คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าของอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-330/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของอาคารกับการรื้อถอนโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้เช่าไม่มีสิทธิฟ้อง
เมื่อคณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ฟ้องเจ้าของอาคารให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา11และศาลพิพากษาให้เจ้าของรื้อ ถ้าไม่รื้อก็ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจรื้อแล้วเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจรื้อได้ทีเดียวตามคำพิพากษานั้นโดยไม่ต้องฟ้องบุคคลซึ่งอยู่ในอาคารนั้นอีกเพราะกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินการต่อเจ้าของอาคารและฟ้องเจ้าของอาคาร มิได้บัญญัติให้ดำเนินการหรือฟ้องผู้เช่าหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของอาคารให้รื้อถอนการกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น จึงไม่เป็นการละเมิดต่อผู้เช่าหรือบุคคลอื่นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของอาคารมีความรับผิดชอบต่อการก่อสร้างโดยจ้างผู้อื่น แม้ไม่ได้ลงมือเอง การปลูกสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาตเป็นความผิด
ห้องแถวที่ปลูกสร้างลงบนสะพานเป็นเรือนโรงที่อยู่อาศัยจึงเป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร เมื่อปลูกสร้างขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอยู่ในตัว ถึงแม้จะถือว่าสพานไม่เป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารก็ตาม
ในคดีที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยเจ้าของอาคารปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร เมื่อคำฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยบังอาจทำการปลูกสร้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยจ้างคนงานปลูกสร้างโดยเจ้าของอาคารมิได้ลงมือด้วย ก็เป็นที่เข้าใจว่าเจ้าของเป็นผู้ปลูกสร้างอาคาร ข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณา จึงไม่ต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของอาคารมีความรับผิดชอบต่อการก่อสร้างโดยจ้างผู้อื่น แม้จะไม่ได้ลงมือเอง ถือเป็นผู้ปลูกสร้างอาคารตามกฎหมาย
ห้องแถวที่ปลูกสร้างลงบนสะพานเป็นเรือนโรงที่อยู่อาศัยจึงเป็นอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารเมื่อปลูกสร้างขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารอยู่ในตัว ถึงแม้จะถือว่าสะพานไม่เป็นอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารก็ตาม
ในคดีที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยเจ้าของอาคารปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารเมื่อคำฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยบังอาจทำการปลูกสร้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยจ้างคนงานปลูกสร้างโดยเจ้าของอาคารมิได้ลงมือด้วยก็เป็นที่เข้าใจว่าเจ้าของเป็นผู้ปลูกสร้างอาคาร ข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณา จึงไม่ต่างกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358-1359/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของอาคารไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหาย หากผู้เช่าขัดขวางการซ่อมแซมและไม่บำรุงรักษา จนเกิดอันตราย
ผู้เป็นเจ้าของอาคารได้พยายามที่จะซ่อมแซมอาคารของตนที่ชำรุดทรุดโทรม แต่ผู้เช่าซึ่งครองอาคารอยู่ขัดขวาง ไม่ยอมออกจากอาคาร จึงทำการซ่อมไม่ได้ เจ้าของอาคารจึงขายอาคารให้จำเลย เมื่อตกมาเป็นของจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังพยายามที่จะหาทางรื้อถอนเพื่อป้องกันอันตรายอันอาจมีขึ้นแต่ผู้เช่าก็คงขัดขวางเช่นเดิมจำเลยร้องต่อกรมการอำเภอ แต่ทางอำเภอก็ไม่อาจช่วยจัดการให้ได้ มิหนำซ้ำผู้เช่ายังไปรับรองต่ออำเภออีกว่าถ้าเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น ผู้เช่าจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง แต่แล้วผู้เช่าก็หาได้จัดการบำบัดเป่า เพื่อมิให้เกิดอันตรายขึ้นอย่างใดไม่คงปล่อยทิ้งไว้ จนกระทั่งฝาผนังตึกพังลงมาทับตึกของโจทก์เสียหาย ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารที่พัง ไมจำต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 424

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358-1359/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของอาคารไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหาย หากผู้เช่าขัดขวางการซ่อมแซมและปล่อยปละละเลยจนเกิดเหตุ
