พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานของรัฐเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
การที่เจ้าพนักงานตำรวจทำร้ายร่างกายโจทก์ขณะควบคุมโจทก์ไปส่งที่สถานีตำรวจ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ หน่วยงานรับผิดชอบละเมิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว เห็นว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงยกฟ้องโจทก์นั้น แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ใช้รูปแบบคำพิพากษา ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่ประการใด
ส่วนการที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย คือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 และสั่งพักราชการโจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20, 21, 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยทั้งสามกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ไม่ว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยและคำสั่งพักราชการโจทก์จะกระทำไปโดยถูกต้อง หรือปราศจากอำนาจหรือเป็นการจงใจทำละเมิดต่อจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้หน่วยงานของรัฐรับผิด แต่จะฟ้องจำเลยทั้งสามไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายเบื้องต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้วพิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้
ส่วนการที่โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย คือ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 และสั่งพักราชการโจทก์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 20, 21, 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยทั้งสามกระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ แต่อาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ไม่ว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยและคำสั่งพักราชการโจทก์จะกระทำไปโดยถูกต้อง หรือปราศจากอำนาจหรือเป็นการจงใจทำละเมิดต่อจำเลยก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้หน่วยงานของรัฐรับผิด แต่จะฟ้องจำเลยทั้งสามไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 8
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดในข้อกฎหมายเบื้องต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้วพิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้ เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบ, ทำไม้ผิดกฎหมาย, และความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ป่าไม้เขตได้ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่คัดเลือกไม้ที่ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจประเภทไม้แก่จัดมีขนาดโตเกินขนาดจำกัดมากและอยู่ในวัยเสื่อมโทรมหรือยอดไม่สมบูรณ์และให้ตีตราคัดเลือกอนุญาตให้ตัดฟันไม้เพื่อบำรุงป่า หรือ บร. กับทำบัญชีคัดเลือกไม้เสนอผู้บังคับบัญชาแล้วป่าไม้เขตจะได้ประมูลหาผู้รับจ้างตัดโค่นและซื้อไม้ดังกล่าว โดยแต่งตั้งให้จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15ไปทำการตรวจวัดตีตรารัฐบาลขาย หรือ รข.เป็นการอนุญาตให้ชักลากไม้ได้ โดยจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15จะต้องตีตราเฉพาะไม้ที่มีตรา บร. เท่านั้น และจะต้องตรวจดูว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตราต้นไม้ถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง จะตีตรา รข. ไม่ได้ และจะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กลับตีตราไม้ที่ดีมีค่าทางเศรษฐกิจเป็นการขัดคำสั่ง ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้และ รัฐเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำบัญชีสำรวจคัดเลือกตีตราไม้เสนอ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งไม่เป็นความจริง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารดังกล่าว จึงมีความผิดฐานรับรองเป็นหลักฐานว่าได้กระทำการตามที่ระบุในเอกสารขึ้นอันเป็นความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1) จำเลยที่ 16 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 17 เป็นกรรมการ ได้ทำสัญญาตัดฟันไม้และซื้อไม้เหล่านั้นกับกรมป่าไม้ โดยจำเลยที่ 16 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการตัดฟันไม้แทน และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 ได้ตีตราไม้ที่ยังไม่มีตรา บร. แสดงว่าเป็นไม้ที่ยังไม่ได้รับการคัดเลือกจากจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเกิดความเสียหายแก่กรมป่าไม้และรัฐตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และการที่จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสารได้ทำบัญชีรับรองเป็นหลักฐานว่าตน ได้ตีตรา รข. บนไม้ที่มีการคัดเลือกแล้วทุกต้น อันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 จึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1) ด้วย ขณะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตรา บร. คัดเลือกไม้ที่จะทำการ โค่น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยังไม่ทราบว่าใครจะเป็นผู้ประมูล โค่นไม้และซื้อไม้ได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 16 และ ที่ 17 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 ตัดโค่นไม้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตีตราไว้ตามสัญญาจ้างตัดโค่นและขายไม้ที่ทำไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 จึงไม่เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 15 อย่างไรก็ดีปรากฏว่า ไม้ที่ตัดโค่นบางส่วนไม่มีตราของทางราชการใด ๆ เลย จำเลยที่ 1 ที่ 16 และที่ 17 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำไม้ และมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดย ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจและผลของการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐร่ำรวยผิดปกติแยกจากกรณีการริบทรัพย์สิน
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วนกล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอ ซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ โดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอนและมีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ โดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอนและมีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งไล่ออกเจ้าหน้าที่รัฐฐานร่ำรวยผิดปกติเป็นคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลวินิจฉัยทรัพย์สินนั้นมาโดยชอบ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และวรรคสุดท้าย บัญญัติจำแนกวิธีดำเนินการ ไว้เป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่งต้องได้ความว่า ผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้น ในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุม กว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะ ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้ายหากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง อันเป็นคนละส่วน แยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้าง เพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตน ร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ เมื่อคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 54/2530 ที่ให้ไล่โจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งซึ่งมีลักษณะ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะโดยใช้ดุลพินิจ ตามขั้นตอนและมีกฎหมายรองรับ ทั้งโจทก์ก็มิได้โต้แย้ง ว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาล เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติคณะกรรมการและคำสั่งเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
