คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยหนี้จากการบังคับคดี: เจ้าหนี้สามัญมิอาจเปลี่ยนฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิย้อนหลังได้
เติมโจทก์ขอให้บังคับคดีทำยึดและขายทอดตลาดที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสองจำนองกับโจทก์เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าเงินขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ตามาคำพิพากษาจึงขอให้ยึดที่ดินโฉนดที่ 9096 และ 9097 ซึ่งจำเลยที่ 1 จำนองไว้กับโจทก์เช่นกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าตามสัญญาจำนองที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์รวมดอกเบี้ยด้วยเป็นเงิน 609,924.58 บาท ศาลชั้นต้นอนุญาต และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวได้เงิน 1,290,000 บาท เมื่อหักหนี้บุริมสิทธิให้โจทก์ก่อนแล้ว ยังมีเงินเหลือที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินที่เหลือนี้ได้ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา ได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ส่วนที่เกินบุริมสิทธิของโจทก์ คือขอเฉลี่ยเงินที่เหลือจากการชำระหนี้แก่โจทก์ โดยขอรับเฉลี่ยในฐานะเจ้าหนี้สามัญซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องได้เข้าเฉลี่ยหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ ดังนี้ ผู้ร้องจะมาอ้างขึ้นใหม่ว่าจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หรือเจ้าหนี้จำนองอันดับ 2 ก่อนเจ้าหนี้สามัญในภายหลังอีกหาได้ไม่ ต้องฟังว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะบุริมสิทธิ จะเฉลี่ยหนี้โดยหักหนี้บุริมสิทธิของโจทก์เงินที่เหลือเอาชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้อง และเมื่อมีเงินเหลือจากการชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้องแล้ว จึงนำไปเฉลี่ยเป็นหนี้สามัญระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้บุริมสิทธิและเจ้าหนี้สามัญ การเปลี่ยนแปลงฐานะเจ้าหนี้หลังการยื่นคำร้อง
เดิมโจทก์ขอให้บังคับคดีนำยึดและขายทอดตลาดที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสองจำนองกับโจทก์เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่าเงินขายทอดตลาดไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงขอให้ยึดที่ดินโฉนดที่ 9096 และ 9097 ซึ่งจำเลยที่ 1 จำนองไว้กับโจทก์เช่นกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าตามสัญญาจำนองที่ดินทั้งสองโฉนดนั้นจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์รวมดอกเบี้ยด้วยเป็นเงิน 609,924.58 บาทศาลชั้นต้นอนุญาต และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งสองโฉนดดังกล่าวได้เงิน 1,290,000 บาท เมื่อหักหนี้บุริมสิทธิให้โจทก์ก่อนแล้ว ยังมีเงินเหลือที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินที่เหลือนี้ได้ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ส่วนที่เกินบุริมสิทธิของโจทก์คือขอเฉลี่ยเงินที่เหลือจากการชำระหนี้แก่โจทก์ โดยขอรับเฉลี่ยในฐานะเจ้าหนี้สามัญซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาถึงที่สุดให้ผู้ร้องได้เข้าเฉลี่ยหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ ดังนี้ ผู้ร้องจะมาอ้างขึ้นใหม่ว่าจะขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หรือเจ้าหนี้จำนองอันดับ 2 ก่อนเจ้าหนี้สามัญในภายหลังอีกหาได้ไม่ ต้องฟังว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในฐานะบุริมสิทธิ จะเฉลี่ยหนี้โดยหักหนี้บุริมสิทธิของโจทก์เงินที่เหลือเอาชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้อง และเมื่อมีเงินเหลือจากการชำระหนี้บุริมสิทธิของผู้ร้องแล้ว จึงนำไปเฉลี่ยเป็นหนี้สามัญระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิในการระมัดระวังผลประโยชน์จากการบังคับคดีและการประวิงการขายทอดตลาด
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยึดที่ดินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาด ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาล ขอรับชำระหนี้ก่อนในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ศาลอนุญาต
ก่อนขายทอดตลาด จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินส่วนของจำเลยเนื้อที่ 244 ไร่เศษ ขอให้แบ่งขายที่ละ แปลง ๆ ละ 50 ไร่ จึงจะได้ราคาดี ศาลเห็นชอบด้วย สั่งให้โจทก์จำเลยและผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมไปดำเนินการแบ่งแยก จนเวลาล่วงเลยมา 2 ปี จำเลยไม่ดำเนินการแบ่งแยก เป็นการประวิงการบังคับคดี ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียจึงย่อมมีสิทธิที่จะระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของตนอันควรจะได้จากการบังคับคดีนั้น สิทธิที่จะร้องหรือแถลงขอให้ศาลทำการขายทรัพย์ไปทั้งแปลงได้และคำสั่งของศาลที่ได้สั่งให้ขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยทั้งแปลงก็เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิในการระงับการขายทรัพย์เพื่อรักษาผลประโยชน์จากการบังคับคดี
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยึดที่ดินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาล ขอรับชำระหนี้ก่อนในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ศาลอนุญาต
ก่อนขายทอดตลาด จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินส่วนของจำเลยเนื้อที่ 244 ไร่เศษขอให้แบ่งขายทีละแปลง แปลงละ 50 ไร่ จึงจะได้ราคาดี ศาลเห็นชอบด้วย สั่งให้โจทก์จำเลยและผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมไปดำเนินการแบ่งแยก จนเวลาล่วงเลยมา 2 ปี จำเลยไม่ดำเนินการแบ่งแยกเป็นการประวิงการบังคับคดี ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียจึงย่อมมีสิทธิที่จะระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของตนอันควรจะได้จากการบังคับคดีนั้นสิทธิที่จะร้องหรือแถลงขอให้ศาลทำการขายทรัพย์ไปทั้งแปลงได้และคำสั่งของศาลที่ได้สั่งให้ขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยทั้งแปลงก็เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบฯ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
89ตรี จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508. โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า. ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี. ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป. มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ.
