พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดโรคประจำตัวก่อนทำประกันภัยทำให้สัญญามีโมฆียะและจำเลยมีสิทธิบอกล้างได้
ล. รู้ตัวว่าตนเป็นโรคไตวายร้ายแรง แต่ละเว้นไม่เปิดเผยความจริงทำให้จำเลยเข้าทำสัญญายอมรับประกันชีวิตล. โดยไม่ทราบการเป็นโรคไตร้ายแรงดังกล่าว ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 เมื่อจำเลยบอกล้างภายในกำหนดแล้ว สัญญาย่อมตกเป็น โมฆะ ดังนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประโยชน์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชยยังต้องจ่าย แม้มีระเบียบเลิกจ้างได้ เหตุเจ็บป่วยไม่ใช่ความผิด
แม้มีระเบียบของจำเลยให้อำนาจจำเลยปลดลูกจ้างที่ลาป่วยเกินระยะเวลาที่กำหนดออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างดังกล่าวได้เท่านั้นดังนี้การที่ พ. ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ก็เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของ พ.จึงถือไม่ได้ว่าพ. กระทำการฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งของจำเลย แม้จำเลยเลิกจ้าง พ. โดยมีหนังสือตักเตือนก่อนแล้วก็ตาม จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ พ. เมื่อเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ให้ความหมายของ "ค่าชดเชย" ไว้ว่า เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง(บำเหน็จ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่ พ. ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้นมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณตามที่ระบุในระเบียบ กำหนดให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี และมิได้ออกจากงานเพราะกระทำผิดหรือเหตุอื่น ๆ ที่ระบุในระเบียบดังนี้การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง จึงมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณแตกต่างจากค่าชดเชยและถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากเจ็บป่วย: ศาลมีอำนาจพิจารณายกคำร้องได้หากไม่มีเหตุสมควรและมีพฤติการณ์หลบหนี
จำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเพราะเหตุจำเลยเจ็บป่วยไม่สามารถมาศาลได้ถ้าตามพฤติการณ์และการดำเนินคดีของจำเลยรวมทั้งใบรับรองแพทย์ น่าเชื่อว่าจำเลยเจ็บป่วยไม่สามารถมาศาลตามวันนัดได้จริง ศาลก็มีอำนาจให้เลื่อนการพิจารณาคดี โดยไม่ต้องทำการไต่สวนคำร้อง แต่ถ้าตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่มีเหตุสมควร เช่น ใบรับรองแพทย์ไม่ระบุแจ้งชัดว่าจำเลยเจ็บป่วยสมควรให้พักผ่อน และขอเลื่อนคดีบ่อยครั้งโดยอ้างสาเหตุเดิม ศาลก็ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอเลื่อนคดี โดยไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนคำร้องเช่นกัน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีดจนเป็นอันตรายสาหัส พิจารณาจากระยะเวลาเจ็บป่วยและความสามารถในการประกอบอาชีพ
ผู้เสียหายถูกแทงด้วยมีดปลายแหลมที่หน้าอกซ้าย หากปลายมีดเข้าไปถึงหัวใจหรือหลอดลมใหญ่และไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจถึงแก่ความตายได้ผู้เสียหายรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 8 วัน แล้วกลับมารักษาตัวที่บ้านอีก 1 เดือนแผลภายนอกหาย แต่ภายในยังเจ็บและเสียวอยู่ ผู้เสียหายต้องเลิกอาชีพรับจ้างไปทำงานอย่างอื่น เพราะไม่สามารถทำงานหนักต่อไปได้ ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เสียหายต้องเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตเนื่องจากเจ็บป่วย แต่ไม่แจ้งความจริง ศาลพิจารณาว่าไม่เป็นเหตุให้บอกล้างสัญญาได้
