พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5909/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและผลกระทบต่อผู้สืบสิทธิ: จำเลยต้องรื้อถอนและคืนที่ดินให้เจ้าของเดิม
จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 จึงต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1311 และจำเลยผู้สืบสิทธิของเจ้าของเดิมผู้ปลูกสร้างบ้านโดยไม่สุจริต ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา1312 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินติดข้อจำกัดการโอน สัญญาซื้อขายและจำนองตกเป็นโมฆะ เจ้าของเดิมยังมีสิทธิ
จำเลยได้ขายที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ให้ผู้ร้องและส. โดยทำสัญญาซื้อขายกันเองต่อมาทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทให้จำเลยโดยมีข้อกำหนดห้ามโอน10ปีในวันเดียวกันนั้นจำเลยจดทะเบียนจำนองที่พิพาทกับผู้ร้องและส. และได้ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ผู้ร้องและส. ตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนองการที่จำเลยกับผู้ร้องมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขายแต่เมื่อปรากฏว่าในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา10ปีผู้ร้องและส.ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทกันได้จึงได้ทำจำนองในวงเงินเท่ากับราคาซื้อขายกันไว้โดยจำเลยได้ให้คำมั่นที่จะขายที่พิพาทให้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามพฤติการณ์จึงชี้ให้เห็นว่าสัญญาจำนองเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันในเรื่องจำนองสัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะแต่เนื่องจากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องและส. จึงตกเป็นโมฆะไปด้วยผู้ร้องจึงมิได้มีสิทธิใดๆในที่พิพาทและแม้ผู้ร้องยังคงครอบครองที่พิพาทอยู่เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตามก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของเดิมจำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทและโจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ ผู้ครอบครองไม่สละสิทธิ เจ้าของเดิมยังคงสิทธิ
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมีข้อกำหนดห้ามโอนสิบปีนับแต่วันที่25สิงหาคม2520สัญญาขายฝากทำกันเมื่อวันที่14มีนาคม2523จึงอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นการที่จำเลยทำสัญญาและมอบให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโจทก์ก็หาได้สิทธิครอบครองตามกฎหมายไม่เพราะอยู่ในกำหนดห้ามโอนหลังจากนั้นต่อมาเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วแม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแต่ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้สละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใดกลับได้ความว่าโจทก์ได้ให้เงินจำเลยทั้งสองไปชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ทุกปีและมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือไม่ได้ว่าภายหลังพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจำเลยทั้งสองสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องโจทก์เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นเจตนายึดถือเพื่อตนยังไม่ครบ1ปีขึ้นวินิจฉัยเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นนั้นกรณีของโจทก์นี้จะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทต่อเมื่อได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากจำเลยทั้งสองโดยการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแต่เมื่อโจทก์ฎีกาว่าไม่มีประเด็นนี้เสียแล้วโจทก์ก็ไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดังนั้นแม้การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นก็ตามแต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงทำให้โจทก์ชนะคดีแต่ประการใดฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5086/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองต่อเนื่อง: การรวมระยะเวลาครอบครองจากเจ้าของเดิม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382กล่าวถึงเฉพาะด้านผู้ครอบครองว่าถ้าได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ติดต่อกันนาน10ปีแล้วย่อมได้กรรมสิทธิ์การนับระยะเวลาการครอบครองที่พิพาทของจำเลยในระหว่างที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ก. ติดต่อมาจนตกเป็นของโจทก์สามารถนับรวมกันได้เมื่อครบกำหนดดังกล่าวจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่มีอำนาจ ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อต้องถือเป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดินน.ส.3ก.เลขที่2239โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจากล.เจ้าของเดิมจำเลยที่1และที่2ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของล. โดยอ้างว่าที่ดินตามน.