พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง, การบังคับชำระหนี้, สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน, การฟื้นฟูกิจการ, ผู้ค้ำประกัน, หนี้ร่วม
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินดังกล่าวได้จดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. จึงเป็นการซื้อขายที่ดินโดยติดจำนองมาด้วย ซึ่งสิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้นโดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองจะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสอง ดังนั้น ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองจึงต้องรับภารจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองจนกว่าจะมีเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 แม้ต่อมาธนาคาร ม. จะจดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. แต่ส่วนของลูกหนี้ก็ยังคงติดจำนองอยู่กับธนาคาร ม. และภาระหนี้ยังเป็นของบริษัท ส. ตามเดิมเช่นนี้ ที่ดินส่วนของลูกหนี้ย่อมติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไป แต่ภารจำนองของลูกหนี้ย่อมไม่เกินวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ย เจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินดังกล่าว โดยไม่เกินจำนวนหนี้ที่บริษัท ส. ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 หาทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ เพราะการจำนองประกันหนี้ของลูกหนี้จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นประกันหนี้ของผู้ใด วงเงินเท่าใด การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยที่ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนอง จึงเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มิใช่เจ้าหนี้มีประกันในหนี้ส่วนนี้
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ปรากฏว่านอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันคนใดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ส. และ/หรือผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นเพียงใดแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมลดลงมาเพียงนั้น ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ และศาลล้มละลายกลางก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 หาทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ เพราะการจำนองประกันหนี้ของลูกหนี้จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นประกันหนี้ของผู้ใด วงเงินเท่าใด การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยที่ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนอง จึงเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มิใช่เจ้าหนี้มีประกันในหนี้ส่วนนี้
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ปรากฏว่านอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันคนใดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ส. และ/หรือผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นเพียงใดแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมลดลงมาเพียงนั้น ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ และศาลล้มละลายกลางก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง/การบังคับชำระหนี้: สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์สินที่ติดจำนอง แม้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้บางส่วน
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. ซึ่งธนาคารเจ้าหนี้ได้รับโอนกิจการมา เป็นการซื้อขายติดจำนอง สิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้น โดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสองลูกหนี้จึงต้องรับภาระจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าว การที่ธนาคาร ม. จดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. ในเวลาต่อมา โดยส่วนของลูกหนี้ยังคงติดจำนองอยู่และภาระหนี้ยังคงเป็นของบริษัท ส. ตามเดิม ที่ดินส่วนของลูกหนี้จึงติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไปเจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 มิได้ทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนอง เมื่อประสงค์จะให้จำนองประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วยจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 การที่เจ้าหนี้ที่และลูกหนี้ตกลงให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะเจ้าหนี้จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันในส่วนนี้
นอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย เช่นนี้หากผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่งการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 มิได้ทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนอง เมื่อประสงค์จะให้จำนองประกันหนี้ของลูกหนี้ด้วยจะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 การที่เจ้าหนี้ที่และลูกหนี้ตกลงให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ด้วย แต่มิได้จดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะเจ้าหนี้จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันในส่วนนี้
นอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย เช่นนี้หากผู้ค้ำประกันคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่งการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ในส่วนนี้จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันเลือกใช้สิทธิได้ตามมาตรา 95 หรือ 96 หากใช้สิทธิแล้วสิทธิเดิมสิ้นสุด
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 และ 96 แสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 2 วิธี วิธีแรก เจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิตามมาตรา 95 โดยถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น ดังนี้ กำหนดเวลาให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 จึงไม่มี และหากบังคับชำระหนี้เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้มีประกันย่อมหมดสิทธิขอรับชำระหนี้ที่ยังขาดอยู่จากทรัพย์สินอื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย วิธีที่สอง โดยเจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายภายใต้เงื่อนไขมาตรา 96 ซึ่งมีอยู่ 4 ประการในประการใดประการหนึ่ง
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินมายังไม่พอชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ และการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และ 96 แยกให้เห็นข้อแตกต่างในวิธีการขอรับชำระหนี้และข้อแตกต่างในผลของการใช้สิทธิมาตราใดมาตราหนึ่ง เจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกต่อไป