ท. เคยถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงได้รับบาดเจ็บกระสุนปืนเข้ากระดูกสันหลัง ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ท. ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับจำเลย ก่อนทำสัญญาประกันชีวิต แพทย์ตรวจร่างกาย ท.และมีความเห็นว่า ท. มีสุขภาพปกติเหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไปต่อมารถบรรทุกชนรถจักรยานยนต์ที่ ท.ขับขี่ท. ถึงแก่กรรมดังนี้ จำเลยมิได้นำสืบว่าอาการบาดเจ็บที่ ท. ได้รับมาจากการถูกยิงจะเป็นสาเหตุให้ ท. ถึงแก่กรรมเร็วกว่าระยะเวลาในสัญญาประกันชีวิต และเหตุที่ ท. ถึงแก่กรรมก็มิใช่เกิดจากอาการบาดเจ็บที่เคยได้รับจากการถูกยิง ฉะนั้น การที่ ท. มิได้แถลงว่าเคยเจ็บป่วยเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจึงไม่อาจอนุมานได้ว่าถ้า ท. เปิดเผยความจริงเช่นนั้นจะจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น อันจะทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ จำเลยจึงบอกล้างสัญญาประกันชีวิตไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากลาป่วยเกินกำหนด และการจ่ายค่าชดเชย กรณีเจ็บป่วยเรื้อรัง
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยการลากำหนดให้พนักงานที่ลาป่วยครบกำหนดโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนแล้วจำเป็นต้องรักษาตัวต่อไปมีสิทธิลาต่อได้ไม่เกิน120วันโดยไม่ได้รับเงินเดือนแต่หากยังลาต่อไปอีกจำเลยปลดออกจากงานได้ดังนี้เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานจำเลยได้ลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนจนครบกำหนดแล้วและหยุดงานเกินกว่า120วันต่อมาอีกจำเลยให้โจทก์ออกจากงานระบุว่าโจทก์ป่วยเป็นโรคประสาทเรื้อรังจึงไม่ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีไม่ใช่ให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันที่ศาลแรงงานกลางอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดงานดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำสั่งเลิกจ้างทั้งการที่โจทก์ไม่ยื่นใบลาหลังครบกำหนดลาป่วยแล้วก็มิใช่กรณีที่โจทก์ทำผิดอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลยจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนจากการประสบอันตราย/เจ็บป่วยเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54 กำหนดว่า เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนและหากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะของร่างกายหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ก็ให้คิดค่าทดแทนเทียบอัตราส่วนตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยเห็นได้ว่าค่าทดแทนนี้นอกจากเป็นการบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้าง ในกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะแล้วยังให้ทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างได้สูญเสียอวัยวะของร่างกาย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้างด้วยและประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีเจตนารมณ์คุ้มครองลูกจ้าง โดยกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงาน เพื่อทดแทนการสูญเสียเหล่านั้นโดยตรง มิใช่ให้จ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากของลูกจ้างในระหว่างที่ไม่สามารถทำงานได้
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้วในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนการผิดนัดของจำเลย ย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน
ค่าทดแทนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับสามารถคำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน เพียงแต่กำหนดให้มีระยะเวลาการจ่ายไว้ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันได้นายจ้างอาจจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนก็ได้การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงการผ่อนคลายภาระของนายจ้างและเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างและครอบครัวในการครองชีพมิให้เดือดร้อนระหว่างที่ปฏิบัติงานไม่ได้เท่านั้น
ลูกจ้างถูกตู้บรรจุสินค้าทับมือขวากระดูกหัก 4 นิ้วในขณะทำการขนส่งสินค้าให้นายจ้างต่อมาลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคตับและไตวายสิทธิเรียกร้องในเงินทดแทนเพราะเหตุที่ต้องสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะและค่าสูญเสียอวัยวะของร่างกาย ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่คำนวณได้แน่นอนมิใช่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างแต่เป็นสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินย่อมเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวมิได้ขอให้จ่ายแก่ทายาทของผู้ตายด้วยเงินทดแทนรายนี้เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาท ซึ่งทายาทแต่ละคนอาจเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 หากจะมีทายาทอื่นที่มีสิทธิได้รับมรดกรายนี้ก็เป็นกรณีที่จะต้องไปเรียกร้องกับโจทก์ต่อไปที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทของลูกจ้างผู้ตายด้วยจึงนอกคำขอของโจทก์
พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเป็นรายเดือนการผิดนัดของจำเลย ย่อมเกิดขึ้นในแต่ละเดือนที่จำเลยมีหน้าที่จ่ายเงินทดแทน มิใช่ตกเป็นผู้ผิดนัดในยอดเงินค่าทดแทนทั้งจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตโมฆียะ: การปกปิดอาการเจ็บป่วยและการพิจารณาความสำคัญของข้อมูล
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต สภาพแห่งข้อหาคือสัญญาประกันชีวิต คำขอบังคับคือจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้อง ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือการที่จำเลยรับประกันชีวิต ร.ผู้ตายโดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และ ร.ตายโดยอุบัติเหตุ โจทก์ได้บรรยายฟ้องในข้อที่กล่าวนี้ชัดแจ้งถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ ส่วนข้อที่ว่าสัญญาเป็นโมฆียะและจำเลยบอกล้างแล้ว เป็นเรื่องที่จำเลยจะยกขึ้นปฏิเสธฟ้องโจทก์ ซึ่งถ้าหากจำเลยยกขึ้นก็เป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องกล่าวโดยแจ้งชัดถึงข้อเท็จจริงที่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หาใช่หน้าที่ของโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแก้คำให้การของจำเลยไว้ล่วงหน้าไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้ตายมิได้ป่วยด้วยโรคหืด หลอดลมหรือคออักเสบมาก่อน หรือหากเคยป่วยโดยโรคดังกล่าวมาก่อนก็มีเหตุหลายประการดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องที่ทำให้สัญญาไม่เป็นโมฆียะ จึงเป็นการบรรยายเกินเลยจากที่กฎหมายบังคับ แม้ข้อที่ว่า ร.ป่วยจริงหรือไม่ โจทก์ยกขึ้นอ้างขัดกันก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม
ผู้ตายมิได้เป็นโรคหืด แต่มีอาการหอบหืดซึ่งเป็นอาการของการแพ้อากาศ และอาการดังกล่าวได้หายไปก่อนที่ผู้ตายยื่นคำขอเอาประกันชีวิตแล้ว ผู้ตายไปตรวจและรับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นครั้งคราวด้วยเรื่องหวัดและแพ้อากาศ ซึ่งมิใช่โรคที่ระบุในแบบสอบถามให้ผู้ขอเอาประกันชีวิตตอบ เห็นได้ว่าหากจำเลยทราบถึงการที่ผู้ตายเคยไปตรวจและรับการรักษาที่โรงพยาบาลและประวัติการเจ็บป่วยของผู้ตายดังกล่าวแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิตผู้ตายหรือเรียกเบี้ยประกันภัยให้สูงขึ้น การที่ผู้ตายได้แจ้งในแบบสอบถามขณะเอาประกันชีวิตว่า ไม่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเคยปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคหรืออาการของโรคหืด จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
ผู้ตายมิได้เป็นโรคหืด แต่มีอาการหอบหืดซึ่งเป็นอาการของการแพ้อากาศ และอาการดังกล่าวได้หายไปก่อนที่ผู้ตายยื่นคำขอเอาประกันชีวิตแล้ว ผู้ตายไปตรวจและรับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นครั้งคราวด้วยเรื่องหวัดและแพ้อากาศ ซึ่งมิใช่โรคที่ระบุในแบบสอบถามให้ผู้ขอเอาประกันชีวิตตอบ เห็นได้ว่าหากจำเลยทราบถึงการที่ผู้ตายเคยไปตรวจและรับการรักษาที่โรงพยาบาลและประวัติการเจ็บป่วยของผู้ตายดังกล่าวแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิตผู้ตายหรือเรียกเบี้ยประกันภัยให้สูงขึ้น การที่ผู้ตายได้แจ้งในแบบสอบถามขณะเอาประกันชีวิตว่า ไม่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเคยปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคหรืออาการของโรคหืด จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตไม่เป็นโมฆียะ แม้ผู้เอาประกันเคยรักษาอาการแพ้และหวัด ไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคหืดโดยตรง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต สภาพแห่งข้อหาคือสัญญาประกันชีวิต คำขอบังคับคือจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือการที่จำเลยรับประกันชีวิตร.