การประกอบการขนส่งทางบกมีบทกฎหมายแยกแยะประเภทของการขนส่ง การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การอนุมัติเงื่อนไขในการประกอบการขนส่งที่ต้องระบุในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไว้ตามลำดับความสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเป็นการประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร หรือการขนส่งระหว่างจังหวัดหรือเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ เป็นอำนาจของนายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตตามมาตรา 30ส่วนการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในแต่ละจังหวัดรวมทั้งการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กนั้นเป็นอำนาจของนายทะเบียนประจำจังหวัดนั้น ๆ ตามมาตรา 30 โดยให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33เว้นแต่การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางเท่านั้นที่นอกจากจะให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 31 แล้ว ยังต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสอง อีกด้วย เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช พิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์และของผู้ยื่นคำขอรายอื่นที่ยื่นไว้ภายในกำหนดทุกรายแล้วเห็นว่า โจทก์เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและตามหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่กรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ จึงเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แล้วนำเรื่องการขออนุญาตพร้อมความเห็นที่ควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่ออนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 33 คณะกรรมการดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 ประกอบด้วยมาตรา 33 เฉพาะที่เกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กย่อมมีอำนาจเพียงเฉพาะอนุมัติเงื่อนไขที่เกี่ยวกับจำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง ฯลฯ ไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33 เท่านั้นหามีอำนาจที่จะลงมติออกใบอนุญาตหรือไม่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือลงมติยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 5ได้พิจารณาและลงความเห็นว่าสมควรออกใบอนุญาตให้แก่โจทก์ผู้ยื่นคำขอจนเสร็จไปแล้ว หรือลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าสมควรที่จะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรายใดอันเป็นการขัดต่อบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจไว้หาได้ไม่ เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมติให้ยกเลิกมติที่ประชุมที่ได้ลงผิดไปเกี่ยวกับการยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ โดยให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ยังคงมีผลในการพิจารณาต่อไปจึงเท่ากับว่าคำขออนุญาตของโจทก์และความเห็นของจำเลยที่ 5ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์นั้น ยังคงมีผลอยู่ตามเดิม จึงชอบที่จำเลยทั้งห้าในฐานะคณะกรรมการดังกล่าวจำต้องปฏิบัติตามต่อไปด้วย พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 33หรือหากเห็นว่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่จะใช้ในการกำหนดเงื่อนไขไม่พอเพียงก็ชอบที่จะเลื่อนการพิจารณากำหนดเงื่อนไขออกไปเพื่อให้จำเลยที่ 5 หามาเพิ่มเติมได้และเมื่อมีการอนุมัติเงื่อนไขแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ซึ่งหากได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องขวนขวายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ถ้าโจทก์ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้องจำเลยที่ 5 โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ได้ตามมาตรา 46 การที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่าคำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์มีรถซ้ำซ้อนคันกัน ไม่แน่ว่าโจทก์จะรวมรถได้จริงทั้ง ๆ ที่ในประกาศรับคำขอก็มิได้กำหนดจำนวนที่จะมีใช้ในการประกอบการขนส่งว่าจะต้องใช้รถทั้งหมดกี่คันและคำขอทุกรายก็มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับรถซ้อนคันกันเช่นเดียวกันแล้วด่วนยกขึ้นเป็นสาเหตุลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปทบทวนความเห็นที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เสียใหม่ โดยที่ยังไม่มีการกำหนดจำนวนรถเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตให้โจทก์จำต้องปฏิบัติตาม จึงนอกจากจะไม่เป็นสาระสำคัญในชั้นพิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งเพราะอาจจะกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตดังกล่าวแล้วยังเป็นการก้าวล่วงเข้าไปชี้นำการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดโดยตรงตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 30และมาตรา 33 อันเป็นการกระทำที่เกินขอบอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดที่บัญญัติให้อำนาจไว้ในมาตรา 20 และมาตรา 33 อีกด้วย มติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่กำหนดเงื่อนไขในการที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แต่มีมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตรายใด จึงเป็นมติที่ไม่ชอบ การที่จำเลยที่ 5 กลับความเห็นเดิมแล้วมีความเห็นใหม่กลายเป็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์เพราะผลของการประชุมของคณะกรรมการที่พยายามจะให้จำเลยที่ 5 ยกเลิกหรือทบทวนความเห็นเกี่ยวกับคำขอของโจทก์เป็นความเห็นและคำสั่งที่ปราศจากหลักเกณฑ์และเหตุผล ไม่มีกฎหมายให้อำนาจจำเลยที่ 5 ทำให้ถึงเพียงนั้น เป็นการไม่ให้ความคุ้มครองและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ควรเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดีกว่าบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือที่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งภายในเวลาที่ทางราชการประกาศกำหนด และแม้จะยังไม่ได้ชื่อว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยสมบูรณ์ แต่โจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่าผู้อื่นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ลงมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจารณาทบทวนความเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขอรายใด และย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5 ที่ให้ยกเลิกคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์โดยไม่ชอบนั้นเสียได้ และมีผลทำให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์พร้อมด้วยความเห็นของจำเลยที่ 5 ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ยังมีผลอยู่ตามเดิม เป็นอำนาจหน้าที่ของขนส่งจังหวัดในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดจะพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 33 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดมาตรา 157 กรณีเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และการดำเนินการตามนโยบายพลังงาน
จำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เพื่อให้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคดีร้องทุกข์แล้วนำคำวินิจฉัยชี้ขาดเสนอนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลให้มีคำสั่งชี้ขาดการร้องทุกข์ โจทก์ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521โจทก์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตคือ 1.ต้องค้าน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว2.ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2528) โจทก์มีหน้าที่ต้องสำรองน้ำมันตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2528) ต่อมากรมทะเบียนการค้าได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าใบอนุญาตค้าน้ำมันของโจทก์สิ้นผลแล้ว เพราะโจทก์สำรองน้ำมันไม่ครบปริมาณ 3,600,000 ลิตร ตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์ได้มีหนังสือทักท้วงต่อจำเลยที่ 4 ขอให้ทบทวนและเพิกถอนหนังสือดังกล่าว กับโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อ้างว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขในประกาศกระทรวงพาณิชย์ให้ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันสิ้นผลและตีความเรื่องการสำรองน้ำมันไม่ถูกต้องและผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย พร้อมกับขอให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 2) มีมติให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์โดยให้โจทก์ดำเนินการค้าน้ำมันระหว่างรอคำวินิจฉัยไปพลางก่อน และสำรองน้ำมันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของปริมาณที่นำเข้าหรือทำการค้าจริง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 2) ด้วย และเห็นพ้องด้วยกับการให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์พร้อมทั้งทำบันทึกข้อสังเกตสนับสนุนต่อมาวันที่ 20 กันยายน 2531 คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของโจทก์ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่มีอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 ที่จะกำหนดเงื่อนไขเรื่องการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2528)ได้ และเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีคำสั่งถอนคืนหนังสือกรมทะเบียนการค้า ที่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าใบอนุญาตค้าน้ำมันของโจทก์สิ้นผล แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาในขณะนั้นไม่ได้เสนอคำวินิจฉัยดังกล่าวไปให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการ ครั้นต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จำเลยที่ 6ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการออกใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ตามสำเนาประกาศ ต่อมา ส. ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขา-ธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีโดยมีบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ประกอบการพิจารณาสั่งการแนบไปด้วย จำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ สั่งการ ดูแลคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแทนนายกรัฐมนตรีซึ่งปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีอำนาจตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 กำหนดเงื่อนไขเรื่องการสิ้นผลของใบอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปฏิบัติหรือไม่ ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวแล้วเห็นว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีอำนาจกำหนดให้การสิ้นผลของใบอนุญาตการเป็นผู้ค้าน้ำมันเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งเพื่อให้มีผลเป็นการถอนคืนการอนุญาตเมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ได้ จากนั้นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอคำวินิจฉัยดังกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีคำสั่งตามคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายให้ยกคำร้องทุกข์ของโจทก์ วันที่ 27 ธันวาคม 2534 กรมทะเบียนการค้าได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบถึงคำสั่งยกคำร้องทุกข์ ยังผลให้ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 สิ้นผลนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกรมทะเบียนการค้า ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เรื่องใดแล้ว ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอคำวินิจฉัยไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็วที่สุด แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีคำวินิจฉัยเช่นนั้น การที่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) มีคำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เป็นคุณแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2531 แต่จำเลยที่ 2 ไปราชการของรัฐสภาที่ประเทศบัลแกเรียตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2531 ถึงวันที่ 28 กันยายน2531 ในระหว่างนั้นมีผู้รักษาราชการแทนจำเลยที่ 2 ดังนั้น ในขณะที่ครบเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีคำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของโจทก์ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 คือ วันที่ 27 กันยายน 2531 จำเลยที่ 2ยังปฏิบัติราชการอยู่ในต่างประเทศ จึงไม่สามารถเสนอคำวินิจฉัยไปยังนายกรัฐมนตรีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดได้ และเมื่อล่วงพ้นกำหนดเจ็ดวันไปแล้ว จำเลยที่ 2กลับจากต่างประเทศเดือนตุลาคม 2531 แม้จะไม่ได้เสนอคำวินิจฉัยไปยังนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาคนใหม่เพิ่งเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 ภายหลังจำเลยที่ 2 เกษียณอายุราชการไปแล้ว การฝ่าฝืนมาตรา 49 ของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้อีกข้อเท็จจริงย่อมฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 กลับจากไปราชการต่างประเทศแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังมีหน้าที่ต้องเสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 49 อยู่ การที่จำเลยที่ 2 มิได้เสนอและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานกว่า 2 ปี จนจำเลยที่ 2เกษียณอายุราชการ ทั้งกรณีไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีว่าในระหว่างนั้นมีเหตุขัดข้องอย่างไรจึงยังไม่สามารถเสนอได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทำให้โจทก์เสียหาย เพราะจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อสังเกตสนับสนุนเห็นพ้องด้วยกับการให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์มาตั้งแต่เริ่มแรก การให้ใช้มาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่โจทก์ในระหว่างที่รอจำเลยที่ 2 เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการมีผลให้โจทก์สามารถค้าน้ำมันต่อไปได้ตามปกติ และได้สิทธิพิเศษสำรองน้ำมันน้อยกว่าผู้ค้าน้ำมันรายอื่น ๆ จนกว่านายกรัฐมนตรีจะสั่งการเรื่องร้องทุกข์ของโจทก์เสร็จสิ้น ดังนี้ความล่าช้าในการเสนอเรื่องร้องทุกข์ของโจทก์ไปให้นายกรัฐมนตรีสั่งการไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ แต่โจทก์กลับได้ประโยชน์ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการตามมาตรา 49 แห่งพ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 นั้น เป็นเรื่องการปฏิบัติราชการระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ใต้บังคับบัญชากับนายกรัฐมนตรีผู้บังคับบัญชาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหรือละเว้นไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่มีการร้องทุกข์นั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 มาตรา 70
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาทำบันทึกข้อสังเกตประกอบการเสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) ต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาประกอบการสั่งการนั้น เป็นการเสนอเรื่องและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุแห่งการร้องทุกข์และหลักกฎหมายที่จะนำมาใช้กับการร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มาตรา 63 และมาตรา 62 (7) โดยเฉพาะกรณีของโจทก์เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความสำคัญในทางกฎหมายปกครอง เพราะก่อนดำเนินการออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขในการออกและการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวกรมทะเบียนการค้าเคยหารือโดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะมีอำนาจตามมาตรา 6วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 กำหนดเงื่อนไขให้ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันสิ้นผลหรือไม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยคณะกรรมการร่างกฎหมาย (คณะที่ 6) ได้ให้ความเห็นว่า มาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดเงื่อนไขได้ทุกชนิด รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันด้วยซึ่งกรมทะเบียนการค้าและกระทรวงพาณิชย์ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติราชการอยู่ แต่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ได้วินิจฉัยในปัญหาเดียวกันนี้ว่า การใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตามมาตรา 6 วรรคสอง ที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการเกินอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่กฎหมายให้ไว้ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการร่างกฎหมาย (คณะที่ 6) และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) มีผลกระทบกระเทือนต่อวิถีทางปฏิบัติราชการของกระทรวงพาณิชย์ อันอาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะหรือแก่ระบบบริหารราชการเป็นส่วนรวม จำเลยที่ 2 จึงจำเป็นต้องหาข้อยุติ และทำบันทึกข้อสังเกตในเรื่องนี้ และในบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ก็ได้เสนอทางเลือกให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา 2 ประการ คือ ประการแรก นายกรัฐมนตรีอาจสั่งการให้ที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาทบทวน ประการที่สองนายกรัฐมนตรีอาจขอความเห็นจากที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะมีอำนาจตามมาตรา 6 วรรคสองกำหนดเงื่อนไขเรื่องการสิ้นผลของใบอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ได้หรือไม่ ส่วนนายกรัฐมนตรีจะพิจารณาสั่งการให้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ไปเลย หรือจะสั่งการให้นำปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับการร้องทุกข์ดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย ก็เป็นดุลพินิจอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 ไม่อาจเข้าไปก้าวก่ายชี้นำได้ และมติของที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือกรรมการร่างกฎหมายจะออกมาอย่างไร ก็ไม่อาจทราบล่วงหน้าได้ การที่ ส.ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ไปยังนายกรัฐมนตรีพร้อมแนบบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ไปด้วยภายหลังที่จำเลยที่ 2 เกษียณอายุราชการแล้ว และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นำปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย ซึ่งต่อมาที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายมีมติกลับคำวินิจฉัยเดิมของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) นายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องทุกข์ของโจทก์ในเวลาต่อมานั้นการกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการชี้นำกลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้มีการพลิกผลคำวินิจฉัยเดิม จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้โดยชอบด้วยกฎหมายและเหตุผลแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
การที่เจ้าหน้าที่ของกองน้ำมันเชื้อเพลิงไปตรวจสอบการสำรองน้ำมันของโจทก์ก็ดี การตีความการสำรองน้ำมันของโจทก์ว่าโจทก์ต้องสำรองน้ำมันไว้ล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 3 ของปริมาณที่ได้รับอนุญาตให้ค้าทั้งปี ตามที่ยึดถือเป็นหลักใช้ปฏิบัติแก่ผู้ค้าน้ำมันทั่วไปทุกรายก็ดี เมื่อโจทก์สำรองน้ำมันไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการผิดเงื่อนไขในใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชิ้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 6 จนเป็นเหตุให้รองอธิบดีกรมทะเบียนการค้าซึ่งปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 4 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ของโจทก์สิ้นผลก็ดี เมื่อล้วนเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายและประกาศกระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ และมิใช่เป็นการปฏิบัติตามแผนการของบริษัทค้าน้ำมันต่างชาติหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางที่ไม่ชอบของจำเลยที่ 3และที่ 4 การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เมื่อไม่เป็นการร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ให้หยุดประกอบการค้าน้ำมัน จึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 83, 157
อำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลการจำหน่ายน้ำมันเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ และของกรมทะเบียนการค้าซึ่งมีจำเลยที่ 4 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทะเบียนการค้า แต่ในการปฏิบัติราชการดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้มอบอำนาจหน้าที่ในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ หรือปฏิบัติราชการเกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้าให้แก่ ฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 มิได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการของ ฉ. การเสนอเรื่องของกรมทะเบียนการค้าเกี่ยวกับเรื่องน้ำมันจึงต้องเสนอต่อรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ผู้รับมอบอำนาจหน้าที่จากปลัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ก็สามารถเสนอเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยตรง ไม่ต้องเสนอผ่านปลัดกระทรวงพาณิชย์ก่อน กรณีของโจทก์จำเลยที่ 4 ได้เสนอเรื่องพร้อมกับร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมายไปยัง ฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกรมทะเบียนการค้า หลังจากนั้น ฉ.ก็ได้เสนอเรื่องไปยังจำเลยที่ 6 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อพิจารณาลงนามในร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) เพื่อใช้บังคับต่อไปโดยไม่ได้เสนอผ่านจำเลยที่ 3 ก่อน จำเลยที่ 3 จึงมิได้เกี่ยวข้องกับการจัดทำและเสนอร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ต่อจำเลยที่ 6 ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นตอนของกฎหมายจนถึงจำเลยที่ 6 เพื่อลงนามใช้บังคับ ก็ดำเนินการตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและมติของคณะรัฐมนตรี โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการพลังงานของประเทศ และผ่านขั้นตอนในการดำเนินการออกประกาศดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ก็ออกมาเพื่อใช้บังคับแก่ผู้ค้าน้ำมันโดยทั่วไป มิได้เฉพาะเจาะจงบังคับใช้แก่โจทก์ และการที่จำเลยที่ 6 ลงนามในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ก็กระทำโดยสุจริต เพราะเห็นว่าได้เสนอผ่านลำดับขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมายและเป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและมติของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการพลังงานของประเทศ ทั้งผู้ค้าน้ำมันโดยทั่วไปก็สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและสำรองน้ำมันได้ถูกต้องครบถ้วน ยกเว้นโจทก์และบริษัทบอสตันออยล์ จำกัด เท่านั้นที่ไม่สำรองน้ำมันให้ถูกต้องครบถ้วน การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 จึงมิได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ออกกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมาเพื่อกีดกันมิให้โจทก์สามารถขอใบอนุญาตประกอบการค้าน้ำมันได้ ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157, 83
การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการตามมาตรา 49 แห่งพ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 นั้น เป็นเรื่องการปฏิบัติราชการระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้ใต้บังคับบัญชากับนายกรัฐมนตรีผู้บังคับบัญชาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหรือละเว้นไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่มีการร้องทุกข์นั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 มาตรา 70
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาทำบันทึกข้อสังเกตประกอบการเสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) ต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาประกอบการสั่งการนั้น เป็นการเสนอเรื่องและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุแห่งการร้องทุกข์และหลักกฎหมายที่จะนำมาใช้กับการร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522มาตรา 6 วรรคหนึ่ง มาตรา 63 และมาตรา 62 (7) โดยเฉพาะกรณีของโจทก์เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความสำคัญในทางกฎหมายปกครอง เพราะก่อนดำเนินการออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขในการออกและการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวกรมทะเบียนการค้าเคยหารือโดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะมีอำนาจตามมาตรา 6วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 กำหนดเงื่อนไขให้ใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันสิ้นผลหรือไม่ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยคณะกรรมการร่างกฎหมาย (คณะที่ 6) ได้ให้ความเห็นว่า มาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2521 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดเงื่อนไขได้ทุกชนิด รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันด้วยซึ่งกรมทะเบียนการค้าและกระทรวงพาณิชย์ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติราชการอยู่ แต่คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) ได้วินิจฉัยในปัญหาเดียวกันนี้ว่า การใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตามมาตรา 6 วรรคสอง