พบผลลัพธ์ทั้งหมด 264 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคา, การกระทำที่ไม่สุจริต, และสิทธิเจ้าของร่วม
แม้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนง... และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 ได้สิ้นอายุการใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2535 แต่ต่อมาเมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ประกาศใช้ อันมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับ พ.ร.ฎ.ฉบับก่อน ซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง... พ.ศ.2530 เพื่อประโยชน์ในการสร้างทางพิเศษสายพระโขนง - หัวลำโพง - บางซื่อ และสายสาธร - ลาดพร้าวยังไม่แล้วเสร็จ การออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 เป็นการออกเพื่อดำเนินการในกิจการเดียวกันกับพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนง...พ.ศ.2530และต่อมาวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสาธร -ลาดพร้าว (บริเวณโรงซ่อมบำรุง) กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ดังนั้น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จำเลยที่ 2กระทำโดยมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ทั้งสองได้ตามมาตรา 10แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกินกว่าระยะวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ เมื่อปรากฏตามสำเนาหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนในตอนท้ายของข้อความในบรรทัดที่ 17 ของสำเนาเอกสารดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองอ้างส่งศาลมีข้อความประทับไว้ว่า รับเรื่องแล้ว โดยมีลายมือชื่อผู้รับและผู้ส่งกับวันที่รับหนังสือคือวันที่ 8 เมษายน 2536 นอกจากนี้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536ที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน2536 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 60 วัน ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 ตามเอกสารหมายจ.7 อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 เมื่อการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 กระทำโดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงชอบด้วย พร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2535 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึง มาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เจ้าของที่ดินได้ทำการพัฒนาที่ดินภายหลังที่ทราบว่ามีพ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อให้ที่ดินมีความเจริญขึ้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนที่พัฒนาให้เจริญขึ้น นั้น
โจทก์กับเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งมีที่ดินอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงพ.ศ.2530 และตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... ได้ร่วมกันทำการแบ่งแยกที่ดินและทำทางเข้าออกที่ดินในบริเวณดังกล่าวในขณะที่รู้อยู่แล้วว่าที่ดินเหล่านั้นจะต้องถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และโดยมีเจตนาในการแบ่งแยกที่ดินและใช้ส่วนหนึ่งของที่ดินที่แบ่งแยกนั้นสร้างทางลูกรังขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าที่ดินส่วนมากในบริเวณนั้นอยู่ติดทางเพื่อให้ได้เงินค่าทดแทนที่ดินมากขึ้นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากกำหนดเงินค่าทดแทนของโจทก์โดยถือว่า ที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์มีสภาพและที่ตั้งในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับอยู่ติดกับทางลูกรังที่ฝ่ายโจทก์กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคม กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนในคดีนี้มีด้านหนึ่งอยู่ติดทางหรืออยู่ติดถนนสาธารณะ
สภาพที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลงของโจทก์ในขณะที่ถูกเวนคืนยังไม่ได้รับการพัฒนา และไม่มีถนนหรือทางสาธารณะเข้าถึงที่ดินทั้งสองแปลงการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนโดยถือตามราคาบัญชีประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งได้ประเมินราคาที่ดินเป็นรายแปลง โดยทางราชการได้สำรวจถึงสภาพทำเลและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ ตลอดจนนำราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินและข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ประกอบในการพิจารณาประเมินราคาที่ดิน โดยคำนึงถึงราคาในขณะประกาศใช้และราคาในอนาคตตามสภาพความเจริญของที่ดินเป็นเกณฑ์ ตามบัญชีประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าว กรมที่ดินได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2538 กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ใช้ราคาประเมินของที่ดินที่อยู่ติดซอยตารางวาละ 30,000 บาทและที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ซึ่งเป็นที่ดินทางภาระจำยอมตารางวาละ 15,000 บาทซึ่งเชื่อได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.มีผลบังคับใช้ ตารางวาละไม่เกิน 30,000 บาท ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ตารางวาละ30,000 บาท จึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) อันเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
ส่วนการที่ที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 เป็นที่ดินที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่น 13 แปลง โดยการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงต้องรับผลเสียอันเกิดจากการจดทะเบียนภาระจำยอมของที่ดินแปลงนี้เอง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ตารางวาละ 15,000 บาท เพราะสภาพที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินแปลงอื่นนั้น เป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งสองแปลงที่ถูกเวนคืน และโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นโดยบรรยายฟ้องถึงสิทธิในที่ดินและความเสียหายของโจทก์ทั้งสองรวมกันมา มิได้ระบุแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน และเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในที่ดินที่จะต้องเวนคืนในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวม การคิดค่าขึ้นศาลในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคำนวณรวมกันจากจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง โจทก์ทั้งสองจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1)(ก) การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นคนละ200,000 บาท จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย ศาลให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นในส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์ทั้งสอง.
