พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินผู้อื่น: พิจารณาเจตนาสุจริตและสิทธิการรื้อถอน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ประมาณร้อยละ 70ส่วนอีกร้อยละ 30 ปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310,1311หาใช่เป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามมาตรา 1312 ไม่ การที่จำเลยทั้งสี่ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินของโจทก์ โดยรู้ว่าไม่มีสิทธิเช่นนั้น จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านส่วนที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป และจำเลยต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนแก่โจทก์โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา หาใช่การกระทำโดยมีเจตนาสุจริตตามความหมายในคดีส่วนแพ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษที่ไม่ใช่รายจ่ายทางภาษี และการไม่มีเจตนาสุจริตในการเสียภาษี ทำให้ไม่ได้รับลดเงินเพิ่ม
แม้เงินบำเหน็จพิเศษที่ธนาคารโจทก์จ่ายให้พนักงานจะไม่มีลักษณะเป็นเงินกองทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) เพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบก็ตาม แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงาน เพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอน เงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ6 เดือนมาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงาน และบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงาน จึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริงเงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามมาตรา65 ตรี (1) ซึ่งไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงนำเงินบำเหน็จพิเศษมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้วถึงแม้จะมิได้นำมา กล่าว ในคำขอท้ายฟ้อง ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วยแล้ว การที่โจทก์ออกระเบียบว่าด้วยบำเหน็จและระเบียบว่าด้วยหลักประกันตัวพนักงาน ด้วยวิธีกำหนดให้เงินบำเหน็จพิเศษและเงินประจำตัวมีจำนวนเท่ากัน เพื่อประโยชน์ที่จะอาศัยวิธีการทางบัญชีนำเงินบำเหน็จพิเศษซึ่งมิได้มีการจ่ายมาเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยกว่าความเป็นจริงนั้น เรียกไม่ได้ว่าโจทก์และเจ้าพนักงานประเมินมีความเห็นในการตีความกฎหมายต่างกันโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์ที่ถูกทิ้งร้าง การขายเศษเหล็ก และเจตนาสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
เครื่องยนต์ ฝาสูบ และหัวสูบน้ำ ของกลางเป็นทรัพย์ที่มีผู้นำมาใช้ทำเหมืองแร่และถูกเผาทิ้งอยู่ในบริเวณเหมืองร้างไม่มีผู้ใดดูแล จำเลยได้ขายเป็นเศษเหล็กให้แก่ ส. เมื่อจำเลยทราบว่าผู้เสียหายกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์หรือรับของโจรของกลางดังกล่าว จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนอันแสดงถึงความสุจริตของจำเลย โดยจำเลยเชื่อว่าของกลางดังกล่าวเจ้าของได้ทอดทิ้ง จำเลยจึงได้ขายเป็นเศษเหล็กแก่ ส. โดยไม่มีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงเรื่องเจตนาสุจริตในการแจ้งความและแสดงข้อความต่อบุคคลที่สาม
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาว่า จำเลยแสดงข้อความในเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นการใส่ความโจทก์ต่อ ธ.โดยมุ่งหวังให้โจทก์ต้องถูกบริษัท บ. ไล่ออกจากงาน จึงไม่เป็นการแสดงข้อความเอกสารหมาย จ.1 โดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม จำเลยฎีกาว่า ธ.เป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ เป็นกรรมการและได้รับมอบอำนาจจากบริษัท บ.ให้ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลย โจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก ธ. ได้ฟ้องคดีแพ่งกลั่นแกล้งยึดทรัพย์จำเลย จนจำเลยไม่อาจทำการค้าได้และยังแจ้งความดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเช็ค นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยในที่สาธารณะเป็นเหตุให้จำเลยอับอายและเสียหาย จำเลยจึงมีสิทธิไปแจ้งความจริงที่จำเลยได้รับการกลั่นแกล้งจากโจทก์ต่อ ธ. และไปพบเกี่ยวกับหนี้สินที่จำเลยจะชำระให้แก่บริษัท บ. ทั้งนี้เพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ถือว่าจำเลยใช้สิทธิโดยสุจริต เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นการแสดงข้อความโดยสุจริตจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิของลูกหนี้ร่วมและเจตนาสุจริตของธนาคาร