ที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสิ้นผลของใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการเกินอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่กฎหมายให้ไว้ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการร่างกฎหมาย (คณะที่ 6) และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5) มีผลกระทบกระเทือนต่อวิถีทางปฏิบัติราชการของกระทรวงพาณิชย์ อันอาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะหรือแก่ระบบบริหารราชการเป็นส่วนรวม จำเลยที่ 2 จึงจำเป็นต้องหาข้อยุติ และทำบันทึกข้อสังเกตในเรื่องนี้ และในบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ก็ได้เสนอทางเลือกให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา 2 ประการ คือ ประการแรก นายกรัฐมนตรีอาจสั่งการให้ที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาทบทวน ประการที่สองนายกรัฐมนตรีอาจขอความเห็นจากที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะมีอำนาจตามมาตรา 6 วรรคสองกำหนดเงื่อนไขเรื่องการสิ้นผลของใบอนุญาตให้เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ได้หรือไม่ ส่วนนายกรัฐมนตรีจะพิจารณาสั่งการให้ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ไปเลย หรือจะสั่งการให้นำปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับการร้องทุกข์ดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย ก็เป็นดุลพินิจอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 ไม่อาจเข้าไปก้าวก่ายชี้นำได้ และมติของที่ประชุมใหญ่กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หรือกรรมการร่างกฎหมายจะออกมาอย่างไร ก็ไม่อาจทราบล่วงหน้าได้ การที่ ส.ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้เสนอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ (คณะที่ 5)ไปยังนายกรัฐมนตรีพร้อมแนบบันทึกข้อสังเกตของจำเลยที่ 2 ไปด้วยภายหลังที่จำเลยที่ 2 เกษียณอายุราชการแล้ว และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นำปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย ซึ่งต่อมาที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายมีมติกลับคำวินิจฉัยเดิมของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์(คณะที่ 5) นายกรัฐมนตรีจึงได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องทุกข์ของโจทก์ในเวลาต่อมานั้นการกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการชี้นำกลั่นแกล้งโจทก์เพื่อให้มีการพลิกผลคำวินิจฉัยเดิม จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้โดยชอบด้วยกฎหมายและเหตุผลแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
การที่เจ้าหน้าที่ของกองน้ำมันเชื้อเพลิงไปตรวจสอบการสำรองน้ำมันของโจทก์ก็ดี การตีความการสำรองน้ำมันของโจทก์ว่าโจทก์ต้องสำรองน้ำมันไว้ล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 3 ของปริมาณที่ได้รับอนุญาตให้ค้าทั้งปี ตามที่ยึดถือเป็นหลักใช้ปฏิบัติแก่ผู้ค้าน้ำมันทั่วไปทุกรายก็ดี เมื่อโจทก์สำรองน้ำมันไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการผิดเงื่อนไขในใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตาม พ.ร.บ.น้ำมันเชิ้อเพลิง พ.ศ.2521 มาตรา 6 จนเป็นเหตุให้รองอธิบดีกรมทะเบียนการค้าซึ่งปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 4 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 6 ของโจทก์สิ้นผลก็ดี เมื่อล้วนเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายและประกาศกระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ และมิใช่เป็นการปฏิบัติตามแผนการของบริษัทค้าน้ำมันต่างชาติหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางที่ไม่ชอบของจำเลยที่ 3และที่ 4 การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เมื่อไม่เป็นการร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ให้หยุดประกอบการค้าน้ำมัน จึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 83, 157
อำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลการจำหน่ายน้ำมันเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์ และของกรมทะเบียนการค้าซึ่งมีจำเลยที่ 4 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทะเบียนการค้า แต่ในการปฏิบัติราชการดังกล่าว จำเลยที่ 3 ได้มอบอำนาจหน้าที่ในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ หรือปฏิบัติราชการเกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้าให้แก่ ฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 มิได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการของ ฉ. การเสนอเรื่องของกรมทะเบียนการค้าเกี่ยวกับเรื่องน้ำมันจึงต้องเสนอต่อรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ผู้รับมอบอำนาจหน้าที่จากปลัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ก็สามารถเสนอเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยตรง ไม่ต้องเสนอผ่านปลัดกระทรวงพาณิชย์ก่อน กรณีของโจทก์จำเลยที่ 4 ได้เสนอเรื่องพร้อมกับร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ซึ่งได้ดำเนินการตามขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมายไปยัง ฉ.รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกรมทะเบียนการค้า หลังจากนั้น ฉ.ก็ได้เสนอเรื่องไปยังจำเลยที่ 6 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อพิจารณาลงนามในร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) เพื่อใช้บังคับต่อไปโดยไม่ได้เสนอผ่านจำเลยที่ 3 ก่อน จำเลยที่ 3 จึงมิได้เกี่ยวข้องกับการจัดทำและเสนอร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ต่อจำเลยที่ 6 ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นตอนของกฎหมายจนถึงจำเลยที่ 6 เพื่อลงนามใช้บังคับ ก็ดำเนินการตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและมติของคณะรัฐมนตรี โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการพลังงานของประเทศ และผ่านขั้นตอนในการดำเนินการออกประกาศดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ก็ออกมาเพื่อใช้บังคับแก่ผู้ค้าน้ำมันโดยทั่วไป มิได้เฉพาะเจาะจงบังคับใช้แก่โจทก์ และการที่จำเลยที่ 6 ลงนามในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2531) ก็กระทำโดยสุจริต เพราะเห็นว่าได้เสนอผ่านลำดับขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมายและเป็นไปตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและมติของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการพลังงานของประเทศ ทั้งผู้ค้าน้ำมันโดยทั่วไปก็สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและสำรองน้ำมันได้ถูกต้องครบถ้วน ยกเว้นโจทก์และบริษัทบอสตันออยล์ จำกัด เท่านั้นที่ไม่สำรองน้ำมันให้ถูกต้องครบถ้วน การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 จึงมิได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ออกกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมาเพื่อกีดกันมิให้โจทก์สามารถขอใบอนุญาตประกอบการค้าน้ำมันได้ ย่อมไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157, 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐในการจัดซื้อจัดจ้างที่มิชอบ และการตรวจสอบคุณภาพสินค้า
