คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนารมณ์กฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเอกสารประกอบการสืบพยานต้องส่งให้ถึงคู่ความอีกฝ่ายก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวันตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
การส่งสำเนาเอกสารให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวัน ก่อนวันสืบพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90 นั้น หมายความว่าส่งให้ถึงคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันสืบพยาน เพราะเป็นความประสงค์ของกฎหมายเพื่อให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อนจะได้ซักค้านพยานได้ถูกต้อง ไม่เสียเปรียบแก่กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาที่สมเหตุสมผล
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งของศาล กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นต่ำไปเป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายแก่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ธนาคารเคยรับจำนองเมื่อ 5 ปีก่อนแม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่เป็นการประมาณราคาแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้น ผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ธนาคารรับจำนอง ประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปีทรัพย์ที่ขายทอดตลาดเป็นอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินอยู่ในย่าน ทำเลการค้า ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก และเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ หากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีระหว่างการคุมขัง: ห้ามรวมโทษกับคดีอื่น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องเจตนารมณ์กฎหมาย
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ในระหว่างที่ถูกคุมขังตามอำนาจของศาลเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจฟ้องคดีนี้รวมกับคดีอื่น และไม่อาจรวมพิจารณาคดีนี้กับคดีอื่นเข้าด้วยกันได้ ต้องนับโทษของจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอื่น ๆ ทุกคดี หากนับโทษคดีนี้รวมกับคดีอื่น ๆ ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ก็เท่ากับว่าผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก 50 ปี ถ้ากระทำความผิดอีกในระหว่างที่ต้องโทษอยู่ย่อมไม่ต้องรับโทษเลย ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมาย สำหรับคดีอื่น ๆ คดีใด จำเลยจะขอปรับโทษใหม่ได้หรือไม่จำเลยชอบที่จะไปร้องขอในคดีนั้น ๆ เอง จะร้องขอเข้ามาในคดีนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3959/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย: เจตนารมณ์ของกฎหมายคือให้มีได้ครั้งเดียว เพื่อให้คดีล้มละลายดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 45 และมาตรา 61 มีเจตนารมณ์ ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ศาลต้องกำหนดวันใหม่ที่โจทก์ยังสามารถชำระได้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของโจทก์ให้ขยายระยะเวลาการวางเงิน ค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ไปอีก 15 วันโดยระบุวันเดือนปีที่ครบกำหนดไว้ด้วย ปรากฏว่าในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังนั้น ได้ล่วงเลยวันที่ครบกำหนดตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ไปแล้ว ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เพราะมีผลเท่ากับไม่ได้ขยายระยะเวลาให้โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบคำสั่งก็หมดโอกาสที่จะชำระค่าธรรมเนียมเสียแล้ว ขัดกับเจตนารมณ์ของ ป.วิ.พ.มาตรา 23 ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: คำสั่งศาลต้องไม่ทำให้โอกาสชำระค่าธรรมเนียมหมดไป
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขงโจทก์ ให้ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ไปอีก 15 วัน โดยระบุวันเดือนปีที่ครบกำหนดไว้ด้วย ปรากฏว่าในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังนั้น ได้ล่วงเลยวันที่ครบกำหนดตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ไปแล้ว ดังนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ เพราะมีผลเท่ากับไม่ได้ขยายระยะเวลาให้โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบคำสั่งก็หมดโอกาสที่จะชำระค่าธรรมเนียมเสียแล้ว ขัดกับเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถบรรทุกที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้ไม่มีบทบัญญัติริบโดยตรง
