คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินได้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกยื่นภาษีสำหรับสามีภรรยา: เงินได้มาตรา 40(4)(ก) ยังคงเป็นของสามี แม้ภรรยาจะแยกยื่นภาษี
โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีสามารถแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้แต่เฉพาะในส่วนของเงินได้ตามมาตรา 40(1)เท่านั้น ส่วนเงินได้ของโจทก์ตามมาตรา 40(4)(ก) นั้นถือเป็นเงินได้ของสามีโจทก์ และสามีโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แม้โจทก์จะแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษี การแยกยื่นของโจทก์ต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลง ดังนั้น โจทก์ต้องนำเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(4)(ก) ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้กับเงินได้ของสามีโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินได้จากการขายผลิตผลและการเช่าที่ดิน เงินได้เหล่านี้เป็นของเจ้าของและจำเลยมีหน้าที่คืน
ฎีกาโจทก์ที่ว่า เงินที่หักหรือลดเป็นค่าการตลาดร้อยละ 5 จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ และเงินค่าเช่าหรือค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ เป็นฎีกาในปัญหาจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า จะมีผลทางกฎหมายว่าเงินดังกล่าวเป็นของโจทก์ หรือเป็นเงินค่าใช้จ่ายปกติที่ต้องเสียซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารกับผู้ขายที่สามารถจัดเข้าไว้เป็นเงินกองกลางได้เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วย เมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการผ่อนชำระสินค้าต่างประเทศเป็นเงินได้พึงประเมินและต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ในปี 2534 และ 2535 โจทก์สั่งซื้อปุ๋ยเคมีจากบริษัท น.ประเทศนอร์เวย์ บริษัท ฮ.ประเทศสวีเดน บริษัท ฟ.เมืองฮ่องกง และบริษัท อ.ประเทศนอร์เวย์หลายครั้ง โดยนำเข้ามาในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 24กุมภาพันธ์ 2534 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2535 การนำเข้าสินค้าดังกล่าว โจทก์จะชำระราคาสินค้าภายใน 270 วัน และ 180 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้าพร้อมกับชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ขายอีกในอัตราร้อยละ 10.8 ของราคาสินค้า นับแต่วันส่งมอบสินค้าถึงวันชำระราคา ตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าโจทก์ชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ถึง 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 6,648,075.74บาท และในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 เป็นเงิน112,548,706.04 บาท เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ที่บริษัทผู้ขายได้รับจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ซึ่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 29) พ.ศ.2534 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป.รัษฎากร ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากการผ่อนปรนการชำระราคาสินค้านั้น แม้ดอกเบี้ยดังกล่าวจะไม่ได้เกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ขาย มิได้เกิดจากพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะชำระราคาทันทีโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามข้อตกลง แต่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเช่นว่านี้โจทก์ยินดีรับสิทธิการผ่อนปรนการชำระราคาโดยเสียดอกเบี้ย ดังนั้นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (4) (ก) แห่ง ป.รัษฎากรเช่นกัน
โจทก์จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4)(ก) ให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย อันเป็นการจ่ายจากประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวและนำส่งอำเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฏากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมเลิกสัญญากับหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย: เงินที่จ่ายตามสัญญานี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
เงินที่จำเลยตกลงชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นการตกลงที่จะชำระเต็มจำนวนตามสัญญาที่ทำไว้ต่อศาล แม้ตามสัญญาบริการระหว่างโจทก์จำเลยที่ใช้บังคับในระหว่างที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ใช้เป็นฐานแห่งการชำระเงินในคดีนี้ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ภาษีเงินได้และภาษีอื่นที่โจทก์พึงจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับค่าตอบแทน จำเลยจะเป็นผู้จ่ายแทนในนามของโจทก์ทั้งสิ้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไป จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้ว จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามข้อสัญญาอีกต่อไปและเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเงินได้อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานและเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)แห่ง ป.รัษฎากร จำเลยผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50ประกอบมาตรา 3 จตุทศ แห่ง ป.รัษฎากร แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหากโจทก์เห็นว่าโจทก์เสียภาษีน้อยกว่าที่จำเลยหักไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการแก่กรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องการคืนภาษีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: การกำหนดราคาภายหลังและการถือว่าเงินล่วงหน้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาซื้อขาย เงินได้พึงประเมิน
