คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่เป็นจำนำแต่ผูกพันเจ้าของรวม
โจทก์และ ญ.ได้นำเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปฝากประจำไว้แก่ธนาคาร ก.โดยมีเงื่อนไขว่า การสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และ ญ.จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคาร ก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ ต่อมา ญ.ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลย เพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.10 ดังนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 747 การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ คดีนี้แม้ ญ.ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อ ญ.กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคาร ก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ก.ไปแล้วธนาคาร ก.คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่ ญ.นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝาก และลักษณะของสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ป.พ.พ.มาตรา 750 บัญญัติไว้ไม่ เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝาก และแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้น จึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไป มิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร
แม้เอกสารหมาย จ.10 จะไม่ใช่สัญญาจำนำ แต่การที่ ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.10ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญา ในเมื่อ ญ.เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน กรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของ ญ.เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะกรรมสิทธิ์ตกเป็นของธนาคาร
โจทก์และญ.ได้นำเงินจำนวน 1,000,000 บาท ไปฝากประจำไว้แก่ธนาคาร ก. โดยมีเงื่อนไขว่า การสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และ ญ. จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคารก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ ต่อมา ญ. ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลย เพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.10 ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ คดีนี้แม้ ญ. ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อ ญ. กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคาร ก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ก.ไปแล้วธนาคาร ก. คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น การที่ ญ. นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝาก และลักษณะของสัญญาเอกสารหมาย จ.10ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 บัญญัติไว้ไม่ เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝาก และแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้น จึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไป มิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร แม้เอกสารหมาย จ.10 จะไม่ใช่สัญญาจำนำ แต่การที่ ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.10 ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญา ในเมื่อ ญ. เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน กรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของ ญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย จำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สมุดเงินฝากไม่ใช่ตราสารหนี้ การจำนำต้องเป็นทรัพย์สินที่ส่งมอบได้
ญ. กับโจทก์ร่วมกันฝากเงินไว้แก่ธนาคารกรุงเทพกรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นของธนาคารกรุงเทพไปแล้วธนาคารผู้รับฝากคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้นการที่ญ. นำสมุดเงินฝากประจำมอบไว้แก่ธนาคารกรุงไทย จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝากและแม้ในสัญญาระหว่างญ. กับจำเลยจะมีข้อความว่า"จำนำสิทธิที่จะถอนเงินจากบัญชีเงินฝากนี้ไว้กับธนาคารกรุงไทย (เจ้าหนี้)เพื่อเป็นประกันหนี้ของหจก.ส. (ลูกหนี้)ต่อธนาคารนี้เป็นจำนวนเงิน1,000,000บาทบัญชีเงินฝากประจำ3เดือนจำนวนเงินในบัญชี1,0000,000บาท"ก็ตามลักษณะดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา750บัญญัติไว้ไม่เพราะสมุดเงินฝากเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีเงินฝากประจำของผู้ฝากและแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้นจึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไปมิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารแม้สัญญาดังกล่าวจะไม่ใช่สัญญาจำนำแต่การที่ญ. ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญาเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของร่วมมีส่วนเท่ากันกรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่สมบูรณ์ แต่มีผลผูกพันกับเจ้าของร่วม