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกินกว่าระยะวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ เมื่อปรากฏตามสำเนาหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนในตอนท้ายของข้อความในบรรทัดที่ 17 ของสำเนาเอกสารดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองอ้างส่งศาลมีข้อความประทับไว้ว่า รับเรื่องแล้ว โดยมีลายมือชื่อผู้รับและผู้ส่งกับวันที่รับหนังสือคือวันที่ 8 เมษายน 2536 นอกจากนี้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536ที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน2536 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 60 วัน ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 ตามเอกสารหมายจ.7 อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 เมื่อการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 กระทำโดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงชอบด้วย พร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2535 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึง มาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เจ้าของที่ดินได้ทำการพัฒนาที่ดินภายหลังที่ทราบว่ามีพ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อให้ที่ดินมีความเจริญขึ้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนที่พัฒนาให้เจริญขึ้น นั้น
โจทก์กับเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งมีที่ดินอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงพ.ศ.2530 และตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... ได้ร่วมกันทำการแบ่งแยกที่ดินและทำทางเข้าออกที่ดินในบริเวณดังกล่าวในขณะที่รู้อยู่แล้วว่าที่ดินเหล่านั้นจะต้องถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และโดยมีเจตนาในการแบ่งแยกที่ดินและใช้ส่วนหนึ่งของที่ดินที่แบ่งแยกนั้นสร้างทางลูกรังขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าที่ดินส่วนมากในบริเวณนั้นอยู่ติดทางเพื่อให้ได้เงินค่าทดแทนที่ดินมากขึ้นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากกำหนดเงินค่าทดแทนของโจทก์โดยถือว่า ที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์มีสภาพและที่ตั้งในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับอยู่ติดกับทางลูกรังที่ฝ่ายโจทก์กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคม กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนในคดีนี้มีด้านหนึ่งอยู่ติดทางหรืออยู่ติดถนนสาธารณะ
สภาพที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลงของโจทก์ในขณะที่ถูกเวนคืนยังไม่ได้รับการพัฒนา และไม่มีถนนหรือทางสาธารณะเข้าถึงที่ดินทั้งสองแปลงการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนโดยถือตามราคาบัญชีประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งได้ประเมินราคาที่ดินเป็นรายแปลง โดยทางราชการได้สำรวจถึงสภาพทำเลและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ ตลอดจนนำราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินและข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ประกอบในการพิจารณาประเมินราคาที่ดิน โดยคำนึงถึงราคาในขณะประกาศใช้และราคาในอนาคตตามสภาพความเจริญของที่ดินเป็นเกณฑ์ ตามบัญชีประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าว กรมที่ดินได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2538 กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ใช้ราคาประเมินของที่ดินที่อยู่ติดซอยตารางวาละ 30,000 บาทและที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ซึ่งเป็นที่ดินทางภาระจำยอมตารางวาละ 15,000 บาทซึ่งเชื่อได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.มีผลบังคับใช้ ตารางวาละไม่เกิน 30,000 บาท ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ตารางวาละ30,000 บาท จึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) อันเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
ส่วนการที่ที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 เป็นที่ดินที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่น 13 แปลง โดยการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงต้องรับผลเสียอันเกิดจากการจดทะเบียนภาระจำยอมของที่ดินแปลงนี้เอง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ตารางวาละ 15,000 บาท เพราะสภาพที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินแปลงอื่นนั้น เป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งสองแปลงที่ถูกเวนคืน และโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นโดยบรรยายฟ้องถึงสิทธิในที่ดินและความเสียหายของโจทก์ทั้งสองรวมกันมา มิได้ระบุแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน และเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในที่ดินที่จะต้องเวนคืนในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวม การคิดค่าขึ้นศาลในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคำนวณรวมกันจากจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง โจทก์ทั้งสองจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1)(ก) การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นคนละ200,000 บาท จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย ศาลให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นในส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์ทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลและสิทธิการครอบครองของเจ้าของร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิ ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ล.