คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินบำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6000-6040/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายผลประโยชน์กรณีโอนกิจการ: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายเงินบำเหน็จ/ผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน
ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับผลประโยชน์จากจำเลยเพิ่มตามอัตราที่ระบุไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนปีของการทำงานจนกระทั่งถึงวันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง แม้จะใช้ถ้อยคำว่า "ข้อบังคับเกี่ยวกับแผนการเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุ" ส่วนตามบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยกับตัวแทนลูกจ้างของจำเลยซึ่งกรมแรงงานได้รับจดทะเบียนไว้จะใช้ถ้อยคำว่า"ข้อบังคับเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน" ซึ่งแตกต่างกันก็ตาม แต่สาระสำคัญของข้อบังคับเป็นอย่างเดียวกันคือ จำเลยจะจ่ายเงินพิเศษให้แก่ลูกจ้างที่สิ้นสุดสัญญาจ้างโดยไม่มีความผิดคำนวณตามระยะเวลาการทำงาน ทั้งได้กำหนดไว้ในภาคผนวก 3เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ตามบันทึกการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างสหภาพแรงงานลูกจ้างเค.แอล.เอ็ม. ในประเทศไทยกับจำเลย ซึ่งบันทึกไว้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2538 ก็มีความว่า จำเลยจะโอนเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุของลูกจ้างไปเข้าเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีคำชี้แจงว่าสืบเนื่องมาจากเดิมที่จำเลยได้ใช้ภาคผนวก 3 ตามสภาพการจ้างเป็นแผนการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างทุกคนในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลประโยชน์เพิ่มเมื่อลูกจ้างออกจากงาน เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ต่อมาได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 นายจ้างจึงตกลงยกเลิกภาคผนวก 3 และให้ยกเลิกผลประโยชน์เพิ่มและให้โอนเงินตามสิทธิของลูกจ้างไปเข้าระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแทน จึงเห็นชัดเจนว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับแผนการเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุกับข้อบังคับเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงานของจำเลยเป็นเรื่องเดียวกัน จำนวนเงินหรือผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง เมื่อคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้วเป็นจำนวนเดียวกัน เมื่อจำเลยและสหภาพแรงงานลูกจ้างได้ตกลงกันโอนเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุของลูกจ้างไปเข้าเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและจำเลยได้จ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินตามข้อบังคับเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงานให้แก่โจทก์ดังกล่าวอีก
งานในแผนกครัวการบินของจำเลยเป็นกิจการซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากลักษณะงานในแผนกอื่น ๆ ของจำเลย ถึงแม้ว่าจำเลยยังคงประกอบกิจการแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่เช่น ธุรกิจการบินและการให้บริการพิธีการทางสนามบินก็ตาม จำเลยก็ไม่สามารถจะโอนย้ายลูกจ้างในแผนกครัวการบินของจำเลยไปทำงานในแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ได้ ประกอบกับจำเลยได้เลิกจ้างลูกจ้างในแผนกครัวการบินทั้งหมดประมาณ 200 คน โดยมิได้เจาะจงเลิกจ้างเฉพาะโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่จำเลยขายกิจการแผนกครัวการบินให้แก่ผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่กิจการดังกล่าวยังไม่ได้ประสบปัญหาการขาดทุน ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจการดำเนินกิจการของจำเลยในการประกอบการค้าโดยเสรี ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดดังกล่าว เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรแล้ว มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างเดิมมีผลเหนือข้อบังคับใหม่ หากลูกจ้างไม่ยินยอมแก้ไข และเงินบำเหน็จเป็นสวัสดิการพิเศษที่ต่างจากค่าชดเชย
ประกาศว่าด้วยการให้เงินบำเหน็จแก่เจ้าหน้าที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่จำเลยประกาศใช้เป็นต้นไป แม้ต่อมาในปี 2540 จำเลยจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยมีบทเฉพาะกาลว่าพนักงานที่ครบเกษียณอายุแล้วจะได้รับเงินที่จำเลยจ่ายสมทบให้พร้อมผลประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากคำนวณแล้วยอดเงินที่จะได้รับเมื่อรวมกับค่าชดเชยแล้วได้น้อยกว่าเงินบำเหน็จที่ได้กำหนดไว้ในประกาศเดิม จำเลยจะจ่ายเพิ่มให้ในส่วนที่ขาดอยู่เพื่อให้ได้รับเท่ากับอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับเดิมข้อบังคับดังกล่าวจึงขัดแย้งกับประกาศฉบับเดิม และมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมให้จำเลยแก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องการให้เงินบำเหน็จ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำผิด ส่วนเงินบำเหน็จตามประกาศมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานหรือเป็นสวัสดิการพิเศษ อันมีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีของลูกจ้าง จึงมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เมื่อประกาศมิได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่าเงินบำเหน็จที่โจทก์พึงจะได้รับนั้นให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าชดเชย จึงไม่อาจถือเอาได้ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้วนั้นได้รวมเอาเงินบำเหน็จไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จชดใช้หนี้: ต้องเป็นหนี้ที่ชัดเจน ไม่เป็นข้อพิพาท
แม้ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ.2527 จะกำหนดว่า ถ้าพนักงานมีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้แก่โรงงานน้ำตาล ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้หักเงินบำเหน็จที่จะต้องจ่ายชดใช้หนี้นั้นเสียก่อนก็ตาม แต่หนี้ที่จะนำมาหักเงินบำเหน็จนั้นต้องเป็นหนี้ที่พนักงานมิได้โต้แย้งหรือเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ และจำนวนหนี้ต้องกำหนดได้แน่นอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 344
โจทก์นำสืบปฏิเสธว่ามิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ทั้งคดีที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา จึงยังไม่แน่นอนว่าโจทก์มีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้จำเลยหรือไม่ และจำนวนเท่าใด จำเลยไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายตามข้ออ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จชดใช้หนี้ต้องเป็นหนี้ที่แน่นอนและไม่มีข้อพิพาท
แม้ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2527 จะกำหนดว่า ถ้าพนักงานมีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้แก่โรงงานน้ำตาล ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้หักเงินบำเหน็จที่จะต้องจ่ายชดใช้หนี้นั้นเสียก่อนก็ตาม แต่หนี้ที่จะนำมาหักเงินบำเหน็จนั้นต้องเป็นหนี้ที่พนักงานมิได้โต้แย้งหรือเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ และจำนวนหนี้ต้องกำหนดได้แน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
โจทก์นำสืบปฏิเสธมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ทั้งคดีที่จำเลย ฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา จึงยังไม่แน่นอนว่า โจทก์มีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้จำเลยหรือไม่ และจำนวนเท่าใด จำเลยไม่มี สิทธิหักเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหาย ตามข้ออ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272-274/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องพิจารณาจากเหตุที่นายจ้างอ้างในขณะเลิกจ้างเท่านั้น แม้มีเหตุอื่นก็ใช้ไม่ได้
การพิจารณาว่าโจทก์ทั้งสามออกจากงานโดยมีความผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาจากเหตุที่จำเลยที่ 1 นำมาอ้างในขณะที่ให้โจทก์ทั้งสามออกจากงานว่าโจทก์ทั้งสามได้กระทำผิดตามเหตุที่อ้างนั้นหรือไม่ เหตุอื่นนอกเหนือจากที่อ้างต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะใช้เป็นเหตุให้ออกจากงาน จึงไม่ต้องนำมาพิจารณา ฉะนั้น เหตุที่ว่าโจทก์ทั้งสามปฏิบัติงานโดยฝ่าฝืนข้อบังคับว่าด้วยระเบียบพนักงานของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย อันเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 มิได้อ้างไว้ขณะให้โจทก์ทั้งสามออกจากงานจึงนำมาพิจารณาประกอบการจ่ายเงินบำเหน็จโดยถือว่าเป็นเหตุสืบเนื่องกัน เพื่อให้มีผลว่าโจทก์ทั้งสามออกจากงานโดยมีความผิด และไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยที่ 1 ย่อมมิได้ เพราะถือว่า เหตุดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะยกมาเป็นเหตุในการให้โจทก์ทั้งสามออกจากงานเสียแต่ต้นแล้วจึงไม่อาจนำมาพิจารณาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอหักเงินบำเหน็จเพื่อชำระหนี้จากการประนีประนอมยอมความ: โจทก์ต้องใช้กระบวนการบังคับคดี
แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า คดีอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมและจำเลยที่ 1 ยังมิได้ผิดนัด การที่โจทก์มีหนังสือขอให้ศาลจังหวัดสุรินทร์หักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเนื่องจากการลาออกจากราชการเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมเป็นการไม่ชอบนั้น ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.ภาค 4 แต่เป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายลูกจ้างจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนไปยังสถาบันการบินพลเรือน และสิทธิในการได้รับเงินบำเหน็จ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จ จากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนฯ ครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมา ทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์ จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ เมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการ รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ ภายใต้บังคับของระเบียบดังกล่าวด้วย ซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ และเมื่อโจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ จึงไม่อาจนำ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519มาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับศูนย์ฝึกการบินพลเรือนฯสิ้นสุดลงแล้ว พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือนฯมาตรา 38 วรรคหนึ่ง คงกำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนฯ ในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนฯ เป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ไม่ เมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625-4701/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวล่วงหน้า, ค่าชดเชย, เงินบำเหน็จ, การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างและมีกำหนดจ่ายค่าจ้างกันก่อนวันสิ้นเดือนของทุกเดือน โดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันวันที่ 1 สิงหาคม 2541 แต่โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างในวันที่ 1 กรกฎาคม2541 ต้องถือว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์ได้ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างคือวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 และเป็นผลให้เลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือในวันที่ 30 สิงหาคม 2541 ดังนี้การบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ประสงค์ให้เป็นผลเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 61 วัน
