พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5729/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงลงทุนซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หากเป็นการลงทุนโดยสมัครใจ
การที่ผู้กระทำผิดฐานฉ้อโกงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่3ต้องเป็นผลโดยตรงจากการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง บริษัทย. โดยจำเลยที่2ถึงที่5อ้างว่าได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายประกอบกิจการเกี่ยวกับการเป็นโบรคเกอร์ให้กับผู้ลงทุนในการติดต่อซื้อขายในสัญญาสกุลเงินตราต่างประเทศกับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั่วโลกโดยบริษัทย.เป็นคอมมิสชั่นเฮ้าส์ของตลาดโลกซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแต่การที่โจทก์และบุคคลอื่นนำเงินไปลงทุนกับบริษัทย. เพื่อประกอบกิจการสั่งซื้อสั่งขายเงินตราต่างประเทศมีลักษณะเป็นการเก็งกำไรการที่จะได้กำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับความเสี่ยงทั้งการประกอบกิจการดังกล่าวก็เป็นวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของบริษัทย. หากแต่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังเท่านั้นจึงเป็นความสมัครใจในการร่วมลงทุนการได้ไปซึ่งทรัพย์สินในการร่วมลงทุนมิได้เกิดจากผลโดยตรงจากการถูกหลอกลวงว่าบริษัทย. ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าวการกระทำของจำเลยที่2ถึงที่5จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเข้าข่ายเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ไว้และทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคาร ก. หลายครั้งหลายช่วงเวลาและการซื้อขายไม่มีการส่งมอบเงินตราต่างประเทศระหว่างกันหรือส่งเงินตราไปนอกราชอาณาจักร โจทก์มีรายรับอันเป็นกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการเป็นปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าจากกำไรอันเกิดจากการประกอบการค้าดังกล่าวตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การคิดคำนวณหนี้ที่จำหน่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 196: การคิดคำนวณหนี้เงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่าการเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในการซื้อขายตั๋วเครื่องบิน การคิดราคาตามอัตราปัจจุบัน และสัญญาค้ำประกัน
โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของจำเลย จำเลยได้กำหนดราคาตั๋วโดยสารในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - ฮ่องกง เป็นเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อโจทก์รับเงินค่าขายเป็นเงินบาท จึงต้องคิดในอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย
โจทก์ร่วมได้ออกหนังสือค้ำประกันความรับผิดของโจทก์ในการเป็นตัวแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยเพียงบางส่วน จำเลยจึงมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ และมีสิทธิเรียกร้องบังคับเอากับโจทก์ร่วมตามพันธะแห่งสัญญาค้ำประกันที่มีต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานนำเข้าสินค้าและเงินตราต่างประเทศ จำเลยต้องมีความผิดชัดเจน
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ แต่รองเท้าไม้ของกลางจับได้จากนายประเสริฐ(ไม่ใช่จำเลย) เป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่รับอนุญาต ริบตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทหนัก โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาฟังว่ารองเท้าไม้นายประเสริฐถือมาอาจเป็นของนายประเสริฐเอง แต่นายประเสริฐกลัวความผิดจึงปัดว่าเป็นคนอื่น ไม่พอฟังว่าจับได้จากจำเลย พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
(หมายเหตุ ศาลฎีกาพิพากษายืน มีผลถึงให้ริบรองเท้าไม้ของกลางไว้ด้วย น่าจะเป็นเพราะมีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว นายประเสริฐซึ่งเป็นเจ้าของรู้เห็นแล้ว น่าจะไม่ขัดกับฎีกาที่ 225/2506 และเทียบเคียงได้กับฎีกาที่ 751/2507)
(หมายเหตุ ศาลฎีกาพิพากษายืน มีผลถึงให้ริบรองเท้าไม้ของกลางไว้ด้วย น่าจะเป็นเพราะมีการกระทำผิดเกิดขึ้นแล้ว นายประเสริฐซึ่งเป็นเจ้าของรู้เห็นแล้ว น่าจะไม่ขัดกับฎีกาที่ 225/2506 และเทียบเคียงได้กับฎีกาที่ 751/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ไม่ฟ้องอาญา ก็ดำเนินคดีแพ่งได้
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัย พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินฯโดยกล่าวว่าจำเลยได้เข้าทำสัญญาผูกพันตนต่อเจ้าพนักงานแลกเปลี่ยนเงิน โดยรับรองขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากจำเลยได้ขอและรับอนุญาตให้ส่งสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตออกนอกราชอาณาจักร เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้น แม้โจทก์จะมิได้ดำเนินคดีอาญาตามที่ พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินฯบัญญัติโทษไว้ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะดำเนินคดีทางแพ่งแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีซื้อขายเงินตราต่างประเทศ: นโยบายรัฐบาลไม่ใช่การค้าปกติ
การที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรแล้วให้เอาเงินตราต่างประเทศที่ขายสินค้าได้มาขายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะได้เงินตราต่างประเทศใช้ซื้อของต่างประเทศจะถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพ่อค้าหรือผู้ทำการเป็นพ่อค้าไม่ได้ ดังนั้นจึงใช้อายุความ 2 ปี มาบังคับไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีซื้อขายเงินตราต่างประเทศ: นโยบายรัฐบาลและความรับผิดของบริษัท
การที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรแล้วให้เอาเงินตราต่างประเทศที่ขายสินค้าได้มาขายให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะได้เงินตราต่างประเทศใช้ซื้อของต่างประเทศจะถือว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นพ่อค้าหรือผู้ทำการเป็นพ่อค้าไม่ได้ดังนั้นจึงใช้อายุความ 2 ปีมาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารซื้อขายสิทธิเรียกร้องเงินตราต่างประเทศ ไม่ใช่ตั๋วเงิน อายุความ 3 ปีใช้ได้
โจทก์ขายสิทธิเรียกร้องเงินเหรียญฮ่องกง ให้จำเลยโดยโจทก์ออกตั๋วแสดงว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจำนวนเงินเหรียญดังกล่าวจากอีกบริษัทหนึ่ง และจำเลยสัญญาจะจ่ายเงินไทยให้โจทก์ตามอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อเอกสารนั้นไม่ระบุว่าเป็นตั๋วแลกเงินประเภทใดและไม่มีลักษณะให้เห็นว่าเปลี่ยนมือกันได้จึงไม่มีสภาพเป็นตั๋วเงินแและถืออายุความ 3 ปี อย่างตั่วเงินไม่ได้