บุตรสาวจำเลย เดิม ล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน โจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคาร ล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้น ล.กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา จำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของ ล. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับ ล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรส ระหว่างเวลาดังกล่าว มีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนาม ล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โจทก์กับ ล.จึงเป็นเจ้าของร่วม การที่ ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริง อันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ ล.หลงเชื่อ แล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้น โดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคาร การจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของ ล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับ ล.ในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้น เป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลทำให้โมฆะ เจ้าของร่วมมีสิทธิเข้าอยู่อาศัย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของล.บุตรสาวจำเลยเดิมล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากันโจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคารล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้นล. กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาจำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของล.โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรสระหว่างเวลาดังกล่าวมีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนามล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โจทก์กับล.จึงเป็นเจ้าของร่วมการที่ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริงอันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ล.หลงเชื่อแล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้นโดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคารการจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา156กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับล.ในฐานะเจ้าของร่วมเมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้นเป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำสิทธิการถอนเงินฝาก: สัญญาไม่สมบูรณ์ แต่มีผลผูกพันกับเจ้าของร่วม
โจทก์และญ.ได้นำเงินจำนวน1,000,000บาทไปฝากประจำไว้แก่ธนาคารก. โดยมีเงื่อนไขว่าการสั่งจ่ายเงินและปิดบัญชีโจทก์และญ. จะต้องลงชื่อร่วมกันและธนาคารก.ได้ออกสมุดคู่ฝากไว้ให้ต่อมาญ. ได้นำสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจำนำสิทธิการถอนเงินฝากจากบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลยเพื่อค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ที่มีต่อจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ตามเอกสารหมายจ.10ดังนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา747การจำนำผู้จำนำจะต้องส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้คดีนี้แม้ญ. ส่งมอบสมุดเงินฝากให้แก่จำเลยไปแล้วก็ตามแต่เมื่อญ. กับโจทก์ได้ร่วมกันฝากเงินตามจำนวนในสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้แก่ธนาคารก.กรรมสิทธิ์ในตัวเงินฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารก.ไปแล้วธนาคารก. คงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้นการที่ญ. นำสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่จำเลยจึงมิใช่การจำนำเงินฝากและลักษณะของสัญญาเอกสารหมายจ.10ดังกล่าวก็หาใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา750บัญญัติไว้ไม่เพราะสมุดเงินฝากดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารหลักฐานแสดงถึงการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากและแสดงถึงการเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ระหว่างผู้ฝากกับธนาคารผู้รับฝากเท่านั้นจึงเป็นเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสิทธิทั่วไปมิใช่สิทธิซึ่งมีตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมายและโอนกันได้ด้วยวิธีของตราสาร แม้เอกสารหมายจ.10จะไม่ใช่สัญญาจำนำแต่การที่ญ.ซึ่งเป็นผู้ฝากเงินตามสมุดเงินฝากที่พิพาทร่วมกับโจทก์ได้ทำสัญญาเอกสารหมายจ.10ไว้แก่จำเลยและมอบสมุดเงินฝากให้จำเลยไว้ตามสัญญาในเมื่อญ. เป็นเจ้าของร่วมในสมุดเงินฝากคนหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันกรณีจึงผูกพันและบังคับกันได้ในส่วนของญ. เพราะมิใช่สัญญาที่ขัดต่อกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบตามสัญญาที่จะยึดถือสมุดเงินฝากไว้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะขอให้จำเลยส่งมอบสมุดเงินฝากให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงเผาทรัพย์สินที่จำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมกัน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจากมาตรา 218 เป็น 217
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา222เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่าทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้นจำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหายจึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(3)กประกอบด้วยมาตรา247และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา217จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า"หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย"บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดจะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแรงแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา218แต่เมื่อมาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา217ไว้ด้วยจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา217ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของร่วมที่ดินหลังไถ่การขายฝาก - การฟ้องขับไล่ทำได้เมื่อมีการแบ่งแยกส่วนสัด