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง. เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า. แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด. แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้.
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย.
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี.
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ. เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่ประเมินเพิ่มเติมหลังล้มละลาย: สิทธิการรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากรมาตรา 78 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษี โดยผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการต่อเจ้าพนักงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปพร้อมกับชำระค่าภาษีตามมาตรา 85 ทวิ และ 86 ด้วยนั้น เป็นการชำระค่าภาษีการค้าล่วงหน้าไปก่อนตามรายการที่ยื่นไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบรายการที่ยื่นเห็นว่าถูกต้องและพอใจ ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ค่าภาษีโดยสมบูรณ์แล้ว ส่วนเงินค่าภาษีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ จะถือว่าค่าภาษีสำหรับรายการดังกล่าวนั้นได้ถึงกำหนดชำระด้วยแล้วหาได้ไม่ เพราะเมื่อยังไม่ได้ยื่นแสดงรายการก็ยังไม่มีค่าภาษีที่ต้องชำระ แต่เมื่อเจ้าพนักงานอาศัยอำนาจตามมาตรา 19, 20 ทำการไต่สวนและประเมินค่าภาษีใหม่สำหรับรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องครบถ้วน และสั่งให้นำเงินภาษีไปชำระเพิ่มเติมภายใน 30 วันแล้ว ค่าภาษีที่จะต้องเสียเพิ่มเติมใหม่นี้ก็ย่อมถึงกำหนดชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไป
หนี้ค่าภาษีอากรที่ลูกหนี้จะต้องเสียและถึงกำหนดชำระภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น กฎหมายยอมให้เจ้าหนี้เข้ามาขอรับชำระหนี้ได้ และเมื่อหนี้ค่าภาษีนี้เป็นหนี้ที่จะได้รับในลำดับก่อนหนี้อื่น ๆ แล้ว ก็หาทำให้การที่จะได้รับชำระหนี้นั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับสถานะเจ้าหนี้ธรรมดาแล้วมิอาจเปลี่ยนแปลงเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษภายหลังได้เมื่อคำสั่งศาลยุติ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่ได้จากขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาอย่างเจ้าหนี้ธรรมดา จนศาลมีคำสั่งอนุญาต โดยผู้ร้องไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์นั้น ต้องถือว่าคำสั่งศาลยุติถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะมาร้องใหม่ว่าเป็นเจาหนี้บุริมสิทธิพิเศษขอให้ได้รับชำระหนี้อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองและการบังคับชำระหนี้จากสินสมรส/สินบริคณห์
1. เดิมคู่ความฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ต่อมายืนคำร้องอีกฉบับเตือนให้ศาลเร่งพิจารณาวินิจฉัยคำร้องฉะบับเดิมศาลนัดพร้อมคู่ความฝ่ายที่ยื่นขาดนัด ศาลสั่งยกคำร้องฉบับที่เตือนเสีย ฟังไม่หมายความถึงให้ยกคำร้องเดิมที่ขอรับชำระหนี้นั้นด้วย
2. ผู้รับจำนองย่อมเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิชอบที่จะร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีคำพิพากษา ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมนั้น เมื่อคู่ความอีกฝ่ายมิได้โต้แย้งมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลก็ไม่วินิจฉัยให้
3. คำสั่งของศาลที่ชี้ขาดว่าผู้ร้องขอรับชำระหนี้จำนองของจำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นได้นั้น หาเป็นการลบล้างคำพิพากษาของศาลในคดีอื่น (คดีแดงที่ 1472/2497 ) ที่ผู้ฎีกา (ผู้ร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกรายหนึ่ง) ฟ้องขอให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับสามีไม่
4. เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใด ให้ยื่นบัญชีแสดงเอกสารต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ แม้จะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้บุริมสิทธิ ต้องมีคำพิพากษาแสดงสิทธิ จึงจะรับชำระหนี้จากทรัพย์ที่ยึดได้
ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จากทรัพย์ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้โดยอ้างว่าตนมีบุริมสิทธินั้นต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาศาลจึงจะยอมให้รับชำระหนี้จากทรัพย์นั้นได้ อ้างฎีกาที่ 887/2471 เจ้าหนี้บุริมสิทธิตามคำพิพากษาไปร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์อันตนมีบุริมสิทธินั้นภายหลังศาลขายทอดตลาดทรัพย์นั้นได้
of 3