คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: เงื่อนไขหนี้ก่อน-หลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
การที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ขอหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/33 นั้น เป็นระบบการจัดการทรัพย์สินในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ที่จะนำหนี้ที่ตนมีภาระต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปหักกับหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
มาตรา 90/33 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนึ่งซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้นเจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและการชำระหนี้โดยมีเงื่อนไข ศาลแก้ไขดอกเบี้ยผิดพลาด
ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานเอกสารหมาย จ. 1 จำเลยรับว่าโจทก์ไม่สามารถเข้า ครอบครองที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์ได้จริง จึงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 180,000 บาท (หนึ่งแสน แปดหมื่นบาท) โจทก์พอใจและไม่เรียกร้องใด ๆ หากจำเลยนำเงินมาให้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันนี้ เมื่อโจทก์ได้รับเงินแล้วจะโอนที่ดิน น.ส. 3 ก. ดังกล่าวให้แก่จำเลย หากจำเลยไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ได้ตกลงจะยินยอมเสีย ดอกเบี้ยตามกฎหมาย ตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความโดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ปฏิบัติต่างตอบแทน ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงิน 180,000 บาท ให้แก่โจทก์ก่อน แล้วโจทก์จึงจะโอนสิทธิในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลย ดังนั้นจำเลยจึงจะเกี่ยงให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้โดยส่งมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยก่อนมิฉะนั้นจะไม่ชำระเงิน 180,000 บาท ให้แก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามมานั้นได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2542 นั้นผิดพลาดไปเพราะศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วว่า จำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2541 ดังนั้นย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2541 ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยแม้จำเลยฎีกาเพียงฝ่ายเดียว ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจมาตรา 143 แห่ง ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าจ้างต้องไม่มีเงื่อนไขจำกัดสิทธิลูกหนี้ มิฉะนั้นเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใดลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง จึงจะเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยมีเงื่อนไขจำกัดตัดสิทธิอื่นๆ อับชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในหนี้เงินค่าจ่างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเฉพาะเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ให้แก่โจทก์ ก็พออนุโลมว่าโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดมาด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานจึงเห็นสมควรให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 และจำเลยยอมจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ไม่ยอมรับจึงไม่ถือว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์มีเงื่อนไข และการเลิกสัญญาโดยสมัครใจ สิทธิเรียกร้องเงินคืน
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า คำฟ้องโจทก์ซึ่งกล่าวถึงสภาพข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเช่าซื้อ แต่คำขอบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ จำเลยไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์สิ่งใดทำให้ไม่อาจสู้คดีได้ถูกต้อง คำให้การจำเลยดังกล่าวมิได้บรรยายให้เห็นว่า ฟ้องของโจทก์ส่วนใดเคลือบคลุมหรือไม่ชัดแจ้งอย่างไร หรือเนื้อหาในคำฟ้องขัดแย้งกันอย่างไร ซึ่งอ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้ ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยจำเลยผู้ขายยอมให้โจทก์ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาและมีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อโจทก์ผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงราคากันตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป แม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่หากได้มีการวางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคู่กรณีก็ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามมาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อจำเลยตกลงขายรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในราคา 200,000 บาท โจทก์ได้ผ่อนชำระแล้วเป็นเงิน 95,000 จึงถือว่าโจทก์ได้วางประจำและชำระหนี้บางส่วนแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้
โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย ย่อมทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้มอบรถยนต์พิพาทคืนแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ได้รับมาแก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย โดยสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องยึดเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง หากไม่ทำตาม จะไม่สามารถอุทธรณ์ได้
