พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะจากละเมิด, เงินทดแทนสปส., ดอกเบี้ย, และการคำนวณหนี้ผิดนัด
เงินที่โจทก์ได้รับจากสำนักงานประกันสังคมเป็นค่าทดแทนที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 18 ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม ได้จำเลยไม่อาจเอาค่าทดแทนที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับดังกล่าวมาขอลดหย่อนค่าขาดไร้อุปการะได้
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่เวลาทำละเมิดมิใช่เป็นการชดเชยหนี้ในอนาคต และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของค่าขาดไร้อุปการะซึ่งเป็นหนี้เงินอย่างหนึ่งได้ในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่เวลาทำละเมิดมิใช่เป็นการชดเชยหนี้ในอนาคต และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของค่าขาดไร้อุปการะซึ่งเป็นหนี้เงินอย่างหนึ่งได้ในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการวินิจฉัยคดีเงินทดแทนและการคุ้มครองลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากความประมาทของตนเอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อใดข้อหนึ่งก่อนจึงเป็นอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะใช้ดุลพินิจยกปัญหาข้อใดขึ้นวินิจฉัยก่อนหรือหลังก็ได้ตามที่เห็นสมควรแก่รูปคดี ทั้งเมื่อได้วินิจฉัยปัญหาข้อหนึ่งข้อใดแล้วเห็นว่าสามารถชี้ขาดตัดสินคดีได้ จะไม่วินิจฉัยปัญหาข้ออื่น ๆ ต่อไปอีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปก็ได้
ผู้ตายปีนขึ้นไปบนโครงจอภาพยนตร์แล้วเอาเสาธงเหล็กฟาดสายไฟฟ้าแรงสูงจนถูกไฟฟ้าดูดและตกลงมาเสียชีวิต เพราะผู้ตายต้องการแสดงโอ้อวดตนเองว่าเป็นผู้วิเศษ มิได้เกิดเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
ผู้ตายปีนขึ้นไปบนโครงจอภาพยนตร์แล้วเอาเสาธงเหล็กฟาดสายไฟฟ้าแรงสูงจนถูกไฟฟ้าดูดและตกลงมาเสียชีวิต เพราะผู้ตายต้องการแสดงโอ้อวดตนเองว่าเป็นผู้วิเศษ มิได้เกิดเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอยู่ในอุปการะตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน ต้องมีความเดือดร้อนจากการขาดอุปการะ การให้เงินเพียงเล็กน้อยไม่ถือว่าอยู่ในอุปการะ
ผู้ตายเคยให้เงินโจทก์บางเดือน เดือนละประมาณ 1,000 บาท ถึง 1,500 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก โดยให้ในช่วงผู้ตายได้งานทำในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี การให้ดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นเพียงแต่ทำให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายในชีวิตครอบครัวเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่ได้รับเงินจากผู้ตายในบางเดือน การที่โจทก์ได้รับเงินจากผู้ตายดังกล่าวจึงไม่ถึงขั้นที่จะถือว่าโจทก์อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตามความหมายของ พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บนิ้วมือหลายนิ้วถือเป็นบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่ง ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า การรักษาตามวิธีการของผู้เป็นแพทย์ผู้เป็นพยานโจทก์เป็นการรักษาที่ผิดวิธี จึงไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาลตามความจำเป็น ไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31
นิ้วมือแต่ละนิ้วต่างเป็นองคาพยพของร่างกาย แยกเป็นอิสระจากกันและมีสมรรถภาพในการใช้งานแตกต่างกัน ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา18(2)(3) วรรคสามและวรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 และข้อ 3 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยไว้มากน้อยกว่ากันเรียงเป็นลำดับจากนิ้วหัวแม่มือไปหานิ้วก้อยทั้งกรณีสูญเสียนิ้วมือทั้งนิ้วและบางส่วน
ลูกจ้างประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บที่กระดูกนิ้วมือข้างขวาทั้งห้านิ้วเป็นกรณีบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความใน พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537ข้อ 2(2)
นิ้วมือแต่ละนิ้วต่างเป็นองคาพยพของร่างกาย แยกเป็นอิสระจากกันและมีสมรรถภาพในการใช้งานแตกต่างกัน ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา18(2)(3) วรรคสามและวรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ข้อ 2 และข้อ 3 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยไว้มากน้อยกว่ากันเรียงเป็นลำดับจากนิ้วหัวแม่มือไปหานิ้วก้อยทั้งกรณีสูญเสียนิ้วมือทั้งนิ้วและบางส่วน
ลูกจ้างประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บที่กระดูกนิ้วมือข้างขวาทั้งห้านิ้วเป็นกรณีบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความใน พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537ข้อ 2(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเงินทดแทน: บาดเจ็บนิ้วมือหลายนิ้ว ถือเป็นบาดเจ็บกระดูกหลายแห่ง
นิ้วมือแต่ละนิ้วต่างเป็นองคาพยพของร่างกายแยกเป็นอิสระจากกัน และมีสมรรถภาพในการใช้งานแตกต่างกันไป กฎหมายจึงกำหนดความสำคัญของนิ้วมือแต่ละนิ้วไว้ลดหลั่นกันตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนและหลักเกณฑ์และวิธีคำนวณค่าจ้างรายเดือนฯ ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา 18(2)(3) วรรคสาม และวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทนฯ ข้อ 2,3 ที่ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียนิ้วไว้แต่ละนิ้วไว้มากน้อยกว่ากันเรียงเป็นลำดับจากนิ้วหัวแม่มือไปหานิ้วก้อยทั้งกรณีสูญเสียนิ้วมือทั้งนิ้วและบางส่วน ดังนั้น การที่ ป. ประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บที่กระดูกนิ้วมือข้างขวาทั้งห้านิ้วจึงเป็นการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 ฯ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทนฯ ข้อ 2(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1582/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดเจ็บนิ้วมือทั้งห้า บาดเจ็บรุนแรงหลายแห่ง เงินทดแทนต้องจ่าย
นิ้วมือแต่ละนิ้วต่างเป็นองคาพยพของร่างกาย แยกเป็นอิสระจากกัน และมีสมรรถภาพในการใช้งานแตกต่างกัน การที่ลูกจ้างประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บที่กระดูกนิ้วมือข้างขวาทั้งห้านิ้ว จึงเป็นกรณีบาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ข้อ 2(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการจ่ายเงินวางศาลคืนให้ผู้ฟ้อง เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากถอนฟ้อง ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53 วรรคสาม ศาลจะมีอำนาจจ่ายเงินที่ผู้นำคดีไปสู่ศาลวางไว้ต่อศาลให้แก่สำนักงานประกันสังคม เพื่อให้สำนักงาน ฯ จ่ายเงินทดแทนดังกล่าวแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ต่อไปได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้นำคดีไปสู่ศาลจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 เท่านั้น แต่กรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานจึงไม่มีอำนาจจ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลแก่สำนักงาน ฯ เพื่อให้สำนักงาน ฯ จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างต่อไปได้ ชอบที่จะคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจ่ายเงินทดแทนเมื่อถอนฟ้อง: ศาลไม่มีอำนาจจ่ายเงินให้ลูกจ้าง ต้องคืนให้ผู้วางเงิน
ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 53 วรรคสามศาลจะมีอำนาจจ่ายเงินที่ผู้นำคดีไปสู่ศาลวางไว้ต่อศาลให้แก่สำนักงานเพื่อให้สำนักงานจ่ายเงินทดแทนดังกล่าวแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ต่อไปได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้นำคดีไปสู่ศาลจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 เท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจจ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลแก่สำนักงานเพื่อให้สำนักงานจ่ายให้แก่ ช. ลูกจ้างต่อไปได้ ชอบที่จะคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการเดินทางไปทำงาน: กรณีที่ยังไม่ได้เริ่มทำงาน และการซื้อของส่วนตัวไม่อยู่ในขอบเขตของหน้าที่
การที่โจทก์ออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่และประสบอุบัติเหตุในระหว่างเดินทาง โจทก์ยังไม่ได้ลงมือทำงานให้แก่นายจ้าง ที่โจทก์ต้องกลับบ้านไปบอกให้ครอบครัวทราบว่าโจทก์จะต้องทำงานในวันเกิดเหตุทำให้โจทก์ต้องเดินทางออกจากบ้านมายังที่ทำงานก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ไม่เกี่ยวกับงานที่โจทก์ต้องทำ และการที่โจทก์ตั้งใจแวะซื้อเครื่องปรุงอาหารบางอย่างที่โจทก์เห็นว่าขาดหรือหมดไปจากตลาดที่อยู่ในระหว่างทาง ก็ไม่ปรากฏว่านายจ้างได้มีคำสั่งให้กระทำเช่นนั้น จึงแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์กระทำเอง ไม่ได้ทำตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างหรือเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์มิใช่การประสบอันตรายตามความหมายของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการเดินทางไปทำงาน: การเดินทางเพื่อทำงานยังไม่ถือเป็นการทำงานตามกฎหมายเงินทดแทน
การที่โจทก์ออกเดินทางจากบ้านเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ปรุงอาหารและประสบอุบัติเหตุขับรถชนต้นไม้ในระหว่างเดินทางก่อนถึงเวลาปฏิบัติงานนั้นโจทก์ยังไม่ได้ลงมือทำงานให้แก่บริษัทนายจ้าง แม้หัวหน้างานของโจทก์สั่งให้โจทก์มาทำงานในวันเกิดเหตุ งานที่โจทก์ได้รับมอบหมายให้ทำก็อยู่ในห้องครัวของบริษัทดังกล่าวอันเป็นสถานที่ที่โจทก์กำลังเดินทางไป และอยู่ในช่วงระยะเวลาระหว่าง 6 นาฬิกา ถึง 15 นาฬิกาเท่านั้น การที่โจทก์ต้องกลับบ้านไปบอกให้ครอบครัวทราบว่าโจทก์จะต้องทำงานในวันเกิดเหตุจึงทำให้โจทก์ต้องเดินทางออกจากบ้านมายังที่ทำงาน เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ไม่เกี่ยวกับงานที่โจทก์จะต้องทำ และที่โจทก์ตั้งใจจะแวะซื้อเครื่องปรุงอาหารบางอย่างที่โจทก์เห็นว่าขาดหรือหมดไปจากตลาดที่อยู่ในระหว่างทางมาใช้ในการทำงานของโจทก์ด้วย ก็ไม่ปรากฏว่านายจ้างได้มีคำสั่งให้กระทำเช่นนั้น จึงแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์กระทำเอง ไม่ได้ทำตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือว่าโจทก์ได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานตามคำสั่งของนายจ้างหรือเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างหาได้ไม่ กรณีของโจทก์จึงมิใช่เป็นการประสบอันตรายตามความหมายของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5