พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงในการซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินติดจำนอง: การพิสูจน์ความผิดฐานฉ้อโกง
แม้ที่ดินและบ้านจะติดจำนองอยู่แต่กรรมสิทธิ์ก็ยังคง เป็นของจำเลย ซึ่งหากผู้เสียหายถือว่าเรื่องดังกล่าว เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตัดสินใจที่จะซื้อหรือไม่แล้ว ก็ย่อมสามารถตรวจสอบได้จากหลักฐานทางทะเบียนที่สำนักงานที่ดินแต่กลับไม่ตรวจสอบ หลังจากทำสัญญาแล้ว ผู้เสียหายก็เข้าอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทตลอดมาโดยความยินยอมของจำเลย ทั้ง ๆ ที่ยังชำระราคาไม่ครบ ได้ความว่าผู้เสียหายได้นำเงินส่วนที่เหลือ150,000 บาท ไปชำระให้จำเลย แต่จำเลยไม่ยอมรับเงินโดยจำเลยอ้างว่าที่ดินอยู่ระหว่างแบ่งแยก ยังไม่สามารถโอนให้ได้ จึงไม่รับเงิน ซึ่งผู้เสียหายก็รับว่า ถ้าจำเลยไถ่ถอนจำนองได้ ผู้เสียหายเข้าใจว่าจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้แก่ ผู้เสียหาย จากพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวจึงยังฟังไม่ถนัดว่า จำเลยมีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อประสงค์เอาเงินมิฉะนั้นแล้วคงต้องรับเงินส่วนที่เหลือนั้นแน่นอน กรณีน่าเชื่อว่า จำเลยยังไม่สามารถนำเงินไปไถ่ถอนที่ดินแปลงใหญ่ทั้งแปลงและแบ่งแยกเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้เสียหายได้ กรณีเป็นเรื่องพิพาทกันในทางแพ่งเท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนป้ายราคาสินค้าไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวงการที่จำเลยเปลี่ยนเอาป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางซึ่งติดราคา1,785 บาทออก แล้วนำป้ายราคาโคมไฟอื่นซึ่งติดราคา 134 บาท มาติดแทนแล้วมอบให้พวกของจำเลยนำไปชำระราคาแก่พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายจึงมิใช่เอาโคมไฟตั้งโต๊ะไปโดยพลการโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายโดยทุจริต โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ราคาโคมไฟตั้งโต๊ะมีราคา 134 บาท พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายหลงเชื่อยินยอมมอบโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางให้จำเลยโดยรับเงินจากจำเลยไว้เพียง 134 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยยังผูกพัน แม้มีการโอนสิทธิการเช่าซื้อ หากเจตนาหลอกลวง และผู้รับโอนยังคงมีสิทธิเรียกร้อง
วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษรไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 9 วันก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 กรณีนี้จึงต้องตีความว่าสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กระทำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์ มี ฐานะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลย ซึ่งการตีความเช่นนี้ยังสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัย ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นด้วยกรณีถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยแล้ว สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงผูกพันคู่ความทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว โจทก์ผู้เอาประกันภัยจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยจากจำเลยผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ แม้ตามกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น แต่การที่โจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้ พ. ภริยาโจทก์ไปเพราะต้องการบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศเท่านั้น แต่หลังจากที่โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวไป โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยและเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์กับ พ. ภริยาโจทก์มิได้มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าซื้อกันจริง การโอนเป็นเพียงเจตนาลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศได้เท่านั้น สัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์ยังคงมีฐานะ เป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริงตลอดมาและยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นอยู่เช่นเดิม และแม้หากจะฟังว่าโจทก์ได้โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวไป แต่การโอนสิทธิการเช่าซื้อก็ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับโอนสิทธิการเช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว กรมธรรม์ประกันภัยนั้นจึงยังไม่สิ้นผลบังคับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนจากการหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ไม่มีสำนักงานชัดเจน และเจตนาหลอกลวงเป็นสำคัญ
การแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการดังกล่าวด้วยต้นเองมาตั้งแต่ต้นทุกครั้งเพียงแต่จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วมีการบอกต่อกันไปเป็นทอด ๆเมื่อผู้เสียหายคนหลังทราบข่าวและมาสอบถามจำเลยจำเลยได้ยืนยันแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้นและให้ผู้เสียหายไปติดต่อที่แฟลตทุกครั้ง อันถือได้ว่าเป็นสำนักงานของจำเลยกับพวก แม้จะไม่มีการประกาศรับสมัครงานปิดไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการฉ้อโกง ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 แล้ว จำเลยกับพวกมิได้เป็นผู้รับอนุญาตให้จัดหางานมิได้เป็นกรรมการหุ้นส่วนหรือผู้จัดการของผู้ได้รับอนุญาตให้จัดหางานซึ่งเป็นนิติบุคคล ประกอบกับฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่ายังไม่มีตำแหน่งงานหรืออัตรางานในประเทศบาร์เรนตามที่โฆษณาชักชวนแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายอย่างจริงจังเป็นเพียงอุบายหลอกลวงอ้างเรื่องการจัดหางานเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบค่าบริการให้จำเลยเท่านั้นไม่ต่างกับการหลอกลวงโดยอ้างเหตุอื่น ๆ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงไม่ใช่การจัดหางาน แม้รับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษได้
ที่จำเลยฎีกาว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดดังฟ้อง เพราะขาดองค์ประกอบอันจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยจึงยกขึ้นฎีกาได้
กรณีจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง นั้น ผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศ แต่ตามฟ้องคดีนี้โจทก์บรรยายว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกว่า จำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยจะได้รับค่าจ้างคนละ 40,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งผู้เสียหายทั้งหกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าบริการให้จำเลยซึ่งเป็นความเท็จเพราะความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้ จากคำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งหก คงมีแต่เจตนาหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกเพื่อที่จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายและค่าบริการจากผู้เสียหายทั้งหกเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
กรณีจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง นั้น ผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศ แต่ตามฟ้องคดีนี้โจทก์บรรยายว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกว่า จำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยจะได้รับค่าจ้างคนละ 40,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งผู้เสียหายทั้งหกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าบริการให้จำเลยซึ่งเป็นความเท็จเพราะความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้ จากคำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งหก คงมีแต่เจตนาหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกเพื่อที่จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายและค่าบริการจากผู้เสียหายทั้งหกเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงไม่ใช่เจตนาจัดหางาน ผู้กระทำจึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
ที่จำเลยฎีกาว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดดังฟ้องเพราะขาดองค์ประกอบอันจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยจึงยกขึ้นฎีกาได้ กรณีจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528มาตรา30วรรคหนึ่งนั้นผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะจัดหางานให้คนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศแต่ตามฟ้องคดีนี้โจทก์บรรยายว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกว่าจำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยจะได้รับค่าจ้างคนละ40,000บาทต่อเดือนซึ่งผู้เสียหายทั้งหกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าบริการให้จำเลยซึ่งเป็นความเท็จเพราะความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถส่งผู้เสียหายทั้งหกไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้จากคำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งหกคงมีแต่เจตนาหลอกลวงผู้เสียหายทั้งหกเพื่อที่จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายและค่าบริการจากผู้เสียหายทั้งหกเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 เมื่อการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7923/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำฟ้องไม่ชัดเจนถึงการกระทำผิดและเจตนาหลอกลวง
เหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เนื่องมาจากคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าข้อความเท็จที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้แสดงหรือข้อความจริงที่จำเลยทั้งสองในคดีนี้ปกปิดเป็นอย่างไร ทั้งไม่ได้บรรยายว่าจำเลยคนใดหลอกลวงโจทก์ให้สั่งจ่ายเช็คภายหลังที่จำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยที่ 3ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เห็นได้ว่า คำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยทั้งสองว่าได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ถือไม่ได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ตามฟ้องตามป.วิ.อ.มาตรา 39(4) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายโมฆะจากเจตนาหลอกลวง จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาและเงินมัดจำ
โจทก์มิใช่บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น หากแต่ได้บรรยายด้วยว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครั้นถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนขายให้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 คำฟ้องดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกันโดยตลอดแล้วมีความหมายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้ร่วมคิดกันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันขึ้นโดยไม่เป็นความจริงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้จำเลยที่ 1ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ข้อความตามคำฟ้องดังกล่าวชัดพอที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีได้แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 2รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1ภายหลังโดยอ้างว่าตนเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและมีสิทธิที่จะซื้อได้ก่อนโจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาไม่สุจริตสมรู้ร่วมคิดกันแสดงเจตนาลวงโดยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เงินมัดจำที่โจทก์จะต้องคืนให้แก่ ว.ผู้จะซื้อที่ดินพิพาทต่อจากโจทก์นั้น เป็นเงินที่ ว.ออกเป็นค่ามัดจำไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ว.ตามสัญญาที่ทำกันไว้ได้ โจทก์ก็ต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่ ว. และหากโจทก์ไม่ผิดสัญญาโดยสามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ได้ เงินมัดจำนี้โจทก์ก็ต้องหักเป็นเงินค่าที่ดินที่ ว.จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่ ว. จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ เงินค่าขาดกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้หรือควรจะรู้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วไปขายต่อให้ ว.จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นความเสียหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ การชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยปริยาย-สัญญาต่างตอบแทน-เจตนาหลอกลวง-การจดทะเบียนเลิกภารจำยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยเคยตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำและทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาจำเลยปิดกั้นไม่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดิน ขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินออกไปสู่ถนนสาธารณะและนำที่ดินของจำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามเดิม เพราะการที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอมนั้นเป็นการช่วยเหลือโจทก์ให้นำที่ดินไปจำนองแก่ธนาคารโดยไม่มีเจตนาที่จะยกเลิกภารจำยอมกันอย่างแท้จริงแม้โจทก์จะไม่บรรยายฟ้องว่าทางภารจำยอมกว้างยาวเท่าใดเครื่องสูบน้ำอยู่บริเวณใด ก็เป็นเพียงรายละเอียด เพราะที่ดินของจำเลยเคยจดทะเบียนตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์มาก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและวัตถุประสงค์ในการมีคูน้ำและอ่างเก็บน้ำโดยระบุว่าโจทก์จำเลยรู้ถึงวัตถุประสงค์นั้น จึงช่วยกันเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการขุดคูน้ำและทำอ่างเก็บน้ำ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นเรื่องการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในที่ดินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ไว้ด้วย จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องนั้นมีกฎหมายข้อใดบัญญัติให้โจทก์เกิดสิทธิในการใช้น้ำในสถานที่ดังกล่าวโดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางบ้างหรือไม่ หากมีบัญญัติไว้ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาปรับบทแก่คดีของโจทก์ได้ ไม่จำเป็นที่ศาลจะพิพากษาให้สิทธิโจทก์เฉพาะบทกฎหมายที่โจทก์อ้างเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 142 โจทก์และจำเลยตกลงให้มีการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนนและสร้างอ่างเก็บน้ำในที่ดินของจำเลยตามที่ จ. แนะนำโดยประสงค์จะให้บุตรทุกคนที่ จ. แบ่งปันที่ดินให้ มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรมในที่ดินของตน โดยให้บุตรทุกคนที่ได้รับแบ่งปันที่ดินเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายตามส่วนที่ได้รับที่ดินจำเลยก็ร่วมเฉลี่ยออกค่าจ้างด้วย จนการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนนและสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวแล้วเสร็จ แสดงว่าจำเลยรับรู้เจตนาของ จ. และยอมรับการกระทำของ จ. จึงมีผลเท่ากับโจทก์และจำเลยยอมรับกันโดยปริยายว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทนว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสิทธิใช้น้ำจากคูน้ำและอ่างเก็บน้ำตลอดระยะเวลาที่โจทก์และจำเลยทำเกษตรกรรมในที่ดินของตนตลอดไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิห้ามโจทก์ใช้น้ำดังกล่าว การจดทะเบียนเลิกภารจำยอมเป็นไปเพื่อช่วยเหลือโจทก์ให้สามารถนำที่ดินของโจทก์ไปจำนองแก่ธนาคารได้เท่านั้นจึงเชื่อได้ว่า มิใช่มีเจตนาจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอมเนื่องจากจะให้ภารจำยอมสิ้นไปหรือโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ให้มีภารจำยอมอีกต่อไปเพราะภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว การจดทะเบียนเลิกภารจำยอมด้วยเจตนาดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยกันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7425/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า การลอกเลียนแบบ การจดทะเบียนโดยเจตนาหลอกลวง และการเรียกค่าเสียหาย