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากมาจากจำเลยที่ 1 กับ ส. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากในกำหนด และมีสิทธิที่จะจดทะเบียนให้เป็นที่ดินของตนตามเดิมส่วนที่ดินที่เป็นของ ส.แม้ศาลจะยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากแต่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับ ส. ส่วนของ ส.ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ถือว่ามีสิทธิอยู่ทุกส่วนของที่ดินจนกว่าจะแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด จำเลยทั้งสองอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จนกว่าจะแบ่งแยกว่าส่วนใดเป็นของโจทก์ที่ 2 หรือจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่การขายฝาก, การครอบครองที่ดินร่วม, และขอบเขตการละเมิดสิทธิของเจ้าของร่วม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากมาจากจำเลยที่1กับส. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยที่1ได้ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากในกำหนดและมีสิทธิที่จะจดทะเบียนให้เป็นที่ดินของตนตามเดิมส่วนที่ดินที่เป็นของส. แม้ศาลจะยกฟ้องแย้งของจำเลยที่1ที่ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากจำเลยที่1เป็นเจ้าของร่วมกันส. ส่วนของส. ตกเป็นของโจทก์ที่2จำเลยที่1กับโจทก์ที่2เป็นเจ้าของร่วมกันถือว่ามีสิทธิอยู่ทุกส่วนของที่ดินจนกว่าจะแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดจำเลยทั้งสองอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จนกว่าจะแบ่งแยกว่าส่วนใดเป็นของโจทก์ที่2หรือจำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติ และเจ้าของร่วมต้องรับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่ 1 จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้า ส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัย เมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้า ถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2522 กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ฉะนั้น การลดความกว้างของบันไดจึงขัดต่อข้อบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาท โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลน และมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการ ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลัง ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคท้าย
จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาท โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลน และมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการ ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลัง ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการบังคับรื้อถอนอาคารพาณิชย์ โดยเจ้าของร่วมมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยที่1ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่1จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้าส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัยเมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้าถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์พ.ศ.2522กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า1.50เมตรฉะนั้นการลดความกว้างของบันไดจึงข้อต่อบัญญัติดังกล่าว จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทจำเลยที่1เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทโดยจำเลยที่2เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้างจำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาทเมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่1แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลนและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่1ทราบย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่2ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2 การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณีดังนี้การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่1ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลังได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้วแต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา43วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมที่ดินและบ้าน: สิทธิส่วนแบ่งสินสมรสและสัดส่วนการถือครอง
แม้จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เคยอยู่กินฉันสามีภริยากันเลย จำเลยที่ 1เป็นผู้ซื้อที่ดินและนำไปจำนองผ่อนชำระหนี้ฝ่ายเดียว ส่วนจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 มีส่วนในการชำระเงินดาวน์และผ่อนชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาท จึงมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทด้วย และที่จำเลยที่ 1ไปเอาเงินจากโจทก์มาไถ่ถอนที่ดินนำไปจำนองใหม่แล้วนำเงินไปปลูกบ้าน โจทก์จึงมีส่วนร่วมในที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเช่นกัน โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท แต่ตามพฤติการณ์ไม่อาจหยั่งทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีส่วนเป็นเจ้าของคนละเท่าใด จึงต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 จำเลยที่ 2 มีส่วนหนึ่งในสามส่วนส่วนที่เหลืออีกสองในสามส่วนเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องแบ่งให้ได้ส่วนเท่ากัน