โจทก์และญ.ได้นำเงินจำนวน1,000,000บาทไปฝากประจำไว้แก่ธนาคารก. โดยมีเงื่อนไขว่าการสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และญ. จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคารก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ต่อมาญ. ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลยเพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ตามเอกสารหมายจ.10ดังนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา747การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้คดีนี้แม้ญ. ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อญ. กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคารก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารก.ไปแล้วธนาคารก. คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้นการที่ญ. นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝากและลักษณะของสัญญาเอกสารหมายจ.10ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา750บัญญัติไว้ไม่เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากและแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้นจึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไปมิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร แม้เอกสารหมายจ.10จะไม่ใช่สัญญาจำนำแต่การที่ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมายจ.10ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญาในเมื่อญ. เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันกรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4101/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำเงินฝาก: สิทธิบุริมสิทธิของเจ้าหนี้และลักษณะการจำนำสิทธิในตราสาร
จำเลยฝากเงินไว้กับธนาคารผู้ร้อง เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้ร้อง การที่จำเลยทำสัญญาจำนำและมอบสมุดคู่ฝากเงินประจำไว้แก่ผู้ร้องก็เพียงเพื่อประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อผู้ร้อง แม้จำเลยจะตกลงยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจากบัญชีดังกล่าวมาชำระหนี้ของจำเลยที่มีต่อผู้ร้องโดยไม่ต้องบอกกล่าวก็เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกันนั้นเอง ไม่ทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของจำเลยอันผู้ร้องได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝากและการที่จำเลยมอบสมุดคู่ฝากเงินประจำให้ผู้ร้องยึดถือไว้ ก็มิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 750 อีกเช่นกันผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนำ ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6150/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขสัมปทานทำไม้และการรักษาเงินฝากเพื่อปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ได้รับสัมปทานทำไม้จากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงจะต้องปลูกป่าและบำรุงป่าในส่วนที่โจทก์ได้ทำไม้ด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์เอง โดยการนำเงินค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ในนามของโจทก์ ส่วนสมุดเงินฝากของธนาคารนั้นเก็บรักษาไว้ที่จำเลยที่ 4 แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีคำสั่งยกเลิกสัมปทานการทำไม้ของโจทก์ แต่ก่อนที่จะมีคำสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้ในเขตสัมปทาน โจทก์ยังค้างการปลูกป่าเป็นเนื้อที่ประมาณหนึ่งพันไร่ คิดเป็นเงินประมาณสองล้านบาท ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัมปทานให้ครบถ้วน จำเลยที่ 4มีสิทธิที่จะเก็บรักษาสมุดฝากเงินของโจทก์ไว้ตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องคืนสมุดฝากเงินทั้งหมดให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินสงฆ์: เงินฝากบัญชีของพระสงฆ์เมื่อเสียชีวิตตกเป็นของวัดภูมิลำเนา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พินัยกรรมของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะ ระบุไว้ว่า บรรดาเงินที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในขณะนี้และที่จะมีขึ้นหรือได้มาในอนาคตซึ่งได้ฝากไว้ที่ธนาคาร ก. ข. และ ค.เงินทั้งนี้ข้าพเจ้าขอยกให้แก่จำเลยศิษย์ของข้าพเจ้าแต่เพียงผู้เดียว แต่ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏสมุดฝากเงินบัญชีเลขที่ 5106 และ 5459 ที่พิพาทซึ่งเป็นเงินส่วนตัวของพระภิกษุ ส. ผู้มรณะ และพินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นก่อนที่ผู้มรณะจะมีเงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนั้นข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับถึงเงินในบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีนี้ จดหมายของพระภิกษุ ส.ผู้มรณะฉบับแรกเป็นจดหมายธรรมดาที่ผู้มรณะเขียนถึงจำเลย ตอนท้ายของจดหมายมีข้อความเพิ่มเติมให้จำเลยไปลงชื่อในสมุดฝากเงินที่ผู้มรณะฝากไว้ไม่มีการสั่งการกำหนดการเผื่อตายที่จะเข้าแบบเป็นพินัยกรรมจึงไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนจดหมายฉบับที่สองมีข้อความว่า ลูกหมอ (จำเลย) ที่รักเวลานี้พ่อหลวง (พระภิกษุ ส.)ป่วยจะตายวันนี้หรือพรุ่งนี้ยังรู้ไม่ได้เลย พ่อหลวงเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ถ้าพ่อหลวงสิ้นลมหายใจลง โดยไม่มีหลักฐานอะไร เงินตกเป็นสงฆ์หมด พ่อหลวงไม่อยากให้เป็นของคนอื่น อยากให้เป็นของลูกหมอคนเดียว แต่ในสมุดเงินฝากต้องลงชื่อลูกหมดเบิกได้คนเดียว จึงจะเป็นหลักฐานมั่นคง สงกรานต์ปีนี้ ขอให้ลูกหมอไปลงชื่อในสมุดฝากให้จงได้ ถ้าไม่ไปจะเสียใจภายหลังฯลฯจดหมายของผู้มรณะฉบับที่สองนี้เป็นเรื่องที่ผู้มรณะแจ้งให้จำเลยไปลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดเงินฝากเงินธนาคาร แม้ในตอนต้นของจดหมายได้มีข้อความว่า ผู้มรณะเป็นห่วงเรื่องเงินที่ฝากธนาคารไว้ผู้มรณะไม่อยากให้เป็นของคนอื่นก็ตาม แต่ผู้มรณะก็เพียงแต่เขียนแสดงความรู้สึกในในว่า อยากให้เป็นของจำเลยคนเดียวเท่านั้น การที่พระภิกษุ ส.ใช้วิธีให้จำเลยมาลงตัวอย่างลายมือชื่อเพื่อให้จำเลยมีสิทธิเบิกเงินจากสมุดฝากเงิน แสดงว่าผู้มรณะยังไม่ได้ยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลยในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และข้อความที่ผู้มรณะเขียนไว้เช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้มรณะยกเงินในบัญชีพิพาทให้แก่จำเลย เมื่อผู้มรณะได้ถึงแก่มรณภาพขณะเป็นพระภิกษุเงินตามบัญชีพิพาททั้งสองบัญชีซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้มรณะที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของผู้มรณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1623

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดผู้จัดการสาขาเบียดบังเงินฝากของลูกค้า: ความผิดหลายกรรม
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของโจทก์ร่วม กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต เบียดบังยักยอกเงินของลูกค้าที่จำเลยรับฝากไว้แทนโจทก์ร่วม เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมโดยโจทก์ร่วมต้องใช้เงินให้แก่ลูกค้าไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
โจทก์ส่งสำเนาใบรับฝากเงิน เนื่องจากต้นฉบับหาไม่พบ ประกอบกับจำเลยไม่ได้คัดค้านว่าสำเนาใบรับฝากเงินไม่ถูกต้องอย่างไร จึงรับฟังได้ตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยรับฝากเงินรวม 2 ครั้ง แล้วไม่นำเงินไปมอบให้พนักงานรักษาเงินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่รับฝากเงินและไม่ส่งมอบเงินแต่ละครั้งเป็นความผิดเป็นกรรม ๆ ไป จึงเป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของร่วมในสินสมรสประเภทเงินฝาก การไม่ยินยอมลงชื่อถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายมีสินสมรสเป็นเงินฝากธนาคารจำนวนหนึ่ง จำเลยได้ถอนเงินจากธนาคารจนหมดสิ้น โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ และนำไปฝากไว้ที่ธนาคารอื่นโจทก์ขอให้จำเลยยินยอมให้โจทก์ลงชื่อร่วมในบัญชีเงินฝาก แต่จำเลยไม่ยินยอมเป็นการขัดขวางการจัดการสินสมรสของโจทก์โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ขอให้ศาลสั่งแยกสินสมรสหรือให้โจทก์ลงชื่อร่วมในบัญชีเงินฝากเช่นนี้ แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมิใช่กรณีที่โจทก์อาจร้องขอให้ศาลสั่งให้แยกสินสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484เพราะจำเลยมิใช่ผู้มีอำนาจจัดการสินสมรสฝ่ายเดียวก็ตาม แต่โจทก์ก็ขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในบัญชีเงินฝากเพื่อการเบิกถอนเงินด้วย เงินฝากในธนาคารเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นสินสมรสจำพวกที่มีเอกสารเป็นสำคัญซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1475 ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารนั้นได้ เมื่อจำเลยไม่ยินยอมกรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบเงินฝากไม่ใช่การจำนำ แม้จะยินยอมให้ใช้เป็นประกันหนี้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 747 ในการจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ แม้จำเลยจะสลักหลังจำนำใบรับฝากเงินประจำและยินยอมให้ผู้ร้องนำเงินจำนวน 1,396,774.06 บาท ที่ฝากไว้ตามใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเป็นประกันหนี้ที่ค้างชำระต่อผู้ร้อง แต่เงินฝากประจำจำนวนดังกล่าวที่จำเลยฝากไว้กับผู้ร้องนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมาตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว จำเลยผู้ฝากคงมีเพียงสิทธิที่จะถอนเงินที่ฝากไปได้และผู้ร้องคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนที่ขอถอนเท่านั้น จึงมิใช่การส่งมอบสังหาริมทรัพย์ของจำเลยให้แก่ผู้ร้องตามลักษณะจำนำแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนำหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำไม่ ผู้ร้องจึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6
of 9