ผู้ตายโดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์และร.ตายโดยอุบัติเหตุโจทก์ได้บรรยายฟ้องในข้อที่กล่าวนี้ชัดแจ้งถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ ส่วนข้อที่ว่าสัญญาเป็นโมฆียะและจำเลยบอกล้างแล้ว เป็นเรื่องที่จำเลยจะยกขึ้นปฏิเสธฟ้องโจทก์ซึ่งถ้าหากจำเลยยกขึ้นก็เป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องกล่าวโดยแจ้งชัดถึงข้อเท็จจริงที่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ หาใช่หน้าที่ของโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแก้คำให้การของจำเลยไว้ล่วงหน้าไม่ฉะนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้ตายมิได้ป่วยด้วยโรคหืดหลอดลมหรือคออักเสบมาก่อน หรือหากเคยป่วยโดยโรคดังกล่าวมาก่อนก็มีเหตุหลายประการดังที่โจทก์บรรยายในฟ้องที่ทำให้สัญญาไม่เป็นโมฆียะ จึงเป็นการบรรยายเกินเลยจากที่กฎหมายบังคับ แม้ข้อที่ว่า ร.ป่วยจริงหรือไม่โจทก์ยกขึ้นอ้างขัดกันก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม
ผู้ตายมิได้เป็นโรคหืด แต่มีอาการหอบหืดซึ่งเป็นอาการของการแพ้อากาศ และอาการดังกล่าวได้หายไปก่อนที่ผู้ตายยื่นคำขอเอาประกันชีวิตแล้ว ผู้ตายไปตรวจและรับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นครั้งคราวด้วยเรื่องหวัดและแพ้อากาศซึ่งมิใช่โรคที่ระบุในแบบสอบถามให้ผู้ขอเอาประกันชีวิตตอบ เห็นได้ว่าหากจำเลยทราบถึงการที่ผู้ตายเคยไปตรวจและรับการรักษาที่โรงพยาบาลและประวัติการเจ็บป่วยของผู้ตายดังกล่าวแล้วก็ไม่เป็นเหตุจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิตผู้ตายหรือเรียกเบี้ยประกันภัยให้สูงขึ้น การที่ผู้ตายได้แจ้งในแบบสอบถามขณะเอาประกันชีวิตว่า ไม่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเคยปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคหรืออาการของโรคหืด จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
ผู้ตายมิได้เป็นโรคหืด แต่มีอาการหอบหืดซึ่งเป็นอาการของการแพ้อากาศ และอาการดังกล่าวได้หายไปก่อนที่ผู้ตายยื่นคำขอเอาประกันชีวิตแล้ว ผู้ตายไปตรวจและรับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นครั้งคราวด้วยเรื่องหวัดและแพ้อากาศซึ่งมิใช่โรคที่ระบุในแบบสอบถามให้ผู้ขอเอาประกันชีวิตตอบ เห็นได้ว่าหากจำเลยทราบถึงการที่ผู้ตายเคยไปตรวจและรับการรักษาที่โรงพยาบาลและประวัติการเจ็บป่วยของผู้ตายดังกล่าวแล้วก็ไม่เป็นเหตุจูงใจให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิตผู้ตายหรือเรียกเบี้ยประกันภัยให้สูงขึ้น การที่ผู้ตายได้แจ้งในแบบสอบถามขณะเอาประกันชีวิตว่า ไม่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเคยปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคหรืออาการของโรคหืด จึงไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากเจ็บป่วย/ถอนทนาย และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าตัวโจทก์ป่วยและทนายโจทก์มีความคิดเห็นในการดำเนินคดีขัดแย้งกับตัวโจทก์ หากดำเนินคดีให้แก่ตัวโจทก์ต่อไปจะเกิดความเสียหายได้ ทนายโจทก์จึงขอถอนตัวจากคดี คำร้องดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความขอเลื่อนคดี ก็เท่ากับเป็นการขอเลื่อนคดีอยู่ในตัว ศาลชั้นต้น สั่งให้ทนายโจทก์ส่งสำเนาคำร้องให้โจทก์ทราบก่อน แล้วศาล จะได้สั่งคำร้องในภายหลัง ศาลชั้นต้นจึงชอบที่ จะดำเนิน กระบวนพิจารณาในเรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 เสียก่อน ทั้งใน วันนั้นทนายจำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเป็นครั้งแรก เพราะ ความเจ็บป่วย ซึ่งศาลควรจะต้องสั่งเลื่อนคดีตาม มาตรา 40 อยู่แล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และนัดสืบพยานจำเลยต่อไปจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ คดีก็ไม่ ต้องห้าม อุทธรณ์ฎีกา และเป็นกรณีแตกต่างกับการที่ ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจ สั่งให้เลื่อนหรือไม่ให้เลื่อนคดี ซึ่งคู่ความที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่ง ระหว่างพิจารณาดังกล่าวจะต้องโต้แย้งคำสั่งศาลไว้จึงจะมีสิทธิ อุทธรณ์ฎีกา