ผู้เป็นเจ้าของอาคารได้พยายามที่จะซ่อมแซมอาคารของตนที่ชำรุดทรุดโทรม แต่ผู้เช่าซึ่งครองอาคารอยู่ขัดขวาง ไม่ยอมออกจากอาคาร จึงทำการซ่อมไม่ได้ เจ้าของอาคารจึงขายอาคารให้จำเลย เมื่อตกมาเป็นของจำเลยแล้ว จำเลยก็ยังพยายามที่จะหาทางรื้อถอนเพื่อป้องกันอันตรายอันอาจมีขึ้น แต่ผู้เช่าก็คงขัดขวางเช่นเดิมจำเลยร้องต่อกรมการอำเภอ แต่ทางอำเภอก็ไม่อาจช่วยจัดการให้ได้ มิหนำซ้ำผู้เช่ายังไปรับรองต่ออำเภออีกว่าถ้าเกิดความเสียหายใดๆ ขึ้น ผู้เช่าจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง แต่แล้วผู้เช่าก็หาได้จัดการบำบัดปัดเป่า เพื่อมิให้เกิดอันตรายขึ้นอย่างใดไม่ คงปล่อยทิ้งไว้ จนกระทั่งฝาผนังตึกพังลงมาทับตึกของโจทก์เสียหาย ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารที่พัง ไม่จำต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบเจ้าของอาคารต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ก่อสร้างอาคารให้เช่ามิได้มีท่อน้ำหรือรางน้ำไหลอันเป็นสิ่งจำเป็นตามธรรมดาเพื่อรักษาสุขภาพและอนามัย ผู้เช่าอยู่ต่างต้องเทน้ำเหลือใช้ประจำวันลงบนพื้นดินใต้ถุนและที่ข้างเคียง เป็นเหตุให้น้ำไหลนองเปรอะเปื้อนทำให้บังเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อขังน้ำกลายเป็นน้ำโสโครกส่งกลิ่นเหม็นและเป็นเหตุที่เพาะยุงแมลงวัน ดังนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าของอาคารที่ให้เช่าต้องรับผิดชอบ ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข 2484 มาตรา 21

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12849/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของอาคารต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของบริษัทรักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 2 เจ้าของอาคารศูนย์การค้า ซ. จัดลานจอดรถเพื่อให้บริการแก่ร้านค้าที่มาเช่าพื้นที่และลูกค้าของร้านค้าเพื่อจอดรถยนต์ขณะเข้าไปใช้บริการยังร้านค้าที่เช่าพื้นที่ในอาคารศูนย์การค้าและมอบให้บริษัท น. เป็นผู้จัดการให้บริการด้านสาธารณูปโภคทั้งหมดรวมทั้งการรักษาความปลอดภัยภายในอาคารและนอกอาคารโดยมีการแบ่งผลประโยชน์จากการจัดเก็บรายได้จากร้านค้าที่เช่าพื้นที่และรับบริการ จำเลยที่ 2 กับบริษัท น. เป็นบริษัทในเครือเดียวกันและมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้อาคารศูนย์การค้า ซ. ร่วมกัน โดยจำเลยที่ 2 จัดเก็บค่าเช่าพื้นที่อาคาร ส่วนบริษัท น. จัดเก็บค่าบริการด้านสาธารณูปโภค การที่บริษัท น. เข้าทำสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยมาดูแลรักษาความปลอดภัยที่อาคารศูนย์การค้าจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่อาคารศูนย์การค้า จำเลยที่ 2 เจ้าของอาคารศูนย์การค้าจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์การค้าย่อมแสดงให้ผู้มาใช้บริการที่อาคารศูนย์การค้าเข้าใจว่าจำเลยที่ 2 มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่ลูกค้า พฤติการณ์ของบริษัท น. กับจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบการค้าร่วมกัน ย่อมถือได้ว่าบริษัท น. กับจำเลยที่ 2 เป็นตัวการด้วยกันในการทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 รักษาความปลอดภัยอาคารศูนย์การค้า เมื่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเพราะความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการรักษาความปลอดภัย – ความรับผิดของเจ้าของอาคารและผู้รับจ้างดูแล – การยกเว้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับจำเลยที่ 2 รับจ้างรักษาความปลอดภัยบริเวณภายในและภายนอกอาคารที่กำหนดรวมทั้งลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยกำหนดให้ต้องรักษาความปลอดภัยด้านโจรกรรม และดูแลรถของลูกค้าหรือบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้บริการภายในศูนย์ไม่ให้เกิดความเสียหาย ซึ่งในทางปฏิบัติจำเลยที่ 1 จะจัดให้มีพนักงานประจำที่ทางเข้าลานจอดรถเพื่อคอยมอบบัตรผ่านลานจอดรถและเขียนหมายเลขทะเบียนกำกับไว้ก่อนมอบให้ผู้ที่จะนำรถเข้ามาจอด เมื่อจะนำรถออกผู้ขับรถจะต้องคืนบัตรผ่านลานจอดรถและชำระค่าบริการจอดรถให้แก่พนักงานที่ประจำทางออกให้เสร็จเรียบร้อยก่อนจึงขับรถผ่านออกไปได้ ก. และ ว. ผู้เอาประกันภัยได้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยเข้าไปจอดในลานจอดรถของอาคารดังกล่าว และได้รับบัตรผ่านลานจอดรถจากพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้เขียนหมายเลขทะเบียนรถกำกับไว้จึงมีผู้นำรถยนต์พิพาทผ่านออกจากลานจอดรถได้ โดยที่บัตรผ่านลานจอดรถและหลักฐานการเป็นเจ้าของรถยังอยู่กับ ว. ผู้เอาประกันภัย เหตุที่รถยนต์ของ ว. ผู้เอาประกันภัยสูญหายไปเกิดจากความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ที่ไม่เขียนหมายเลขทะเบียนรถกำกับไว้ในบัตรผ่านลานจอดรถและไม่ตรวจสอบหลักฐานให้ละเอียดรอบคอบก่อนที่จะอนุญาตให้นำรถออกไป เป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ด้านหลังบัตรผ่านลานจอดรถ ถือได้ว่าพนักงานของจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้รถยนต์ของ ว. ผู้เอาประกันภัยสูญหาย ถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย
เงื่อนไขที่ระบุไว้ด้านหลังบัตรผ่านลานจอดรถที่ว่า การออกบัตรนี้ไม่ใช่เป็นการรับฝากรถ บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายต่อรถใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นเงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 กำหนดขึ้นเพื่อให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดตามเงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 กำหนดขึ้นแต่ฝ่ายเดียว ไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ
of 2