44 บาท และพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์โต้แย้งในส่วนที่ขาดไป ดังนั้น ต้นเงินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียง 96,911.44 บาท ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ส่วนต้นเงินจำนวนที่ขาดไป 33,088.56 บาท ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยส่วนนี้ให้ได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์คงฎีกาได้เฉพาะในส่วนต้นเงินจำนวน 96,911.44 บาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ไปจำนวน 130,000 บาท มิใช่จำนวน 70,000 บาท ดังที่จำเลยนำสืบต่อสู้ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระต้นเงิน 96,911.44 บาท ตามจำนวนต้นเงินที่พิพาทกันในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8952/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้ดอกเบี้ยจากเงินกู้เพื่อลงทุน ไม่ถือเป็นรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน
โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการทำเหมืองแร่ การแต่งแร่และการถลุงแร่สังกะสี การผลิต แปรรูปหรือแปรสภาพโลหะ ZINC ALLOY การผลิตโลหะ CADMIUN ประเภทการถลุงแร่ เช่นนี้ รายได้เงินดอกเบี้ยรับจากตั๋วสัญญาใช้เงิน จากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และจากบัญชีเงินฝากประจำที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินอันเป็นรายได้อื่นที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์นำเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมมาเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากไว้ กับสถาบันการเงิน จึงมิใช่เงินรายได้จากการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ตามที่โจทก์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและ มิใช่เป็นรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้หรือเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ตามความในมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศ สนองความต้องการ ของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน การเพิ่มรายได้ และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับ การส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น รายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็น รายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสิรมการลงทุน
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มีเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศ สนองความต้องการ ของประเทศในการเร่งรัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ในการสร้างงาน การเพิ่มรายได้ และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุน ดังนั้น การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงต้องหมายถึงการประกอบการงานที่ได้รับ การส่งเสริมตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น รายได้ดอกเบี้ยที่โจทก์ได้รับจากสถาบันการเงินดังกล่าวย่อมถือเป็น รายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการที่โจทก์ได้รับการส่งเสิรมการลงทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบเงินกู้และการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย กรณีนำเงินกู้ไปชำระหนี้เดิม
หลังจากที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์แล้ว โจทก์ได้โอนเงินจำนวน 45,000,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินไปเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 แล้วนำไปหักกับดอกเบี้ยเงินกู้รายอื่นที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ถอนเงินจำนวน 45,000,000 บาท จากบัญชีเงินฝากจำเลยที่ 1 แต่การที่โจทก์จัดให้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับอื่น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้จำนวน 45,000,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาก่อนิติสัมพันธ์ในระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น แม้ฟังว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์ เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นแก่โจทก์ ก็ไม่ทำให้มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินในคดีนี้เป็นหนี้ค่าดอกเบี้ย แต่ต้องถือว่าจำนวนหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสัญญากู้ยืมเงินและเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาก่อนิติสัมพันธ์ในระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น แม้ฟังว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์ เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นแก่โจทก์ ก็ไม่ทำให้มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินในคดีนี้เป็นหนี้ค่าดอกเบี้ย แต่ต้องถือว่าจำนวนหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสัญญากู้ยืมเงินและเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้, การลดอัตราดอกเบี้ย, และการสละอายุความของหนี้
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) ไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปีซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีโจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้เท่านั้น แม้ว่าสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้ ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้นจำเลยที่ 1 ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนและให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 7 มีนาคม 2527 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นและการระงับสิ้นหนี้
การนำสืบว่า จำเลยโอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนื้เงินกู้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วกรณีมิใช่เป็นการนำสืบการใช้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง
จำเลยได้โอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และโจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้รับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมทำให้หนี้กู้ยืมรายพิพาทระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
จำเลยได้โอนเงินทางธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และโจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้รับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมทำให้หนี้กู้ยืมรายพิพาทระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2166/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินให้เช่าเป็นรายจ่ายลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
