คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินปันผล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดีต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นที่พิพาทจริง คดีนี้พิพาทเรื่องหุ้น ไม่ใช่เงินปันผล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซื้อหุ้นของโจทก์โดยไม่ชอบขอให้จำเลยทั้งสองคืนหุ้นและใบหุ้นที่ซื้อไว้โดยไม่ชอบให้ตัดสิทธิจองซื้อหุ้นใหม่โดยอาศัยหุ้นดังกล่าวและรับเงินค่าหุ้นนั้นคืนไปจากโจทก์จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าซื้อหุ้นไว้โดยชอบโดยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินปันผลของหุ้นดังนี้คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยทั้งสองโดยขอให้โจทก์นำเงินปันผลของหุ้นดังกล่าวมาชำระให้แก่จำเลยทั้งสองพร้อมดอกเบี้ยจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6304/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบใบหุ้นทดแทน และสิทธิการหักกลบลบหนี้ด้วยเงินปันผล จำเลยต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
ใบหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์เป็นทรัพย์ที่มีสภาพเช่นเดียวกับสังกมะทรัพย์ ซึ่งสามารถนำใบหุ้นชนิดและประเภทเดียวกันซึ่งมีจำนวนเท่ากันใช้แทนกันได้ หาจำต้องเป็นใบหุ้นฉบับเดียวกับที่ซื้อไว้ด้วยไม่ และแม้จะเป็นใบหุ้นที่ซื้อมาในวันอื่นภายหลัง แต่เมื่อก่อนฟ้องโจทก์ได้ซื้อหุ้นให้แก่จำเลยตามข้อตกลงถูกต้องครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธินำใบหุ้นบริษัทเดียวกันหมายเลขใด ๆ ซึ่งมีจำนวนหุ้นเท่ากันมาโอนให้แก่จำเลยได้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีโดยขอหักกลบลบหนี้เกี่ยวกับเงินปันผลในคดีเดิมไว้ ทั้งฟ้องแย้งของจำเลยก็มิได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักกลบลบหนี้ หากจะฟังว่าจำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้แล้ว ก็ต้องไปฟ้องหรือว่ากล่าวเป็นคดีใหม่ต่างหาก จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีสิทธินำเงินปันผลของหุ้นที่โจทก์รับไว้รวมทั้งดอกเบี้ยของเงินปันผลมาหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษากับโจทก์ได้โดยไม่ต้องฟ้องแย้งเป็นคดีใหม่ เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการเรื่องการหักกลบลบหนี้ให้จำเลยอยู่แล้วอันแสดงว่าโจทก์มีเจตนาที่จะตกลงประนีประนอมยอมยอมให้จำเลยนำเงินปนผลมาหักกลบลบหนี้ได้ และการที่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งหรือให้การปฎิเสธต่อสู้เกี่ยวกับเงินปันผลก็เนื่องจากจำเลยปฏิเสธหนี้ตามฟ้องว่าเป็นโมฆะจึงไม่อาจฟ้องแย้งได้อยู่แล้วนั้นฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกหุ้นส่วนต้องชำระบัญชีทรัพย์สินก่อนเรียกร้องเงินปันผล-ส่วนแบ่ง
โจทก์จำเลยตกลงกันเข้าเป็นหุ้นส่วนค้าขายผ้าไหมเพื่อแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนของเงินลงทุน ต่อมาโจทก์ถอนตัวออกจากหุ้นส่วนและจำเลยยินยอมให้โจทก์ถอนตัวโดยคืนเงินลงทุนให้ครบถ้วนแล้ว ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกหุ้นส่วนกัน แต่เมื่อยังไม่ได้ตกลงเรื่องแบ่งปันผลกำไรที่ยังเหลือและทรัพย์สินย่อมต้องจัดให้มีการชำระบัญชีกันก่อน จึงจะทราบว่าหุ้นส่วนมีทรัพย์สินอยู่เพียงใดชอบที่โจทก์จะต้องร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อเรียกเงินปันผลกำไรและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของหุ้นส่วนก่อน และปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล: ค่าบริการสำนักงานใหญ่, หนี้สูญ, และเงินปันผลกรมธรรม์
เงินที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานใหญ่ต่างประเทศเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของสำนักงานดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์แก่กิจการของจำเลยในประเทศ ไทย และจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สาขาในประเทศ ไทย ได้รับบริการนี้จริง และเป็นรายจ่ายที่สำนักงานใหญ่เฉลี่ย เรียกเก็บมาโดยถือหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม แล้วจำเลยจะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(14) เมื่อจำเลยส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปให้แก่สำนักงานใหญ่ยังต่างประเทศ จึงถือได้ว่าจำเลยจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศ ไทย ต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่ง หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยเพียงแต่ส่งคนไปติดตามแล้วแต่ไม่ได้ โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าได้มีการติดตามทวงถามลูกหนี้อย่างไร จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงนำหนี้ดังกล่าวไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ จำเลยจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม2529 ยังไม่พ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ เงินปันผลที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อประกันครบระยะเวลาหนึ่งในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลคุ้มครองผู้เอาประกันอยู่ แม้จะมิได้จ่ายจากทุนประกันก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการใช้เงินตามจำนวนซึ่งเอาประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1)(ก)วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจนำไปหักออกจากเงินสำรองตามมาตรา 65 ตรี (1)(ก) วรรคแรก ซึ่งตัดเป็นรายจ่ายไว้ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงนำเงินปันผลดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการหักรายจ่ายซ้ำซ้อนกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506-507/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีหุ้นส่วนหลังการตายของหุ้นส่วน และสิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไร/เงินปันผล
โจทก์ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 1 กับ ส. อีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันลงทุนซื้อหุ้นบริษัท น. เพื่อแบ่งกำไรหรือเงินปันผลจากการถือหุ้น การที่จำเลยที่ 1 กับ ส. มีชื่อถือหุ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำนวนหุ้นของบริษัท น. จึงเป็นทรัพย์สินของหุ้นส่วนที่จะต้องนำมาแบ่งตามสัญญาเมื่อเลิกกันไม่ใช่จะแบ่งเฉพาะเงินลงทุนค่าหุ้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระบัญชี หรือตกลงแบ่งกันโดยวิธีอื่นโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลในปี 2510 และ ปี ต่อๆ ไป จนกว่าจะชำระบัญชีหรือตกลงแบ่งกันเสร็จ
โจทก์ฟ้องเรียกทุนของหุ้นส่วน ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และขอแบ่งเงินปันผลในปี 2511 ซึ่งศาลล่างก็รับพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรื้อฟื้นให้ชำระบัญชีในเรื่องดังกล่าวอีก ศาลย่อมวินิจฉัยถึงจำนวนทุนและพิพากษาให้แบ่งเงินปันผลในปี 2511 ไปทีเดียวได้และการบังคับให้แบ่งกำไรในปี 2511 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการและทายาทผู้รับมรดกของ ส. ต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินภาษีที่อ้างว่าเสียเพิ่มเติมคืนจึงไม่เป็นประเด็นในคดี
เมื่อ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ห้างย่อมเลิกกันโดยศาลไม่ต้องสั่งอีก และกรณีนี้ศาลไม่ควรพิพากษาให้จำเลยแบ่งเงินปันผลและคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์โดยไม่ตั้งผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาประกันภัย, ค่าเวนคืนกรมธรรม์, และสิทธิการรับเงินปันผลเมื่อสัญญาประกันภัยสิ้นผล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 894 ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญาประกันภัยในเวลาใด ๆ ก็ได้ ด้วยการงดส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป ถ้าและได้ส่งเบี้ยประกันภัยมาแล้วอย่างน้อยสามปีผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยหรือรับกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จจากผู้รับประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยงดส่งเบี้ยประกันภัย ก็ต้องถือว่าบอกเลิกสัญญาประกันภัยแล้วนับแต่วันที่งดส่งเบี้ยประกันภัยเป็นต้นมา หาจำต้องบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ แม้เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุว่าหากผู้เอาประกันภัยกลับมาต่ออายุสัญญาใหม่ภายในกำหนดห้าปีเบี้ยประกันภัยที่ชำระไว้แล้วจะไม่ถูกริบ ก็กำหนดไว้ด้วยว่าการต่ออายุสัญญาต้องตรวจสุขภาพผู้เอาประกันภัยตามระเบียบ เมื่อผู้เอาประกันภัยมิได้กลับมาต่ออายุสัญญาจนกระทั่งผู้รับประกันภัยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิได้รับเพียงเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์เท่านั้น
เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มเฉลี่ยให้ทุกปีหลังจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยไว้ครบสองปีแล้ว ตามเงื่อนไขนี้หมายความว่าผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้เมื่อสัญญาประกันภัยยังมีอยู่ หากสัญญาประกันภัยเลิกกันแล้วผู้เอาประกันภัยหามีสิทธิได้รับเงินปันผลต่อไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาประกันภัย, ค่าเวนคืนกรมธรรม์, และสิทธิรับเงินปันผลเมื่อสัญญาประกันภัยสิ้นสุด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 894 ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญาประกันภัยในเวลาใด ๆ ก็ได้ ด้วยการงดส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป ถ้าและได้ส่งเบี้ยประกันภัยมาแล้วอย่างน้อยสามปี ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยหรือรับกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จจากผู้รับประกันภัย
เมื่อผู้เอาประกันภัยงดส่งเบี้ยประกันภัย ก็ต้องถือว่าบอกเลิกสัญญาประกันภัยแล้วนับแต่วันที่งดส่งเบี้ยประกันภัยเป็นต้นมา หาจำต้องบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ แม้เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะระบุว่าหากผู้เอาประกันภัยกลับมาต่ออายุสัญญาใหม่ภายในกำหนดห้าปี เบี้ยประกันภัยที่ชำระไว้แล้วจะไม่ถูกริบ ก็กำหนดไว้ด้วยว่าการต่ออายุสัญญาต้องตรวจสุขภาพผู้เอาประกันภัยตามระเบียบ เมื่อผู้เอาประกันภัยมิได้กลับมาต่ออายุสัญญาจนกระทั่งผู้รับประกันภัยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิได้รับเพียงเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์เท่านั้น
เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มเฉลี่ยให้ทุกปีหลังจากเมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยไว้ครบสองปีแล้ว ตามเงื่อนไขนี้หมายความว่าผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินปันผลให้เมื่อสัญญาประกันภัยยังมีอยู่ หากสัญญาประกันภัยเลิกกันแล้วผู้เอาประกันภัยหามีสิทธิได้รับเงินปันผลต่อไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741-743/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด: เงินปันผล vs. เงินผลกำไร และผลกระทบจากการโอนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดจะฟ้องเรียกแบ่งเงินผลกำไรของบริษัทไม่ได้จะฟ้องเรียกได้ก็แต่เงินปันผลจากเงินกำไรนั้น
ผู้รับโอนหุ้นย่อมได้สิทธิของผู้โอนหุ้นไปทั้งหมด ผู้โอนหุ้นจึงหลุดพ้นไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับบริษัทอีก นับจากวันโอนนั้นเป็นต้นไป ผู้โอนหุ้นจะเรียกร้องเงินกำไรอันเกิดก่อนแต่ได้มาภายหลังการโอนหุ้นไม่ได้
จะนำกฎหมายลักษณะทั่วไปเรื่องดอกผลนิตินัยมาใช้บังคับกับเรื่องเงินผลกำไรของบริษัทจำกัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741-743/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด: เงินปันผล vs. เงินผลกำไร, สิทธิหลังการโอนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดจะฟ้องเรียกแบ่งเงินผลกำไรของบริษัทไม่ได้จะฟ้องเรียกได้ก็แต่เงินปันผลจากเงินกำไรนั้น
ผู้รับโอนหุ้นย่อมได้สิทธิของผู้โอนหุ้นไปทั้งหมดผู้โอนหุ้นจึงหลุดพ้นไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับบริษัทอีกนับจากวันโอนนั้นเป็นต้นไป ผู้โอนหุ้นจะเรียกร้องเงินกำไรอันเกิดก่อนแต่ได้มาภายหลังการโอนหุ้นไม่ได้
จะนำกฎหมายลักษณะทั่วไปเรื่องดอกผลนิตินัยมาใช้บังคับกันเรื่องเงินผลกำไรของบริษัทจำกัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1978/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายหุ้น: สิทธิในเงินปันผลที่ยังมิได้ปันผลอาจรวมอยู่ในราคาขายได้
โจทก์ฟ้องว่าขายเฉพาะหุ้นให้แก่จำเลยไม่รวมทั้งเงินปันผล จำเลยต่อสู้ว่าขายเหมารวมทั้งเงินปันผล ดังนี้แม้ในสัญญาปรากฏชัดว่าโจทก์ขายหุ้นส่วนแก่จำเลยก็ตาม เมื่อคดีปรากฏว่ายังมิได้มีการปันผลหุ้นที่มีอยู่ กรณีอาจจะรวมทั้งทุนกำไรก็ได้แล้วแต่จะเป็นที่เข้าใจในระหว่างกัน ฉะนั้นการที่จำเลยจะนำสืบว่าเป็นการขายเหมาทั้งสิทธิและหน้าที่นั้นจึงเป็นการนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้มีความเข้าใจกันอยู่ จะว่าเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่ปรากฏชัดอยู่ในสัญญาแล้วยังไม่ได้.
of 4