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ก็มิได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นดังนั้น เมื่อจำเลยใช้รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ประกอบด้วยมาตรา 17 การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งโจทก์ขอให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมายก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษและไม่อนุญาตให้รอการลงโทษในคดีอาวุธปืน โดยพิจารณาจากสภาพท้องที่และเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯฐานมีอาวุธปืน 4 ปี ฐานพกอาวุธปืน 1 ปี ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกรวม 2 กระทง 2 ปี 6 เดือนริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ฐานมีอาวุธปืนเป็นจำคุก 2 ปีลดโทษแล้ว จำคุก 2 กระทง 1 ปี 6 เดือนจำเลยฎีกาข้อเท็จจริงได้เฉพาะฐานมีอาวุธปืนซึ่งแก้มากฐานพกปืนฎีกาไม่ได้คดีที่จำเลยรับสารภาพตามฟ้องศาลฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อ้างในฎีกาและจำเลยมิได้แก้ฎีกาเป็นอย่างอื่นเป็นเหตุผลในการวินิจฉัย ไม่ควรรอการลงโทษได้ ในการกำหนดโทษใหม่ ศาลฎีกาลดโทษฐานอายุน้อยให้จำเลยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีป้าย: เลือกวิธีคำนวณแบบ ก. หรือ ข. แบบใดแบบหนึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีอากร
ป้ายพิพาทคำนวณพื้นที่ได้สองแบบ คือ ตามแบบ ก. หรือ แบบ ข.แบบบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ถ้าคำนวณตามแบบ ก. คือถือว่าป้ายมีขอบเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1,200 เซนติเมตรยาว 3,000 เซนติเมตร แม้ด้านบนมีตัวอักษร ที ในภาษาอังกฤษล้ำออกจากขอบเขต 75 เซนติเมตรก็ตาม จะถือว่าป้ายมีความกว้าง 1,275 เซนติเมตรไม่ได้เพราะด้านบนของตัวอักษร ที นั้นไม่ใช่ขอบเขตของป้ายตามแบบ ก. ของบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าว ถ้าคำนวณตามแบบ ข. คือถือเอาตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมายเป็นเกณฑ์ ป้ายจะมีความกว้าง 1,205 เซนติเมตร และยาว 2,650เซนติเมตร จะวัดขอบเขตของป้ายเข้าไว้ในเนื้อที่ป้ายด้วยไม่ได้ เพราะขอบเขตของป้ายมิใช่ตัวอักษร ภาพหรือเครื่องหมาย
จริงอยู่ตามบัญชีอัตราภาษีป้ายดังกล่าวไม่ได้ห้ามการคำนวณเนื้อที่ป้ายโดยวิธีคำนวณแบบ ก. และ ข. รวมกันโดยตรงก็ดี แต่พระราชบัญญัติภาษีป้ายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่แจ้งชัดเช่นนี้ ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้จะต้องเสียภาษีอากรเมื่อพิเคราะห์บัญญัติ ที่เกี่ยวข้องในพระราชบัญญัตินี้แล้วอนุมานได้ว่าเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้ คือ จะต้องประเมินภาษีป้ายโดยเลือกคำนวณเนื้อที่ป้ายเฉพาะแบบใดแบบหนึ่งในสองแบบนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เลือกคำนวณตามแบบ ก. แล้ว ก็ต้องคำนวณตามแบบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำตามพ.ร.บ.ฝิ่น: ศาลชอบวางโทษทั้งจำและปรับตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดชัดเจน
มาตรา 68 พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 เป็นบทเพิ่มโทษซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติฝิ่นซ้ำอีก หลังจากพ้นโทษในการกระทำผิดครั้งแรกไปยังไม่ครบสามปีแสดงว่าไม่เข็ดหลาบ จึงต้องเพิ่มโทษให้หนักกว่าโทษที่ลงในการกระทำความผิดครั้งแรก และเมื่อศาลได้เพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติฝิ่นแล้ว จะเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญาด้วยอันเป็นการเพิ่มโทษจำเลยถึงสองทางหาได้ไม่
การเพิ่มโทษตามมาตรา 68 พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 แม้จะมิได้บัญญัติให้วางโทษสำหรับการกระทำผิดครั้งหลังที่มีโทษจำคุกและปรับไว้ ศาลก็ชอบที่จะวางโทษทั้งจำทั้งปรับ จึงจะต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย
of 3