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมร่วมกัน โดยตกลงชำระหนี้ให้แก่ธนาคารให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้แก่ธนาคารดังกล่าว เพื่อเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และบริษัท ย. ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ดังนี้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน หากผู้ร้องเห็นว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ ก็ชอบที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องในฐานะลูกหนี้ร่วมยังมิได้ชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 เอาที่ดินไปจำนองก็ไม่เป็นการกระทำทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้ผู้ร้องซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เสียเปรียบ ประกอบกับจำเลยที่ 1 นำที่ดินไปจำนองเพื่อกิจการค้าของห้าง ฯ และบริษัท ฯ ที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยไม่มีเหตุส่อแสดงว่าธนาคารรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตและรู้อยู่ว่า เป็นทางทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ กรณีจึงไม่เข้าข่ายที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยเปิดเผยและเจตนาสุจริตของผู้ต้องหาในคดีลักทรัพย์ ยุ้งข้าวที่เข้าใจว่าเป็นของบิดามารดา
กรณีมีเหตุอันอาจทำให้เข้าใจว่ายุ้งข้าวที่จำเลยรื้อเป็นของบิดามารดาจำเลย ทั้งปรากฏว่าจำเลยจัดการให้รื้อในเวลากลางวันต่อหน้าบุคคลหลายคนอันเป็นการกระทำโดยเปิดเผยเมื่อพนักงานสอบสวนไปถึงที่เกิดเหตุ จำเลยก็แสดงตัวยอมรับว่าเป็นผู้รื้อโดยอ้างว่ายุ้งข้าวดังกล่าวเป็นของบิดามารดาจำเลย ดังนี้ แสดงให้เห็นความบริสุทธิ์ใจของจำเลยว่าจำเลยมิได้กระทำโดยทุจริต จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยมีผลเมื่อตกลงกัน แม้กรมธรรม์จะออกภายหลัง และการตีความสัญญาต้องเป็นไปตามเจตนาสุจริต
จำเลยให้การว่า นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ส่วนใดด้วยเหตุผลอย่างใด ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆ นั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆ นั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การตีความตามเจตนาสุจริต, ขอบเขตความคุ้มครอง, และการได้รับช่วงสิทธิ
จำเลยให้การว่า นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ส่วนใดด้วยเหตุผลอย่างใด ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้ เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้นเพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัย.ซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆนั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยเมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมสัญญาประกันภัยไว้ เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้
สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน แต่ก็มิได้หมายความว่ามีข้อสัญญาอยู่เฉพาะในคำเสนอและคำสนองที่ทำเป็นหนังสือเท่านั้นเพราะถ้าเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยคือหลักฐานเป็นหนังสือเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัย.ซึ่งผู้รับประกันภัยลงลายมือชื่อมอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัย
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยเคยส่งนมข้นกระป๋องไปจำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งโดยเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ กรมธรรม์ประกันภัยครั้งพิพาทกับครั้งก่อน ๆนั้นมีข้อความเหมือนกันว่าการประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่งดังนั้น เมื่อนมข้นกระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายขณะขนลงเรือลำเลียงเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลจึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยเมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วโจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยถ้าหากมี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลัง, การใช้ก่อน, และเจตนาสุจริตของผู้ประกอบการ
โจทก์จำเลยต่างจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" สำหรับสินค้าจำพวก 11 อันได้แก่ผ้าอนามัย แต่โจทก์ก็มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CEL"เป็นเครื่องหมายชุดของโจทก์และคำว่า "CEL" เป็นคำทั่วไปอันมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ และอาจผสมกับคำอื่นๆ ได้ ประกอบกับโจทก์เพิ่งมายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องการค้าคำว่า"CELIA"เมื่อพ.ศ.2516 อันเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนถึง 1 ปี และในระหว่างนั้นเป็นเวลาที่จำเลยได้ลงทุนทั้งในการผลิต การโฆษณา และจำหน่ายสินค้าที่จำเลยจดทะเบียนว่า "CELIA" จนเป็นที่แพร่หลายแก่ประชาชนทั่วประเทศแล้ว ส่วนสินค้าของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าว่า "CELIA" ยังมิได้ผลิตออกจำหน่ายเลย ดังนี้โจทก์จะมาอ้างสิทธิดังกล่าวเพื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELIA" โดยมิให้สิทธิจำเลยจดทะเบียนนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: เจตนาสุจริตของผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นสามีของผู้ตาย เป็นบิดาผู้คัดค้าน กรณีฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาไม่สุจริตต่อผู้คัดค้านจึงเหมาะสมที่จะแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย