คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจรจา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ถอนฟ้อง, ดุลพินิจศาล, การไม่เสียเปรียบจากการเจรจา, การขอเลื่อนคดี
โจทก์จะถอนฟ้องจำเลยหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้แต่อยู่ในดุลพินิจของศาลว่าสมควรจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่ โดยคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดี
คดียังไม่มีการนำพยานของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ โดยศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก แต่ทนายจำเลยขอเลื่อนคดี หลังจากนั้นมีการขอเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์อีกถึง 10 นัด จนถึงนัดที่โจทก์ขอถอนฟ้อง ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้ขอเลื่อนคดีด้วยเหตุที่ขอเจรจาต่อรองเพื่อตกลงกัน แม้ในที่สุดตกลงกันไม่ได้ก็หาทำให้ฝ่ายใดต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสภาพการจ้างชั่วคราวต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ โดยต้องแจ้งข้อเรียกร้องและเจรจา
แม้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันเวลาทำงานของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาพการจ้างเพียงชั่วคราวก็ตาม กรณีก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13 มาตรา 16 และมาตรา 18กล่าวคือ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบและทั้งสองฝ่ายต้องเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้อง หากเป็นที่ตกลงกันก็ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย ทั้งต้องปิดประกาศข้อตกลงดังกล่าวและนำไปจดทะเบียนตามกฎหมายดังกล่าวด้วย จึงจะถือว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงจากโจทก์และจำเลยรวบรัดเกินไป จำเลยจึงไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริง และส่งเอกสารประกอบได้ทั้งหมด ทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงไม่สมบูรณ์และครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อวิธีพิจารณา สมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจการงดสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นจากการเจรจาหลังแจ้งความฉ้อโกง ไม่ถือเป็นการข่มขู่
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์โจทก์ได้วางเงินมัดจำและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของโจทก์ แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกง แล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไปเจรจากันที่สถานีตำรวจ โดยจำเลยที่ 1ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ การที่โจทก์และเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกัน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตเพราะตนมีสิทธิในมูลหนี้นั้น อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานทางอ้อมเพื่อพิสูจน์การข่มขู่ในการเจรจาหนี้สิน แม้ขาดพยานรู้เห็น
แม้ขาดประจักษ์พยานที่รู้เห็นการข่มขู่ในขณะเจรจาแต่พยานหลักฐานประกอบเหตุการณ์หลังจากเจรจาอันได้แก่บันทึกและเช็คที่ตรวจค้นและยึดได้จากจำเลยที่ 1 ตามวันเวลาซึ่งสอดคล้องตรงกันกับที่โจทก์ร่วมได้ให้การไว้เป็นข้อสนับสนุนให้รับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่า คำของโจทก์ร่วมที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนนั้นตรงตามความเป็นจริงจำเลยที่ 1 เองก็ไม่ได้นำสืบปฏิเสธว่า ไม่เคยรับสารภาพชั้นจับกุมตามข้อกล่าวหาของเจ้าพนักงานตำรวจที่แจ้งแก่จำเลยที่ 1 หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจได้สอบข้อเท็จจริงจากโจทก์ร่วมแล้ว ทั้งในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ก็ให้การรับสารภาพตลอดข้อหาตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคง พยานหลักฐานจำเลยที่ 1ไม่สามารถหักล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับหลังในสัญญาจ้างเหมา: สัญญาเลิกเมื่อเงื่อนไขสำเร็จและเจรจาไม่เป็นผล
โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยดำเนินการผลิตและเสนอข่าวโทรทัศน์ให้แก่โจทก์โดยมีสัญญาข้อ 8 ระบุว่า "เนื่องจากผู้ว่าจ้าง (โจทก์)เป็นรัฐวิสาหกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล ระเบียบของทางราชการและกฎหมาย ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ นอกเหนืออำนาจของผู้ว่าจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ คู่สัญญาตกลงจะทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย หากการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นการเจรจาแล้วยังไม่สามารถหาข้อยุติและทำความตกลงกันได้ คู่สัญญาตกลงให้สัญญานี้เป็นอันเลิกแล้วต่อกัน โดยต่างฝ่ายจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก" หลังจากที่จำเลยได้เข้าทำการผลิตและเสนอข่าวตามสัญญาจ้างเหมาให้แก่โจทก์แล้ว