พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับเงื่อนไขการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และผลกระทบต่อการคำนวณเงินบำเหน็จ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจยอมรับการปรับเงินเดือนตามโครงการรัฐวิสาหกิจที่ดีโดยวิธีเอาค่าจ้างอัตราสุดท้ายของโจทก์เดือนละ27,860 บาท คูณด้วยจำนวนปีอายุการทำงานเป็นเงินบำเหน็จที่โจทก์จะได้เท่ากับโจทก์ยอมรับปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีตามคำให้การของจำเลยแล้ว โจทก์จะเลือกยอมรับมติคณะรัฐมนตรีเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับเงินเดือนของโจทก์โดยไม่ยอมรับส่วนที่เกี่ยวกับวิธีคำนวณเงินบำเหน็จของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10162/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และอัตราดอกเบี้ยเงินเดือนที่หักไว้
ตามคำสั่งของจำเลยที่สั่งลงโทษโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ทางแพ่งอ้างเหตุผลว่าโจทก์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบขาดความสนใจ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของจำเลย ไม่ป้องกันและเก็บรักษาเงิน เมื่อปรากฏว่าเงินที่หายไปไม่ได้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยจำเลยไม่มีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย
เมื่อจำเลยหักเงินเดือนของโจทก์ไว้โดยไม่ชอบ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวซึ่งจะต้องคืนให้แก่โจทก์ ปรากฏว่าจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตกอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งไม่ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดการจ่ายค่าจ้างไว้ดังเช่นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๓๑ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยของเงินเดือนที่จำเลยหักไว้และต้องคืนให้แก่โจทก์จึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา ๗ และมาตรา ๒๒๔ คือ อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
เมื่อจำเลยหักเงินเดือนของโจทก์ไว้โดยไม่ชอบ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวซึ่งจะต้องคืนให้แก่โจทก์ ปรากฏว่าจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตกอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งไม่ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดการจ่ายค่าจ้างไว้ดังเช่นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๓๑ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยของเงินเดือนที่จำเลยหักไว้และต้องคืนให้แก่โจทก์จึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา ๗ และมาตรา ๒๒๔ คือ อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะ: การคำนวณจากเงินเดือนรายได้ของผู้ตาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ความตายของผู้ตายทำให้โจทก์ผู้เป็นสามีของผู้ตายต้องขาดรายได้จากผู้ตายเท่ากับเงินเดือนที่ผู้ตายได้รับจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นรายเดือนเดือนละ 8,960 บาท หรือปีละ107,520 บาท เป็นเวลา 14 ปี รวมเป็นเงิน 1,505,280 บาท เป็นการบรรยายฟ้องถึงเรื่องค่าขาดไร้อุปการะนั่นเอง ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าขาดไร้อุปการะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: เงินเดือนที่หักตามสัญญาไม่ใช่เงินที่ถูกอายัดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
เงินที่ผู้ร้องร้องขอเฉลี่ยเป็นเงินที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาล โดยจำเลยยอมให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหรือหักเงินเดือนของจำเลยทุกเดือนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนกว่าจะครบ เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งไปยังศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจำเลยไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จ: คำนิยาม 'เงินเดือน' ไม่รวมค่าครองชีพ และการอุทธรณ์ต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าระเบียบเงินบำเหน็จขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงไม่มีผลใช้บังคับนั้นโจทก์มิได้กล่าวเรื่องนี้มาในคำฟ้องจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานแม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ระเบียบเงินบำเหน็จของจำเลยได้ให้คำนิยามเงินบำเหน็จว่าเงินตอบแทนที่จำเลยจ่ายให้พนักงานเมื่อออกจากงานเงินบำเหน็จจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานนอกเหนือไปจากค่าจ้างตามที่กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานบัญญัติไว้และตามระเบียบดังกล่าวก็ได้กำหนดวิธีคำนวณเงินบำเหน็จว่าให้เอาเงินเดือนเดือนสุดท้ายตั้งแล้วคูณด้วยจำนวนปีและเศษของปีตามปฏิทินของเวลาทำงานทั้งได้ให้คำจำกัดความคำว่าเงินเดือนไว้ว่าหมายถึงเงินเดือนหรือค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานแต่ละคนเป็นรายเดือนหรือรายงวดจะเห็นว่าถ้อยคำคำว่าเงินเดือนในระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดให้หมายถึงเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริงเท่านั้นหาได้มีความหมายให้นำประโยชน์อื่นๆที่ลูกจ้างได้รับเป็นการตอบแทนการทำงานเข้ามารวมเป็นเงินเดือนด้วยไม่เมื่อเป็นเช่นนี้เงินเดือนตามระเบียบเงินบำเหน็จดังกล่าวจึงไม่รวมถึงเงินค่าครองชีพจะนำเงินค่าครองชีพมารวมเป็นเงินเดือนเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จหาได้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับเงินเดือนซ้ำซ้อนและลาภมิควรได้ กรณีจำเลยรับเงินเดือนจากทั้งโจทก์และกรุงเทพมหานคร เกินระยะเวลาอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกเงินเดือนซึ่งจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ในระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2518 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2521 คืนโดยได้แจ้งจำนวนยอดรวมทั้งหมดแล้ว ถือว่าชัดแจ้งพอที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้ ถ้ายอดจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องมานั้นมากกว่าที่จำเลยได้รับ จำเลยก็ชอบที่จะต่อสู้มาในคำให้การได้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้รับเดือนละเท่าใด หักภาษีแล้วเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยได้รับเงินเดือนทั้งจากโจทก์และกรุงเทพมหานครเป็นการฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2505 ซึ่งกำหนดให้จำเลยรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียว เป็นกรณีที่จำเลยได้รับทรัพย์สินไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์คืนได้
คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนซึ่งเงินเดือนที่จำเลยได้รับจากโจทก์นั้นเกินกว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เป็นคำให้การชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว การที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจกท์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยจึงจำต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่ตามป.พ.พ.มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่สิทธินั้นได้มีขึ้น ดังนั้นเงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินสิบปีจึงขาดอายุความ จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น
การที่จำเลยได้รับเงินเดือนทั้งจากโจทก์และกรุงเทพมหานครเป็นการฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2505 ซึ่งกำหนดให้จำเลยรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียว เป็นกรณีที่จำเลยได้รับทรัพย์สินไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์คืนได้
คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนซึ่งเงินเดือนที่จำเลยได้รับจากโจทก์นั้นเกินกว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เป็นคำให้การชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว การที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจกท์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยจึงจำต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่ตามป.พ.พ.มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่สิทธินั้นได้มีขึ้น ดังนั้นเงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินสิบปีจึงขาดอายุความ จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการรับเงินเดือนสองตำแหน่งโดยมิชอบ เป็นลาภมิควรได้ ฟ้องคืนได้เฉพาะส่วนที่ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2517 จำเลยได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรับเงินเดือนในอัตราของตำแหน่งครูต่อมาจำเลยได้สอบคัดเลือกเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษาโจทก์ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2518 โดยรับเงินเดือนในอัตราชั้นตรี โดยจำเลยได้เงินเดือนสองตำแหน่งตลอดมาจนจำเลยออกจากราชการของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2521 ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2505 มาตรา 28 บัญญัติให้ข้าราชการรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียวนั้น หมายความรวมทั้งกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นได้ไปปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองตำแหน่งหรือหลายตำแหน่งด้วย และถึงแม้การไปดำรงตำแหน่งมากกว่าหนึ่งตำแหน่งของจำเลยจะมิได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินเดือนทั้งสองตำแหน่งได้ ฉะนั้น จำเลยยังไม่ได้แสดงเจตนาว่าจะเลือกรับเงินเดือนในตำแหน่งใด และโจทก์ยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะให้จำเลยรับเงินเดือนทางใด และขอคืนในอัตราของตำแหน่งใดก่อนจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินคืนได้ จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ อายุความสำหรับเรียกทรัพย์คืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น มาตรา419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ดังนั้น เงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง: การเรียกรับเงินเดือนนอกวันจ่ายปกติถือเป็นการเลิกจ้าง และคำให้การที่ขัดแย้งกันย่อมไร้ผล
กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยสั่งพนักงานการเงินของจำเลยคิดเงินเดือนที่ผ่านมาให้แก่โจทก์และเรียกโจทก์มารับเงินโจทก์เข้ามาในบริษัทแต่ไม่ยอมรับเงิน การที่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทเรียกโจทก์มารับเงินค่าจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานของโจทก์ที่ผ่านมา ทั้ง ๆ ที่วันนั้นมิใช่วันจ่ายเงินเดือนตามปกติของจำเลยถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์ได้ออกจากงานไปเอง และโจทก์ได้กล่าวต่อลูกค้าของจำเลยว่า บริษัทเฮงซวยไปซื้อสินค้ามันทำไมอันเป็นการกระทำความผิดต่อนายจ้าง ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง กล่าวคือจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ แต่โจทก์ออกจากงานไปเองแล้วกลับอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้นประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ เพราะการที่จะเกิดประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5990/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่ง ส.ส. ไม่อยู่ในข่ายเงินเดือนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2) บังคับคดีได้
เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารับรองและเงินช่วยเหลือค่าที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่เงินเดือน ทั้งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่ข้าราชการเงินทั้ง 3 ประเภทจึงไม่อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของ รัฐบาล ตามป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลกำหนดเงินจำนวนตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้ต้องรับผิดในการบังคับคดีดังเช่นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (1) (3) (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5990/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่ง ส.ส. มิใช่เงินเดือน จึงบังคับคดีได้
เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารับรองและเงินช่วยเหลือค่าที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่เงินเดือน ทั้งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่ข้าราชการเงินทั้ง 3 ประเภทจึงไม่อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของ รัฐบาล ตามป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลกำหนดเงินจำนวนตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้ต้องรับผิดในการบังคับคดีดังเช่นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(1)(3)(4).