หน้าที่ของคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ คือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียดของพัสดุที่เสนอขึ้นไป และคัดเลือกพัสดุซึ่งเสนอขึ้นไปนั้นให้ถูกต้องตรงกับที่กำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2ตรวจคุณลักษณะของสมุดตัวอย่างที่ร้านพัฒนาพานิชเสนอขายแต่เพียงใช้มือจับและตาดูเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2จะไม่มีความรู้ในเรื่องคุณลักษณะของเนื้อในของสมุดที่ต้องตรวจคุณลักษณะก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับการ แต่งตั้ง มอบหมายให้เป็นกรรมการเปิดซองประกวดราคาจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ขวนขวายดำเนินการศึกษางานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพียงแต่ตรวจคุณลักษณะเนื้อใน ของสมุดโดยการจับด้วยมือและดูด้วยตาเท่านั้นยังไม่เพียงพอและเมื่อปรากฏว่าสมุดที่ร้าน พ. เสนอขายไม่ใช่ขนาดตามที่กำหนดไว้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ และเป็นผู้เห็นชอบให้ซื้อสมุดที่จำเลยที่ 1ที่ 2 เสนอมา ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การ พัสดุพ.ศ. 2524 ข้อ 22 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุ ไว้ ว่าก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธีนอกจากการซื้อที่ดินตามข้อ 23 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง(2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42(4)กำหนดว่า เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้า ส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรง ที่จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อ แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน จำเลยที่ 5 ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดจำเลยที่ 6 ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด จำเลยที่ 7รองผู้ว่าราชการจังหวัด และจำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่เพียงแต่เสนอความเห็นตามลำดับชั้นว่าควรจัดซื้อพัสดุหรือไม่ โดยไม่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะเนื้อในของสมุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 8 เป็นผู้อนุมัติให้จัดซื้อ ซึ่งหากไม่มีการเสนอความเห็นตามขั้นตอนจากคณะกรรมการรับซองคณะกรรมการเปิดซองและตรวจรับพัสดุแล้ว จำเลยที่ 8 ก็ไม่อาจสั่งการจัดซื้อได้เพราะไม่ผ่านขั้นตอนในการจัดซื้อตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 7 เมื่อจำเลยที่ 8อนุมัติให้จัดซื้อเพียงแต่ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ซื้อเท่านั้นเอง ดังนี้ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8จึงไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุมีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2524ข้อ 22 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42(4) ให้คณะกรรมการเปิดซองหรือกรรมการจัดซื้อเสนอความเห็นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนั้นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุจึงมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของ สมุดที่จัดซื้อ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะอ้างว่าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นหาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ของเงินค่าเสียหายดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 3ทำบันทึกเสนอจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นวันทำละเมิด จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นผู้เสนอความเห็นตามที่จำเลยที่ 3ที่ 4 เสนอผ่านมาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษ และได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วไม่ได้ประมาทเลินเล่อแต่ประการใด จึงไม่เป็นการละเมิด แม้สัญญาซื้อขายฉบับพิพาทไม่ได้ระบุรายละเอียดคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อว่ามีขนาด 60 แกรม อาจเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องผู้ขายไม่ได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้ทำสัญญาได้ระบุไว้ในสัญญาไว้แล้วว่า ผู้ขายยอมรับว่าสิ่งของที่ขายให้ตามสัญญานี้มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างของผู้ขายที่จำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว ดังนี้ จำเลยผู้ทำสัญญาซื้อขาย ฉบับพิพาทจึงไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะทำตามคำสั่งอนุมัติของจำเลยที่ 8 แล้ว การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่รายงานการที่ผู้ขายนำสมุดไปส่งตามสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอต่าง ๆ ล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จังหวัดไม่ได้ปรับผู้ขายนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายจะระบุให้ผู้ขายนำสมุดไปส่งมอบ ณ ที่ทำการการประถมศึกษาประจำอำเภอต่าง ๆ แต่เมื่อปรากฏว่ามีข้อขัดข้องคือทางแผนกศึกษานิเทศไม่ได้กำหนดว่าอำเภอใดจะได้จำนวนกี่เล่ม และคณะกรรมการตรวจรับสมุดดินสอก็ไม่ได้แต่งตั้ง การที่ จำเลยที่ 3 ตรวจรับสมุด ณ ที่ทำการประถมศึกษาจังหวัดเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการรับมอบสมุดไว้แทนอำเภอต่าง ๆซึ่งต่อมาทางอำเภอต่าง ๆ ได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ จังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์โดยเลขานุการกรมโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2529ทางสำนักงานเลขานุการกรมส่งเรื่องทั้งหมดไปให้งานนิติการโจทก์ เพื่อทำการตรวจสำนวน งานนิติการรับเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 งานนิติการได้สรุปสำนวนและเสนอความเห็นมายัง รองเลขาธิการโจทก์เมื่อเดือนตุลาคม 2529 นอกจากนี้ยังได้ ขอทราบราคากระดาษว่าต่างกันอย่างไร ต่อมาได้ส่งเรื่องไป กรมบัญชีกลางเพื่อทราบค่าเสียหาย ในที่สุดได้เสนอเรื่อง ไปยังเลขาธิการโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 ดังนี้ เมื่อสำนวนการสอบสวนมาถึงสำนักงานโจทก์ครั้งแรก ไม่ได้นำเสนอ เลขาธิการโจทก์ในทันทีเพราะมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานอีกมากมาย แต่เพิ่งเสนอเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 เมื่อนับถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งอนุญาตลาออก, ผลการลาออก, และการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ
คำฟ้องของโจทก์กล่าวเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 จำเลยที่ 2เป็นผู้บริหารงานจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งอธิการบดี จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวไม่จ่ายเงินเดือนและเงินช่วยเหลือบุตรให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการของจำเลยที่ 1ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวเพราะเหตุใดโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 2มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวด้วยนั้น เป็นการนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507มาตรา 3,4 ประกอบกับข้อ 10 ข้อ 24(2) แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 และมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 กำหนดให้อธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาออกจากราชการได้ และข้อ 7วรรคสี่ แห่งกฎทบวงดังกล่าวกำหนดว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎทบวงนี้ และมีหน้าที่ช่วยกฎหมายปฏิบัติการตามที่ กฎหมายมอบหมาย ข้อ 8 อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมาย แสดงว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีอำนาจตั้งบุคคลอื่นปฏิบัติการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมายได้เมื่อที่การประชุม อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีมติอนุมัติในหลักการมอบอำนาจให้อธิการบดี ประธาน อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาลาออกจากราชการแทนอ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการได้ การที่โจทก์ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่เริ่มรับราชการในหนังสือขอลาออกจากราชการ เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ทำให้หนังสือขอลาออกของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด ส่วนหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้กำหนดขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งประสงค์จะขอลาออกจากราชการปฏิบัติเพื่อให้ระยะเวลาสำหรับผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาการสั่งอนุญาตการลาออกว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้ขอลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกโดยดำเนินการทั้งนี้โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเป็นสำคัญ ฉะนั้น แม้ผู้ขอลาออกจะไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตสละประโยชน์แห่งระยะเวลาดังกล่าวโดยสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการตามความประสงค์ของผู้ขอลาออกแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์โดยไม่จำต้องแจ้งคำสั่งอนุญาตการลาออกให้โจทก์ทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน ตามระเบียบดังกล่าว และที่และเมื่อระเบียบดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 94(4) และ (5) เท่านั้น ส่วนกรณีของโจทก์โจทก์ออกจากราชการตามมาตรา 94(3) กล่าวคือ โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรา 95 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันดังนี้ ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตการลาออกอนุญาตให้โจทก์ออกจากราชการในวันที่ 15 มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอลาออก ย่อมมีผลให้โจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันขอลาออกส่วนกรณีที่โจทก์ยังคงรับราชการต่อมาเพราะยังไม่ทราบคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการก็มีผล เพียงทำให้โจทก์ได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปีบำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2522 มาตรา 18(1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ไว้เท่านั้น พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 18 ที่บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ ยื่นฟ้องบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2535 และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 4 มิถุนายน 2535 ดังนี้ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 เดิมซึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่ออายุสัญญาจ้างก่อสร้างและการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐในการพิจารณาเหตุสุดวิสัยและความเสียหาย
