พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าซ่อมแซมรถ และสิทธิในการได้รับเงินคืน
โจทก์เช่าซื้อรถพิพาทจากจำเลยในราคา 500,000 บาท ชำระเงินในวันทำสัญญา 100,000 บาท ส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระเป็นรายเดือนโจทก์ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหลายงวดรวมเป็นเงิน 50,000 บาทได้มีการทำบันทึกข้อตกลงไว้ที่สถานีตำรวจว่า โจทก์จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างให้จำเลย ฝ่ายจำเลยจะไปต่อทะเบียนเสียภาษีรถพิพาทให้โจทก์ โดยนัดกันในวันที่ 15 มีนาคม 2530 ข้อความดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ดังนั้น จะถือว่าโจทก์ผิดนัดผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุนี้ยังไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำขึ้นใหม่ ครั้งถึงวันนัดโจทก์เตรียมตั๋วแลกเงินจำนวน 50,000 บาทไป แต่ฝ่ายจำเลยไม่ได้นำทะเบียนรถมาอ้างว่าจำเลยไปติดต่อเจ้าหน้าที่แล้วแต่ยังไม่ได้ทะเบียนมาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงและผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและผลแห่งการบอกเลิกสัญญาย่อมทำให้คู่ความแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะเดิม กล่าวคือ โจทก์ต้องคืนรถพิพาทให้จำเลยและต้องใช้เงินตามค่าแห่งการใช้สอยรถพิพาทให้จำเลยส่วนจำเลยก็ต้องคืนค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ โจทก์เช่าซื้อรถพิพาทจากจำเลยแล้วได้ทำการซ่อมแซมรถพิพาทโดยเปลี่ยนเฟืองท้ายโช้กอับ เพลากลาง และเปลี่ยนเบาะใหม่การซ่อมแซมดังกล่าวมิใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเล็กน้อย แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรเพื่อรักษารถพิพาทให้อยู่ในสภาพใช้งานและรับส่งคนโดยสารได้ จำเลยต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน สิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนได้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินจากจำเลย 2 แปลงโจทก์จ่ายเงินค่าซื้อที่ดิน 2 แปลงให้แก่จำเลยแล้วแต่จำเลยจัดการโอนที่ดินให้แก่โจทก์เพียง 1 แปลงเท่านั้นส่วนที่ดินอีกแปลงหนึ่งจำเลยยังไม่จัดการโอนขายแก่โจทก์ตามที่ตกลงกัน ถือว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่ยังมิได้โอนและเรียกเงินราคาที่ดินคืนได้และนับแต่วันจดทะเบียนซื้อขายที่ดินแปลงแรกจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 2 ปีเศษแล้ว จำเลยก็มิได้จัดการโอนที่ดินที่เหลืออีก 1 แปลงให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยเพื่อเรียกเงินราคาที่ดินดังกล่าวคืนโดยไม่ขอบังคับให้จำเลยโอนที่ดินอันเป็นการแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะบังคับตามสัญญาต่อไป จึงเท่ากับเป็นการบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงที่เหลือโดยปริยาย โจทก์ฟ้องเรียกราคาที่ดินคืน เพราะเหตุจำเลยผิดสัญญา จะซื้อขายที่ดิน และโจทก์บอกเลิกสัญญา จะนำอายุความ 1 ปี ฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาบังคับไม่ได้ต้องนำอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้ที่ซ้ำซ้อนและการเรียกร้องเงินคืน
ในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์จำเลย เงินของจำเลยมิได้ขาดบัญชีไป เพียงแต่โจทก์รับเงินมาแล้วนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีของจำเลยโดยมิได้นำมาลงบัญชีสมุด เงินสดรับ เป็นเหตุให้ผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าเงินขาดบัญชีไป จำเลยจึงได้ให้โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดบัญชี ซึ่งต่อมาจำเลยได้ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากโจทก์ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์รับผิดชดใช้เงินนั้น และโจทก์ได้ชดใช้เงินให้แก่จำเลยแล้วทั้งที่ปรากฏว่าเงินจำนวนนี้ยังอยู่ในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลย เงินดังกล่าวแม้จะตก เป็นของธนาคารแต่จำเลยในฐานะเจ้าของบัญชีก็มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินนั้นให้แก่จำเลยเมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยได้รับเงินจำนวนเดียวกันกับเงินที่ฝากธนาคารไปจากโจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเงินที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารจึงปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินชำระหนี้ตามหมายอายัดศาลโดยเข้าใจผิด และสิทธิในการติดตามเงินคืน
ช. เจ้าหนี้โจทก์ได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้ ก.และโจทก์ยอมรับว่าจะจ่ายให้ ก. แล้ว สิทธิการรับเงินของ ช.ย่อมหมดไป การที่โจทก์ส่งเงินดังกล่าวให้ศาลตามหมายอายัดเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ศาลในคดีที่ ช.เจ้าหนี้เดิมถูกจำเลยฟ้องเพราะมีหมายอายัดมา โจทก์จึงเข้าใจว่าต้องส่งไปให้ศาลและศาลคงอายัดไม่ได้ส่งไปชำระหนี้ผู้ใด การที่จำเลยกับ ช. ประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์ส่งศาล จะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ.มาตรา 407 ไม่ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้เป็นการใช้สิทธิติดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอม และสิทธิเรียกร้องเงินคืนหลังชำระหนี้
โจทก์จำเลยตกลง ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ถ้า โจทก์เห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไขได้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 โจทก์จะมายื่นฟ้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษาของศาลนั้นเองไม่ได้ เพราะคำพิพากษามีผลผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้อ่านแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินภาษีอากรคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: คำนวณจากวันชำระอากร ไม่ใช่วันฟ้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์จะให้ผู้มีสิทธิรับเงินอากรคืนเพราะเหตุที่ได้ชำระไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ได้รับดอกเบี้ยของเงินที่จะได้รับคืนในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินที่จะได้รับคืนนับตั้งแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรนั้น หาใช่นับตั้งแต่วันฟ้องไม่กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากรโดยเฉพาะ จึงจะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยผิดนัดมาใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินตามเนื้อที่จริง การอุทิศที่ดินเป็นถนนสาธารณะ และสิทธิในการเรียกร้องเงินคืนเมื่อเนื้อที่ดินไม่ตรงตามสัญญา
สัญญาซื้อขายระบุว่าโจทก์ยอมรับซื้อที่ดินราคาไร่ละ 9,000 บาท โจทก์จำเลยจะขอให้เจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดสอบเขต หากที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนด จำเลยจะคืนเงินให้โจทก์ตามส่วน หากที่ดินมีเนื้อที่มากกว่าเนื้อที่ตามโฉนด โจทก์จะจ่ายเงินเพิ่มให้จำเลยตามส่วน ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการขายแบบเหมายกโฉนดแต่เป็นการขายตามเนื้อที่ที่แท้จริง
ที่ดินในโฉนดส่วนหนึ่งจำเลยยอมให้ผู้ใหญ่บ้านใช้ทำเป็นถนนและประชาชนใช้สอยตลอดมาโดยจำเลยมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิ แสดงว่าจำเลยอุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนให้เป็นทางสาธารณะ ที่ดินส่วนนั้นจึงเป็นถนนสาธารณะประโยชน์โดยจำเลยไม่จำต้องไปจดทะเบียนยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้า ที่จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินส่วนนั้นมาขายให้โจทก์ เมื่อหักที่ดินส่วนที่เป็นถนนสาธารณประโยชน์ออกแล้วเหลือที่ดินน้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดจำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์ตามส่วน
ที่ดินในโฉนดส่วนหนึ่งจำเลยยอมให้ผู้ใหญ่บ้านใช้ทำเป็นถนนและประชาชนใช้สอยตลอดมาโดยจำเลยมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิ แสดงว่าจำเลยอุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนให้เป็นทางสาธารณะ ที่ดินส่วนนั้นจึงเป็นถนนสาธารณะประโยชน์โดยจำเลยไม่จำต้องไปจดทะเบียนยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้า ที่จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินส่วนนั้นมาขายให้โจทก์ เมื่อหักที่ดินส่วนที่เป็นถนนสาธารณประโยชน์ออกแล้วเหลือที่ดินน้อยกว่าเนื้อที่ตามโฉนดจำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์ตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินคืนจากชำระหนี้ฐานละเมิดเกินจำนวนที่ต้องรับผิด
โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยเนื่องจากมูลหนี้ฐานละเมิดที่โจทก์ ทำเงินของจำเลยขาดบัญชีไป การชำระเงินในลักษณะเช่นนี้ย่อมมีผลตามกฎหมายขึ้นทันทีว่า ถ้าโจทก์ชำระเงินเกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องรับผิด จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วน ที่เกินให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ สิทธิของโจทก์ที่จะ เรียกเงินคืนจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระเงินแก่ จำเลยแล้ว นับแต่วันนั้นถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน กว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบางส่วนเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มีสิทธิรับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ค้างเงินค่าเซ้งตึกที่ต้องคืนกัน 80,000 บาท คู่กรณีตกลงกันทำเป็นสัญญากู้โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 21/2 เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นเวลา 15 เดือน เงิน 30,000 บาทรวมเป็นสัญญากู้ 110,000 บาท เงิน 30,000 บาท นี้เป็นโมฆะทั้งหมดเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับเงินคืนโดยบวกดอกเบี้ยร้อยละ 71/2 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ครบถ้วน ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเงินคืนได้
โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลย แล้วยกที่ดินให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย ฟ้องว่าจำเลยส่งมอบที่ดินไม่ครบตามสัญญาซื้อขายไม่ได้
ซื้อที่ดิน 100 ตารางวา ไม่ใช่เหมาทั้งแปลง ผู้ซื้อชำระราคาเต็ม 100 ตารางวา แต่ที่ดินส่งมอบมี 84 ตารางวา ผู้ซื้อเรียกเงินที่ชำระเกินคืนได้ อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ซื้อรู้ว่าที่ดินขาดจำนวน เป็นลาภมิควรได้
ซื้อที่ดิน 100 ตารางวา ไม่ใช่เหมาทั้งแปลง ผู้ซื้อชำระราคาเต็ม 100 ตารางวา แต่ที่ดินส่งมอบมี 84 ตารางวา ผู้ซื้อเรียกเงินที่ชำระเกินคืนได้ อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ซื้อรู้ว่าที่ดินขาดจำนวน เป็นลาภมิควรได้