โจทก์บรรยายฟ้องและรับตามคำแก้อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนสุดท้ายคือเดือนกรกฎาคม 2541 และโจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนดังกล่าวไปแล้ว โจทก์จึงยังคงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน เท่านั้น การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างคนละ 61 วัน โดยนำสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนกรกฎาคม 2541 มารวมด้วย เป็นการพิพากษาให้เกินสิทธิที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับและเกินคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่เป็นธรรมแก่จำเลยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
โจทก์เป็นลูกจ้างโรงงานน้ำตาล ส. ซึ่งเป็นกิจการในการดำเนินการควบคุมดูแลของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาในการจ้างหลังวันที่ 30พฤษภาคม 2526 จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีค่าชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จจะมีจำนวนเท่าใด ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้กระทรวงการคลังพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นเงินเดือน ค่าชดเชย และเงินบำเหน็จต่อไป กับอนุมัติให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลไปชำระหนี้ธนาคารกรุงไทย จำกัด และให้นำเงินส่วนที่เหลือจากการชำระหนี้ส่งคณะกรรมการชำระบัญชีฯ เพื่อดำเนินการจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่พนักงานพร้อมกับดำเนินการในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีต่อไปนั้น เป็นเพียงการอนุมัติให้กระทรวงการคลังสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กับให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลซึ่งเหลือจากการชำระหนี้ไปจ่ายเป็นค่าชดเชยและเงินบำเหน็จแก่พนักงานที่มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 เท่านั้น หาได้อนุมัติให้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จเพิ่มขึ้นหรือผิดแผกไปจากที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับดังกล่าว ข้อ 12 ไม่ ทั้งจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้โจทก์โดยคำนวณบำเหน็จและค่าชดเชยถูกต้องครบถ้วนตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2527 ข้อ 12 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625-4701/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า รวมถึงการจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับ
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างและมีกำหนดจ่ายค่าจ้างกันก่อนวันสิ้นเดือนของทุกเดือนโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาจ้างกันวันที่ 1 สิงหาคม2541 แต่โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541ต้องถือว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์ได้ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้าง คือวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 และเป็นผลให้เลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า คือในวันที่ 30 สิงหาคม 2541 การบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ประสงค์ให้เป็นผลเลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2541จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 61 วัน
โจทก์บรรยายฟ้องและรับตามคำแก้อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนสุดท้ายคือเดือนกรกฎาคม 2541 และโจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนดังกล่าวไปแล้ว โจทก์จึงยังคงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน30 วัน การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างคนละ 61 วัน โดยนำสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนกรกฎาคม 2541 มารวมด้วยเป็นการพิพากษาให้เกินสิทธิที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับและเกินคำขอท้ายฟ้องจึงไม่เป็นธรรมแก่จำเลยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
โจทก์เป็นลูกจ้างโรงงานน้ำตาล ส. ซึ่งเป็นกิจการในการดำเนินการควบคุมดูแลของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาในการจ้าง หลังวันที่ 30 พฤษภาคม 2526 จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีค่าชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จจะมีจำนวนเท่าใด ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527ข้อ 12 ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้กระทรวงการคลังพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าชดเชย และเงินบำเหน็จต่อไป กับอนุมัติให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลไปชำระหนี้ธนาคารกรุงไทย จำกัด และให้นำเงินส่วนที่เหลือจากการชำระหนี้ส่งคณะกรรมการชำระบัญชีฯ เพื่อดำเนินการจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยแก่พนักงานพร้อมกับดำเนินการในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีต่อไปนั้น เป็นเพียงการอนุมัติให้กระทรวงการคลังสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กับให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลซึ่งเหลือจากการชำระหนี้ไปจ่ายเป็นค่าชดเชยและเงินบำเหน็จแก่พนักงานที่มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 เท่านั้น หาได้อนุมัติให้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จเพิ่มขึ้นหรือผิดแผกไปจากที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับดังกล่าว ข้อ 12 ไม่ ทั้งจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จให้โจทก์โดยคำนวณบำเหน็จและค่าชดเชยถูกต้องครบถ้วนตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527ข้อ 12 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกภายใต้เงื่อนไข และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จหลังการอนุมัติลาออก หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40เพื่อตอบข้อซักถามของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับตามระเบียบร้านฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลยถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงดังกล่าวได้ หลังจากนั้น ค.กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการปิดบัญชีประจำปี 2539 ให้เสร็จภายในกำหนดแต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
of 18