พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเลิกสัญญาโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในราคา 3,500,000 บาทโดยโจทก์วางเงินมัดจำแก่จำเลย 300,000 บาท เมื่อถึงกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินโจทก์จำเลยต่างไปยังสำนักงานที่ดินแต่ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35(พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปิดประกาศ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์จึงไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญาเช่นกัน
จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากโจทก์ไม่ไปตามนัด หาใช่เนื่องจากโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงกันไว้ไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัดตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ
เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืนส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วยแสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำ 300,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้เป็นต้นไป แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัด เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยผิดนัดไม่คืนมัดจำแก่โจทก์เมื่อใดจึงสมควรให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากโจทก์ไม่ไปตามนัด หาใช่เนื่องจากโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงกันไว้ไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัดตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ
เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืนส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วยแสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำ 300,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้เป็นต้นไป แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัด เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยผิดนัดไม่คืนมัดจำแก่โจทก์เมื่อใดจึงสมควรให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สัญญาผูกพันแม้ยังไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายจริง ความเสียหายจากการผิดสัญญา
แม้ใบสั่งจองบ้านและที่ดินฉบับพิพาทมีข้อความว่า โจทก์กับจำเลยจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันนับตั้งแต่วันสั่งจองเป็นต้นไป และโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวกันก็ตาม แต่ใบสั่งจองฉบับดังกล่าวได้ระบุราคาขายบ้านและที่ดินดังกล่าวไว้และระบุว่าในวันสั่งจองโจทก์ได้วางเงินจำนวน 100,000 บาทกับระบุถึงค่าโอนกรรมสิทธิ์ไว้ว่าผู้ซื้อและผู้ขายออกฝ่าย ละครึ่ง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยและโจทก์ว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่กันต่อไป ใบสั่งจองบ้านและที่ดินจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย และเงินที่โจทก์วางในวันสั่งจองจำนวน100,000 บาท เป็นเงินมัดจำอันเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาดังกล่าวได้ทำกันขึ้นแล้วทั้งเงินมัดจำนี้ยังเป็นประกันการที่จำเลยและโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินนั้นด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377และ 456 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจองบ้านและที่ดินจึงมิใช่นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่ยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจนกว่าจะได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองบ้านและที่ดินและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวตามราคาซื้อขายขณะนั้น ซึ่งหากโจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินใกล้เคียงกับบ้านและที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ที่ใกล้เคียงกันโจทก์ต้องซื้อบ้านและที่ดินใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม ดังนี้ การ ผิดสัญญาของจำเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และต้องรับผิดในเงินค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์รวมทั้งค่าธรรมเนียมถอนการยึดเป็นความเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดสัญญาไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6381/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการริบเงินมัดจำและเงินค่าส้มโอเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขาย
โจทก์ทำสัญญาซื้อส้มโอพันธุ์ทองดีจากจำเลย 50,000 ผล ในราคา 1,700,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำให้จำเลย 150,000 บาท ในวันทำสัญญาอันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า "ผู้ซื้อจ่ายเงินมัดจำให้ 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2536Mr.TU I HUI จะมาดูของ ถ้ามีส้มโอ Mr.TU I HUI จะทำการโอนเงินจำนวน1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ให้กับผู้ขายทันทีเมื่อส้มโอเข้าตู้คอนเทนเนอร์เรียบร้อยแล้ว เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นเงินสดทันทีทั้งหมด" ดังนี้เงินจำนวน1,000,000 บาท ที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ค่าส้มโอบางส่วนล่วงหน้าให้แก่จำเลย ครั้นเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิริบเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมด้วยเงินมัดจำได้หากโจทก์ไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญา ดังที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายข้อ 6 ที่ว่า "ถ้าผู้ซื้อไม่มารับส้มโอตามกำหนดเวลาในสัญญา ผู้ขายมีสิทธิริบเงินจำนวน 1,150,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)" กรณีเงินจำนวน1,000,000 บาท ที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยนั้นเป็นเงินที่โจทก์ชำระหนี้บางส่วนโดยมุ่งต่อผลกล่าวคือ ให้จำเลยจัดหาส้มโอที่มีคุณภาพตามจำนวนในสัญญามาขายให้แก่โจทก์ จึงเป็นเงินล่วงหน้าไม่ใช่ลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 379 แต่เป็นข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายที่ว่า ในกรณีที่โจทก์ไม่มารับส้มโอภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้จำเลยมีสิทธิริบเงินค่าส้มโอบางส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้แล้ว หาใช่เงินที่จำเลยมีสิทธิที่จะเรียกจากโจทก์หากโจทก์ผิดนัดผิดสัญญาอันจะถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดวันที่ส่งมอบส้มโอและจำเลยได้จัดหาส้มโอเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว แต่โจทก์ไม่มารับส้มโอเพราะโจทก์ไม่สามารถจัดหาตู้ส่งสินค้าทางเรือมารับส้มโอตามสัญญา อีกทั้งยังบอกเลิกการซื้อส้มโอจากจำเลยเสียเช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินจำนวนนี้ได้ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้รับเงินจำนวนนี้แม้เพียงบางส่วนคืนจากจำเลย เมื่อเงินจำนวนนี้มิใช่เบี้ยปรับ ศาลย่อมไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่า การคิดค่าเสียหาย ค่าเบี้ยปรับ และการคืนเงินมัดจำ
เงินประกันการเช่าตามสัญญาเช่าได้กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่ามีสิทธินำค่าเช่าที่ค้างชำระหรือหนี้สินอื่นที่ค้างชำระมาหักเงินประกันค่าเช่าได้เมื่อจำเลยผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากสถานที่เช่าเรียบร้อยแล้ว และให้โจทก์มีสิทธิยึดเงินประกันค่าเช่าได้ทั้งจำนวนในกรณีจำเลยมิได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งแสดงว่าเงินประกันค่าเช่าเป็นเงินประกันความเสียหายเกี่ยวกับเรื่องหนี้ ค่าเช่าค้างชำระ หนี้สินอื่นค้างชำระและเป็นเงิน ประกันความเสียหายการผิดสัญญาเช่าอีกด้วย เงินประกันการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับเพราะจำเลย สัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยผิดนัดโดยจำเลยมิได้ บอกเลิกสัญญาเช่าล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เงินประกันการเช่านี้จึงตกอยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379,381 โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินประกันการเช่าได้ สำหรับเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าได้ระบุไว้ว่าหากจำเลยเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยจะต้องชำระค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดมีมูลค่าเท่ากับค่าเช่า 4 เดือนเพิ่มขึ้นอีกต่างหากนั้น เป็นเรื่องจำเลยได้สัญญาจะ ใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดจึงเป็นเบี้ยปรับตกอยู่ในบังคับมาตรา 379,381 โจทก์จึงมีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดได้เช่นกัน เงินประกันการเช่าและเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่า ก่อนครบกำหนดดังกล่าวต่างก็เป็นเบี้ยปรับในกรณีที่จำเลย ชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรแม้ตามสัญญาเช่าจะระบุเรียกชื่อ ของเงินทั้งสองกรณีที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาได้นั้นต่างกันโดยอาศัยเหตุการริบหรือเรียกเอาได้ต่างกันแต่เหตุสำคัญที่เป็นเหตุเริ่มต้นให้โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอา ได้นั้นจะต้องเกิดจากการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด ในกรณีที่จำเลยบอกเลิกการเช่าโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เป็นเหตุ ให้โจทก์มีสิทธิริบเงินประกันการเช่าได้ จึงเป็นเรื่องที่ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นจากการที่โจทก์มีสิทธิริบ หรือเรียกเอาเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียกเอาเงินค่าชดเชย การยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ถือได้ว่าเงินประกันการเช่าเป็นเบี้ยปรับที่ซ้ำซ้อนกับเงิน ค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนด เพราะเบี้ยปรับ ทั้งสองกรณีต่างก็เป็นเงินประกันค่าเสียหายล่วงหน้า เมื่อผิดสัญญาเช่าเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ ถูกต้องสมควรทั้งสิ้น ดังนั้น เบี้ยปรับที่โจทก์มีสิทธิริบหรือเรียก เอาดังกล่าวนั้นเมื่อได้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับความเสียหาย ที่จำเลยยกเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดแล้ว ปรากฏว่า เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน มีเหตุลดเบี้ยปรับลงตามจำนวน พอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 คงให้ปรับเฉพาะเงินค่าชดเชยการยกเลิกสัญญาเช่า ก่อนครบกำหนดกรณีเดียว ค่าเสียหายในเชิงธุรกิจที่โจทก์เรียกร้องคือค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าตกแต่งอาคารชั้นล่างเพื่อให้จำเลยทำสำนักงานชั่วคราว และค่าเสียหายในการบอกเลิกสัญญาที่โจทก์จะต้องชำระให้แก่บริษัทป. อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากโจทก์ต้องให้จำเลยเช่าพื้นที่ชั้นที่ 7 นั้น ล้วนแต่เป็นค่าเสียหาย ที่โจทก์ได้ใช้จ่ายหรือจะต้องเสียไปก่อนที่โจทก์จะเข้า ทำสัญญาเช่ากับจำเลย เมื่อโจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดค่าเสียหายเหล่านี้ไว้ในสัญญาเช่า ในลักษณะเป็นมัดจำหรือเบี้ยปรับหรือกำหนดอัตราค่าเช่า ให้สูงขึ้นได้ตามแต่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยผู้เช่ารับผิด กรณีเช่นนี้จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแก่การไม่ชำระหนี้ หรือเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกในกรณีจำเลยผิดสัญญาเช่าตามมาตรา 222ดังกล่าวจะต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากจำเลย ผิดสัญญาเช่าแล้ว และโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่านั้นด้วย ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดรายได้จากดอกเบี้ยของเงินมัดจำที่จำเลยต้องวางไว้ต่อโจทก์จำนวนเงิน 8,500,000 บาท ตามสัญญาเช่า นั้น มาตรา 378 ได้บัญญัติความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วซึ่งบทบัญญัติมาตรานี้มิได้บัญญัติให้โจทก์มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องวางต่อโจทก์ ด้วย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 222 มาบังคับเพื่อให้ จำเลยรับผิดต่อโจทก์อีก แม้เงินจำนวน 1,700,000 บาท จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้ แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซึ่งเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของการเช่าอาคาร และในสัญญาเช่าจะได้ระบุว่าเป็นมัดจำ แต่ก็ไม่ถือว่าเงินจำนวนนี้เป็นมัดจำตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 เพราะ มิใช่เงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์เพื่อเข้าทำสัญญาเช่า เป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาเช่าเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับมัดจำมาใช้บังคับได้จะต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาเช่าระบุไว้เมื่อตามสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ไม่มีข้อใดระบุให้โจทก์ริบเงินส่วนนี้ของจำเลยไว้ แต่ได้ระบุไว้ว่าผู้ให้เช่าจะคืนเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่ผู้เช่าทันทีที่ได้มีการเรียกเก็บเงินค่าเช่าโทรศัพท์ครบถ้วนแล้วหลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม อีกทั้งให้นำหลักการเรื่องเงินประกันค่าเช่ามาใช้โดยอนุโลมด้วย ดังนั้น แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยโจทก์คงมีสิทธินำเงินค่าบำรุงการใช้โทรศัพท์มาหัก ออกจากเงินมัดจำดังกล่าวได้ และจะต้องคืนเงินที่เหลือให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินมัดจำและการกำหนดเวลาเกิดความผิดฐานออกเช็คไร้ความสามารถ
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 หรือไม่และปัญหาว่าหนี้เงินมัดจำที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้นั้นเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ แม้เป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
วันและเวลาเกิดการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 คือวันและเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หาใช่วันและเวลาที่เขียนข้อความในเช็คหรือวันที่มอบเช็คไม่โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเขียนข้อความในเช็คพิพาทหรือมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เวลาใด
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการวางเงินมัดจำแม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินคืนได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง
วันและเวลาเกิดการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 คือวันและเวลาที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หาใช่วันและเวลาที่เขียนข้อความในเช็คหรือวันที่มอบเช็คไม่โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเขียนข้อความในเช็คพิพาทหรือมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เวลาใด
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการวางเงินมัดจำแม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินคืนได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินมัดจำจากผู้ประกอบการจัดหาสินค้า ไม่ใช่เรื่องชำรุดบกพร่อง ใช้ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องชำรุดบกพร่องไว้ ทั้งฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องเรียกมัดจำคืนเพราะเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบการเป็นธุระจัดหาสินค้าดินสอสีรายพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทน แต่จำเลยส่งมอบสินค้าไม่มีคุณภาพตามที่ตกลงกันไว้และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าคืนแล้ว อันถือได้ว่าจำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) หาใช่เรื่องฟ้องให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องไม่ ฉะนั้นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่ามัดจำค่าสินค้าหรือเงินที่โจทก์มอบให้จำเลยเพื่อชำระเป็นค่าสินค้าบางส่วนคืนนี้เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8056/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ คืนเงินมัดจำ
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทโดยเข้าใจว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าอาคารดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 615 แม้จำเลยจะสามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ของอาคารพิพาทพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 614 และ 616 ให้โจทก์ได้หรือไม่ก็ตาม แต่โดยที่อาคารดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 615 ตามกฎหมายด้วย เมื่อตีความสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวของโจทก์และจำเลยโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตแล้ว ต้องถือว่าไม่อยู่ในความประสงค์ของโจทก์ที่จะเข้าทำสัญญาดังกล่าวโดยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อทั้งหมดได้ ต้องถือว่าโจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายอาคารพิพาทกับจำเลยโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับเป็นการบอกเลิกโมฆียะกรรมและต้องถือว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ย แต่ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดระหว่างกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7726/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการหักเงินมัดจำออกจากราคาสัญญาซื้อขาย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยในราคา 500,000 บาท โดยรับเงินมัดจำไปแล้ว 10,000 บาท จำเลยจึงคงค้างชำระราคาเพียง 490,000 บาท แม้ตามคำขอฟ้องแย้งของจำเลยจะขอชำระราคาที่ดินพิพาทของโจทก์ 500,000 บาท และมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์หักเงินมัดจำออกจากราคาที่ดินก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจนำเงินมัดจำที่โจทก์รับแล้วไปหักกลบลบหนี้กับราคาที่ดิน และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 490,000 บาท ตามที่เป็นหนี้กันจริงได้โดยไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7726/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ศาลมีอำนาจหักเงินมัดจำออกจากราคาที่ดิน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยในราคา 500,000 บาท โดยรับเงินมัดจำไปแล้ว 10,000 บาท จำเลยจึงคงค้างชำระราคาเพียง490,000 บาท แม้ตามคำขอฟ้องแย้งของจำเลยจะขอชำระราคาที่ดินพิพาทของโจทก์ 500,000 บาท และมิได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์หักเงินมัดจำออกจากราคาที่ดินก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจนำเงินมัดจำที่โจทก์รับแล้วไปหักกลบลบหนี้กับราคาที่ดิน และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 490,000 บาท ตามที่เป็นหนี้กันจริงได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ทำให้สัญญามีโมฆียะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนเงินมัดจำ
จำเลยทราบดีว่าที่ดินที่จำเลยเสนอขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่ระบุว่าที่ดินมีเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา ความจริงที่ดินมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 3 งาน72 ตารางวา เท่านั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยใช้กลฉ้อฉลลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลอื่นดังนี้ จำนวนเนื้อที่ของที่ดินย่อมเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา การที่จำเลยทราบจำนวนเนื้อที่ดินในขณะทำสัญญาว่าขาดจำนวนไปกว่าครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ดินที่ระบุไว้ในสัญญา แต่กลับนิ่งเฉยเสีย ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ กรณีถือได้ว่าเป็นกลฉ้อฉลที่ถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยคงจะมิได้กระทำขึ้น สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกคู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้