พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุก แม้ปรากฏว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นบุคคลล้มละลายที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น หมายถึง เฉพาะแต่การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย และการที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่มีฐานะถึงขนาดจะตกเป็นผู้ไร้ความสามารถอันจำต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 มิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วด้วย ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
โจทก์ถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในระหว่างที่คดีแพ่งของโจทก์อยู่ระหว่างพิจารณา โจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีแพ่งได้อีกตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) และมาตรา 25 การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีแพ่งด้วยตนเองจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ซื้อและขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 4 ว่าด้วยการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่อยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 ไม่ ทั้งตามมาตรา 22 (1) ก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป ส่วนมาตรา 111 และ 112 ที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นอ้างก็เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับในกรณีที่ลูกหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย หาได้ใช้บังคับในกรณีที่เจ้าหนี้ตกเป็นบุคคลล้มละลายเช่นนี้ด้วยไม่ ดังนั้น หากเป็นความจริงตามข้ออ้างของผู้ร้องว่า ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าวย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และสิทธิในการเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
จำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในคดีแพ่ง ต่อมาศาลในคดีล้มละลายมีคำสั่งให้โจทก์ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้ารวบรวมทรัพย์สินของโจทก์ผู้ล้มละลาย โดยได้นำสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาของโจทก์ที่มีต่อจำเลยออกขายตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผู้ร้องเป็นผู้ชนะการประมูล และได้ทำหนังสือซื้อขายสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาดังกล่าวจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ผู้ร้องย่อมได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมิติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีหมายเลขคดีแดงที่ 317/2544 ของศาลล้มละลายกลางเป็นการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตาม เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการซื้อขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อนุญาตเลื่อนการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ในกระบวนการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้นให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการสอบสวนพยานหลักฐานต่าง ๆ แล้วทำความเห็นส่งสำนวนคำขอรับชำระหนี้ต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 105 เพื่อศาลจะได้มีคำสั่งตามมาตรา 106 และมาตรา 107 ต่อไป การที่ผู้ร้องทั้งเจ็ดได้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 51 เมื่อผู้คัดค้านหมายนัดให้ผู้ร้องทั้งเจ็ดนำพยานมาให้ทำการสอบสวนประกอบคำคัดค้าน ผู้ร้องทั้งเจ็ดขอเลื่อนการสอบสวน ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งยังไม่แน่ว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นเสนอศาลอย่างไร จะฟังตามคำคัดค้านของผู้ร้องทั้งเจ็ดหรือไม่ และเมื่อผู้คัดค้านทำความเห็นเสนอศาลแล้ว ลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลแต่อย่างใดไม่ ทั้งเมื่อศาลพิจารณาตามมาตรา 106 หรือมาตรา 107 แล้วก็อาจมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ คำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการสอบสวนดังกล่าวจึงไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ผู้ร้องทั้งเจ็ดยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเจ้าหนี้และการใช้สิทธิคัดค้าน
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกฎหมายให้สิทธิบุคคลที่ได้รับความเสียหายยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 และศาลมีอำนาจสั่งยืนตาม กลับ หรือแก้ไข หรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควร ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ได้รับความเสียหายจะใช้สิทธิเยียวยาแก้ไขความเสียหายของตนทางศาลได้ แต่ไม่ใช่บทบังคับ การที่ผู้บริหารแผนไม่เลือกใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 146 ทำให้ผู้บริหารแผนไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเมื่อพ้นเวลาที่กำหนดเท่านั้น และคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีผลอยู่ต่อไป
ผู้บริหารแผนเลือกใช้ช่องทางยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาทบทวนคำสั่งของตนที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ เป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการหรือมีคำวินิจฉัยอื่นใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการพิจารณาใหม่ และคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108 มาเทียบเคียงปรับใช้เพราะมิใช่คำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สั่งอนุญาตไปแล้วตามมาตรา 90/26 ประกอบด้วยมาตรา 108 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ จึงมีอำนาจที่จะกระทำได้และไม่ขัดต่อมาตรา 108 และ 146
ผู้บริหารแผนเลือกใช้ช่องทางยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาทบทวนคำสั่งของตนที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ เป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการหรือมีคำวินิจฉัยอื่นใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการพิจารณาใหม่ และคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108 มาเทียบเคียงปรับใช้เพราะมิใช่คำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สั่งอนุญาตไปแล้วตามมาตรา 90/26 ประกอบด้วยมาตรา 108 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ จึงมีอำนาจที่จะกระทำได้และไม่ขัดต่อมาตรา 108 และ 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจปฏิเสธการปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้
การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 122 นั้น จะกระทำได้เฉพาะกรณีไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่า จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้ถือจะพึ่งได้รับไป ในกรณีที่จำเลย (ลูกหนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อผู้ร้องใช้สิทธิขอให้จำเลยโดยผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญา ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และขอบเขตการใช้ดุลพินิจในการฎีกา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย คดีที่จำเลยนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ และมีผู้อื่นร้องขัดทรัพย์ก็ถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในคดีร้องขัดทรัพย์ต่อไปหรือไม่ยอมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่กองทรัพย์สินของจำเลย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของจำเลย เป็นกรณีตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 กรณีหาใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่ หรือถอนฟ้องคดีที่จำเลยได้ยื่นฟ้องไว้แล้วตามมาตรา 145 (4) จึงไม่ต้องขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้หรือกรรมการเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินหลักประกันในคดีล้มละลายและการพิจารณาตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเท่านั้น มิได้บังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันให้แก่เจ้าหนี้มีประกันเสมอไป การตรวจดูทรัพย์สินตามมาตรา 95 นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกระทำด้วยการสอบสวนหรือขอมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามคำสั่งอธิบดีกรมบังคับคดีก็ได้ ถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันมีราคามากกว่าจำนวนหนี้ ราคาส่วนที่เหลือเกินจำนวนหนี้ย่อมเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะรวบรวมจัดการตามมาตรา 22 และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตามมาตรา 123 ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการยึดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันออกขายตามคำร้องของเจ้าหนี้ จะสั่งงดดำเนินการและให้เจ้าหนี้ไปดำเนินการตามกฎหมายอื่นไม่ได้ แต่ถ้าปรากฏว่าจำนวนหนี้ท่วมราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันและไม่มีกรณีต้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลหรือการกระทำใดแล้ว ประกอบกับที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน เนื่องจากเห็นว่าจำนวนหนี้ค้างชำระท่วมราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน การบังคับคดีต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันไม่มีประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างใด ที่ผู้คัดค้านได้มีคำสั่งงดดำเนินการต่อทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้จึงชอบแล้ว