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการซื้อเนื้อแร่ดีบุกระหว่างโจทก์ผู้ขายกับบริษัทท. ผู้ซื้อสัญญาระบุให้ถือว่าการส่งมอบแร่ดีบุกสำเร็จบริบูรณ์และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของผู้ซื้อเมื่อได้ชั่งน้ำหนักชิ้นรวมตามวิธีที่ระบุไว้นอกจากนั้นได้กำหนดราคาซื้อให้คำนวณโดยใช้ราคาตลาดปีนังของวันตลาดดีบุกปีนังที่ผู้ขายระบุวันใดวันหนึ่งภายใน30วันหลังจากวันส่งมอบเป็นวันตลาดปีนังก็ได้กรณีผู้ขายมิได้ระบุวันตลาดดีบุกปีนังให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่30หลังจากวันส่งมอบในการคำนวณราคาซื้อและเมื่อได้รับคำขอผู้ซื้อจะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายเป็นเงินบาทจำนวนไม่เกินร้อยละ80ของราคาซื้อสุทธิจากปริมาณแร่ดีบุกที่ส่งมอบในแต่ละครั้งคำนวณจากราคาตลาดปีนังของวันที่จ่ายเงินล่วงหน้าเช่นนี้สัญญาซื้อขายนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบแร่แล้วเพียงแต่การกำหนดราคาแร่ที่แน่นอนผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายกำหนดภายหลังส่วนข้อตกลงให้ผู้ซื้อจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวนร้อยละ80กับข้อกำหนดให้ผู้ขายเสียดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวร้อยละ1ต่อเดือนไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งผู้ซื้อยืนยันว่าไม่ได้ดำเนินการรับจำนำแร่และเงินล่วงหน้าค่าแร่เป็นเงินส่วนหนึ่งของราคาแร่หาใช่เงินกู้ไม่เงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้งดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่โจทก์มิได้ขอให้บังคับไว้ในคำฟ้องจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา29ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำจากการบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน: เป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษี
โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ อ.โดย อ.วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญา 9,000,000 บาท แต่ อ.ไม่มารับโอนที่ดินในวันนัด โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิรับเงินมัดจำดังกล่าวตามสัญญา ดังนี้ แม้ อ.จะฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนก็เป็นการฟ้องหลังจากที่โจทก์ได้ริบเงินมัดจำแล้ว หาใช่ว่าโจทก์ยังมิได้ริบเงินมัดจำหรือเป็นกรณีที่โจทก์จะมีสิทธิริบเงินมัดจำหรือไม่ยังไม่ทราบ อันจะถือว่าเงินมัดจำเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับมาในภายหน้าไม่ เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจาก อ.ซึ่งเป็นคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา จึงเป็นเงินได้จากการอื่น ๆ ตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำจากการบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน ถือเป็นเงินได้อื่น ๆ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่อ. โดยอ. วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญา9,000,000บาทแต่อ. ไม่มารับโอนที่ดินในวันนัดโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิรับเงินมัดจำดังกล่าวสัญญาดังนี้แม้อ. จะฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนก็เป็นการฟ้องหลังจากที่โจทก์ได้ริบเงินมัดจำแล้วหาใช่ว่าโจทก์ยังมิได้ริบเงินมัดจำหรือเป็นกรณีที่โจทก์จะมีสิทธิริบเงินมัดจำหรือไม่ยังไม่ทราบอันจะถือว่าเป็นเงินมัดจำเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับมาในภายหน้าไม่เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากอ.ซึ่งเป็นคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญาจึงเป็นเงินได้จากการอื่นๆตามมาตรา40(8)แห่งประมวลรัษฎากรและเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางภาษีของภริยาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) และแยกยื่นภาษีแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี วรรคแรก ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี โดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้น หากภริยาไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วหรือมีเฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) เพียงอย่างเดียวซึ่งภริยาได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีโดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา 57 ตรี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57 เบญจ แล้ว ก็มิใช่กรณีการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่กฎหมายบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี ซึ่งสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี และถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันแล้วภริยาต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นตามมาตรา 57 ตรี วรรคแรกแต่อย่างใด
เมื่อจำเลยไม่มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นนอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และจำเลยก็ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 57 ตรีมาใช้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่สามีค้างชำระได้
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ อันมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชน จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนผู้ซึ่งเป็นฝ่ายจะต้องเสียเพิ่มขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาไม่ต้องรับผิดร่วมในภาษีค้างชำระของสามี หากไม่มีเงินได้อื่นนอกเหนือจากมาตรา 40(1) และยื่นภาษีแยกต่างหาก
ประมวลรัษฎากรเป็น กฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินของประชาชนจึงต้อง ตีความโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนผู้ซึ่งเป็นฝ่ายจะต้องเสียเพิ่มขึ้นโดยมาตรา57ตรีวรรคแรกใช้บังคับเฉพาะกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีโดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลย มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นนอกจากตามมาตรา40(1)และก็ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา57เบญจแล้วจึงไม่อาจนำมาตรา57ตรีมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีเงินได้ชาวไร่อ้อย: พิจารณาจากช่วงเวลาขายอ้อย ไม่ใช่ช่วงเวลาได้รับเงิน
กฎกระทรวงฉบับที่ 173(พ.ศ. 2530) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีข้อความระบุว่า เงินได้ของชาวไร่อ้อยที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ต้องเป็นเงินได้ที่เกิดจากการขายอ้อยให้แก่โรงงานในระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน 2529 ถึงวันที่ 30กันยายน 2530 ไม่ได้ระบุให้ถือเอาวันเวลาที่ได้รับเงินจากการขายอ้อยมาเป็นข้อพิจารณาเพื่อยกเว้นภาษีด้วยดังนั้นจำนวนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ชาวไร่อ้อยระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2530 ซึ่งเป็นค่าอ้อยที่โจทก์ซื้อมาจากชาวไร่อ้อยในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 ถึงวันที่ 3 มีนาคม2530 จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
of 7