คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้ามรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืนสิ้นสุดเมื่อเจ้ามรดกได้รับค่าทดแทนตามที่อุทธรณ์ แม้ผู้จัดการมรดกจะเห็นว่ายังต่ำกว่าที่ควร
ที่ดินของ ต.อยู่ในเขตบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด.... พ.ศ.2531 เพื่อสร้างทางสายพิเศษฯ ต.กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายและค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะถูกเวนคืนในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน โดยจำเลยตกลงจ่ายเงินค่าทดแทนตามราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่ ต.ไปก่อน ต.ไม่พอใจราคาค่าทดแทนที่จำเลยจ่ายให้ จึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอเพิ่มค่าทดแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ต.ให้เพิ่มเงินค่าทดแทนแก่ ต.อีกต่อมาภายหลังมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 แล้วจำเลยได้แจ้งให้ ต.ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม แต่โจทก์ในฐานะทายาทต.เห็นว่าเงินค่าทดแทนดังกล่าวยังต่ำไปจึงยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนที่ดินให้อีกตามขอซึ่งคำนวณแล้วจำเลยได้จ่ายค่าทดแทนให้แก่ ต.มากกว่าราคาที่ ต.เคยอุทธรณ์ขอเพิ่มไว้และเต็มตามจำนวนที่โจทก์ขอเพิ่มค่าทดแทนในการอุทธรณ์ครั้งหลังนี้ด้วย ค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ในครั้งที่สุด จึงเป็นค่าทดแทนที่ถือได้ว่าต.เจ้ามรดกที่พิพาทพอใจแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.ไม่มีสิทธิจะโต้แย้งคำวินิจฉัยค่าทดแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต่อไปอีก ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ไม่ตกตามมาตรา 1754 หากกองมรดกเป็นเจ้าหนี้
อายุความตามมาตรา1754ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา1754เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ที่จำเลยทั้งสองกู้ยืมผู้ตายไปแม้โจทก์จะฟ้องเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่เจ้ามรดกตายคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความเพราะคดีนี้ไม่ได้เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของผู้ร้องสอดที่เป็นบุตรเจ้ามรดก และผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อน
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ ส่วนโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความจึงเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ แม้ท้ายคำร้องระบุว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผิดหลงก็ถือได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) หาใช่เป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (2) ไม่
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดมีอยู่อันมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัว และเมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไร เพียงแต่ขอให้ยกฟ้องเท่านั้น จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอด ตามมาตรา172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3) อีก
ก่อนคดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก ผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคู่ความรายเดียวกันกับคดีนี้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก โจทก์จะโต้แย้งว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นบุตรของเจ้ามรดกหาได้ไม่
แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คนหนึ่งที่พิพากษาคดีนี้เคยพิพากษาคดีแพ่งในศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้พิพากษาคนนั้นพิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์หาเป็นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) ไม่ เพราะคดีดังกล่าวโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่คดีนี้โจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก คดีทั้งสองเรื่องเพียงแต่เกี่ยวข้องกันมิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามมาตรา 11 (5) หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1205/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในการยกอายุความของผู้ซื้อฝากจากทายาทเจ้ามรดก
แม้โจทก์จะไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก แต่โจทก์เป็นผู้ซื้อฝากทรัพย์พิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก โจทก์จึงย่อมมีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับผู้ร้องสอดที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกเช่นกันได้ แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 ถึงที่ 5 จะไม่ทราบเรื่องจำเลยนำทรัพย์พิพาทไปขายฝากให้โจทก์ก็ไม่ทำให้สิทธิดังกล่าวของโจทก์เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: ทายาทฟ้องคดีเกิน 1 ปีนับจากเจ้ามรดกเสียชีวิต คดีขาดอายุความ
โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้สืบสิทธิของ ร. ฟ้องเรียกที่ดินมรดกซึ่ง ร. ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้อง และมิได้มอบหมายให้จำเลยครอบครองดูแลที่ดินมรดกส่วนของ ร. เมื่อโจทก์ฟ้องคดีมรดกพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 จำเลยยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้ แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วปรับด้วยมาตรา 1375วินิจฉัยว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาททรัพย์มรดกเกินกว่าหนึ่งปี โจทก์ขาดสิทธิฟ้องเอาคืนก็ตาม ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม มาตรา 1754 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583-584/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมต้องพิจารณาว่าทรัพย์สินเป็นของเจ้ามรดกจริงหรือไม่ การยกทรัพย์ก่อนเสียชีวิตมีผลต่อพินัยกรรม
การที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใด โดยอ้างว่า เป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกนั้น มิใช่จะถือว่าทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรม เป็นของเจ้ามรดกเสมอไป ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ว่าเป็น ทรัพย์ของเจ้ามรดกหรือไม่ เมื่อคดีฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ยกทรัพย์ บางส่วนให้จำเลยทั้งสองก่อนตาย ทรัพย์ส่วนที่ยกให้ย่อมไม่เป็น ของเจ้ามรดกที่จะทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ทั้งสองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมเป็นโมฆะ: เจ้ามรดกไม่มีสติสัมปชัญญะขณะทำพินัยกรรม
คำเบิกความของโจทก์และ ส. หลานเจ้ามรดกประกอบกับ หลักฐานการป่วยของเจ้ามรดกที่โรงพยาบาล ฟังได้ว่าเจ้ามรดกมีสติ เลอะเลือนก่อนถึงแก่กรรม ส่วนข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 มีพิรุธและ ไม่น่าเชื่อถือกล่าวคือ เจ้ามรดกมีอายุกว่า 80 ปีแล้ว แต่ใน พินัยกรรมระบุอายุเพียง 71 ปี ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าจำลายพิมพ์ นิ้วมือของเจ้ามรดกในพินัยกรรมได้ แต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มี ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องนี้อย่างไร ที่จำเลยที่ 1อ้างว่าไม่ทราบว่า เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้แต่บุตรกลับเบิกความว่า อยู่ในขณะทำ พินัยกรรมด้วย นอกจากนี้ผู้จัดทำพินัยกรรมก็เป็นทนายจำเลยที่ 1 จึงถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และจำเลยก็ไม่นำพยานในพินัยกรรม มาเป็นพยานต่อศาลด้วย จึงไม่น่าเชื่อว่าเจ้ามรดกซึ่งมีอายุกว่า 80 ปี มีอาการไม่ค่อยรู้เรื่องจะทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินจำนวนมาก ถึง 10รายการให้บุคคลอื่น คดีจึงฟังได้ว่าในขณะทำพินัยกรรม เจ้ามรดกไม่มีสติสัมปชัญญะและไม่ทราบข้อความในพินัยกรรม พินัยกรรม จึงไม่มีผลบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความทวงหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: การรู้หรือควรรู้ถึงการเสียชีวิตเป็นเหตุสะดุดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก กรณีต้องเป็นการรู้โดยแน่นอน มีหลักฐานยืนยัน โจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า เจ้ามรดกถึงแก่กรรมพร้อมทั้งแสดงใบมรณบัตรและมีผู้ร้องเป็นทายาท ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกนับแต่นั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องในฐานะทายาทของเจ้ามรดกซึ่งเป็นระยะเวลาภายใน 1 ปีนับแต่ได้รู้หรือควรรู้ถึงการตายของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดก จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ดังนี้หนี้ยังไม่ขาดอายุความ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1024 สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ทุกประการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามประเด็นใหม่ & สิทธิยึดหน่วงไม่ขาดอายุความเมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ผิดสัญญาอย่างไรจำเลยมิได้กล่าวไว้ คำให้การของจำเลยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไว้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา
โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นผู้จะซื้อตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับบิดาจำเลย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนั้นการที่เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ มาตรา 241

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผิดสัญญา: สิทธิเรียกร้องต่อทายาทไม่ใช่สิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้ปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดก มิใช่ฟ้องอ้างว่าเจ้ามรดกผิดสัญญาอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อเจ้ามรดกจึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามมาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ไม่ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายใน 1 ปี
of 8