การที่จำเลยกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินนั้น ที่ดินที่จำเลยซื้อมาย่อมตกเป็นทรัพย์สินของจำเลยอันเป็นทุนรอนของจำเลยเพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของจำเลยต่อไป เงินกู้ยืมที่จำเลยจ่ายเป็นค่าซื้อที่ดินจึงเป็นรายจ่าย อันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่ทำให้จำเลยได้ที่ดินมาโดยตรง ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งจำเลยมีภาระต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงิน มาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผล โดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของจำเลยย่อมเป็นส่วนหนึ่ง ของค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้น ดอกเบี้ยซึ่งเกิดจาก การกู้ยืมเงินของจำเลยมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่า จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินกู้ยืมที่จำเลยนำไปซื้อที่ดิน จำเลยจึงไม่สามารถ นำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการชำระหนี้เงินกู้และการคืนหลักประกัน แม้หลักฐานสูญหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ แม้จำเลยให้การรับว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องไป 3 ครั้ง แต่จำเลยก็ให้การว่า จำเลยได้ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วและโจทก์ได้คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ของจำเลยที่มอบให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้แก่จำเลย ดังนี้จำเลยย่อมนำสืบได้ว่า จำเลยได้ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ และโจทก์ได้คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่โจทก์ยึดไว้เป็นประกันเงินกู้ให้จำเลยกับโจทก์ได้ทำหลักฐานการรับชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวให้จำเลยไว้ แต่หลักฐานดังกล่าวสูญหายไป ซึ่งเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาของหลักฐานการชำระหนี้เป็นอย่างไร และเมื่อหลักฐานการชำระหนี้ดังกล่าวสูญหายจำเลยย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้และการนำสืบหลักฐานการชำระหนี้ที่สูญหาย ศาลอนุญาตให้สืบพยานบุคคลได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ แม้จำเลยให้การรับว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องไป 3 ครั้งแต่จำเลยก็ให้การว่า จำเลยได้ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วและโจทก์ได้คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของจำเลยที่มอบให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกัน เงินกู้แก่จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ว่า จำเลยได้ชำระเงินกู้ยืมดังกล่าวแก่โจทก์ และโจทก์ ได้คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่โจทก์ยึด ไว้เป็นประกันเงินกู้ให้จำเลยกับโจทก์ได้ทำหลักฐาน การรับชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวให้จำเลยไว้ แต่หลักฐานดังกล่าวสูญหายไป ซึ่งเป็นการนำสืบถึงรายละเอียด เกี่ยวกับที่มาของหลักฐานการชำระหนี้เป็นอย่างไร และเมื่อหลักฐานการชำระหนี้ดังกล่าวสูญหายจำเลยย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน, อากรแสตมป์, และดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามเอกสารพิพาท เอกสารดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นการค้ำประกันเงินกู้และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียว ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้วงเงินสินเชื่อในหนี้ประเภทเงินกู้และกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม กล่าวคือ มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้รายนี้โดยสิ้นเชิง หาใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กันไม่
เมื่อสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.รัษฎากรมาตรา 108 ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาท ทั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้าย ป.รัษฎากรก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้น ข้อ 17 (ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทขึ้นไป กำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อเอกสารฉบับพิพาทปิดอากรแสตมป์ฉบับละ10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจการธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายเมื่อมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกันเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควรจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาถึงดอกเบี้ยในหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีช่วงระหว่างวันถัดจากวันเลิกสัญญาถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งที่ในคำวินิจฉัยก็มิได้ตัดดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
เมื่อสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.รัษฎากรมาตรา 108 ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาท ทั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้าย ป.รัษฎากรก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้น ข้อ 17 (ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทขึ้นไป กำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อเอกสารฉบับพิพาทปิดอากรแสตมป์ฉบับละ10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจการธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายเมื่อมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกันเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควรจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาถึงดอกเบี้ยในหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีช่วงระหว่างวันถัดจากวันเลิกสัญญาถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งที่ในคำวินิจฉัยก็มิได้ตัดดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการค้ำประกันเงินกู้ที่สมบูรณ์ และสิทธิของโจทก์ในการบังคับคดีผู้ค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทในช่องผู้ค้ำประกันมีชื่อจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้ และมีข้อความระบุไว้อยู่เหนือลายมือชื่อว่า ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันกู้เงินให้แก่ มีข้อสัญญาดังแจ้งต่อไปนี้ ซึ่ง ผู้กู้ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินของท่านไปเมื่อวันที่ เดือน พ.ศ.นั้น ถ้า ล้มตายเสียก็ดี หลบหนีหายไปเสียก็ดีหรือมีตัวอยู่ก็ดี ท่านจะเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยแก่ไม่ได้ โดยเหตุประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกันยอมใช้ต้นเงิน ดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่น ๆ ให้แก่ท่านตามที่ได้ทำสัญญาไว้ให้แก่ท่านจนครบ ทันใดนี้ผู้เขียนสัญญาได้อ่านข้อสัญญาให้ข้าพเจ้าเข้าใจโดยละเอียดตลอดทุกข้อแล้วข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานผู้อยู่พร้อมกัน ณ ที่นี้ ข้อความดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับรองไว้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกันแต่อยู่คนละหน้าต่อจากหนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ผู้ยืมคือจำเลยที่ 1เป็นสำคัญ ข้อความดังกล่าวอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีได้