พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับสวัสดิการพนักงาน: การจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเป็นสิทธิโดยชอบธรรม หาใช่ดุลพินิจของนายจ้าง
กฎระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย เรื่องสวัสดิการพนักงาน ข้อ 2 ว่าด้วยเงินสะสมพนักงานระบุเจตนารมณ์การจัดให้มีเงินสะสมขึ้นเพื่อช่วยเหลือและเป็นหลักประกันให้เกิดความมั่นคงในอนาคตของพนักงาน ที่ลาออกหรือเกษียณอายุว่าหลังจากพ้นสภาพพนักงานด้วยเหตุ ดังกล่าวจะได้เงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินที่จะได้รับนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่หักไว้จากค่าจ้างของโจทก์ในแต่ละเดือน และอีกส่วนหนึ่งจำเลยจะต้องสมทบซึ่งต้องมอบเงินให้พนักงาน ที่ลาออกในจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกกรณีเสมอ ไม่ใช่กำหนดให้อยู่ในดุลพินิจของจำเลยเป็นผู้พิจารณาว่า ควรจะสมทบเงินหรือควรจะมอบเงินให้หรือไม่เพราะถ้าให้อยู่ ในดุลพินิจของจำเลย ย่อมเป็นการไม่แน่นอนว่าจำเลยจะ สมทบเงินหรือจะมอบเงินให้หรือไม่ จึงไม่เป็นหลักประกัน ที่แน่นอนและไม่ก่อให้เกิดความมั่นคงในอนาคตของโจทก์ ทั้งไม่มีสวัสดิการที่จำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ตาม เจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ ข้อความในกฎระเบียบข้อบังคับการทำงาน ข้อ 2(7)(8) ที่ระบุว่าจำเลยจะสมทบเงินหรือจะพิจารณามอบเงิน คำว่า "จะ" หมายความเพียงว่าในเวลาข้างหน้าถัดจากมีกฎระเบียบข้อบังคับ การทำงานแล้ว จำเลยจึงจะต้องปฏิบัติและจ่ายเงินตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และคำว่า "จะพิจารณา" ก็มีความหมาย เพียงว่าให้จำเลยพิจารณาก่อนว่าโจทก์ออกจากงานเนื่องจาก การกระทำความผิดหรือไม่ และถ้ามีสิทธิได้รับเงินที่จำเลย จะสมทบและจะมอบให้ โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎระเบียบข้อบังคับ การทำงานข้อใดเท่านั้น ไม่ใช่กำหนดให้เป็นดุลพินิจของ จำเลยที่จะพิจารณาว่าควรจะสมทบเงินหรือควรจะมอบเงิน ให้โจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความระเบียบข้อบังคับการทำงานเรื่องเงินสมทบ: 'จะสมทบ' ไม่ใช่ดุลพินิจ
ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยในหมวดสวัสดิการพนักงานกำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมไว้ว่า พนักงานที่มีอายุงานครบ 6 ปี จำเลยจะจ่ายเงินสมทบให้อีก 60 เปอร์เซ็นต์ของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออกก็ตามแต่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมีข้อความที่แสดงเจตนารมณ์ไว้ว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่าจะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทจำเลย ไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากกระทำความผิด เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งคือเงินสะสมซึ่งเป็นของพนักงานเองที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยจะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่ง โดยคิดเป็นอัตราส่วนของเงินสะสมที่หักไว้ตามจำนวนปีที่พนักงานทำงานให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยของจำนวนเงินดังกล่าวด้วย และสำหรับพนักงานที่ทำงานให้แก่จำเลยยังไม่ครบ 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พนักงานนั้นก็ยังคงมีสิทธิได้รับแต่เพียงเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย โดยยังไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบตามที่กำหนดไว้ ดังนี้คำว่า "จะสมทบ" ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยจึงมีความหมายเพียงบอกเวลาภายหน้าเท่าที่อายุงานของพนักงานยังไม่ครบตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกเอาคำว่า"จะสมทบ" มาแปลความหมายบิดเบือนให้ผิดแผกแตกต่างไปจากความหมายที่แท้จริงเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยว่าเป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบให้แก่โจทก์หรือไม่จ่ายสมทบให้ก็ได้ แล้วแต่จำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเป็นราย ๆ ไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของระเบียบข้อบังคับบริษัท: เงินสมทบต้องจ่ายเมื่อพนักงานลาออกตามหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ดุลพินิจ
ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยในหมวดสวัสดิการ พนักงานกำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมไว้ว่า พนักงานที่มีอายุงาน ครบ 6 ปี จำเลยจะจ่ายเงินสมทบให้อีก 60 เปอร์เซ็นต์ของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออกก็ตามแต่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมีข้อความที่แสดงเจตนารมณ์ไว้ว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่าจะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากกระทำความผิด เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งคือเงินสะสมซึ่งเป็นของพนักงานเองที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยจะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่ง โดยคิดเป็นอัตราส่วนของเงินสะสมที่หักไว้ตามจำนวนปีที่พนักงานทำงานให้แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยของจำนวนเงินดังกล่าวด้วย และสำหรับพนักงานที่ทำงานให้แก่จำเลยยังไม่ครบ 5 ปี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ พนักงานนั้นก็ยังคงมีสิทธิได้รับแต่เพียงเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย โดยยังไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบตามที่กำหนดไว้ ดังนี้คำว่า "จะสมทบ" ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยจึงมีความหมายเพียงบอกเวลาภายหน้าเท่าที่อายุงานของพนักงานยังไม่ครบตามหลักเกณฑ์ที่ระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะ หยิบยกเอาคำว่า "จะสมทบ" มาแปลความหมายบิดเบือนให้ผิดแผกแตกต่างไปจากความหมายที่แท้จริงเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยว่าเป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบให้แก่โจทก์หรือไม่จ่ายสมทบให้ก็ได้ แล้วแต่จำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเป็นราย ๆ ไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของระเบียบสวัสดิการพนักงาน: การสมทบและมอบเงินต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ดุลพินิจ
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่มีอายุงานครบ 10 ปี หรือ 10 ปี ขึ้นไป จำเลยจะสมทบให้อีกร้อยละร้อยของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออก และพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปี ขึ้นไปเมื่อลาออก จำเลยจะพิจารณามอบเงินให้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 180 วัน ของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ เมื่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยสวัสดิการพนักงาน มีข้อความว่า บริษัทจำเลยได้ตระหนักถึงความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทุกคนที่ทำงานอยู่กับบริษัท บริษัทจึงได้จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ขึ้น ให้แก่พนักงานเพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ ตลอดจนให้พนักงานมีความรู้สึกที่มั่นคงในการทำงานกับบริษัท ซึ่งบริษัทถือว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานขึ้น และในระเบียบว่าด้วยเงินสะสมพนักงาน มีข้อความว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่า จะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากการกระทำความผิด บริษัทจึงได้ตระหนักถึงความมั่นคงในอนาคตของพนักงาน จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมของพนักงานไว้ ดังนี้ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าที่ได้วางระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไว้ก็เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นสวัสดิการคือเงินสะสม ซึ่งเป็นของพนักงานที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยจะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งหากพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปีขึ้นไป ลาออกก็จะได้รับเงินจากจำเลยอีกไม่ต่ำกว่า 180 วันของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ ฉะนั้น จำเลยจะหยิบยกคำว่า "จะสมทบให้" หรือคำว่า "จะพิจารณามอบเงินให้" ก็ดี มาแปลความหมายว่าเป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์หรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การออกประกาศเรียกเก็บเงินสมทบ, และการใช้ประกาศที่ถูกต้องตามช่วงเวลา
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา17ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไว้หลายประการเช่นมาตรา17(18)ให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจำหน่ายน้ำตาลทรายและเพื่อไว้บริโภคในราชอาณาจักรและกำหนดราคาขายน้ำตาลทรายดังกล่าว(30)ให้อำนาจกำหนดระเบียบอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งระเบียบดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกฉบับที่1(พ.ศ.2528)ประกาศเมื่อวันที่26มีนาคม2528ระเบียบในข้อ5มีความว่าให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจหน้าที่(6)กำหนดจำนวนเงินสมทบและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบและ(7)ให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจัดทำบัญชีเรียกว่า"บัญชีเงินจ่ายคืนผู้ผลิต"เพื่อนำเงินสมทบที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเรียกเก็บจากโรงงานน้ำตาลทุกโรงงานตามจำนวนที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายกำหนดดังนั้นการที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายออกประกาศเรื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531เมื่อวันที่23มีนาคม2531โดยอาศัยอำนาจตามข้อ5แห่งระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าวไม่ได้ ประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทรายที่เรียกเก็บเงินสมทบเป็นประกาศที่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531ที่พิพาทกันในคดีนี้จะนำประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่5พ.ศ.2532ซึ่งใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตในปีต่อๆไปอันเป็นระยะเวลาภายหลังฤดูการผลิตปี2530/2531มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่มติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรหัสประเภทกิจการเงินสมทบทุนกองทุนเงินทดแทนและการหมดอายุการฟ้องร้อง
การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงนั้นมิใช่เป็นการอุทธรณ์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องอัตราและวิธีเก็บเงินสมทบการวางเงินทดแทน ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ลงวันที่11มิถุนายนพ.ศ.2516ในข้อ8เนื่องจากไม่ปรากฏว่าสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้มีคำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงรหัสประเภทกิจการและอัตราเงินสมทบของโจทก์แต่อย่างใดและการอุทธรณ์ตามข้อ8ไม่ต้องขอให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนวินิจฉัยก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโจทก์มิได้ยื่นฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยโจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินสมทบกองทุนจากนายจ้างเมื่อออกจากงาน ลดคน, ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต: ดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับตามระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมที่กำหนดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในอันที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีข้อความว่า "ส่วนที่จะได้รับจากบริษัท พนักงานที่เป็นสมาชิกถ้าออกจากงานก่อนเกษียณอายุ หากมีอายุงาน 2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสะสมของตนคืนพร้อมดอกเบี้ยและเงินสมทบจากบริษัทพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วนดังนี้ ฯลฯ อายุงานครบ 7 ปี ส่วนที่บริษัทสมทบ 70 เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานที่ต้องออกจากงานเนื่องจากการลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทอาจสมทบให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่นำอายุงานมาใช้เป็นเงื่อนไข" เป็นข้อบังคับที่กำหนดเป็นการให้ดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุงานถ้าเป็นการออกจากงานเนื่องจากกรณีตามที่กำหนดไว้คือ การลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต มิใช่เป็นข้อกำหนดที่เป็นบทบังคับว่าถ้าโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่า "อาจสมทบให้" นั้น ไม่อาจจะแปลไปในทางที่เป็นผลบังคับฝ่ายที่ปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติเป็นการแน่นอนดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีอายุงานครบ 7 ปี ออกจากงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างเพราะต้องการลดคน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสมทบจากจำเลยตามระเบียบดังกล่าวจึงมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความระเบียบกองทุนเงินสะสม: สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างลดคน และดุลพินิจนายจ้างในการจ่ายเงินสมทบ
ข้อบังคับตามระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมที่กำหนดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในอันที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีข้อความว่า ส่วนที่จะได้รับจากบริษัทพนักงานที่เป็นสมาชิกถ้าออกจากงานก่อนเกษียณอายุ หากมีอายุงาน2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสะสมของตนคืนพร้อมดอกเบี้ยและเงินสมทบจากบริษัทพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วนดังนี้ ฯลฯ อายุงานครบ 7 ปี ส่วนที่บริษัทสมทบ 70 เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานที่ต้องออกจากงานเนื่องจากการลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทอาจสมทบให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่นำอายุงานมาใช้เป็นเงื่อนไข"เป็นข้อบังคับที่กำหนดเป็นการให้ดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุงานถ้าเป็นการออกจากงานเนื่องจากกรณีตามที่กำหนดไว้คือ การลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต มิใช่เป็นข้อกำหนดที่เป็นบทบังคับว่าถ้าโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายเงินสมทบเต็ม100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่า "อาจสมทบให้" นั้น ไม่อาจจะแปลไปในทางที่เป็นผลบังคับฝ่ายที่ปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติเป็นการแน่นอนดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีอายุงานครบ 7 ปี ออกจากงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างเพราะต้องการลดคน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสมทบจากจำเลยตามระเบียบดังกล่าวจึงมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่เงินปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่ นายจ้าง ต้อง ชำระให้แก่กองทุนเงินทดแทน หาใช่เงินปีตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายใด กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรมแรงงานในการเฉลี่ยหนี้เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน แม้มิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน โดยให้อำนาจอธิบดีกรมแรงงานออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ไม่จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและหรือเงินเพิ่มได้เองโดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาล ถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอก อาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 กรมแรงงานจึงมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ แม้จะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและไม่ใช่หนี้ค่าภาษีอากรก็ตาม