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็น หลักประกันและจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งว่าให้ได้รับชำระหนี้หรือไม่ ดังนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในคดีนี้ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้องแม้จะกลับมามีคำสั่งใหม่เป็นว่า ไม่อนุญาตในภายหลังซึ่งล่วงเลยมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี คำสั่งของผู้คัดค้านในครั้งก่อนและในครั้งหลังจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมาย เพราะไม่ทำให้ผู้ร้องได้สิทธิหรือเสียสิทธิ เมื่อผู้ร้องได้ใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายตามมาตรา 96 แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินมายังไม่พอชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ และการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 ต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 95 และ 96 แยกให้เห็นข้อแตกต่างในวิธีการขอรับชำระหนี้และข้อแตกต่างในผลของการใช้สิทธิมาตราใดมาตราหนึ่ง เจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น เมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95 อีกต่อไป
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็น หลักประกันและจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งว่าให้ได้รับชำระหนี้หรือไม่ ดังนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านในคดีนี้ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้องแม้จะกลับมามีคำสั่งใหม่เป็นว่า ไม่อนุญาตในภายหลังซึ่งล่วงเลยมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี คำสั่งของผู้คัดค้านในครั้งก่อนและในครั้งหลังจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมาย เพราะไม่ทำให้ผู้ร้องได้สิทธิหรือเสียสิทธิ เมื่อผู้ร้องได้ใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายตามมาตรา 96 แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันเลือกใช้สิทธิได้ระหว่างมาตรา 95 (สิทธิเหนือทรัพย์สิน) หรือมาตรา 96 (ขอรับชำระหนี้) แต่ใช้สิทธิแล้วสิทธิเดิมสิ้นสุด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ 2 วิธี วิธีแรก เจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิตามมาตรา 95 โดยถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น และหากบังคับชำระหนี้เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกันย่อมหมดสิทธิขอรับชำระหนี้ที่ขาดอยู่จากทรัพย์สินอื่นวิธีที่สอง เจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใต้เงื่อนไข 4 ประการ ประการใดประการหนึ่งตามมาตรา 96ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 และในคดีนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่ได้ ซึ่งเจ้าหนี้มีประกันชอบที่จะเลือกใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ร้องเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 95อีกต่อไป
การใช้สิทธิตามมาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหนี้มีประกันผู้เลือกใช้สิทธิตามมาตรา 95 ได้รับชำระหนี้หรือไม่ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้อง
การใช้สิทธิตามมาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียงแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่าจะถือเอาสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน และจะต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าตรวจดูทรัพย์สินเท่านั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหนี้มีประกันผู้เลือกใช้สิทธิตามมาตรา 95 ได้รับชำระหนี้หรือไม่ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เคยอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 95 จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย แม้มีหลักประกัน แต่เจ้าหนี้ไม่ต้องบังคับชำระหนี้จากหลักประกันก่อนก็ได้
โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ถึงที่สุดมาฟ้อง ขอให้จำเลยล้มละลายโดยมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเกิดจากจำเลยผิดสัญญาประกันผู้ต้องหาต่อโจทก์และ ในการประกันผู้ต้องหานั้น จำเลยได้นำที่ดินตาม น.ส.3 ของบุคคลภายนอกวางเป็นหลักประกันไว้ ขณะที่จำเลยยื่น คำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันผู้ต้องหาโดยมิได้จดทะเบียน จำนอง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลย ในที่ดินที่เป็นหลักประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ดังนั้นโจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 9 โดยมิต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 10 จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันจำเลยไม่ชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ พฤติการณ์ของจำเลยจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5)(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การซ้ำซ้อนของสิทธิเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วนและการไถ่ถอนจำนอง
ลูกหนี้นำที่ดินจำนวน 6 แปลงมาจดทะเบียนจำนองไว้แก่ เจ้าหนี้เป็นประกันต่อมาเจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงทำ สัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยลูกหนี้นำที่ดิน 5 แปลงไปขายให้แก่ผู้อื่นเพื่อนำเงินที่ขายได้มาชำระแก่เจ้าหนี้ตาม ข้อตกลงและมีการไถ่ถอนจำนองไปแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ มีประกันในที่ดิน 5 แปลงอีกต่อไป คงมีเพียงที่ดิน 1 แปลง ที่ยังมิได้มีการไถ่ถอนจำนอง เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งลูกหนี้มีอยู่ต่อ เจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันโดยมีที่ดินที่ยังมิได้มีการไถ่ถอนจำนอง เป็นหลักประกันเต็มจำนวนหลักทรัพย์ ส่วนการที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอ รับชำระหนี้คดีนี้ก็เนื่องจากศาลได้เพิกถอนการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ ได้ผ่อนชำระให้เจ้าหนี้ภายใน 3 เดือน ก่อนขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้นตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ซึ่งเป็นการผ่อนชำระหนี้ที่มีมูลหนี้ตามคำพิพากษาตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เป็นการชำระหนี้เพื่อไถ่ถอน จำนองที่ดินแปลงที่เหลืออีก 1 แปลง ดังที่เจ้าหนี้อ้าง และสิทธิ ของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันยังคงมีอยู่โดยบริบูรณ์ตามคำสั่ง ศาลในคำขอรับชำระหนี้รายที่ 4 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในสำนวน คำขอรับชำระหนี้คดีนี้อันเป็นการซ้ำซ้อนกับสิทธิของเจ้าหนี้ ในคำขอรับชำระหนี้รายที่ 4 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันและการคำนวณดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันต่อมาได้ขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา100ที่บัญญัติไม่ให้ถือว่าดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ได้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในดอกเบี้ยได้จนถึงวันที่ลูกหนี้ที่1ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6756/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้ร่วม และข้อยกเว้นการบรรยายฟ้องเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ฎีกาจำเลยที่ 4 ที่ว่า ศาลไม่ชอบที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 10 (2) แม้จำเลยที่ 4 มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่ 4 มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านี้ได้ในชั้นฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสี่ขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ ในการบังคับคดีโจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4ขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน เมื่อหักยอดหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระหนี้โจทก์ จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระ คำฟ้องของโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเพราะในขณะฟ้องคดีโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ในทางจำนอง จำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 6 โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 10 (2)
จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2ที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้บังคับยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4 ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสี่ย่อมมีหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์จนครบ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือกก็ได้การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้คนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 กับภรรยาไม่อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้ จำเลยที่ 3และที่ 4 ย่อมไม่อาจฎีกายกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้นโต้เถียงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสี่ขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ ในการบังคับคดีโจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4ขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน เมื่อหักยอดหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระหนี้โจทก์ จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระ คำฟ้องของโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเพราะในขณะฟ้องคดีโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ในทางจำนอง จำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 6 โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 10 (2)
จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2ที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้บังคับยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่ 4 ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสี่ย่อมมีหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์จนครบ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือกก็ได้การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้คนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 กับภรรยาไม่อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้ จำเลยที่ 3และที่ 4 ย่อมไม่อาจฎีกายกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้นโต้เถียงเป็นอย่างอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6756/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกัน, การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้ร่วม, และการยกข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวข้อง
ฎีกาจำเลยที่4ที่ว่าศาลไม่ชอบที่จะรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาเพราะโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันได้บรรยายฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา10(2)แม้จำเลยที่4มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค1แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่4มีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านี้ได้ในชั้นฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยหากจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ถ้าไม่พอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยทั้งสี่ขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบในการบังคับคดีโจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่4ขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วนเมื่อหักยอดหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ยังค้างชำระหนี้โจทก์จำเลยทั้งสี่ไม่ชำระคำฟ้องของโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเพราะในขณะฟ้องคดีโจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่ในทางจำนองจำนำหรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา6โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องตามหลักเกณฑ์ของมาตรา10(2) จำเลยที่3และที่4เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่1และที่2ที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ได้บังคับยึดที่ดินจำนองของจำเลยที่4ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้เพียงบางส่วนส่วนที่เหลือจำเลยทั้งสี่ย่อมมีหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์จนครบซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือกก็ได้การที่จะพิจารณาว่าลูกหนี้คนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้นไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นเมื่อคดีสำหรับจำเลยที่2ถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังว่าที่ดินของจำเลยที่2กับภรรยาไม่อาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้และจำเลยที่2ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้จำเลยที่2จึงเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้จำเลยที่3และที่4ย่อมไม่อาจฎีกายกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่2ซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้นโต้เถียงเป็นอย่างอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ vs. สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดี: การรวบรวมทรัพย์สินลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงาน-บังคับคดีก็ตาม เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดี โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลาย เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่ง แม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบท-บัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483แต่ประการใดไม่ โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 306
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดี โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลาย เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่ง แม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบท-บัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483แต่ประการใดไม่ โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขาย ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 306