คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของรวม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมและหน้าที่ส่งมอบโฉนดที่ดิน แม้โฉนดอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้แต่ต้องไม่ขัดสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยนำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโฉนดที่ดินอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น จำเลยย่อมต้องมีหน้าที่ดำเนินการนำโฉนดที่ดินมาเพื่อมอบแก่โจทก์จนได้ กรณีไม่ใช่สภาพหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ และการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่ ร. ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ไม่ต้องขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดแก่โจทก์ได้ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสองนั้น ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมมีสิทธิใช้สอยที่ดินร่วมกัน จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบโฉนดคืนให้โจทก์เพื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้นำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการนำโฉนดที่ดินคืนมาเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก เจ้าของรวมสิทธิใช้ร่วมกัน การแบ่งแยกทรัพย์สินและอายุความ
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดที่ดิน มีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกัน และเจ้าของรวมคนอื่นๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้นๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยัง ก. เจ้าของรวมว่า ไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์แทน ก. อีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เมื่อจำเลยทั้งห้ามมิได้บอกกล่าว จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทน ก. ผู้มีสิทธิครอบครองได้และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
อุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและแจ้งเจ้าของรวม มิฉะนั้นไม่เกิดสิทธิ
จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ม. แบ่งที่ดินมรดกแก่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของ ม. โดยให้เป็นของจำเลยที่ 1 จำนวน 2 ไร่ 3 งาน5 ตารางวา และของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา คิดเป็นเงินรวม313,833.32 บาท แม้จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แยกกันเพราะเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งห้าตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมีราคา 313,833.32 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องแย้งจึงมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ละส่วนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งห้าได้ให้การในตอนต้นว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว แต่จำเลยทั้งห้าก็ให้การอีกตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของ ก. ด้วยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ว่าม. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคนเดียวมิใช่ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งมีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่น ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ทายาทผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้บอกกล่าวไปยัง ก. ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน ก. อีกต่อไปตามมาตรา 1381 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทนผู้มีสิทธิครอบครองได้ และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
ท้ายอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดีไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และมาตรา 167 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7662/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวม-การใช้ประโยชน์ที่ดิน-การฟ้องขับไล่-การใช้สิทธิขัดต่อสิทธิผู้อื่น
โจทก์ ป.น. และ ศ. ยังไม่มีการแบ่งแยกการครอบครองออกเป็นส่วนสัดในที่ดินกรรมสิทธิ์รวม แต่การใช้ทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมของ ศ. ต้องเป็นการใช้ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของตนเอง การที่ ศ. อนุญาตให้จำเลยใช้ที่ดินปลูกบ้าน นอกจากจะมิใช่เป็นการใช้ทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของตนเองตามสภาพปกติแล้วยังเป็นการใช้ที่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ จึงไม่มีสิทธิทำได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกจำกัดจากคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อน การฟ้องคดีใหม่ต้องไม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ต่อศาลแพ่งว่า จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ซึ่งคดีดังกล่าวโจทก์ให้การว่า จำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1เป็นตัวแทน จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วน การที่จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ โดยพิพากษาให้เพิกถอนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของจำเลยที่ 3 จำนวน 3 ใน 7 ส่วน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท และให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องร้องกันโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นร่วมกับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาลวงและฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ในการฟ้องขอให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลง สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247และกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางร่วมกับเจ้าของรวม การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด
โจทก์ จำเลยที่ 2 และธ . ทำกำแพงพิพาทเป็นรั้วยาวตลอดแนวเขตด้านทิศตะวันตกของที่ดินแปลงใหญ่ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมกัน เพื่อปิดกั้นมิให้บุคคลภายนอกและที่ดินแปลงอื่นทางด้านทิศตะวันตกเข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดิน
แปลงใหญ่ หลังจากนั้นได้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงใหญ่เป็น 4 แปลง โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง และยังคงถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงที่เหลือเพราะประสงค์จะใช้เป็นทางส่วนบุคคลเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับที่ดินที่แต่ละคนต่างเป็นเจ้าของ โดยมิได้รื้อถอนกำแพงพิพาททางด้านทิศตะวันตกของที่ดินแปลงที่เหลือดังกล่าว แล้ว ธ. ยกที่ดินของตนและที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์รวามให้แก่จำเลยที่ 1 การที่โจทก์ซึ่งได้รับยกให้ที่ดินแปลงที่ติดกับกำแพงพิพาททางด้านทิศตะวันตกขอให้จำเลยทั้งสองเปิดแนวกำแพงพิพาทเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับที่ดินแปลงที่ตนได้รับยกให้ ไม่เป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์ซึ่งเจ้าของรวมทุกคนต้องเห็นชอบด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสุดท้าย เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยินยอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เปิดแนวกำแพงพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมตกลงใช้ทางร่วม การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด
โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 2103 มาโดยทำกำแพงพิพาทเป็นรั้วยาวตลอดแนวเขตเฉพาะทางด้านทิศตะวันตก เพื่อปิดกั้นมิให้บุคคลภายนอกเข้ามายุ่งเกี่ยว ต่อมาเมื่อมีการแบ่งที่ดินออกเป็น 4 แปลง โดยโจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. เป็นเจ้าของคนละ 1 แปลง แล้ว โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ยังถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกคือโฉนดเลขที่ 117913 ซึ่งอยู่ติดกับแนวกำแพงพิพาท โดยมิได้มีการรื้อถอนกำแพงพิพาทเพราะประสงค์จะใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 117913 เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ซึ่ง ธ. ได้จดทะเบียนให้ส่วนของ ธ. แก่จำเลยที่ 1 ในเวลาต่อมาเท่านั้น แม้ต่อมาโจทก์จะเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 193899 ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่การที่โจทก์ขอให้เปิดแนวกำแพงพิพาทบริเวณด้านหน้าของที่ดินดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 193899 ด้วย จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์ซึ่งเจ้าของรวมทุกคนต้องเห็นชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสุดท้าย มิได้เป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 1360 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่ยินยอมให้ที่ดินแปลงอื่นของโจทก์มาใช้ประโยชน์ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เปิดแนวกำแพงพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนเจ้าของรวม: สิทธิทำพินัยกรรมเฉพาะส่วนของตนโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
ผู้ตายกับผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361และมาตรา 1646 โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทางจำเป็น: เจ้าของรวมคนหนึ่งต่อสู้แทนเจ้าของรวมอื่นได้ แม้ไม่ได้ฟ้องร่วมกัน
จำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดร่วมกับ จ. การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยกับ จ. ไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และถือเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้โจทก์ทั้งเจ็ดมิได้ฟ้อง จ. ด้วย ผลแห่งคดีย่อมต้องผูกพันถึง จ. โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้
of 28