ส.3ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของล. เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่1และที่2เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1และที่2ได้ขอแบ่งที่ดินตามน.ส.3ก.แปลงนั้นออกเป็น7ส่วนและโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3145เนื้อที่8ไร่ให้แก่จำเลยที่3และที่4และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3146เนื้อที่4ไร่ให้แก่จำเลยที่5โดยจำเลยที่3ที่4และที่5ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสามและเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่1และที่2กับจำเลยที่3และที่4และกับจำเลยที่5ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลืองทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่3และที่4เนื้อที่8ไร่ราคาไม่เกิน50,000บาทและเรียกคืนจากจำเลยที่5เนื้อที่4ไร่ราคาไม่เกิน50,000บาทเช่นกันคดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่3และที่4และกับจำเลยที่5จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งดังนั้นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่3ที่4และที่5ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา238ประกอบมาตรา247 เมื่อที่พิพาทแปลงน.ส.3ก.เลขที่2239ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของล. จำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็นน.ส.3ก.เลขที่3145และ3146และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดินน.ส.3ก.เลขที่3145ให้แก่จำเลยที่3ที่4และโอนขายที่ดินน.ส.3ก.เลขที่3146ให้แก่จำเลยที่5จำเลยที่3ที่4และที่5ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่1และที่2ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวและย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่จำเลยที่3ที่4และที่5ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่3ที่4และที่5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการครอบครองแทนเจ้าของเดิม: สิทธิในที่ดินและบ้าน
ส. เป็นกรรมกรก่อสร้างของบริษัทที่สามีโจทก์เป็นผู้จัดการได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทเพราะได้รับมอบหมายให้ครอบครองแทนโจทก์หรือสามีโจทก์การที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นภรรยาของ ส. เข้าไปอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการ อาศัยสิทธิของ ส.แม้ต่อมา ส.ถึงแก่ความตายก็ไม่ทำให้จำเลยที่1ถือสิทธิเป็นเจ้าของได้กรณีถือว่ายังครอบครองแทนเจ้าของเดิมอยู่และไม่มีสิทธินำที่ดินและบ้านพิพาทไปขายได้ดังนั้นจำเลยที่2จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่1หรือไม่และเข้าครอบครองมานานเท่าใดจะเสีย ค่าตอบแทนและซื้อโดยสุจริตหรือไม่ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ และไม่อาจอ้างการ ครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะถือว่าจำเลยที่2 ครอบครองแทนเจ้าของเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของเดิมกับผู้เช่า ไม่ผูกพันผู้ซื้อทรัพย์สิน
เดิมตึกแถวตามฟ้องเป็นของ ด. ด. ให้จำเลยเช่า ต่อมาด. โอนตึกแถวให้ อ. แล้ว อ. โอนขายให้โจทก์ แม้ ด. จะให้คำมั่นแก่จำเลยว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ด. จะให้จำเลยเช่าตึกแถวต่ออีก 3 ปีคำมั่นดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าของเจ้าของเดิม ไม่ผูกพันผู้ซื้อทรัพย์สิน
เดิมตึกแถวตามฟ้องเป็นของ ด.ด. ให้จำเลยเช่า ต่อมาด.โอนตึกแถวให้อ.แล้วอ.โอนขายให้โจทก์แม้ด.จะให้คำมั่นแก่จำเลยว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ด. จะให้จำเลยเช่าตึกแถวต่ออีก 3 ปี คำมั่นดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพและการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของเดิม
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้นแม้ ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจาก ผ.สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาได้ไม่
แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว
แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ระยะเวลาการครอบครองนับจากผู้ครอบครอง ไม่ใช่เจ้าของเดิม
ผู้ร้องได้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. เจ้าของโฉนดเดิมตามสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ผู้ร้องได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วและผู้ขายได้มอบที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องครอบครองปลูกบ้านอยู่อาศัยตลอดมาเมื่อผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่าสิบปีผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว การนับระยะเวลาครอบครองติดต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ถือเอาระยะเวลาครอบครองของผู้ครอบครองเท่านั้น ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองให้แก่ผู้ใดหรือไม่