กรณีการระบุพยานเพิ่มเติมไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาเอกสารให้ก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (เดิม) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งจะยื่นคำร้องและได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมวันที่ 19 มกราคม 2530ซึ่งได้มีการส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทั้งสองในวันเดียวกันและได้นำสืบพยานเอกสารดังกล่าวในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2530 ซึ่งเป็นการส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทั้งสองก่อนวันสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อถึง 14 วัน มิใช่เป็นกรณีเอาเปรียบจำเลยทั้งสองการที่ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
การที่จำเลยที่ 1 เดินทางไปยังเมืองฮ่องกงเพื่อติดต่อธุรกิจการค้าก็ไปพบกุญแจตรา GOLDDOOR ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าสวยดีและเป็นที่ประทับใจจึงนำตราดังกล่าวมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับกุญแจของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า GOLDDOOR ขึ้นเองแต่ไปนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาจดทะเบียน โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้าคำว่า GOLDDOOR และอักษรจีนอ่านว่า กิมหมึ่งไป๊ กับเส้นลายประดิษฐ์ตัวอักษรโรมัน GD และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้น จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีขนาดเท่ากัน มีเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรโรมัน อักษรจีน ตัวเลข และสีสันเช่นเดียวกัน การวางตำแหน่งของตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย และรูปอักษรประดิษฐ์อยู่ในตำแหน่งเดียวกันทุกอย่าง คงแตกต่างกันเพียงว่าที่กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์มีข้อความว่า MADE IN CHINA ซึ่งพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นสีแดงด้วย ส่วนกล่องบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสองไม่มีข้อความดังกล่าวซึ่งข้อความดังกล่าวพิมพ์ด้วยตัวอักษรเล็กมาก หากไม่พิจารณาโดยพินิจพิเคราะห์อย่างแท้จริงจะไม่มีทางทราบว่ากล่องใดเป็นสินค้าของโจทก์ กล่องใดเป็นสินค้าของจำเลยทั้งสอง โจทก์ส่งสินค้ากุญแจของโจทก์มาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2524 จำเลยทั้งสองเพิ่งผลิตสินค้ากุญแจของจำเลยทั้งสองออกจำหน่ายเมื่อ พ.ศ.2526 จำเลยที่ 1 ได้ไปพบเห็นสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า GOLDDOOR ที่เมืองฮ่องกง แล้วจำเลยที่ 1นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจดทะเบียนในประเทศไทย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะลวงให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้น้อยลง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง
เมื่อฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะนำสืบไม่พอให้ฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหายถึงจำนวนที่อ้างในคำฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
การที่จำเลยที่ 1 เดินทางไปยังเมืองฮ่องกงเพื่อติดต่อธุรกิจการค้าก็ไปพบกุญแจตรา GOLDDOOR ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าสวยดีและเป็นที่ประทับใจจึงนำตราดังกล่าวมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับกุญแจของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า GOLDDOOR ขึ้นเองแต่ไปนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาจดทะเบียน โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้าคำว่า GOLDDOOR และอักษรจีนอ่านว่า กิมหมึ่งไป๊ กับเส้นลายประดิษฐ์ตัวอักษรโรมัน GD และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้น จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีขนาดเท่ากัน มีเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรโรมัน อักษรจีน ตัวเลข และสีสันเช่นเดียวกัน การวางตำแหน่งของตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย และรูปอักษรประดิษฐ์อยู่ในตำแหน่งเดียวกันทุกอย่าง คงแตกต่างกันเพียงว่าที่กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์มีข้อความว่า MADE IN CHINA ซึ่งพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นสีแดงด้วย ส่วนกล่องบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสองไม่มีข้อความดังกล่าวซึ่งข้อความดังกล่าวพิมพ์ด้วยตัวอักษรเล็กมาก หากไม่พิจารณาโดยพินิจพิเคราะห์อย่างแท้จริงจะไม่มีทางทราบว่ากล่องใดเป็นสินค้าของโจทก์ กล่องใดเป็นสินค้าของจำเลยทั้งสอง โจทก์ส่งสินค้ากุญแจของโจทก์มาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2524 จำเลยทั้งสองเพิ่งผลิตสินค้ากุญแจของจำเลยทั้งสองออกจำหน่ายเมื่อ พ.ศ.2526 จำเลยที่ 1 ได้ไปพบเห็นสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า GOLDDOOR ที่เมืองฮ่องกง แล้วจำเลยที่ 1นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจดทะเบียนในประเทศไทย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะลวงให้สาธารณชนหลงผิด เป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้น้อยลง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง
เมื่อฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะนำสืบไม่พอให้ฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหายถึงจำนวนที่อ้างในคำฟ้อง ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์