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุข้อ 52 (2)ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างในกรณีการจ้างเหมาเกินกว่า 2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 8,000,000 บาทและ ข้อ 64 กำหนดให้การต่ออายุสัญญาสำหรับวงเงินสั่งซื้อหรือสั่งจ้างที่เกินอำนาจหน้าที่หัวหน้าส่วนราชการให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้อนุมัติ ดังนั้น การแสดงความเห็นของจำเลยที่ 1 ถึง 7 เกี่ยวกับขอต่ออายุสัญญา จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นของการพิจารณาว่าจะต่ออายุสัญญาให้หรือไม่เท่านั้น จำเลยที่ 1 ถึง 7 เป็นเพียงอาจารย์ของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง จึงมิใช่ผู้มีอำนาจในการนี้ การเสนอความเห็นดังกล่าวขึ้นมาก็เพราะโจทก์เป็นผู้สั่งให้ทำความเห็นผู้มีอำนาจอนุญาตหาจำต้องเห็นด้วยเสมอไปไม่ ในเมื่อการปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างของจำเลยที่ 1 ถึง 7 นั้นได้ดำเนินการตรวจสอบอาคารโดยเคร่งครัดอยู่แล้ว และไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์เสียหาย เพราะในการพิจารณาให้ความเห็นอาศัยข้อมูลที่พบเห็นในการควบคุมดูแลการก่อสร้าง และข้อมูลที่ผู้รับจ้างส่งมา ส่วนเรื่องไม้แบบนั้นเมื่อตามสัญญาจ้างมิได้ระบุชัดแจ้งว่าต้องใช้ไม้ใดทำแบบ และกรณีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายการไม้วงกบ เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงชนิดไม้เอง ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึง 7 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ซึ่งมาช่วยราชการกองคลังของโจทก์ฝ่ายพัสดุจำเลยที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 10 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารการเงินและบัญชีของโจทก์ จำเลยที่ 11 เป็นผู้อำนวยการกองคลังของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 8 ถึง 11 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ผู้กลั่นกรองงานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยหาข้อเท็จจริงและนำเสนอรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือให้สั่งการ พร้อมความเห็นตามที่ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาซึ่งมิใช่การอนุญาตให้ต่ออายุสัญญา และเหตุเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งก็มีความเห็นให้เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาเท่านั้น มิได้ลงความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาหรือไม่แล้วจำเลยที่ 11 ได้รายงานเสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป พร้อมด้วยหลักฐานและที่ว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตได้ก็เป็นการลงความเห็นตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึง 11 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 12 เป็นรองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเกิดเหตุรองอธิบดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไม่อยู่ จำเลยที่ 12 จึงได้ตรวจงานแทนแล้วเสนอผ่านขึ้นไปยังอธิบดีเพื่อให้พิจารณาข้อเสนอตามที่กองคลังเสนอมาตามลำดับชั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 12 จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 13 เพิ่งมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโจทก์ภายหลังอธิบดีคนเดิมซึ่งได้เคยพิจารณาการต่ออายุสัญญาจ้างรายนี้มาก่อน และเคยมีหนังสือหารือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องไปให้กรมอัยการพิจารณา กรมอัยการแจ้งผลการพิจารณาว่าการต่ออายุสัญญาอยู่ในอำนาจของหัวหน้า-ส่วนราชการหรือปลัดกระทรวงแล้วแต่กรณีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 64 และการต่ออายุสัญญากระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของผู้ว่าจ้างเท่านั้น กรณีตามข้อหารือคงมีปัญหาแต่เพียงว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อกรณีถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 13 ได้รับเรื่องราวดังกล่าวเสนอมาเมื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีแล้ว ยังได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาประชุมชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีข้อหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น จึงได้เสนอเรื่องต่อไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่ออนุญาตให้ต่อสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้างเสนอ และจำเลยที่ 13ยังได้มีความเห็นที่ไม่ควรต่ออายุสัญญากรณีเปลี่ยนแปลงรายการไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างด้วย ซึ่งเป็นการใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและพิจารณาคำขออย่างรอบคอบตามสมควรแล้ว มิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเช่นกัน
จำเลยที่ 14 ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อจำเลยที่ 13 เสนอความเห็นมาเป็น 2 ข้อ คือข้อแรกควรอนุญาตให้ต่ออายุสัญญาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 138 วัน ข้อสองกรณีขออนุมัติเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างว่าน่าจะถือเป็นความบกพร่องของผู้รับจ้างเองที่ไม่ขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ น่าจะไม่อนุญาต จำเลยที่ 14 ก็ได้ตรวจสอบเรื่องราวที่ขออนุญาตในเอกสารที่เกี่ยวข้อง และพบว่ากรมโจทก์เคยมีหนังสือหารือเรื่องเหตุสุดวิสัยไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หารือเรื่องดังกล่าวไปยังกรมอัยการกรมอัยการตอบมาว่าหากผู้รับจ้างได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรและไม่อาจป้องกันได้ และกรมโจทก์ไม่อาจหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างให้รับฟังเป็นอย่างอื่นกรณีก็ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างการต่ออายุสัญญาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งทำได้ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีก่อนตัดสินใจจำเลยที่ 14 ยังได้เชิญผู้อำนวยการกองคลัง และนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมปรึกษาหารือแล้วจึงมีความเห็นอนุมัติ ส่วนข้อสองจำเลยที่ 14 คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ผู้รับจ้างอ้างว่ารายการไม้กำหนดไว้ไม่ชัดแจ้ง และสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ทำวงกบนั้นไม่ชัดแจ้งจริงและก่อนที่จะพิจารณาได้รับแจ้งจากโจทก์ว่าอาคารตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างนั้น โจทก์ได้ใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว จึงเชื่อว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงวงกบประตูหน้าต่าง เป็นงานที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายแล้ว การรอให้มีการอนุญาตก่อนแล้วจึงเปลี่ยนทำให้ผู้รับจ้างต้องรอเรื่องอนุญาตจากโจทก์นานถึง 86 วัน โดยไม่อาจดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ และไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้างเป็นเหตุสุดวิสัย จึงสมควรต่ออายุสัญญาให้โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามหนังสือเวียนของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และโจทก์ได้ยอมรับว่าสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ทำวงกบไม่ชัดแจ้ง ทั้งก่อนตัดสินใจได้เชิญผู้อำนวยการกองคลังและนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมปรึกษา-หารือแล้ว จึงมีความเห็น เมื่อจำเลยที่ 14 มิได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้ติดต่อประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรี กรมอัยการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสิบสี่มิได้ทุจริต ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาหากซื้อเก็บไว้นานเกิน 30 วัน ก็จะเสื่อมคุณภาพ ประกอบกับการขอต่ออายุสัญญาภายหลังสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็อาจกระทำได้ตามหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และแม้ไม่อยู่ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีอนุญาตให้ต่อสัญญาได้เพราะขาดแคลนปูนซีเมนต์ แต่ก็อาจมีปัญหาด้านการกักตุนและเก็งกำไรในบางท้องที่ได้ ซึ่งย่อมอยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการคู่สัญญาที่จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ผู้มีอำนาจตามระเบียบการพัสดุย่อมสามารถพิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของตนได้เมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ จำเลยที่ 14 ใช้ดุลพินิจสั่งการตามอำนาจหน้าที่ไปโดยสุจริต มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 8 ซึ่งมาช่วยราชการกองคลังของโจทก์ฝ่ายพัสดุจำเลยที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 10 เป็นเจ้าหน้าที่บริหารการเงินและบัญชีของโจทก์ จำเลยที่ 11 เป็นผู้อำนวยการกองคลังของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 8 ถึง 11 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ผู้กลั่นกรองงานเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยหาข้อเท็จจริงและนำเสนอรายละเอียดของเรื่องราวต่าง ๆ ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือให้สั่งการ พร้อมความเห็นตามที่ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาซึ่งมิใช่การอนุญาตให้ต่ออายุสัญญา และเหตุเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งก็มีความเห็นให้เสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาเท่านั้น มิได้ลงความเห็นว่าควรต่ออายุสัญญาหรือไม่แล้วจำเลยที่ 11 ได้รายงานเสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป พร้อมด้วยหลักฐานและที่ว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตได้ก็เป็นการลงความเห็นตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 8 ถึง 11 กระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 12 เป็นรองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ขณะเกิดเหตุรองอธิบดีผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงไม่อยู่ จำเลยที่ 12 จึงได้ตรวจงานแทนแล้วเสนอผ่านขึ้นไปยังอธิบดีเพื่อให้พิจารณาข้อเสนอตามที่กองคลังเสนอมาตามลำดับชั้น จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 12 จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 13 เพิ่งมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโจทก์ภายหลังอธิบดีคนเดิมซึ่งได้เคยพิจารณาการต่ออายุสัญญาจ้างรายนี้มาก่อน และเคยมีหนังสือหารือไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องไปให้กรมอัยการพิจารณา กรมอัยการแจ้งผลการพิจารณาว่าการต่ออายุสัญญาอยู่ในอำนาจของหัวหน้า-ส่วนราชการหรือปลัดกระทรวงแล้วแต่กรณีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521 ข้อ 64 และการต่ออายุสัญญากระทำได้เฉพาะกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของผู้ว่าจ้างเท่านั้น กรณีตามข้อหารือคงมีปัญหาแต่เพียงว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อกรณีถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 13 ได้รับเรื่องราวดังกล่าวเสนอมาเมื่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีแล้ว ยังได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาประชุมชี้แจงอีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีข้อหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างเป็นอย่างอื่น จึงได้เสนอเรื่องต่อไปยังปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่ออนุญาตให้ต่อสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างตามที่คณะกรรมการตรวจการจ้างเสนอ และจำเลยที่ 13ยังได้มีความเห็นที่ไม่ควรต่ออายุสัญญากรณีเปลี่ยนแปลงรายการไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างด้วย ซึ่งเป็นการใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและพิจารณาคำขออย่างรอบคอบตามสมควรแล้ว มิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายเช่นกัน
จำเลยที่ 14 ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อจำเลยที่ 13 เสนอความเห็นมาเป็น 2 ข้อ คือข้อแรกควรอนุญาตให้ต่ออายุสัญญาก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 138 วัน ข้อสองกรณีขออนุมัติเปลี่ยนแปลงไม้เนื้อแข็งเพื่อใช้ทำวงกบประตูหน้าต่างว่าน่าจะถือเป็นความบกพร่องของผู้รับจ้างเองที่ไม่ขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้ น่าจะไม่อนุญาต จำเลยที่ 14 ก็ได้ตรวจสอบเรื่องราวที่ขออนุญาตในเอกสารที่เกี่ยวข้อง และพบว่ากรมโจทก์เคยมีหนังสือหารือเรื่องเหตุสุดวิสัยไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี ได้หารือเรื่องดังกล่าวไปยังกรมอัยการกรมอัยการตอบมาว่าหากผู้รับจ้างได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรและไม่อาจป้องกันได้ และกรมโจทก์ไม่อาจหักล้างเหตุผลของผู้รับจ้างให้รับฟังเป็นอย่างอื่นกรณีก็ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะต่ออายุสัญญาจ้างให้ผู้รับจ้างการต่ออายุสัญญาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยซึ่งทำได้ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีก่อนตัดสินใจจำเลยที่ 14 ยังได้เชิญผู้อำนวยการกองคลัง และนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มาร่วมปรึกษาหารือแล้วจึงมีความเห็นอนุมัติ ส่วนข้อสองจำเลยที่ 14 คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ผู้รับจ้างอ้างว่ารายการไม้กำหนดไว้ไม่ชัดแจ้ง และสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ทำวงกบนั้นไม่ชัดแจ้งจริงและก่อนที่จะพิจารณาได้รับแจ้งจากโจทก์ว่าอาคารตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างนั้น โจทก์ได้ใช้ประโยชน์เรียบร้อยแล้ว จึงเชื่อว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการขอเปลี่ยนแปลงวงกบประตูหน้าต่าง เป็นงานที่ได้ดำเนินการในงวดที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายแล้ว การรอให้มีการอนุญาตก่อนแล้วจึงเปลี่ยนทำให้ผู้รับจ้างต้องรอเรื่องอนุญาตจากโจทก์นานถึง 86 วัน โดยไม่อาจดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ และไม่ใช่ความผิดของผู้รับจ้างเป็นเหตุสุดวิสัย จึงสมควรต่ออายุสัญญาให้โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามหนังสือเวียนของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และโจทก์ได้ยอมรับว่าสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับไม้ทำวงกบไม่ชัดแจ้ง ทั้งก่อนตัดสินใจได้เชิญผู้อำนวยการกองคลังและนิติกรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมปรึกษา-หารือแล้ว จึงมีความเห็น เมื่อจำเลยที่ 14 มิได้ดำเนินการโดยพลการ แต่ได้ติดต่อประสานงานกับสำนักนายกรัฐมนตรี กรมอัยการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสิบสี่มิได้ทุจริต ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างตามสัญญาหากซื้อเก็บไว้นานเกิน 30 วัน ก็จะเสื่อมคุณภาพ ประกอบกับการขอต่ออายุสัญญาภายหลังสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็อาจกระทำได้ตามหนังสือเวียนของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และแม้ไม่อยู่ในช่วงที่คณะรัฐมนตรีอนุญาตให้ต่อสัญญาได้เพราะขาดแคลนปูนซีเมนต์ แต่ก็อาจมีปัญหาด้านการกักตุนและเก็งกำไรในบางท้องที่ได้ ซึ่งย่อมอยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการคู่สัญญาที่จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป ผู้มีอำนาจตามระเบียบการพัสดุย่อมสามารถพิจารณาวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ของตนได้เมื่อมีเหตุสุดวิสัย ตามหนังสือของสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ จำเลยที่ 14 ใช้ดุลพินิจสั่งการตามอำนาจหน้าที่ไปโดยสุจริต มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์