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสอง และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญายอมข้อใดไม่ชอบ ทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ เข้าข้อยกเว้นที่โจทก์สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คำพิพากษานั้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง การที่โจทก์ไม่อุทธรณ์แต่กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจจึงไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอให้เพิกถอนหาใช่เป็นอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมตามข้อยกเว้นของ ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางค่าธรรมเนียมศาล ส่งผลต่อสิทธิในการอุทธรณ์และการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์แล้ว จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หากจำเลยยังติดใจอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยจึงยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ซึ่งกรณีดังกล่าวจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาศาล หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายดังกล่าว คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะต้องสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้สั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4927/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งริบของกลางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรอการลงโทษจำคุกโดยมีเงื่อนไข
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานผลิตกัญชาและมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ฟ้องฐานเสพกัญชา โจทก์จะขอให้ศาลสั่งริบบ้องกัญชาที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดฐานเสพกัญชาหาได้ไม่ แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งริบได้และควรคืนให้แก่เจ้าของ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งริบบ้องกัญชาของกลางนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการไม่รับฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ศาลพิจารณาประเด็นการรุกล้ำที่ดินก่อน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสี่ให้การว่า จำเลยที่ 3 อาศัยอยู่ในบ้านที่ อ. ปลูกในที่ดินว่างเปล่าและยกให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ว่างบริเวณใกล้เคียงกับบ้านที่จำเลยที่ 3 อาศัยอยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมา หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ครอบครองลุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ที่ดินนั้นก็ตกเป็นของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยการครอบครองปรปักษ์ คดีนี้จึงมีประเด็นในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ปลูกบ้านทั้งสองหลังรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องหรือไม่ หากฟังไม่ได้ว่าบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองไปโดยไม่ต้องพิจารณาคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฟ้องแย้งว่า หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ครอบครองรุกล้ำหรือเห็นส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปกปักษ์ จึงเป็นฟ้องแย้งโดยมีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แม้มีมติยอมรับแผนแล้ว หากยังไม่ผูกมัดตามเงื่อนไข
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/33 ให้สิทธิเจ้าหนี้หักกลบลบหนี้ได้ถ้าเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และลูกหนี้มีเงินฝากอยู่กับผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านรับฝากเงินไว้ก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เงินฝากดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านตั้งแต่มีการฝากเงิน ลูกหนี้ผู้ฝากเงินมีสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้ และผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบตามจำนวนที่ขอถอน จึงเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกับลูกหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้หนี้ที่ผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับชำระหนี้จะถูกกำหนดให้ได้รับชำระตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามแผนฟื้นฟูกิจการ ก็ยังอาจหักกลบลบหนี้ได้เนื่องจากการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ มาตรา 90/27 บัญญัติให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้หรือมีเงื่อนไขก็ตาม และแม้ผู้คัดค้านแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ต่อลูกหนี้ภายหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแต่เป็นช่วงเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ซึ่งเจ้าหนี้ยังไม่ถูกผูกมัดให้ได้รับชำระหนี้ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในแผนตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิหักกลบลบหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบชัดเจนตามเงื่อนไขที่กำหนด จึงมีผลผูกพัน
การที่บริษัท ภ. มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยต้องชำระต่อบริษัท ภ. ไปให้แก่โจทก์ รวมทั้งหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย โดยได้ระบุเป็นเงื่อนไขว่า บริษัท ภ. จะได้จดแจ้งการโอนหนี้ ค่าขายสินค้าไว้ในใบแจ้งหนี้ และเอกสารการซื้อขายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แสดงให้เห็นว่าการแจ้งการโอนดังกล่าวมิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ในอนาคตทั้งหมด แต่เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เฉพาะราย เป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะมีผลใช้ยันจำเลยได้ต่อเมื่อโจทก์ได้จดแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ดังกล่าวไว้ในใบแจ้งหนี้ที่ยื่นต่อจำเลยเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าใบรายการลูกค้า ใบวางบิล ใบส่งของชั่วคราวที่บริษัท ภ. มีไปถึงจำเลยไม่ได้ จดแจ้งเรื่องการโอนหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัท ภ. กำหนดไว้ จึงยังถือไม่ได้ว่าบริษัท ภ. ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิ เรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าดังกล่าวให้แก่จำเลยทราบแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว
of 48