ปรากฏว่าการปฏิบัติการของจำเลยได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พนักงานในสังกัดของโจทก์ จนประธานสหภาพแรงงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ใจความว่า เพื่อเป็นการยุติปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพพจน์ของโจทก์ในทางเสียหาย ขอให้บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยเร็วและให้เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตข่าวของโจทก์ด้วยนอกจากนั้นผู้บริหารของโจทก์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีการกระทำที่ไม่สมควรในการเสนอข่าวของจำเลย จึงเสนอให้ยกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยคณะกรรมการของโจทก์จึงมีการประชุมร่วมกันกับผู้บริหารและพนักงานของโจทก์เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ที่ประชุมมีมติให้โจทก์ปฏิบัติภาระกิจในการผลิตและเสนอข่าวสารด้วยตนเอง สำหรับสัญญาที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยนั้นให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป โดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลโจทก์อยู่จึงได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่ามีปัญหาเนื่องจากการจัดทำและเสนอข่าวของโจทก์ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและเดิมโจทก์ได้จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนช่วยผลิตและเสนอข่าว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาการจัดทำข่าวที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและทำให้โจทก์เสียผลประโยชน์โดยไม่สมควร จึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าว ขอโปรดนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติต่อไป ดังนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลในฐานะประธานกรรมการของโจทก์เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติ เอกสารนี้มิได้ทำขึ้นเองโดยพลการ แต่อาศัยข้อมูลและเหตุผลที่ได้รับมาจากพนักงานและผู้บริหารของโจทก์เองโดยตรง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุกล่าวหาว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเหมาที่ทำไว้กับโจทก์ จึงหาใช่เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลโจทก์ไม่ การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และมีมติกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะกระทำได้และผูกพันผู้บริหารของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติตาม การที่ผู้อำนวยการโจทก์มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้จำเลยทราบและกำหนดให้มีการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมา 8ดังกล่าวข้างต้นและตามนโยบายของรัฐบาลหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำผิดสัญญาไม่
ข้อสัญญาข้อ 8 ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญา หากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้ว ให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว โจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2532 ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจา หากภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา 3 เดือน แม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุด แต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้น โจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2532 ก็ดี และโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดี ล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไป ดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว
ตามสัญญา ข้อ 8 ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว คงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่ การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่าย การที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับ ย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้ และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้น ซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณา แต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไป เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกัน ข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้น หาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่ เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน โดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้ สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับข้อพิพาทเช็คโดยการเจรจาและออกเช็คล่วงหน้า ทำให้สิทธิฟ้องอาญาตามเช็คเดิมระงับ
จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่ผู้เสียหายเมื่อเช็คถึงกำหนดผู้เสียหายไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเนื่องจากบัญชีของจำเลยปิดแต่ได้ไปทำสัญญากับมารดาจำเลยที่สถานีตำรวจโดยมารดาจำเลยยอมชำระหนี้แทนต่อมาผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คหลังจากนั้นมารดาจำเลย ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลงผู้เสียหายจึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อมาจำเลยนำเงินไปชำระให้ผู้เสียหาย55,000บาทส่วนที่เหลือจำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้ไว้อีก2ฉบับดังนี้ถือได้ว่าผู้เสียหายกับจำเลยมุ่งหมายที่จะ ระงับข้อพิพาทโดยผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิในเงินและเช็คลงวันที่ล่วงหน้าทั้ง2ฉบับดังกล่าวสละสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขายโดยปริยาย: การเจรจาใหม่แสดงเจตนาไม่ผูกพันตามสัญญาเดิม
สัญญาซื้อขายมิได้ระบุแจ้งชัดว่าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันทีทั้งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็เห็นได้ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ณเวลาที่กำหนดการที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทโดยกำหนดโอนที่ดินภายในเดือนมกราคม2533แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญาไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้บอกกล่าวหรือเตรียมการใดๆที่จะทำการโอนที่ดินตามสัญญาทั้งได้เจรจาตกลงราคาที่พิพาทกันใหม่แต่ไม่เป็นที่ตกลงกันถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลง เลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายแล้วการที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาหรือโจทก์มีหนังสือให้ไปโอนที่พิพาทในภายหลังหามีผลว่าเป็นการยึดถือตามสัญญาเดิมอันจะทำให้สัญญาเดิมมีผลผูกพันแต่ประการใดไม่ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญาแต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายโจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโยกย้ายลูกจ้างก่อนแจ้งข้อเรียกร้องไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้จะมีการเจรจาข้อพิพาท
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา31วรรคแรกห้ามมิให้นายจ้าง โยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับ ข้อเรียกร้อง เฉพาะเมื่อมีการแจ้งข้อเรียกร้องและข้อเรียกร้องนั้นอยู่ในระหว่างการเจรจาการไกล่เกลี่ยหรือชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเมื่อผู้ร้องมีคำสั่งโยกย้ายผู้คัดค้านไปทำงานในตำแหน่งใหม่ก่อนมีการยื่นข้อเรียกร้องการที่ผู้ร้องมีหนังสือเตือนผู้คัดค้านให้ไปทำงานในตำแหน่งใหม่แม้จะอยู่ใน ระหว่างการเจรจาข้อพิพาทก็เป็นการเตือนถึงคำสั่งที่โยกย้ายก่อนมีการแจ้งข้อเรียกร้องจึงไม่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและฐานะส่วนตัวในการซื้อขาย กรณีจำเลยที่ 2 เจรจาซื้อดินก่อนบริษัทจดทะเบียน
จำเลยที่ 2 ตกลงเรื่องถมดินกับโจทก์ประมาณเดือนมีนาคม 2531 แต่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 ดังนั้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ไปเจรจาซื้อที่ดินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำในฐานส่วนตัวเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่มีตัวตน แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพราะจำเลยที่ 2 รับราชการอยู่ จึงให้ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และในทางปฏิบัติจำเลยที่ 2เป็นผู้บริหารงานและดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 และหลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจำเลยที่ 2 ได้ซื้อดินจากโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนจำพวกจำพวกจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนนี้เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเจรจาให้เงินเพื่อออกจากที่ดินสาธารณะ ไม่ถือเป็นการข่มขู่หรือข่มเหง
ก่อนเกิดเหตุ ท.ได้ให้ผู้ตายไปบอกจำเลยให้ขนย้ายบริวารออกไปจากที่ดินป่าซายเลนซึ่งเป็นที่ดินของทางราชการที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ และที่ดินแปลงดังกล่าวทางราชการได้ให้บุคคลอื่นเช่าไปแล้ว โดยเสนอให้เงินจำเลยจำนวน 60,000 บาท โดยมี พ.กับนายดาบตำรวจ บ.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไปด้วย และบุคคลทั้งสามไม่มีอาวุธปืนติดตัว ผู้ตายยืนพูดกับจำเลยบริเวณหน้า-ประตูบ้านจำเลย ส่วน พ.และนายดาบตำรวจ บ.ยืนห่างผู้ตายประมาณ 10 เมตรซึ่งเป็นบริเวณนอกบ้านจำเลย ที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านอยู่ก็มีบุคคลอื่นเช่าแล้วจำเลยจึงอยู่อาศัยในที่ดินแปลงดังกล่าวโดยไม่มีสิทธิโดยชอบ การพูดจาระหว่างจำเลยกับผู้ตายน่าจะพูดถึงเงินจำนวน 60,000 บาท ที่เสนอให้ด้วย และการที่พ.กับนายดาบตำรวจ บ.ไปด้วยก็เป็นการไปเป็นเพื่อด้วยเท่านั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่กระทำไปโดยสมควร ไม่มีลักษณะเป็นการข่มขู่แต่อย่างใดจึงไม่ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
of 7