พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเป็นพ้นวิสัยเมื่อรถยนต์ถูกยึด เจ้าของไม่มีสิทธิรับเงินดาวน์คืน
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ จึงมีหนี้ที่จะต้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถยนต์นั้น แต่โจทก์ได้รถยนต์ไปใช้เพียง 3 เดือนยังไม่ถึง 24 เดือนตามที่ตกลงในสัญญาเช่าซื้อโดยมิได้ผิดนัดไม่ใช้เงินแก่จำเลย ก็ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรยึดรถยนต์ไปจำเลยไม่สามารถส่งมอบรถคืนให้โจทก์ได้อีก การชำระหนี้ของจำเลยคือต้องให้โจทก์ได้ใช้หรือรับประโยชน์ในรถยนต์คันนั้น กลายเป็นพ้นวิสัยเสียแล้ว โดยจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทน คือเงินที่โจทก์ได้ชำระครั้งแรกให้จำเลยในวันทำสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระเงิน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบรถและเงินดาวน์ แต่ต้องชดใช้ค่าตัวถังหลังหักค่าเสื่อม
โจทก์เช่าซื้อรถจากจำเลย การที่โจทก์มิได้ชำระเงินงวด 1 ตามสัญญาถือว่าโจทก์ผิดนัดผิดสัญญา ฝ่ายจำเลยย่อมมีสิทธิริบเงินดาวน์ และยึดรถพิพาทคืนตามข้อตกลงโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะได้รับความเสียหาย จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แม้เอกสาร ล.1 จะระบุว่า 'ใบสั่งขาย' แต่ข้อความที่ปรากฏมีชัดว่าเป็นการเช่าซื้อ ก็ย่อมเป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อรถระบุว่า ถ้าผิดนัดชำระเงินงวดใดงวดหนึ่งยอมให้ยึดรถคืน ดังนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงินงวดที่ 1 ผู้ให้เช่าซื้อก็มีสิทธิยึดรถคืนได้ (อ้างฎีกาที่ 1192/2501) และการยึดรถพิพาทคืน ย่อมรวมถึงตัวถังรถซึ่งเป็นส่วนควบด้วย แต่ผู้ให้เช่าซื้อต้องชดใช้ราคาตัวถังรถให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อหักค่าเสื่อมราคาจากราคาค่าต่อตัวถังแล้ว
แม้เอกสาร ล.1 จะระบุว่า 'ใบสั่งขาย' แต่ข้อความที่ปรากฏมีชัดว่าเป็นการเช่าซื้อ ก็ย่อมเป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อรถระบุว่า ถ้าผิดนัดชำระเงินงวดใดงวดหนึ่งยอมให้ยึดรถคืน ดังนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระเงินงวดที่ 1 ผู้ให้เช่าซื้อก็มีสิทธิยึดรถคืนได้ (อ้างฎีกาที่ 1192/2501) และการยึดรถพิพาทคืน ย่อมรวมถึงตัวถังรถซึ่งเป็นส่วนควบด้วย แต่ผู้ให้เช่าซื้อต้องชดใช้ราคาตัวถังรถให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อหักค่าเสื่อมราคาจากราคาค่าต่อตัวถังแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละเมิดต่อรถเช่าซื้อ: คำนวณจากราคาขณะเกิดเหตุ ไม่รวมเงินดาวน์/เช่าซื้อ
การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้รถยนต์ของโจทก์ที่เช่าซื้อได้รับความเสียหายทั้งคันจนไม่สามารถซ่อมให้คืนสู่สภาพเดิมได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากราคารถยนต์ที่เช่าซื้อมาตามสภาพและราคาขณะเกิดเหตุ ไม่อาจเรียกจากราคาเช่าซื้อรวมถึงเงินดาวน์ที่โจทก์ชำระไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม: เงินจอง/ดาวน์รถยนต์เช่าซื้อถือเป็นประโยชน์ที่ผู้ขายได้รับและต้องนำมารวมคำนวณ
โจทก์ซื้อรถยนต์จากผู้จำหน่ายรถยนต์มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองในราคาที่หักเงินจองหรือเงินดาวน์ที่ลูกค้าหรือผู้เช่าซื้อจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำไปให้ลูกค้าเช่าซื้อโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในส่วนนี้ ถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตามมูลค่าเงินจองหรือเงินดาวน์ที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์ เงินจองหรือเงินดาวน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราคารถยนต์ที่โจทก์ไม่ต้องจ่ายให้แก่ผู้จำหน่ายรถยนต์ จึงเป็นประโยชน์ใดๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคสอง จึงต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าของฐานภาษีตามสัญญาให้เช่าซื้อระหว่างโจทก์กับลูกค้าหรือผู้เช่าซื้อด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากสรรพากรภาค 3 ซึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ให้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มรายโจทก์สำหรับเดือนภาษีตุลาคมถึงเดือนภาษีธันวาคม 2537 และเดือนภาษีมกราคมถึงเดือนภาษีกรกฎาคม 2538 แม้จะเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่เมื่ออนุมัติภายใน 5 ปี และโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย
เจ้าพนักงานประเมินได้รับอนุมัติจากสรรพากรภาค 3 ซึ่งปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ให้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มรายโจทก์สำหรับเดือนภาษีตุลาคมถึงเดือนภาษีธันวาคม 2537 และเดือนภาษีมกราคมถึงเดือนภาษีกรกฎาคม 2538 แม้จะเกิน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่เมื่ออนุมัติภายใน 5 ปี และโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88/6 วรรคท้าย